พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
-พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
จากหลักฐานประเภทเอกสารตำนานพื้นเมืองล้านนา อาทิ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน(หรือเมืองหิรัญนครเงินยาง) ซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานระยะแรกของชุมชนแคว้นไทยตั้งแต่สมัยขุนลาวเคียง[1]บรรพบุรุษของขุนจอมธรรมกษัตริย์องค์แรกแห่งแคว้นพะเยา(จ.ศ.๔๕๘, พ.ศ.๑๖๓๙)[2] อาจจะกล่าวได้ว่า จังหวัดพะเยาเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการยาวนานมาอย่างน้อยตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่๑๔ แล้ว เนื่องด้วยปัจจัยของการมีสภาพที่ตั้งอยู่ในที่ราบเชียงราย-พะเยาซึ่งมีแหล่งน้ำเป็นองค์ประกอบที่กำหนดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ในการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ได้แก่ กว๊านพะเยา หนองเล็งทราย ห้วยร่องทง ห้วยร่องเตี้ยลำน้ำแม่อิง แม่น้ำยม ลำน้ำแม่ปืม ลำน้ำแม่ต๊ำ ห้วยแม่ทุ่ม ลำน้ำแม่เหยี่ยน ห้วยร่องบ่อ ห้วยแก้ว แม่น้ำลาว แม่น้ำยวน และแม่น้ำทาน เป็นต้น[3] โดยเฉพาะที่ราบลุ่มรอบกว๊านพะเยาซึ่งปรากฎร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ(เมืองโบราณ)ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบถึง๑๐แห่ง[4]
จังหวัดพะเยามีชื่อเรียกดั้งเดิมปรากฏอยู่ในตำนานและศิลาจารึกต่างๆ อาทิ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า “เมืองพูยาว”[5] ตำนานพื้นเมืองพะเยาเรียกว่า “เมืองภูกามยาว”[6] หรือ “เมืองภุกามยาว”[7] หรือ “เมืองพะยาว” [8] ส่วนหลักฐานประเภทศิลาจารึกอักษรล้านนา อาทิ จารึกวัดอารามป่าญะ(พ.ศ.๒๐๓๘) เรียกตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยาในสมัยพุทธศตวรรษที่๒๑ว่า“(พระเป็นเจ้า)เจ้าสี่หมื่นพยาว”[9] และจารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง(พ.ศ.๒๐๓๓)เรียกชื่อเมืองพะเยาว่า “เมิงพญาว”[10]
อย่างไรก็ดี ตามที่มีผู้ศึกษากันมานั้นพัฒนาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองพะเยาอาจจำแนกออกได้เป็น ๔ สมัย คือ สมัยเริ่มสร้างบ้านแปงเมือง: สู่นครรัฐอิสระ สมัยผนวกเมืองเข้าสู่อาณาจักรล้านนา สมัยพม่าปกครองล้านนา: เมืองร้างและร่วงโรย สมัยรัตนโกสินทร์: ยุคฟื้นฟู ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยสังเขปดังนี้ [11]
สมัยที่ ๑ สมัยเริ่มสร้างบ้านแปงเมือง: สู่นครรัฐอิสระ
เมื่อกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเมืองพะเยาในยุคสร้างบ้านแปงเมืองนั้น ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสนและพงศาวดารโยนกจะเริ่มกล่าวถึง ขุนเงิน[12] หรือพญาลาวเงิน(พระยาลาวเงิน)ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง(เชียงแสน) ได้ส่งราชบุตรองค์น้อยนามว่า “ขุนจอมธรรม” ไปครองเมืองฝ่ายใต้ ณ เชิงเขาชมภู หรือ ดอยด้วน ใกล้แม่น้ำสายตาหรือลำน้ำแม่อิงชื่อ “เมืองภูกามยาว”หรือ “พะเยา” ซึ่งเป็นเมืองโบราณมีมาแต่เดิม [13] ชัยภูมิของเมืองภูกามยาวประกอบด้วยมงคล ๓ ประการคือ มีลำน้ำแม่อิงอยู่ทางใต้ กระแสน้ำไหลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีหนองน้ำหลายแห่ง อาทิ กว๊านพะเยาหรือหนองเอี้ยงอยู่ทางทิศตะวันตก และบริเวณหัวเวียง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกว๊านพะเยายังเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุดอยจอมทองปูชนียสถานคู่เมืองอีกด้วย[14]
ขุนจอมธรรมได้จัดระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมของเมืองภูกามยาวออกเป็น ๓๖ พันนา[15] แต่ละ “พันนา” มีขนาดใกล้เคียงกับตำบลในปัจจุบัน [16]ผู้ปกครองพันนามียศเรียกว่า “เจ้าหมื่น” อาทิ เจ้าหมื่นดอนแปลนกินพันนาดอนแปลน เป็นต้น พงศาวดารโยนกกล่าวว่า
