โครงการสัมมนาอาจารย์
ผู้สอนหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (26 พ.ค. 2543)
วิชา มรดกทางภูมิปัญญาไทย (วิชาใหม่)
ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอขอบเขตเนื้อหาวิชามรดกทางภูมิปัญญาไทยเป็น 9 หัวข้อ ดังนี้
๑,วิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ
๒.รูปแบบและวิธีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ
๓.เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต
๔.การแต่งกาย / เครื่องนุ่งห่ม
๕.การแพทย์แผนไทย
๖.สมุนไพรและตำรับยาไทย
๗.การปรุงอาหารและการถนอมอาหาร
๘.การสร้างที่อยู่อาศัย
๙.วิธีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ
นอกจากนี้ททท.ยังอธิบายความหมาย “ภูมิปัญญาไทย”ตามนิยามของศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ว่า “ภูมิปัญญา” หมายถึง ความรอบรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อในการจัดทำ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ปัญหาและการจัดการปัญหาระดับพื้นบ้าน ได้แก่
- การสร้างบ้าน
- การประดิษฐ์ของใช้
- วัฒนธรรมการกิน
- ประเพณีพื้นบ้าน
- นิทานพื้นบ้าน
- เพลงพื้นบ้าน
- ดนตรีพื้นบ้าน
- การละเล่นพื้นบ้าน
- นาฎศิลป์พื้นบ้าน เป็นต้น
การสัมมนากลุ่มย่อยมีการเสนอแนวทางการสอนวิชามรดกทางภูมิปัญญาไทย โดยให้คำนึงถึงปัจจัย 4 ประการในการดำรงชีวิต จากนั้นได้เสนอให้เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยมีปัจจัยที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรท้องถิ่น และการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมทางอาชีพ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งในเบื้องต้นมีรายละเอียด ดังนี้
1. ที่อยู่อาศัย
1.1 ลักษณะนิสัยของคนไทย
1.2 การสร้างบ้านเรือนในภาคต่าง ๆ
1.3 ความเชื่อ / เคล็ดลับ / การแก้ปัญหา / คำอธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาการสร้างบ้าน
หมายเหตุ : ที่สัมมนาเสนอรายละเอียดหัวข้อนี้ค่อนข้างน้อย
2. อาหาร
มีกรอบเนื้อหาเบื้องดังนี้
2.1 ข้าว - ข้าวเจ้าแปลว่าข้าวหุงเป็นภาษาโบราณ
2.2 รสอาหาร / การถนอมอาหาร
การอธิบายเรื่องรสชาติอาหารแต่ละชนิด เช่นรสเผ็ด หวาน มัน เค็ม เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างไร การกินอาหารของคนในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน เช่น การกินข้าวเหนียวกับเนื้อ สัมพันธ์กับภูมิประเทศที่ราบสูง เพราะเป็นที่ดอนปลูกข้าวเหนียวได้ดี ข้าวเหนียวเป็นข้าวพื้นเมืองต้องกินกับเนื้อวัวหรือเนื้อควาย เพราะไม่มีมัน ถ้ากินข้าวเหนียวกับแกงเขียวหวานจะเลี่ยนกินได้น้อย ภาคอีสานเลี้ยงวัว-ควายได้ดีกว่าเลี้ยงหมู ภาคกลางทำน้ำตาลจากมะพร้าว เพราะมีน้ำมาก ภาคอื่น ๆ ทำน้ำตาลจากอ้อย เพราะปลูกอ้อยได้ดีเป็นต้น
2.3 สมุนไพรในอาหาร
2.4 รูปแบบ / วิธีการรับประทานอาหาร
2.5 การปรุงอาหาร
2.6 ขนม
2.7 ผลไม้ (การกินทุเรียนกับมังคุดแก้ร้อนใน)
2.8 อาหารว่างและของขบเคี้ยว
2.9 เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เหล้า (น้ำตาลเมา, กระแช่)
