จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เที่ยวชุมชนบ้านหนองขาว อ.ท่าม่วงและสัมผัสป่าชุมชนบ้านห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

โดย อาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ที่ปรึกษาชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนถ่ายทอดเรื่องราว พระครูถาวรกาญจนนิมิตรเจ้าอาวาสวัดอินทาราม(วัดหนองขาว)ผู้มีเมตตาธรรมในการจุดประกายให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่บ้านหนองขาว และได้ชักชวนเยาวชนบ้านหนองขาวในการอนุรักษ์ดนตรีไทยและการร้องเพลงพื้นบ้าน อันกลายเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรท่องเที่ยวที่บ้านหนองขาว นอกเหนือจากการแสดงละครร่วมสมัยเรื่อง "อ้ายบุญทองบ้านหนองขาว" ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ชาวบ้านหนองขาวจากเดิมที่เคยมีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องความใจถึงทุกด้านก็เปลี่ยนไปเป็นคนที่เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยน้ำใจที่เปี่ยมล้น

เที่ยวชุมชนบ้านหนองขาว

ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประกอบด้วยกรรมการชมรม สมาชิกชมรม อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมได้จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงชุมชนเพื่อศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวบ้านหนองขาว ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี และชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2551 โดยได้ติดต่อไปยังอาจารย์ อุบล อำนวยและอาจารย์มนู อำนวย ผู้นำกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองขาว เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการจัดการต้อนรับสมาชิกชมรม


อาจารย์อุบล อำนวยและอาจารย์มนู อำนวย (ที่1แล2จากซ้ายมาขวา)จัดรถเกษตรกรรม(รถนางแต๋น)มาเป็นพาหนะเที่ยวชมรอบๆชุมชน อาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนสาร ที่ปรึกษาชมรมก็ร่วมทางไปด้วย อิ๋ว ยืนซ้าย แอม ยืนขวา สุวรรณ อายุโย (เสื้อดำ) กรรมการชมรมฯ นั่งชูนิ้ว 2 นิ้ว บ่งบอกความรู้สึกภายใน


บ้านหนองขาวเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกองทัพพม่ายกเข้ามารุกราน ชาวบ้านหนองขาวก็มีส่วนร่วมในการรบป้องกันมาตุภูมิ สมาชิกชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน ได้อาศัยรถของเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองขาว พาพวกเราไปทุกพื้นที่ของบ้านหนองขาวด้วยรถนางแต๋นทั้งย่านบ้านเก่า คลองชลประทาน ร้านผลิตเครื่องประดับจากพลอยหลากสี ร้านโอทอป ร้านทอผ้าขาวม้าร้อยสี ฯลฯ


ข้าวต้มผัดพื้นบ้านรสอร่อยฝีมือใครเอ่ย..? ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของน้องๆเหล่านี้ที่ใช้เวลาว่ามาอบรมทำขนมต่างๆแบ่งออกเป็นสถานีข้าวต้มมัด สถานีข้าวเกรียบว่าว สถานีข้าวเหนียวเผือก-กล้วย สถานีขนมดอกจอก สถานีขนมตาล สถานีข้าวเกรียบปากหม้อ เป็นต้น ในช่วงสำรวจก่อนพาสมาชิกชมรมมาเยี่ยมชาวบ้านหนองขาว คณะกรรมการชมรมก็มีโอกาสเห็นความตั้งอกตั้งใจเข้าร่วมการอบรมของเด็กๆเหล่านี้พวกเรากำลังจะไปดูหม้อยายซึ่งลูกสาวของชาวบ้านหนองขาวทุกหลังคาต้องนำไปบูชาเมื่อถึงวัยแยก ครอบครัว และมีโอกาสชิมขนมตาลกับน้ำตะไคร้ในชุมชนอย่างเต็มอิ่ม
หม้อยายที่บ้านหนองขาว ที่พึ่งทางใจและเชื่อมโยงคนในอดีตเข้ากับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน
การบูชาหม้อยายถือเป็นสวัสดิมงคลที่ชาวบ้านหนองขาวยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณนับร้อยๆปี ผ้าขาวม้าร้อยสีทอจากผ้าฝ้ายหลากสี ราคาสมคุณภาพที่บ้านหนองขาว
เที่ยวป่าชุมชนบ้านห้วยสะพาน
ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานตำบลหนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี อยู่ห่างบ้านบ้านหนองขาวประมาณ 10 กิโลเมตร ในภาพลุงประยงค์ แก้วประดิษฐ์ ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคีกำลังเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานให้เราฟังว่า ป่าชุมชนแห่งนี้เคยถูกนายทุนฮุบไปเป็นพื้นที่กว่า 700 ไร่ ชาวบ้านได้ร่วมใจกับต่อสู้ด้วยกระบวนการแบบชุมชนเข้มแข็ง จนมีชัยชนะสามารถนำทรัพยากรของชาติกลับคืนมาเป็นของชุมชนอีกครั้ง แลกกับชีวิตของญาติมิตรที่ร่วมต่อสู้กันมาจำนวนหนึ่ง ต่อมาก็ได้รับความไว้วางใจจากกรมทรัพยากรป่าไม้ให้ดูแลพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 2,000 ไร่ (พี่ผึ้ง ดีใจมาก ชูสี่นิ้ว บอกว่า อยากศึกษาธรรมชาติที่บ้านห้วยสะพานต่ออีก 4 วัน)

ชาวบ้านตำบลห้วยโรง3-4หมู่บ้านร่วมกันกำหนดระเบียบในการใช้พื้นที่ป่า เช่น ห้ามจับสัตว์ ห้ามล่าสัตว์ ห้ามขุดแย้ ห้ามขุดบึ้ง ห้ามตัดไม้ ห้ามตีผึ้ง เป็นต้น แต่ก็สามารถใช้ประโยชน์จากป่าในกรณีอื่นได้ เช่น เก็บผักหวาน มะขาวป้อม ตะคร้อ หรือพืชยาสมุนไพรได้ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บเห็ดโคนในช่วงปลายฝนต้นหนาว เห็ดโคนที่นี่มีชุกชุม ดอกใหญ่ รสชาติดี และมีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของเมืองกาญจนบุรี

ในพื้นที่ป่าชุมชนมีสถานที่ตั้งแคมป์ เรียนรู้คุณค่าพืชสมุนไพรนานาชนิด สิปป์ภัสส์ โล้กูลประกิต นั่งตะเบ๊ะ พี่ต้น(ฤาชา ประมาคะตัง)ประธานชมรม พกโทรโข่งไปด้วย แบ๊งค์ จากนิเทศศาสตร์หมดแรง บิ๊กนั่งขวาสุด ที่นี่มีนักศึกษาและนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศจากหลายสถาบันมาดูงานตลอดปี บ้างก็มาฝึกทำนา เกี่ยวข้าว ทอผ้า ฯลฯ
พี่อิ๋ว สาวเมืองราชบุรี ใส่ส้นสูงไปลุยป่าชุมชน จนเกิดรอยทรายคล้ายรูบึ้ง กำลังยืนฟังบรรยาย หนุ่มวีรวัฒน์ วรพฤกษกิจ เสื้อแดง ยืนด้านหลัง

เห็นชุมชนมีคติเรื่องการปลูกป่าสัญญาใจ สมาชิกของเราไม่รอช้า......

สีสวย..แต่กินไม่ได้ เจ้านี่คือเห็ดกาบหมาก เห็ดพิษชนิดหนึ่ง

เสื้อแดงใส่หมวกเอียงหน่อยๆคือพี่ผึ้ง เหตุที่ทางบ้านเรียกว่าผึ้งเนื่องจากสามารถร้องพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้อย่างไพเราะ ยืนกอดอกด้านหลังคือคุณนายมะเหมี่ยว(ยุพา ศรีขาว) นายราเชน ชูเชิด หัวเหลืองสไตล์อัลเทอร์เนทีฟ ยืนเสียบข้างๆอาจารย์ สุวรรณ อายุโย(เสื้อดำ) กับทินพันธุ์ (เสื้อลายขวาง) กับหลายๆคนกำลังยืนดูต้นตะเคียนที่ลุงประยงค์บอกว่า เขาไม่ใช้สร้างบ้านเพราะเป็นไม้เนื้อแข็ง มิฉะนั้นภูมิปัญญาด้านการสร้างเรือนของเราจะสูญหายไปเพราะกว่าจะได้สร้างบ้านทีก็กินเวลานานหลายชั่วอายุคน นายตู่ยืนท้าวเอวเอียงข้างหน้าสุด

มะกล่ำตาหนู มีพิษถึงตายถ้ากินเข้าไป
พี่ต้น(ใส่แว่นกันแดด)เอาเปรียบเพื่อนเรียนจบไปก่อนเลยได้ไปฝึกปรือวิทยายุทธ์ต่อที่ร้านสุกี้ชื่อดังและร้านโดนัทมีชื่อเช่นกันตามลำดับ สุวณ สิปป์ภัสส์และวีรวัฒน์กำลังไล่ตามออกไป
กล้วยเต่ากลิ่นหอมคล้ายกล้วยรสออกเปรี้ยวอมหวานชุ่มคอ ผลไม้ของพรานป่า
เยาวชนดีเด่นของบ้านห้วยสะพาน(นักศึกษาสาขาไอทีของม.กรุงเทพ)กำลังสร้างแรงบันดาลในการอนุรักษ์ป่าให้สมาชิกชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน ม.ธุรกิจบันฑิตย์ฟังอย่างสนุกสนาน
ด้วยความประทับใจ ... เราจึงสัญญากับคนที่บ้านห้วยสะพานว่า ถ้ามีโอกาสจะกลับมาสัมผัสชีวิตชนบทที่นี่อีกครั้งในวันข้างหน้า

3 ความคิดเห็น:

  1. http://turismindustrydpu0004aruneeaphi.blogspot.com
    นางสาวอรุณี อภิดิลกกุล
    530105030217
    คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

    <<>>

    ตอบลบ
  2. ศันสนีย์ ปะนะสุภา
    http://tourismindustry0004sunsanee.blogspot.com
    530105030221
    คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

    ตอบลบ
  3. มันไม่ใช่ข้าวต้มผัดหรือข้าวต้มมัดอย่างที่เข้าใจนะครับ มันเรียกว่ามัดใต้ต่างจากข้าวต้มมัดโดยสิ้นเชิงเพราะไส้ในไม่ได้เป็นกล้วย แต่เป็นถั่วเขียว เกลือ พริกไทย และมันหมู ที่สำคัญปรุงให้สุกด้วยวิธีการต้ม มิใช่การนึ่งอย่างข้าวต้มมัด

    ตอบลบ