“ครั้งนั้นมีพลเมือง ๑๘๐,๐๐๐ ให้จัดเป็นแขวงจังหวัดได้ ๓๖ พันนา คือ ราษฎรคนหนึ่ง
กำหนดให้ถือนาห้าหมื่น(ตรงกับข้าวปลูกห้าถัง) ไพร่๕ คน ยกเป็นหัวนาคนหนึ่ง ๕ หัว
นายกเป็นหมวดนาหนึ่ง…”[17]
หน่วยการปกครองที่มีฐานะรองลงมาจากพันนา เรียกว่า “ปากนา” ผู้ปกครองมียศเป็น “ พัน” ควบคุมขุนนางที่มียศเป็น “ปาก” อาทิ “ปากมงคล” ปากเทพ” เป็นต้น ส่วนหน่วยการปกครองเล็กที่สุด คือ หมู่บ้านซึ่งมี “แก่บ้าน” เป็นผู้ปกครอง[18]
ระบบการปกครองแบบพันนามีขนาดเล็กกว่าเมือง การปกครองแบบพันนามีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้จำนวนไพร่[19]สังกัดพันนามีจำนวนสมดุลกับขนาดของที่ดินในพันนา และเพื่อให้แต่ละพันนาสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับขนาดของแคว้น[20] ในยุคนี้ พะเยามีเมืองต่างๆอยู่ภายใต้การปกครอง ได้แก่ เมืองลอง เมืองเทิง เมืองคอบจะลาว เมืองออย เมืองแจ้เสียง เมืองหนองขวาง เมืองแจ้หลวง เมืองแจ้ห่ม และเมืองวัน เป็นต้น[21]
ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองนี้ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของแคว้นพะเยา คือ ขุนเจื๋องหรือพญาเจื๋อง โอรสของพ่อขุนจอมธรรม[22] วีรบุรุษแห่งตำนานพื้นเมืองล้านนาผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพรวบรวมดินแดนล้านนา ล้านช้างและเมืองแกวปะกัน(เวียดนาม)ให้เป็นหนึ่งเดียวกันชั่วระยะเวลาหนึ่งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่๑๗ และยังได้ทรงเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางการสมรสกับอาณาจักรเชียงรุ้ง(สิบสองปันนา) แพร่และน่านนอกจากนี้ชาวล้านนายังถือว่า พญาเจื๋องทรงเป็นบรรพบุรุษของพญางำเมือง(พะเยา) พญามังราย(เชียงใหม่)อีกด้วย[23]
กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงอีกพระองค์หนึ่งของอาณาจักรพะเยา คือ พญางำเมือง(ประสูติพ.ศ.๑๗๘๑-?) พระองค์ทรงเป็นพระสหายร่วมสำนักสุกทันตฤาษีแห่งกรุงละโว้(ลพบุรี)กับพญาร่วงแห่งกรุงละโว้(พ่อขุนรามคำแหง) และยังทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งเชียงใหม่ด้วย โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๓๙ พระสหายทั้งสองคือ พญางำเมืองและพญาร่วงยังได้เสด็จฯไปร่วมพิจารณาชัยภูมิด้วย[24]
สมัยที่ ๒ สมัยผนวกเมืองเข้าสู่อาณาจักรล้านนา
ในปีพ.ศ.๑๘๓๕ เมื่อพญามังรายแห่งเมืองเชียงใหม่ยึดครองอาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน)ศูนย์ทางการค้าและพระพุทธศาสนาสำเร็จ และยังทรงยึดครองเมืองเขลางค์นคร(ลำปาง)ได้ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นจึงทรงก่อตั้งอาณาจักรนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางในการปกครองดินแดนล้านนา โดยยังทรงรักษาพระราชไมตรีต่อพญางำเมืองและพญาร่วงไว้ได้[25]
อย่างไรก็ดี ในรัชสมัยพญาคำฟู(พ.ศ.๑๘๘๗–๑๘๘๘)[26] อาณาจักรเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับพญาผานองแห่งเมืองปัว(น่าน)เข้ายึดครองเมืองพะเยาในรัชสมัยของพญาคำลือ และลดฐานะเมืองพะเยาไปเป็นเมืองบริวารของเมืองเชียงราย แต่ถึงกระนั้นก็ตามกษัตริย์เชียงใหม่มักส่งเชื้อพระวงศ์ระดับสูงมาปกครองเมืองพะเยาเสมอ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช(พ.ศ.๑๙๘๔–๒๐๓๐) พระองค์ได้พระราชทานเมืองพะเยาแก่พระยายุทธิษฐิระอดีตเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก)ที่ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ระหว่างสงครามเชียงใหม่กับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๙๑–๒๐๓๓)เพื่อครอบครองอาณาจักรสุโขทัย กล่าวกันว่าในช่วงที่พระยายุทธิษฐิระปกครองเมืองพะเยานี้ ถือว่าเป็นอีกยุคหนึ่งเมืองพะเยามีความเจริญรุ่งเรือง[27]
สมัยที่ ๓ สมัยพม่าปกครองล้านนา: เมืองร้างและร่วงโรย
ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาค่อนข้างมีความเชื่อมโยงกับอาณาจักรล้านนา ดังนั้นเมื่อเกิดความเสื่อมขึ้นในอาณาจักรล้านนาเมื่อปลายสมัยราชวงศ์มังราย จึงส่งผลให้อาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรพม่าในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองระหว่างพ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ บ้านเมืองที่เคยผูกพันกันอย่างหลวมๆจึงกลับมีสภาพเสื่อมโทรม โดยในยุคนี้ศูนย์ทางการเมืองการปกครองของล้านนาถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เมืองเชียงแสน เป็นศูนย์กลางของล้านนาตอนบนเนื่องจากอยู่ใกล้ชายแดนพม่า เมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของล้านนาตอนล่าง ส่วนเมืองพะเยานั้นยังคงขึ้นตรงต่อเมืองเชียงราย ซึ่งมีฐานะเป็นรองเมืองเชียงแสน ในช่วงเวลาดังกล่าวตำนานเมืองเงินยางเชียงแสนระบุว่าชาวพะเยาบางส่วนได้อพยพหนีภัยสงครามไปยังกรุงเวียงจันทน์ ในช่วงปลายแห่งการตกเป็นประเทศราชของพม่านั้น เจ้าเมืองพะเยาและเชียงรายพยายามรวบรวมกำลังต่อต้านการถูกกดขี่ภายใต้การปกครองของพม่าเมื่อปีพ.ศ.๒๓๐๘ แต่ก็ถูกปราบปรามลงได้ ในปีพ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพมาขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่แล้วตั้งเจ้ากาวิละเจ้าเมืองลำปางปกครองเมืองเชียงใหม่ และในปีพ.ศ.๒๓๓๐เชื้อสายเจ้าเมืองพะเยาและชาวเมืองส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในขณะที่เมืองเชียงแสนยังคงอยู่ภายใต้การยึดครองของพม่า[28]
สมัยที่ ๔ สมัยรัตนโกสินทร์: ยุคฟื้นฟู
ในช่วงที่ถูกพม่าเข้ายึดครอง เมืองพะเยาตกอยู่ในสภาพเหมือนเมืองร้างที่ขาดการทำนุบำรุงจากผู้ปกครองเช่นเดียวกับหลายเมืองในอาณาจักรล้านนา ครั้นกรุงรัตนโกสินทร์สามารถผนวกดินแดนล้านนาเป็นส่วนหนึ่งได้แล้ว จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์เมืองสำคัญเป็นอันดับแรก ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีการฟื้นฟูเมืองพะเยา เมืองงาวและเมืองเชียงรายขึ้นมาอีกครั้งในปีพ.ศ.๒๓๘๖ โดยให้เมืองงาวและเมืองพะเยาขึ้นตรงต่อเมืองลำปาง ส่วนเมืองเชียงรายไปขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ และชาวเมืองพะเยาที่อพยพไปตั้งบ้านเรือนณ เมืองลำปางนั้นก็ถูกเกณฑ์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสันเวียงใหม่ จากนั้นจึงมีการแผ้วถางเมืองเก่าและบูรณะวัดวาอารามให้กลับดีดังเดิม เจ้าเมืองพะเยาองค์แรก คือ เจ้าพุทธวงศ์เจ้าหลานวงศ์ เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนผู้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น “พระยาประเทศอุดรทิศ” ในปีพ.ศ.๒๓๘๗[29]
-ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
จากพัฒนาการอันยาวนานของเมืองพะเยาบนผืนแผ่นดินล้านนา ประกอบกับปัจจัยด้านสภาพที่ตั้งอันเหมาะสมในภาคเขตภาคเหนือตอนบน ทำให้จังหวัดพะเยาปรากฏหลักฐานอันชี้ให้เห็นถึงอัตลักษณ์ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมอย่างมั่งคั่ง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โบราณสถาน ย่านประวัติศาสตร์ ศิลปหัตถกรรม งานช่างฝีมือ ภูมิปัญญาด้านต่างๆ ภาษา การละเล่นพื้นเมือง ดนตรี ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย การกินอยู่ และกิริยามารยาท
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ ก็ทรงเคยเสด็จฯมานมัสการวัดพระเจ้าตนหลวงและวัดพระธาตุจอมทองเมื่อวันที่๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. นอกจากนี้ยังได้เสด็จฯทอดพระเนตรการแสดงมหรสพพื้นเมืองที่บ้านแม่ต๋ำในเวลาค่ำด้วย[30] จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยาที่สมควรจะมีการแสวงหาแนวทางเพื่อจะได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้ยั่งยืนอย่างสืบเนื่องต่อไป