3. เครื่องนุ่งห่ม ประกอบด้วย
3.1 รูปแบบการแต่งกาย อาทิ
ชาย หญิง
- โจงกระเบน - โจงประเบน
- ผ้าขาวม้า - ผ้าซิ่น / ผ้าถุง
- กางเกง (เตี่ยว)
- โสร่ง
3.2 วัสดุ ไหม (ใยสัตว์) / ใยพืช (ปอ, กัญชา, ฝ้าย)
3.3 การผลิต
- เครื่องมือ (เครื่องทอผ้าประกอบด้วย กี่ หูก กง แว กระสวย ฟืม เป็นต้น)
- เทคโนโลยีชาวบ้าน (การย้อมสี / การทอ)
- การประดิษฐ์ ตัดเย็บ (การออกแบบลวดลาย อาทิ จก ขิด น้ำไหล มัดหมี่ ล้วง ฯลฯ)
3.4 พิธีกรรมในการใช้ผ้า
- ผ้าในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานไหว้ต่าง ๆ ฯลฯ
4. ยารักษาโรค ประกอบด้วย
4.1 วิธีการรักษาโรค เวชบำบัด / จิตบำบัด / กายบำบัด อาทิ หมอเวทมนตร์ หมอน้ำมนต์ หมอยา หมอดู หมอธรรม หมอผี ผีฟ้า หมอพระ
4.2 สมุนไพร พืช สัตว์ แร่ธาตุ (เกลือ เงิน ทอง เหล็ก)
5. การประกอบอาชีพ
อาชีพหลัก - เพาะปลูก - เลี้ยงสัตว์
- ประมง - เก็บของป่า
- จับสัตว์ / ล่าสัตว์ - หัตถกรรม / วัสดุหัตถกรรม
- ตัดไม้ - ทำเหมืองแร่
6. การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ตลาดนัด กาดหมั้ว กาดวัว กาดควาย
ผู้ร่วมสัมมนาบางท่านแนะนำแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ได้แก่ หนังสือภูมิปัญญาไทยของกระทรวงมหาดไทย ซีดีรอมเรื่อง ภูมิปัญญาไทย หอไทยนิทัศน์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันต่างๆ พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย เป็นต้น นอกจากนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะเปิดรับข้อมูลรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยจากผู้รู้ให้ส่งไปทางโทรสาร เนื่องจากวิชาภูมิปัญญาไทยเป็นวิชาใหม่
สรุป
คำอธิบายชื่อวิชา มรดกทางภูมิปัญญาไทย ให้อาศัยกรอบความหมายของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ซึ่งอธิบายไว้ว่า ภูมิปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อในการการจัดทำ ความสามารถในการ แก้ไขปัญหา ปัญหาและ การจัดการแก้ปัญหาระดับพื้นบ้าน ได้แก่ การสร้างบ้าน การประดิษฐ์ของใช้ ประเพณีพื้นบ้าน วัฒนธรรมการกิน เพลงนิทาน ดนตรี การละเล่น นาฎศิลป์พื้นบ้าน เป็นต้น ที่ประชุมย่อยอาจารย์ผู้สอนการอบรมมัคคุเทศก์ได้ปรับเปลี่ยนขอบเขตการเรียนการสอน โดยให้อิงภูมิปัญญาไทยพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยชี้แหล่งสืบค้นจากหนังสือภูมิปัญญาไทยของกระทรวงมหาดไทย และศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
จัดการความรู้ สะท้อนความเคลื่อนไหวการจัดการทรัพยากร การแบ่งปันผลประโยชน์ การทำความเข้าใจในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนา สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยวิถีชีวิต ภูมิปัญญา เกษตรกรรมผสมผสาน ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม แนวคิดของการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ประสบการณ์ กลยุทธ์ต่างๆด้านการนำเที่ยว โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร (รักษาการ)ประธานกลุ่ม
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น