จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

เที่ยวพระตำหนักภูพิงค์

พิทยะขึ้นพระตำหนักภูพิงค์กับ ดร.เมธี เมธาสิทธิ์ เอ้ม ม.อุบลราชธานี สนทนากับ ดร.เอ้มว่า อากาศหนาวคล้ายกับบรรยากาศในประเทศอังกฤษ อาจารย์เอ้มถามว่า เคยไปมาแล้วยัง พิทยะตอบเสียงดังชัดเจนด้วยความภาคภูมิใจว่า..........................................................??!!?!
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร



เที่ยวชุมชนหัตถกรรมที่บ้านถวาย ดูไม้แกะสลัก เชียงใหม่

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวชุมชนหัตถกรรมที่บ้านถวาย จ.เชียงใหม่

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวชมบ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

เที่ยวชมบ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา เป็นที่รู้จักกันมานานของชาวบ้านในท้องถิ่น พระครูศรีมหาโพธิ์คณานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง และเจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นผู้สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในพื้นที่จ.ปราจีนบุรี เป็นผู้ที่แจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่โครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร (อาจารย์ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการ) ได้แก่ นายมานิต รัตนกุล นายช่างศิลปกรรม7 นายกิตติพงษ์ กุมภิโร นายช่างสำรวจ 4 และนายอนุชา(พิทยะ) ศรีวัฒนสาร นักโบราณคดี เดินทางไปสำรวจและทำแผนผังเพื่อดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อประมาณ กลางปี พ.ศ. 2528

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช เร่ว

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช เร่ว
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช พิลังกาสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช พิลังกาสาร
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช โด่ไม่รู้ล้ม

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช ต.หัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
เจตมูลเพลิงแดง

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ชมเนินผาหมอนและเฟิร์นต้น ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมเนินผาหมอนและเฟิร์นต้น ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร

เนินผาหมอนมีพระตำหนักเรือนกระจกที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มักจะทรงประทับเสวยพระกระยาหารเย็นอยู่เนือง พื้นที่โดยรอบมีสวนเฟิร์นต้นร่มรื่น

ดอกลำโพงที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ดอกลำโพงที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ นำพันธุ์มาจากอเมริกาใต้
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันปีอาร์ซิเลียและทิวลิป ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมกุหลาบพันปีอาร์ซิเลียและทิวลิป ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมดอกโคมญี่ปุ่นที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมดอกโคมญี่ปุ่นที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมดอกฝิ่น ดอยปุย เชียงใหม่

ชมดอกฝิ่น ดอยปุย เชียงใหม่
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชวนเที่ยวดอยปุย เชียงใหม่ แปลงกายเป็นสาวดอย

ชวนเที่ยวดอยปุย เชียงใหม่ แปลงกายเป็นสาวดอย เจตน์นิพิธ บอกว่าอยากเป็นหัวหน้าเผ่าบ้าง
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชวนเที่ยวดอยปุย เชียงใหม่

ชวนเที่ยวดอยปุย จ.เชียงใหม่
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ดอยปุยอยู่สูงถัดขึ้นไปจากดอยสุเทพและพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชามรดกไทยเดินทางไปถึง เดินตามกันขึ้นไปชมบ้านม้ง และเผลอไม่กี่อึดใจก็แปลงกายเป็นสาวดอยกันหลายคน

ชมกล้วยไม้พันธุ์ฟาร์แลนด์นอฟสิคที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

กล้วยไม้พันธุ์ฟาร์แลนด์นอฟสิค ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันธุ์summer snow ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมกุหลาบพันธุ์summer snow ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันธุ์ปิแอร์ เดอ ลองซาค

ชมกุหลาบพันธ์ปิแอร์ เดอ ลองซาค โดยมีProground เป็นกุหลาบโรย 3 ดอก(ล้อเลียน)
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมดอกกุหลาบที่ฌาก ชีรัค(Jacques Chirac)ถวาย