[1] สงวน โชติสุขรัตน์, ตำนานเมืองเหนือ. (พระนคร: แม่บ้านการเรือน, ๒๕๐๘) หน้า๒๑๒
[2] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพะเยา, (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๔), หน้า๓๑
[3] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒-๓
[4] สุรพล ดำริห์กุล, ล้านนา: สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม. (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๒), หน้า ๒๒–๒๓
[5] อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและเดวิด เค. วัยอาจ, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, ๒๕๔๓), หน้า ๒๒
[6] พระยาประชากิจกรจักร์, พงศาวดารโยนก. (กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า๒๓๒
[7] สงวน โชติสุขรัตน์, เรื่องเดิม. หน้า๒๑๒
[8] สงวน โชติสุขรัตน์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๑๒–๒๑๓
[9] โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, จารึกภาค ๑เล่ม ๑ จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่. มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน จัดพิมพ์ ในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระชนมายุครบ๓รอบ พุทธศักราช๒๕๓๔, หน้า๑๑๕
[10] โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, เรื่องเดิม, หน้า๑๘๗
[11] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า ๑๗
[12] สงวน สุขโชติรัตน์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๑๒
[13] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, ๒๓๒
[14] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๑๗
[15] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, ๒๓๓
[16] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๑๗
[17] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, หน้า๒๓๓
[18] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า ๑๘
[19] ระบบการควบคุมกำลังคนแบบหนึ่งในสังคมไทยสมัยโบราณ
[20] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๑๗
[21] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า ๑๙
[22] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๓๖–๒๓๙
[23] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, หน้า๒๓๕–๒๔๐
[24] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๑–๒๓
[25] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๔
[26] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๒), วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาจังหวัดเชียงใหม่ , (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๔), หน้า๔๘
[27] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๕–๒๘
[28] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๘-๒๙
[29] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๓๒
[30] รองอำมาตย์ตรี กมล มโนชญากร, จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือพระพุทธศักราช๒๔๖๙(พระนคร: โสภณพิพิธธนากร, ๒๔๗๔), หน้า๗๓-๗๕
จัดการความรู้ สะท้อนความเคลื่อนไหวการจัดการทรัพยากร การแบ่งปันผลประโยชน์ การทำความเข้าใจในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนา สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยวิถีชีวิต ภูมิปัญญา เกษตรกรรมผสมผสาน ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม แนวคิดของการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ประสบการณ์ กลยุทธ์ต่างๆด้านการนำเที่ยว โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร (รักษาการ)ประธานกลุ่ม
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
