จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

โครงการบริจาคหนังสือให้ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน ตลาดนางเลิ้ง

โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2554 เวลาประมาณ 10.30 น.ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้จัดกิจกรรมบริจาคหนังสือมือสองให้แก่ห้องอ่านหนังสือชุมชนของกรุงเทพมหานคร ณ ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน(วัดแคนางเลิ้ง) ในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตูพ่าย ชุมชนดังกล่าวจัดอยู่ในชุมชนแออัดที่มีความเข้มแข็งในเรื่องการสร้างสรรค์พลังพลเมืองรักษ์บ้านเกิด ซึ่งพยายามต่อสู้เรียกร้องพื้นที่การแสดงออกทางวัฒนธรรม จนสามารถยับยั้งการรื้อโรงภาพยนตร์เฉลิมธานีได้เป็นผลสำเร็จ และพยามยามฝึกฝนให้เยาวชนให้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านนาฏศิลป์(รำซัดชาตรี) ซึ่งเคยมีชื่อเสียงมานานในชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475



คุณสุวัน แววพลอยงาม ประธานคณะกรรมการชุมชนคนที่ 2 เป็นผู้รับมอบหนังสือจาก อาจารย์ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร อาจารย์ประจำพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เครือข่ายของชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน มธบ. ตัวแทนกิตติมศักดิ์ของชมรมฯ เป็นมอบหนังสือดังกล่าว โดยมีกรรมการชุมชนและเยาวชนในชุมชนเป็นสักขีพยาน




เด็กหญิงน้ำมนต์ กำลังสาธิตท่ารำซัดชาตรีที่บ้านไม้ในชุมชนซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากเพื่อนบ้านด้วยความภาคภูมิใจ บ้านหลังเล็กๆดังกล่าวถูกปรับปรุงเป็นศูนย์กลางด้านการฝึกฝนทางศิลปะและวัฒนธรรมของเยาวชน เพื่อมิให้พวกเขาตกเป็นทาสยาเสพติด เมื่อเยาวชนเข้ามาร่วมกิจกรรม ก็จะมีขนมและอาหารกลางวันรับประทาน และยังได้การอบรมและปลูกฝังกิริยามารยาทในสังคมอีกหลายอย่างทำให้เด็กๆเหล่านี้ สามารถพูดจาโต้ตอบกับผู้เข้าไปเยือนอย่างเฉลียวฉลาดและไพเราะเพราะพริ้ง


ชุมชนวัดสุนทรธรรมทาน เป็นชุมชน1ใน3ของชุมชนตลาดนางเลิ้ง ซึ่งมีความเข้มแข็งในด้านการจัดการทรัพยากรมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน จนสามารถพัฒนาให้ชุมชนดังกล่าวกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงชุมชน เชื่อมโยงกับตลาดนางเลิ้ง โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เปิดโลกกิจกรรม 2554 มธบ. วันที่ 15-17 มิถุนายน 2554

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ระหว่างวันที่15-17 มิถุนายน 2554 ฝ่ายกิจการนักศึกษา โดยสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชมรมและกรรมการคณะวิชาต่างในมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันจัดงานเปิดโลกกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาทุกชั้นปีมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในชมรมต่างๆ ตามความสนใจ ในโอกาสนี้ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย


นางเสือดาวเพศที่3


ใต้อาคาร 7 และซุ้มรับสมัครสมาชิกชมรม


การทำกิจกรรมPRผลิตภัณฑ์ของตัวแทนธุรกิจเอกชน

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Thailand Tourism Festival 2011, June 7-12.เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


ระหว่าง 8-12 มิถุนายน 2554 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดงานเทศกาลท่องเที่ยว "Thailand Tourism Festival" ที่เมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ และที่มุมหนึ่งของงานได้นำเสนอพัฒนาการของแนวคิดในแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวแต่ละช่วงไว้อย่างน่าสนใจ จึงนำมาถ่ายทอดให้ทราบเท่าที่จะสามารถทำได้ครับ















วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คณะกรรมการชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน พ.ศ.2553

รายงานโดย
เกษม พุทธา

นางสาว จุราภรณ์ แท่นทอง (บริหาร)
นาย เกษม พุทธา (วิศวะ)
นางสาว ทิมาพร ชื่นสงวน (ศิลปศาสตร์)
นางสาว พัชรินทร์ ปะละสี (ศิลปศาสตร์)
นาย รัชกิจ วิทยานนท์ (ศิลปศาสตร์)
นางสาว อริศรา มูลแสดง (การบัญชี)
นางสาว สุปรียา พวงมาลี (การบัญชี)
นางสาว สุจิน ชุ่มเย็น (การบัญชี)
นางสาว สารีย์ นามะหึงษ์ (วิศวะ)

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554

ไทยเที่ยวไทย : ชวนเที่ยวชมบ้านไทยประยุกต์สวยๆที่โรงแรมโกลเดน โกลด์ รีสอร์ท

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร


ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2554 ผู้เขียนในฐานะเป็นสมาชิกครอบครัวของบุคลากรของพนักงานราชการสถาบันพระปกเกล้าได้ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาและพัฒนาบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้าที่อ.ปากช่อง จ. นครราชสีมา โดยได้เข้าพักที่โรงแรมโกลเดนโกลด์รีสอร์ท ปากช่อง จึงถือโอกาสบันทึกภาพบ้านไทยประยุกต์หลายแบบทั้งบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้และบ้านไม้ล้วนมาอวดโฉม เพื่อว่าอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้บางท่านคิดอ่านสร้างสรรค์บ้านของตนขึ้นมาอวดสายตากันบ้าง


ภาพที่ปรากฏขอให้ถือว่า เป็นการสนับสนุนให้พวกเราคนไทยมาช่วยกันเที่ยวภายในประเทศไทยให้มากๆ เพื่ออุดหนุนผู้ประกอบการที่พักแบบรีสอร์ทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกันนะครับ









































วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

รายงานด่วน พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองระหว่างสถาบันพระปกเกล้ากับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 12 เมยายน 2554

รายงานโดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองระหว่างสถาบันพระปกเกล้ากับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อังคาร 12 เมษายน 2554
หัวข้อ “ความเป็นมาของโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง” โดย ผศ. ดร. ธานี วรภัทร์ รักษาการ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษา มธบ. อ.ฐิติ ลาภอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา มธบ. และ อ.ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผอ.สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ดร.ธานี บทบาทในการพัฒนาความเป็นพลเมืองนี้สำคัญ ลึกซึ้งมาก เรื่องปชต. สำนึกพลเมือง ถูกสร้างสมมาตั้งแต่สมัยอ.ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งท่านเคยสมัครสส. เคยทำงานการเมืองร่วมกับอ.ปรีดีพนมยงค์ อ.ไสว ให้ยนิยาม พลเมืองว่า กำลังของเมือง เมืองจะดี อยู่ที่การปลูกฝังเรื่องการศึกษาที่มหาวิทยาลัย การร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าเป้นแนวทางที่ถุกต้อง อ.ปรีดี พนมยงค์ สร้าง ม.ธรรมศาสตร์ แนวคิดของอ.ปรีดีต้องการสร้างพลเมืองด้านการศึกษา

การเลือกตั้งมีความสำคัญต่อประเทศ ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดการแตกแยก มีนัยสำคัญ รัฐประกอบด้วย ประชากร ดินแดน และอำนาจอธิปไตย ทำไมคนไทยคิดไม่เหมือนกัน เราสร้างพลเมืองอย่างไร มหาวิทยาลัย เป็นแหล่งซักซ้อมความเป็นพลเมือง ประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่เลวน้อยที่สุด มหาวิทยาลัยจะผลิตพลเมืองออกไปให้มีคุณภาพได้อย่างไร

อ.ฐิติ เป็นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือ เพื่อก้าวไปข้างหน้า สถาบันพระปกเกล้ามีแนวคิดในการเมืองภาคพลเมืองอย่างไร

อ.ศุภณัฐ ก่อนหน้านี้อยู่สำนักสันติวิธี แต่78 ปีที่ผ่านมาเราพัฒนาประชาธิปไตยกันมาอย่างไร ก็แลเห็นอยู่ ประชาธิปไตยอยู่ที่ไหน แนวคิดประชาธิปไตย คือ อำนาจเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ในระดับโรงเรียนมีการเลือกตั้งประธานนักเรียน

ประชาชน พลเมืองมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร เราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง แต่สามารถสร้างความเป็นพลเมืองได้ มนุษย์สนใจเรื่องใดมากเกินไปก็อาจเห็นแก่ตัวได้ แต่ตัวอย่างที่เห็นในประเทศญี่ปุ่นขณะเกิดพิบัติภัยซึนามิ ทั้งๆที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ชาวญี่ปุ่นเข้าแถวซื้อของ รับของและไม่มีการลักขโมย แสดงให้เห็นถึงวินัยที่มีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเรียนหรือในครอบครัว


เรามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหากทุกคนมีจิตสำนึก มีเหตุผล รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ บางคนเขาห้ามเดินลัดสนามกลับใช้วิธีวิ่งข้ามสนาม มนุษย์ส่วนใหญ่จะมีจิตสำนึกอยู่ในตัวเอง 10ส่วน ขณะที่มีจิตใต้สำนึก90ส่วนมาตั้งแต่เกิด จิตใต้สำนึกจะถูกสะสมมาเรื่อยโดยไม่รู้ตัว อาจเรียกสันดาน ทั้งสองส่วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาความเป็นพลเมือง บางครั้งเราจำเป็นต้องเอาจิตใต้สำนึกดีๆ มาช่วยแก้ปัญหาในสังคมได้ ก็เกิดประโยชน์ได้ แต่ถ้าเอาจิตใต้สำนึกฝ่ายไม่ดีมาใช้จะเกิดปัญหา

เมื่อพลเมืองเป็นพลังสำคัญของเมือง พลเมืองจะเข้มแข็งแค่ไหนเพียงใด มีจิตสำนึก มีจิตอาสา หรือมีจิตสาธารณะเพียงใดต้องปลุกฝัง และลงมือปฏิบัติ

อ.ธานี การลดความขัดแย้ง ต้องสร้างความมีส่วนร่วม ในส่วนของนักศึกษาก็ให้น.ศ.มีส่วนร่วม ม.ธรรมศาสตร์รู้เรื่องนี้มานาน โดยสร้างกิจกรรมนักศึกษา สคอ.ก็สนับสนุน เราก็มองดู 4-5 ปี มธ.เปิดวิชากิจกรรมจิตอาสาให้หน่วยกิต มธบ.ก็สร้างวิชาจิตอาสาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มีการสัมมนาผุ้นำนักศึกษา อธิการบดีก็สนับสนุน เรามีคณะกกต. มีการเลือกตั้งประธานน.ศ. ชมรมต่างๆในมหาวิทยาลัยมีการประชุมกันทุกเดือน


มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชมรมต่างๆ รวมทั้งเน้นการมีวินัยและสุขภาพกาย การยอมรับความแตกต่าง สถาบันพระปกเกล้าก็เต็มที่กับเรา เปิดบทเรียนไม่ต้องมีหน่วยกิต ในการเรียนรู้ร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมให้รู้สึกว่าทุกคนเป็นหุ้นส่วนของสังคม จะมีการทำโพล และประเมินทุกปี สำรวจความพึงพอใจ มีการเข้าร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยด้วย 4 ปีที่น.ศ.อยู่กับเราน่าจะปลูกฝังอะไรได้มาก

อ.ศุภณัฐ 23-24-25 พค. 2554 จะมีการอบรมที่มธบ. การลงมือปฏิบัติเป็นเรื่องสำคัญ มากกว่าการอบรมในชั้นเรียน

รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวต้อนรับแนวทางการพัฒนานักสึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์สู่ความเป็นพลเมือง

การสร้างความเป็นพลเมืองแก่น.ศ.ต้องสร้างบุคลิกบางอย่างให้เกิดขึ้น คือ เรื่องของการยอมรับความแตกแตกท่ามกลางความหลากหลาย นักศึกษาต้องมีความรุ้และมีความเป็นพลเมือง ออกไปสร้างสรรค์สังคม ก่อนหน้านี้ ศูนย์สันติวิถี สถาบันพระปกเกล้า เคยมีการลงนามสร้างเครือข่ายลดความขัดแย้งในสถานศึกษากับมหาวิทยาลัยมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้

ศ. ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การสร้างความเป็นพลเมือง”

ขอขอบคุณที่ไว้วางใจสถาบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เป็นกรรมการสถาบัน เป็นกก.วิชาการและเป็นกรรมการหลักสูตรของสถาบันฯ ถือเป็นความสัมพันธ์แน่นแฟ้น

ประชาชน เป็นราษฎร= subject รอผู้ปกครองสั่ง ในระบบเผด็จกา ระบอบอุปถัมภ์

พลเมืองcitizen= แตกต่างจากราษฎร

พลเมืองเกิดตั้งแต่กรีก นครรัฐเอเธนส์ มีขนาดเล็ก ประชาชนในนครรัฐต้องทำหน้าที่เป็นพลเมือง คือ Citizen เป้นกำลังของเมือง อริสโตเติลที่ไม่มีส่วนร่วม คือ อมนุษย์ กับเทพ อริสโตเติล บอกมนุษย์แบ่งเป็นสอง ส่วน กาย จิต กายรักษาโรค จิต ทำหน้าที่เพื่อบ้านเมือง เน้นมากกว่าสิทธิ

1789 ในฝรั่งเศสพูดเรื่องหน้าที่ต่อรัฐ

ปัจจุบันเราต้องพูดถึงหน้าที่ที่มีต่ออาเซียน โดยต้องตระหนักถึงเรื่องความร่วมใจ การมีส่วนร่วม คุณธรรมของความเป็นพลเมือง เริ่มจากครอบครัว และสถานศึกษา ในอังกฤษและอเมริกาบังคับเรื่องพลเมืองศึกษาบ้านเราเรียนเรื่องสลน.

วันนี้ ความเป็นพลเมืองขยายความออกไปมาก มีการสร้างประชาธิปไตยชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเป็นพลเมือง ดุปัญหาชุมชน ถกเถียงแล้วให้ทางราชการนำแผนไปบรรจุ เรียกประชาธิปไตยชุมชน สิ่งที่เราทำวันนี้จะเป็นรากฐานสร้างความเป้นพลเมือง สู่ความเป็นประชิปไตยที่แท้จริง เมื่อพ้นจากราษฎรเป็นพลเมือง ชุมชนจะมีความเข้มแข็ง เราจะไม่เห็นการใช้อามิสรางวัลเล็กๆน้อยๆดึงคนมาชุมนุมอีกต่อไป สำนึกความเป็นพลเมืองจะช่วยคานอำนาจระดับชาติและท้องถิ่น ดุลและคานอำนาจกับอำนาจทุนที่มีพลังมหาศาล และลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในอนาคต

ขอขอบคุณท่านอธิการบดีที่เห็นความสำคัญดังกล่าว สถาบันพระปกเกล้าหวังจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านต่อไป

ต่อจากนั้นเป็นพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในกระบวนการสร้างความเป็นพลเมือง โดย ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผศ. ดร. ธานี วรภัทร์
















วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ตลาดลาดชะโด แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชน อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร เมื่อเวลาประมาณ 15.00น. ของวันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2554 ระหว่างเดินทางไปทำรดน้ำชีวภาพต้นไม้ที่สวนในเขต อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้เขียนได้มีโอกาสแวะไปเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ตลาดลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นช่วงเวลาสั้นๆ



ตลาดลาดลาดชะโดก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 51 ปี โดยพัฒนามาจากตลาดน้ำที่มีเรือนแพค้าขายกลายเป็นตลาดบกสะท้อนวิถีชีวิตของคนริมคลอง ลักษณะตลาดเป็นเรือนแถวขนาดใหญ่หันหน้าเข้าหากันทางเดินกว้างขวาง ในอดีตเป็นศูนย์กลางการค้าขาย คึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่มาทำการค้าขาย ใช้มีการสัญจรเส้นทางทางน้ำเป็นหลัก มีโรงสีข้าวและโรงภาพยนตร์ ที่นี่เป็นแหล่งน้ำที่มีปลาน้ำจืดชุกชุม แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรและผู้คน ตลาดเก่าแก่แห่งนี้ที่ดึงดูดให้สถานที่แห่งนี้ได้ใช้เป็นฉากถ่ายภาพยนตร์และละครย้อนยุคหลายเรื่อง เช่น ดงดอกเหมย รักข้ามคลองและบุญชู และความสุขของกะทิ เป็นต้น และยังเป็นบ้านเกิดของศิลปินนักร้องและนักแต่งเพลงในอดีต คือ ธีรศักดิ์ อัจจิมานนท์ ผู้ขับร้องเพลงกุหลาบสีแดงและลมลวงชุมชนเดิมในตลาดเป็นชุมชนเรือนแพค้าขาย ต่อมาวัดลาดชะโดได้ยอมยกพื้นที่ริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ของวัดให้ชุมชนได้ทำมาค้าขาย ช่วงแรกมีการจับฉลากในการให้สิทธิ์พื้นที่ในตลาด ชุมชนค้าขายของชาวเรือนแพจึงได้อพยพจากน้ำขึ้นสู่บก พื้นที่ตลาดเริ่มต้นจากพื้นที่ติดคลองลาดชะโดแล้วขยายเข้าไปสู่ฝั่งเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างใช้ระบบเรือนค้าของผู้ใด ผู้นั้นก็ออกเงินในการก่อสร้างเอง ส่วนที่เป็นสาธารณประโยชน์ อาทิ ท่าขนส่งสินค้า หรือหลังคารวมในตลาด สมาชิกผู้อาศัยในตลาดจะออกเงินเป็นกองกลางในการก่อสร้างตลาดลาดชะโดเคยเป็นตลาดที่คึกคักรุ่งเรืองมาก แต่ระหว่างพ.ศ. 2526 – 2527 ได้มีการถมที่บางส่วนที่เป็นลำคลองเพื่อสร้างเป็นถนนเชื่อมจากทางหลัก ทำให้การคมนาคมทางบกเข้ามา ทำให้ตลาดลาดชะโดซบเซาลง นอกจากนี้ การเปิดตลาดนัดก็ส่งผลกระทบต่อตลาดลาดชะโดจนเรือนค้าในตลาดเริ่มร้างไร้ผู้คน ทำให้หลายคนอพยพออกจากชุมชนตลาดเข้าสู่เมือง (ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.chomthai.com/forum/view.php?qID=1649)










คุณชาญวิทย์ กิตติจตุพร หรือ น้องเอก ศิลปินหนุ่มฝีมือดีจากรั้วเพาะช่าง เจ้าของแกลลอรีงานเขียนภาพวิถีชีวิตไทยกับสายน้ำจำนวนหลายชิ้นที่ตลาดลาดชะโด บางชิ้นถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน ที่ตลาดลาดชะโดและที่บ้านรองนายกฯอบต.ลาดชะโด




ลวดลายช่องลมที่เรือนค้าชายน้ำหน้าตลาดลาดชะโด