ชมดอกกุหลาบที่ประธานาธิบดีฌาก ชีรัค (Jacques Chirac)แห่งฝรั่งเศส(ค.ศ.1995-2007)ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังมิได้พระราชทานชื่อ
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ชมดอกเจอเรเนียนไล่ยุง ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมดอกเจอเรเนียนไล่ยุง ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมหญ้าหอมที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมหญ้าหอมที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันธุ์มหาจุฬาลงกรณ์ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์และตำหนักเจ้าดารารัศมี

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
วันนี้วันแห่งความรัก( 14 กพ.54) ชวนเชิญหมูมหาสมาชิกมาร่วมชื่นชมดอกกุหลาบพันธุ์มหาจุฬาลงกรณ์ สัญลักษณ์แห่งความรักและความเป็นปึกแผ่นระหว่างสยามกับล้านนาอันเป็นแบบอย่างที่ควารเจริญรอยตามมานานกว่าร้อยปี




พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประสูติ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๑๖ - ถึงแก่พิราลัย ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖(สำเนาภาพมาจากค่ายดารารัศมี ขอบคุณครับ)

ที่ตำหนักเจ้าดารารัศมีก็ปลูกกุหลาบสายพันธุ์นี้


ป้ายอธิบายชื่อของกุหลาบสายพันธุ์ดังกล่าวที่ตำหนักเจ้าดารารัศมี ภายในค่ายดารารัศมี จ.เชียงใหม่


ทุกวันที่ 9 ธันวาคม อันเป็นวันคล้ายวันพิราลัย จะมีการจัดงานถวายพระกุศลอย่างยิ่งใหญ่ที่ค่ายดารารัศมี

ชมกุหลาบพันธุ์First Price ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

กุหลาบพันธุ์First Price ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมกุหลาบพันธ์มหาจุฬาลงกรณ์ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

แปลงกุหลาบของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีบนม่อนจ๊อกป๊อก เชิงดอยสุเทพ

ชมกุหลาบพันธ์มหาจุฬาลงกรณ์ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปการสัมมนาวิชาการโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานพัฒนาการท่องเที่ยวพ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘

สรุปโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการบูรณาการการปฏิบัติงานช่วง พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘



วันศุกร์ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ห้องพัชราวดี ๓ ชั้น๑๑ อาคาร ๒โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
















๐๙.๐๐-๐๙.๐๕ น. น.ส.สุชาวดี ศรีสุวรรณภาพ ผอ.กองวิชาการท่องเที่ยว กล่าวรายงาน
๐๙.๐๕-๐๙.๑๕ น. นาย สุชาติ สิทธิหล่อ รองผอ.สนง.พัฒนาการท่องเที่ยว รรก. ผอ. สนง.พัฒนาการท่องเที่ยวกล่าวเปิดงาน มีใจความว่า















การท่องเที่ยวมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศ รายได้ นอกเหนือจากการส่งออก ปัญหาระเบียบของเวิลด์เทรด ซึ่งแฝงการกีดกันทางการค้าโดยใช้คุณภาพเป็นบรรทัดฐาน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดสถานการณ์ด้านการเมือง การลอบฆ่านักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและความแตกแยกทางความคิด เป็นสัญญาณที่ประเทศต่างๆเริ่มเตือนภัย ความเป็นสยามเมืองยิ้มอาจจางหายไป ต้องสร้างความยั่งยืน ต้องมีการระดมความคิดอีก ๕ ปี ข้างหน้าจะทำอย่างไร มิใช่การสื่อสารด้านเดียว(One-way Communication)หลายองค์กรคิดแตกต่างออกไป จึงต้องบูรณาการให้เดินหน้าต่อไปได้ ในทางเดียวกัน คนไทยต้องมีความเป็นเจ้าบ้าน สเปนมีล้วงกระเป๋า ถ้าไทยเป็นอย่างนั้นจะเหมือนทุบหม้อข้าวตัวเอง เราได้เปรียบสิงคโปร์ มาเลเซีย เพราะทั้งอารยธรรมและธรรมชาติ คนของเราก็มีอัธยา



สปาของสิงคโปร์ มาเลย์ขาดศิลปะ คนต่างชาติจึงอยากจะกลับมาอีก บางอย่างชาติอื่นทำไม่ได้ แต่คนไทยทำได้ นั่นคือ เรื่องการต้องรับชาวต่างชาติเรามีจุดขายมากมาย เสียว่าขาดความสามัคคี บูรณาการให้เดินไปพร้อมกัน อย่าทำแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ต้องปลูกฝังเรื่องการเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ สิทธิ หน้าที่ เสียภาษี เคารพกฎหมาย คนไทยติดนิสัยทำผิดแต่ไม่ยอมรับผิด ต่างกับชาวตะวันตกที่เคารพกฎหมาย ถ้าเวียดนามมีspeed train จะก้าวหน้ากว่าไทยใน ๔-๕ ปีข้างหน้า มาบตาพุด คนต่อต้าน การปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมการแข่งขันกับชาติอื่นนอกจากสปาก็พัฒนาด้านวิถีชีวิต สุขภาพ ฝรั่งอยากมาสัมผัสชีวิตแบบตะวันออก ทรัพยากรของเราต้องทำให้ยั่งยืน อยากได้นักท่องเที่ยวเข้ามา แต่ขยะก็ตามมา นักท่องเที่ยวต้องมีคุณภาพ

๐๙.๑๕-๑๐.๑๕ น.นาย จารุบุณณ์ ปาณานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในทศวรรษหน้า เนื้อหากล่าวถึงสถิติของนักท่องเที่ยวโลกดังนี้


-ค.ศ.๒๐๐๙ นักท่องเที่ยว๘๘๐ ล้านคน ๘๕๖ พันล.ดอล. นักท่องเที่ยวจะเพิ่ม ๘ % เราทำเพิ่มได้ ๓-๔% ก็ดีแล้วปีค.ศ.๑๙๙๕ นทท.มีสถิติการเดินทางรวม ๕๖๕ ล้านคน ปีค.ศ.๒๐๑๐ มีการเดินทางหนึ่งพันล้านคน


-ค.ศ.๒๐๒๐ นทท.จะเพิ่ม ...แอฟริกา นทท.จะโต อเมริกาโตรองลงมา เอเชียตะวันออก ในค.ศ.๒๐๒๐ โต๓๙๗ลค. (๖.๕ เปอร์เซ็นต์) ยุโรปจะโตที่สุด คือ ๒๐๒๐ โต ๗๓๐ ลค, เอเชียใต้ ๑๙ ลค,ไทยโต ๖.๕ เปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงโลกโต ๔ เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยโตเสริมจากการขนส่งและโลยิสติกส์ เครื่องบินแอร์บัสบรรทุกเต็มที่ ๘๐๐ คน แต่นั่งสบายประมาณ ๕๐๐ คน ไทยสั่งซื้อจำนวนหนึ่ง ยังไม่ได้ ต้องรอ ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ มีการตัดถนนชายแดน ไทย ลาว จีน โลกเจริญ คนทำงานน้อยลง คนเที่ยวเพิ่ม การพัฒนาเมืองโลกวุ่นวาย คนอยากพักผ่อน ทะเลทรายก็สร้างแหล่งท่องเที่ยว ยูเออี. ดูไบ ฮ่องกงสิงคโปร์ มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ยุโรปอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวของตนดี การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การได้รับข่าวสารการท่องเที่ยวเร็ว แม่นยำ มี จีพีเอส เที่ยวโดยไม่หลงทางคนอยากรู้อยากเห็น คนเที่ยว การค้าเสรี คนเดินทาง กฎเกณฑ์น้อยลง มีการช่วยเหลือแลกเปลี่ยนการค้า ไมซ์ การเกิดประเทศพัฒนาใหม่ (บราซิล-อินเดียจีน-บรีคส์) ประชาคมยุโรป อาเซียน ทำให้การเดินทางง่าย เสรี ยูโรมันนี(Euro Money)ทำให้จับจ่ายได้ง่าย ในอนาคตเงินหยวนใช้ง่าย อาจเกิดอาเซียนมันนี(Asean Money)


ปัจจัยลบ โรคใหม่ ซาร์ หวัดนก ระวัง น้ำมันผันผวน ค่าเดินทางสูง ค่าผลิตสูง กระทบการท่องเที่ยว ภัยธรรมชาติ ภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ไฟไหม้ ควัน พายุ ทอร์นาโด ต้องเอาเงินไปซ่อมบ้าน การก่อการร้าย ตะวันออกกลาง อาฟกานิสถาน ปากีสถาน ทำให้ทท.ไม่เติบโต การขัดแย้งทางการเมืองใน-นอก ประเทศ นทท.ขาดความมั่นใจ ไปเที่ยวที่อื่น การถดถอยทางศก. กรีซ สเปน โปรตุเกส หรือแม้แต่ในบ้านเราก็แก้ได้การแข่งขันการท่องเที่ยว ยุโรปครอง แต่ส่วนแบ่งลด จากการที่อีสต์ เอเชีย แปซิฟิกกำลังโตแต่รองยุโรป ตอ.กลางกำลังโต แต่ส่วนแบ่งน้อย แอฟริกากำลังโตแต่คนเที่ยวน้อย อเมริกาคนมากแต่โตน้อย ไทยอยู่กลุ่มเอเชียแปซิฟิก
แนวโน้มสถานการณ์ในไทย ปีที่แล้วนทท. ๑๔ ลค.เศษ ปีหน้า คงมี ๑๓-๑๔ ลค, กระทรวงทท. ประมาณการ ๑๔ ลค, แต่ภาคเอกชนระบุว่าไม่น่าถึง ผมประเมินแง่ดีอาจ๑๓ ลค.ททท. และเอกชน ทำงานหนักจากข้อมูล ๑๙๙๕ –๒๐๑๐ โลกโต๑๐.๑ แปซิฟิก ๕ เปอร์เซ็นต์ ทศวรรษ ๒๐๑๐-๒๐๒๐ จะโต๕-๖ เปอร์เซ็นต์ ต่อปี

ภัยคุกคามจากนอก การแข่งขัน เวียดนาม ลาว เขมร ส่งเสริมทท. การค้าเสรีคุกคามและเป็นโอกาสด้วย คนเก่งกว่าจะเข้ามา เราต้องพัฒนาตนเอง อีกหน่อย จีนอินเดียเข้ามา เชิงรายได้ต้องแข่งขัน เชิงโอกาสต้องพัฒนา
ปัญหาอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันแพง การก่อการร้าย การเมืองในแประเทศ ความวุ่นวายทางการเมือง การกระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้าน ต้องเป็นไมตรี การท่องเที่ยวจะดี ภัยธรรมชาติซึนามิ ฝนแล้ง ไฟป่า ต้องระวัง น้ำท่วมภายนอก นทท.ก็ไม่อยากมาภัยคุกคามภายใน สมานฉันท์ หน่วยงานทท.มีมา เช่น ททท กระทรวง สพท. ฯลฯ ไม่ประสานงานกัน ความรู้ด้านการบริหารจัดการทท.
การจัดการ ๓ มิติไม่สมบูรณ์ นักการเมืองต้องรู้ด้านการท่องเที่ยว การทท.ต้องประสานกับหน่วยงานขนส่งฯ สมาคมเฟสต้า สมาคมขายตั๋วสายการบิน แตกแยกกันเอง ต้องมีการประสานกัน บูรณาการ จะโตได้ถูกต้องอากาศร้อน หนาว ฝนตก กระทบชีวิต แหล่งท่องเที่ยวเสื่อม อ.ปายก็โทรมแล้ว น่านคนกำลังจะเข้า ต้องระวังสอดส่องแหล่งท่องเที่ยว ควรวางแผนล่วงหน้า

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเป็นสิ่งที่คนอยากไปชมมากกว่าแหล่งท่องเที่ยวที่คนทำขึ้น ทรัพยากรบุคคลด้านทท.(direct tourists service ไกด์ พนักงานโรงแรม ททท. ฯลฯ ) ปชช.(indirect tourists service)ต้องมีใจงาม รักงาม รักความสะอาด เคารพกฎเกณฑ์ รักสงบ คิดเป็น คิดสร้างสรรค์ ๗ ประการ( ๗ habits) หากไม่รักสะอาดทำอาหารขายเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ต้องรับผิดชอบสังคมโอกาส การท่องเที่ยวไทยนำสู่การวางยุทธศาสตร์ การรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยว (อยู่ๆก็ตัดถนนขึ้นเขาใหญ่ สร้างศาลพระพรหมบนแหลมพรหมเทพ สร้างอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ ) ทำไมไม่จัดภูมิทัศน์บริหารจัดการการท่องเที่ยวต้องมีระบบ มีหน่วยงานเยอะมาก ให้มีสมรรถนะ ทำงานเป็นเอกภาพ อบรมพนักงานด้านการท่องเที่ยว พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรเพื่อแข่งในระบบการค้าเสรีอีก ๕ ปีข้างหน้า ถึงเวลาแล้วที่จะพัฒนาสมรรถภาพบุคลากร เอกชน-ราชการ
การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเป็นปัญหาโลกที่ทุกประเทศต่างก็ให้ความสำคัญ เรื่องนี้ไทยยังมีโอกาส อนุรักษ์ให้ดี จะดึงนทท.ได้ยั่งยืน การสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อสังคม จะขับเคลื่อนท่องเที่ยวที่สร้างรายได้เก้าแสนล.บ.ต่อปี (๒๐ เปอร์เซ็นต์ของ GDP) คนจะมาเที่ยวโครงการRoyal Coast นั้นมีกระแสว่าประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสท์จะเข้ามาลงทุน แต่พอการเมืองไม่นิ่งก็เบนไปประเทศอื่นการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ ถนนดี ลำเลียงสินค้าและคนให้มีระบบดี ปลอดภัย ลดเวลาการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งระบบรางพัฒนาสร้างสรรค์คุณภาพการบริการ
ปัจจัยพื้นฐานด้านบริการโดยระบบขนส่งมวลชนในยุโรปดี บ้านเราบางทีต้องเช่ารถไปเองพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดี เราจะวิเคราะห์ข่าวสารได้ถูกต้องแก้ปัญหาต่างๆได้ติดตามข้อมูลวิจารณ์วิจัยจากภายนอกมาพัฒนาแก้ปัญหาการท่องเที่ยว world economic forum UNWTO แต่ละปีผลิตเอกสารมากมาย ททท.นำมาวิจัยพัฒนา Brand Image ผลิตเอกสารวิเคราะห์วิจัย เอามาประมวลใช้ประโยชน์

บุคลากรด้านการท่องเที่ยวต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งดังกล่าวโดยต้องวิเคราะห์เป็น ใช้เป็นนำหลักcreative economicให้เป็น กระทรวงวัฒนธรรมก็ต้องใช้วัฒนธรรมให้เกิดปย.ด้านการทท. รร.เซนธารา หัวหิน เอาtheme อินเดียนา โจนส์ มาใช้ในโรงแรม ทำไมไม่เอาเพลงฉ่อย อีแซวมาประยุกต์ใช้ในเพลงระวังเรื่องดีมานด์ ซับพลายด้านการท่องเที่ยว นักการเมืองวางระบบนักท่องเที่ยว ถ้าพูดจริงจัง ต่างประเทศเอาจริงมาจริง เกิดโอเวอร์ ดีมานด์ การท่องเที่ยวจะฮีตมา ไม่ดี ตลาด สินค้าต้องเหมาะสม เดี๋ยวคุณภาพต่ำภาครัฐต้องส่งเสริมจริงจัง ไม่ใช่พูดสวยหรู ไม่เอาจริง เขาสร้างโรงแรม แล้วหาลูกค้าไม่ได้ โฮมสเตย์ ค่อนข้างเป็นตลาดเฉพาะ(Nitch Market) หาลูกค้ายาก เดี๋ยวตาย ต้องสมดุลส่งเสริมเที่ยวในปท.อย่างถูกวิธี เดี๋ยวนี้โฆษณาทางนี้ลดลง
ปีที่แล้วคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ ๔-๕ ลค. สูญนับแสนลบ,ร่วมสร้างศักยภาพด้านทท. กับเพื่อนบ้าน ไทย-ลุ่มน้ำโขง มาเลเซีย อินโดนีเซีย เราร่วมมือกับมาเลเซีย-สิงคโปร์บ่อย ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งหมดที่กล่าวมา เอามาวาง ๕ ยุทธศาสตร์๑ .ดูแลการบริหารการจัดการการท่องเที่ยว๒.การพัฒนาคน๓.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์๔.ยุทธศาสตร์ปัจจัยพื้นฐาน
๑๐.๑๕-๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๓๐ -๑๑.๓๐ น. (ร่าง) แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ปี๕๔-๕๘ โดย นายณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์ หัวหน้าโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว
สพท.ดูแลซับพลายไซท์และดีมานด์ไซท์ รับงานดูแลการพัฒนาสินค้าด้านการท่องเที่ยวจากททท.การนำเสนอครั้งนี้แบ่งเป็น๓ส่วน๑.สินค้าบริการท่องเที่ยว๒.ติดตามประเมินผล๓.ทำแผนกลยุทธ์/ ปฏิบัติการ ขอเสริมอ.จารุบุณณ์ ผมทำข้อมูลถึง ๒๐๐๘ จากซับไพรม์ จากอเมริกา ลามยุโรป กรีซนทท.จาก๕๐๐ลค. เป็น ๙๐๐ ลค. ชาวยุโรปตต.เที่ยวมาก รองมาคือ ยุโรปใต้ เอเชียแปซิฟิกเพิ่มสูงดีมาก ยูเอสเอ ตามมา แอฟริกาเพิ่ม๓ เท่าตัว ตลาดใหญ่คืดยุโรปและยูเอสเอโตช้าลงจาก๑๘ ปีที่แล้ว มาร์เกตแชร์ลดลง เอเชียแปซิฟิก(จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาเซียน-ไทย)โตสวนทางกับการลดของยุโรปและอเมริกา เงินเพิ่ม ๓ เท่า (จาก๒๖๔ เป็น ๙๐๐ พันล้านเหรียญ) โตเร็ว ใหญ่ โตเฉลี่ย ปีละ๑๐ % จีน ๕๓ ลค. รองลงมาคือ มาเลย์(อาจมั่วตัวเลข) ไทยค่อนข้างตัวเลขชัวร์กว่า ๑๔.๖ ลค.
การแข่งขันเกิดขึ้นระดับโลก เชิงรายได้ จีนเป็นอันดับ๑ ไทยส่วนแบ่งตลาดน้อยแต่รายได้สูงกว่ามาเลย์ นักท่องเที่ยวพักนานขึ้น แต่นทท.พยายามลดวันพัก คนไม่เพิ่ม แต่รายได้เราเพิ่ม ถ้าไม่เกิดวิกฤต เราอาจทะลุ ๒๐ ล้านคน การปิดสนามบินกระทบช่วงสั้นๆแต่คนก็กลับมาเที่ยวอีก นทท.ต่างชาติจ่าย ๓๕,๐๐๐ บาท/คน หักตั๋วเครื่องบิน ๔ ปีที่ผ่านมา นทท.หายไปล้านคน(๓๕,๐๐๐ล้านบาท)การลงทุนในยุโรปอเมริกา อิ่มตัวแล้ว การลงทุนทำให้เกิดการเดินทาง การพัฒนาทท.ในอนาคตต้องตอบสนองความต้องการของนักธุรกิจ การเดินทาง ความปลอดภัย ความสะดวก ประทับใจ ต้องการประสบการณ์มากขึ้นกว่าเดิม
การซื้อสินค้าและบริการ การเดินทางมี package tour กับ non-package tour กลุ่มที่มา ผ่านบ.นำเที่ยวลดลง แต่ชาติที่มีปัญหาเรื่องภาษาสัดส่วนการจองผ่านทัวร์ยังดีอยู่ ต้องพัฒนาการให้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น ต้องจับมือกับเพื่อนบ้านจะยกระดับการพัฒนาด้านการดึงคนเข้ามาในภูมิภาคกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้ามีปัญหาการกดขี่แรงาน ละเมิดสิ่งแวดล้อม ลิขสิทธิ์ แรงงานเด็ก จะถูกนำไปโจมตี