http://turismindustrydpu0004aruneeaphi.blogspot.com/
ตอบลบนางสาว อรุณี อภิดิลกกุล
530105030217
ส่งงานคะ
ศันสนีย์ ปะนะสุภา
ตอบลบhttp://tourismindustry0004sunsanee.blogspot.com
530105030221
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://tourismindustrydpu004apisarapattanasu.blogspot.com/
นางสาวอภิสรา พัฒนสุข
530105030183
กลุ่ม 004
ส่งงานคับ
ตอบลบนายจตุพร เบญจมณี
530105030225
http://530105030225dpu.blogspot.com/
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ส่งงานคะ^^
ตอบลบhttp://appledpuas530105030187.blogspot.com/
นางสาวทิพย์สุคนธ์ บุญรัตนผล
530105030187
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://pattayadpu530105030195.blogspot.com/
นางสาวพัทยา โพธิ์ตะโก
530105030195
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://turismindustrydpu.blogspot.com/
นางสาว ปภัสสร ประสพเหมาะ
530105030209
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กลุ่ม 004
ส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://tourismindustrydpu004wipaweenanayo.blogspot.com/
นางสาววิภาวี นานายน
530105030228
กลุ่ม 004
ส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://kanmanee-dpuas530105030257.blogspot.com/
นางสาว กาญจน์มณี จรุงพรสวัสดิ์
530105030257
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กลุ่ม 004
ส่งงานคับ
ตอบลบhttp://530105030185dpu.blogspot.com/
นายกฤษณะ สรวมศิริ
5301050185
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
http://industrytourism004-wanrawee.blogspot.com/
ตอบลบส่งงานค่ะ น.ส.วรรณรวี วงเจริญพรกุล
530103050247
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
อาจารย์ครับ ส่งงานอยากจะให้อาจารย์ตรวจ
ตอบลบที่ http://tourismindustrydpu005chalermwit.blogspt.com
5201-0111-0033
นาย เฉลิมวิทย์ ศรีสุวรรณ
คณะบริหารธุรกิจ
สาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://tourismindustrydpu004Chanaponarpanthanu.blogspot.com
นางสาวชนาพร อาพันธนุพงศ์
530105030249 Sec.004
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาสตร์
สาขาการโรงแรมและท่องเที่ยว
ชนาพรเขียนชื่อคณะก็ไม่ถูก เขียนวิทยาศาสตร์ดูแล้ว คล้ายกับคำว่า กระยาสารท หักคณะแนน
ตอบลบอ.พิทยะ
ครูหาบล็อกของชนาพรไม่เจอ ติดต่อด่วน
ตอบลบอ.พิทยะ
อาจารย์ค่ะ .. แก้งานแล้วนะค่ะ
ตอบลบอาจารย์ค่ะส่งบล็อกค่ะ
ตอบลบถ้ามีอะไรต้องแก้ไข
ช่วยแนะนำด้วยน่ะค่ะ
ที่http//tourismindustrydpu2010ladawan.blogspot.com
520101110046
ลดาวัลย์ โทนหงศา
การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
กลุ่ม005
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบส่งงานค่ะ .... อาจารย์ !!!
ตอบลบhttp://turismindustrydpu0004nichapakpil.blogspot.com/
น.ส. ณิชาภัค พิไลโชค -- 530105030202
คณะศิลปศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์
สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ขอคำแนะนำ ด้วยนะค่ะ อาจารย์ .. !!
ตามเวบลดาวัลย์ไม่ได้ครับ
ตอบลบดีครับ อ.พิทยะ ครับ รบกวน อ เข้าไปตรวจให้ผมด้วยน่ะครับ
ตอบลบhttp://lpthony.blogspot.com
น ธีรพงษ์ แซ่หยาง 50136-0014
คณะศิลปศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ สาขาภาษาจีน
ขออภัยถ้ามีการผิดพลาดด้วยน่ะครับ
http://turismindustrydpu0004nichapakpil.blogspot.com/
ตอบลบอาจารย์ .. ตัวอักษร ใหญ่พอมั้ยค่ะ ???
ต้องแก้ อะไรอีก ช่วยแนะนำด้วยค่ะ .....
ส่งงานค่ะ
ตอบลบhttp://tourismindustrydpu005hathaitip.blogspot.com/
5201-0111-0045
นางสาว หทัยทิพย์ พหลธรรมสาร
คณะบริหารธุรกิจ
สาขาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว