จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายงานการสัมมนากลุ่มย่อยโครงการสัมมนาอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์

วิชา แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
วันที่ 29 พฤษภาคม 2543
ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์

โดย พิยะ ศรีวัฒนสาร

ผู้ร่วมสัมมนา
1. ตัวแทนภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
2. ตัวแทนภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ
3. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยบูรพา
4. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
5. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. ตัวแทนจากสถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
7. ตัวแทนจากศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุดรธานี
8. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
9. สมาคมมัคคุเทศก์
10. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
11. สถาบันอื่น ๆ
(รวมประมาณ 20 คน)

ขอบเขตของวิชาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอให้พิจารณาประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
- อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่สำคัญในท้องถิ่นต่าง ๆ
- ประวัติความเป็นมา
- รูปแบบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญในภาคต่าง ๆ
- พิพิธภัณฑสถาน

เมื่อผู้ร่วมสัมมนาพิจารณาแล้วเห็นว่า กรอบทั้ง 5 หัวข้อ สื่อความหมายเพียง 4 ประเด็นคือ
1. อุทยานประวัติศาสตร์
2. โบราณสถานสำคัญและแหล่งโบราณคดีในท้องถิ่น
3. พิพิธภัณฑสถาน
4. ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคต่าง ๆ
2

ดังนั้นที่ประชุมสัมมนากลุ่มย่อยจึงเสนอให้ร่วมกันพิจารณาปรับเปลี่ยนขอบเขตรายวิชาและเพิ่มเติมรายละเอียดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ดังนี้

1. อุทยานประวัติศาสตร์
- ประวัติความเป็นมา
- รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรม

2. โบราณสถานสำคัญและแหล่งโบราณคดีในท้องถิ่น
- ประวัติความเป็นมา
- รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรม

3. พิพิธภัณฑสถาน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- ประวัติความเป็นมา
- การจัดแสดง
- โบราณวัตถุและศิลปะโบราณวัตถุสำคัญ

4. ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคต่าง ๆ
- ภาคเหนือ (บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง หมู่บ้านชาวเขา ฯลฯ)
- ภาคกลาง (บ้านญี่ปุ่น บ้านโปรตุเกส บ้านกุฎีจีน ฯลฯ)
- ภาคอีสาน (ด่านเกวียน บ้านส่วย ชุมชนพวน บ้านกุยส่วยช้างสุรินทร์ ฯลฯ)
- ภาคใต้ (เกาะยอ พุมเรียง ชาวเล ซาไก ฯลฯ)

สรุป
จากเนื้อหาขอบเขตรายวิชาดังกล่าวข้างต้นที่ประชุมได้ให้แต่ละสถาบันนำไปปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้เสนอให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาเส้นทางการทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมล้านนาให้มีพื้นที่ในหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ต่อไป เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง ขณะนี้หลายสถาบันเริ่มแลเห็นความสำคัญ และจัดทัศนศึกษาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนาแล้ว ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ธรรมศาสตร์ และสถาบันราชภัฏจันทรเกษม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น