โครงสร้างประชากรสูงอายุ แก่ง่ายตายยากในยุโรป-ญี่ปุ่นมีมาก พวกนี้อยู่บ้านเขาต้องประหยัดแต่ถ้ามาบ้านเราจะใช้จ่ายได้หรูหราภาวะโลกร้อนน่ากลัว ทั่วโลกตื่นตัว อาจถูกผนวกมาเป็นเงื่อนไขในการท่องเที่ยว การเดินทางจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะมากขึ้น นั่งสมาธิ รักษาพยาบาล
สัดส่วนGDP เพิ่มมาก งบประมาณด้านการท่องเที่ยวไม่มากเท่าใดนัก การท่องเที่ยวโตทุกปี ดุลการชำระเงินส่วนหนึ่งมาจากการท่องเที่ยวนทท.ที่มาไทย ๕๑ มา ๑๔.๕ ปี ๕๒ มา ๑๕ ล้านคน จีนเกาหลี มามากเป็นหลักผลกระทบทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ท้องถิ่นบางอย่างถูกทำลายหายไปขยะ มลภาวะ ของเสียรายได้ตกแก่ชุมชนหรือไม่ ได้แต่ค่าแรง แต่ค่าครองชีพแพง แสดงว่า เป็นผลกระทบปี๒๐๑๐
เวียดนามตั้งเป้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม(ตอนนี้มี ๖ ล้านคน)เราไม่ต้องทำของถูก มีกลุ่มจ่ายแพงได้ ต้องทำแบบหลากหลาย แต่มีคุณภาพ จะทำให้เกิดการrevisiting แสดงว่านทท.มีความเป็นbrand royaltyต่อประเทศไทย แต่ตอนนี้คนไทยเริ่มขาดความเป็นเจ้าภาพ เรื่องทัวร์ศูนย์เหรียญ มีการขยายจากตลาดจีนไปที่รัสเซีย และเกาหลีแล้ว
เรามีหน่วยงานท่องเที่ยวมากมายเกือบทุกกระทรวง ควรมีองค์กรหลัก ให้มองปัญหาเชิงอุตสาหกรรม ต้องมีการบูรณาการให้การท่องเที่ยวมีศักยภาพแข่งขันได้ ค่าใช้จ่ายเวลาพักต้องเพิ่ม ควรส่งเสริมด้านการถ่ายทำภาพยนตร์
๑.การพัฒนาสินค้าและบริการแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด มีมากมาย พัฒนาให้มีมาตรฐานสากล บางแหล่งนทท.น้อย ลงงบมาก นทท.มาพัฒนาน้อย ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
รายได้กับการอนุรักษ์ต้องสมดุลกัน การจดทะเบียนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจะได้มีข้อมูลด้านมาตรฐาน จะได้เข้าไปช่วย สมัครใจไม่เวิร์ค ต้องใช้กฎหมายบังคับ กรีนทัวริสม์(การท่องเที่ยวที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้โลกร้อน กระแสมาแรง อาจต้องมีมาตรฐาน จำกัดการเข้าไปของนทท.ไม่ให้มากขึ้น
๒.การพัฒนาด้านการบริหารและการจัดการตั้งกองทุนพัฒนาการจัดการด้านการท่องเที่ยว มาตรฐาน ออกกม.ให้แหล่งท่องเที่ยวทำมาตรฐาน พัฒนาระบบออดิโอซิสเต็ม ช่วยฟัง เพราะไกด์อธิบายถูกๆผิด การรณนรงค์จิตสำนึกด้านการท่องเที่ยว ระบบเส้นทางการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวไปแล้วไม่รู้จะไปต่อที่ไหน ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าใด กิจกรรมท่องเที่ยวสำคัญสำคัญรองจากแหล่งท่องเที่ยว สงกรานต์พอดึงคนได้ แต่ไม่ควรซ้ำซาก พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชุมชน อาจพัฒนาต่อไปได้แต่ต้องระวังผลกระทบต่อชุมชน
นักท่องเที่ยวมุสลิมมีปัญหาเรื่องอาหารฮาราล นักท่องเที่ยวสูงอายุมัคคุเทศก์ ก็เป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยว ตอนนี้องค์กรมัคคุเทศก์ไม่เข้มแข็งนักท่องเที่ยวมาไทยจากข้อมูลอินเตอร์เนต รองลงมา คือ เพื่อน ญาติ ถ้าเป็นทัวร์ศูนย์เหรียญจะเกิดผลเสีย ต้องสร้างความเข้มแข็งแก่มัคคุเทศก์ พัฒนามัคคุเทศก์อย่างเป็นระบบ อาจบังคับให้เป็นสมาชิกสมาคมมัคคุเทศก์ ๓ ปี
กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนพัฒนาบุคลากร เราก็ควรมีบริษัททัวร์๑๖ เปอร์เซ็นต์ ใช้อินเตอร์เนตทำพีอาร์ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์แบบเกาหลี ความปลอดภัยนทท. อินเตอร์เนตต้องมีหลายภาษาสร้างสถาบันการศึกษาเฉพาะที่ไม่เน้นผลกำไรเพื่อสร้างคน ยกตัวอย่างเช่น หลายมหาวิทยาลัยถ้าเน้นคุณภาพน.ศ.ก็ไม่มาเรียน

๓.ความร่วมมือในภูมิภาค
๑๑.๓๐-๑๒.๑๕ น.ระดมความคิดเห็นจากผู้ร่วมสัมมนา

-ดร.สุวันชัย ถามดีมานด์ ซับพลายไซท์
-พิทยะ เสนอแนวคิดส่งคนในวงการท่องเที่ยวไปเรียนภาษาต่างๆ เช่น อังกฤษ เกาหลี รัสเซีย กลุ่มสแกนดิเนเวียน ฯลฯ ไม่ต้องสร้างอาคาร ให้สวัสดิการบุคลากร อยู่ในวงการใช้ภาษาโดยตรง สะท้อนปัญหาเรื่องการฝึกงานและอนาคตของมัคคุเทศก์ในวันข้างหน้า
-เรื่องยุทธศาสตร์ joint visa อ.จารุบุณณ์ ต้องรอโอกาสในการเจรจาของ ก.ต. มีหลายประเทศเข้าโดยไม่มีวีซา
-ผู้ร่วมสัมมนาจาก ททท. เสนอว่า ททท.เคยมีสถาบันฝึกอบรมวิชาการที่บางแสน ตอนนี้หยุดไปแล้ว ขอฝากด้วย
-นายณัฐพล บอก น่าเสียดาย เสียโอกาส
-ผู้ร่วมสัมมนา เรื่องกฎหมายนอกเหนือจากพรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ นอกนั้นเป็นกฎหมายขนส่ง ป่าไม้ พรบ.ททท.(ดูแลการตลาด) การดูแลทรัพยากรทท.
-นายณัฐพล ขณะนี้มีแนวโน้มการออกกฎหมายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
-อ.จารุบุณณ์ กฎหมายจำเป็น การบุกรุกแหล่งท่องเที่ยวแถบเขาใหญ่ อยู่นานก็ได้รับสิทธิ์ครอบครอง ขายแก่เศรษฐี ต้องออกฎหมายป้องกัน บังคับกฎหมายอย่างใช้จริงจัง
-ผู้ร่วมสัมมนา กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความอุ่นใจของนักท่องเที่ยว-ณัฐพล ทำอย่างไรกระบวนการยุติธรรมจะเดินต่อไป แม้ว่า นทท.จะเดินทางกลับไปแล้ว