จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิถีมัคคุเทศก์กับบทบาทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว[1]

เรียบเรียงโดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


แนวโน้มทางการตลาด: ลมหายใจแห่งสภาวะเศรษฐกิจของไทย
จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวของไทยจำนวนกว่าสองพันแห่ง ถูกจำแนกออกเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติถึงหนึ่งพันแห่งเศษ ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในอนาคตอันใกล้พม่าอาจช่วงชิงการเป็นผู้นำการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไปจากไทยได้หากสถานการณ์ภายในประเทศมีความสงบมากกว่านี้ มนต์เสน่ห์ของพม่ามีมากมายและไม่เสื่อมคลาย ดังคำกล่าวของทอยน์บี( Arnold Toynbe) นักประวัติศาสตร์และนักปรัชญาคนสำคัญของโลกที่ว่า See Pagan and live, but see Angkor and die

สถิติการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 ถึงปี พ.ศ. 2543 และประมาณการต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2563 มีดังนี้[2]

พ.ศ. 2542 นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 8.58 ล้านคน
พ.ศ. 2543 นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 9.3 ล้านคน
พ.ศ.2544 นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 9.87 ล้านคน
พ.ศ. 2553 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 17.5 ล้านคน
พ.ศ. 2563 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 36.9 ล้านคน

ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) อันเป็นปีแรกที่เริ่มเปิดเสรีการท่องเที่ยวตามบทบัญญัติขององค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization) ประเทศไทยจะต้องพร้อมในด้านศักยภาพการท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ สถิติการเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มีจำนวน 659 ล้านคน แต่อีก 10 ปีข้างหน้าคือ พ.ศ. 2552 นักท่องเที่ยวจะเพิ่มเป็น 1,006 ล้านคนและอีก 20 ปีข้างหน้า พ.ศ. 25623นักท่องเที่ยวจะเพิ่มสูงถึง 1,561 ล้านคน[3]

ในปี พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวเดินทางทั่วโลกประมาณ 659 ล้านคน จำแนกเป็น ดังนี้[4]
1. นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ล้าน
2. นักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน 130 ล้านคน
3. นักท่องเที่ยวชาวแอฟริกัน 27 ล้านคน
4. นักท่องเที่ยวชาวตะวันออกกลาง 18 ล้านคน
5. นักท่องเที่ยวชาวยุโรป 385 ล้านคน
6. นักท่องเที่ยวชาวเอเชียตะวันออกและเอเชียแปซิฟิก93 ล้านคน

ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศจีนเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางท่องเที่ยว(Tourism Destination)เป็นอันดับหนึ่ง ฮ่องกง ไต้หวัน เซี่ยงไฮ้ เป็นอันดับสอง ประเทศไทยเป็นอันดับสาม และมาเลเซียเป็นอันดับสี่[5] น่าสังเกตว่าจุดหมายการท่องเที่ยวไทยในภาคอีสาน ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญ กลับมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปไม่ถึงหนึ่งแสนคนต่อปี สาเหตุสำคัญก็คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติชอบเดินทางไปเที่ยวทะเลมากกว่า นอกจากนี้ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวในภาคอีสานยังขาดความหลากหลายและประการสุดท้ายคือ ระยะทางค่อนข้างไกล แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วเทศกาลงานประเพณีและกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยตลอดทั้งปีจะมีถึงสามร้อยหกสิบกว่าเทศกาล ในจำนวนนี้เป็นเทศกาลและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเลยในภาคอีสาน
สถิติการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยต่อปี แสดงให้เห็นว่า
- นักท่องเที่ยว 5 ล้านคน เดินทางเข้ามาภายในกรุงเทพฯและปริมณฑล
- นักท่องเที่ยว 3 ล้านคน เดินทางท่องเที่ยวในภาคใต้
- นักท่องเที่ยว 2 ล้านคน เดินทางเข้าไปยังพัทยาและภูเก็ต

เมื่อวิเคราะห์ลึกลงไปก็จะพบว่า โดยปกติแล้วนักท่องเที่ยวชายจะเดินทางมากกว่าหญิงในอัตราส่วน 6 : 4 ผลการวิเคราะห์ภาพรวมทางการตลาดได้ข้อสรุปถึงความเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวของประเทศไทยดังนี้[6]

จุดแข็งของประเทศไทย คือ มีสินค้าของที่ระลึกหลากหลาย มีภาพลักษณ์ของประเทศในทางบวก และมีกระแสการตอบรับโครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์สูง

จุดอ่อน คือ มีแหล่งเสื่อมโทรมมาก มีขยะทั่วไป มีการหลอกลวงนักท่องเที่ยว ขาดบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และปัญหาโรคเอดส์ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเยอรมันแล้วจะเห็นว่าเยอรมันเป็นเมืองหนาว กลางวันสั้นกว่ากลางคืน จึงมีจุดอ่อนเรื่องการท่องเที่ยว แต่นักธุรกิจชาวเยอรมันก็พยายามสร้างจุดแข็งให้แก่ประเทศด้วยการสร้างศูนย์การประชุมและดำเนินธุรกิจจัดการประชุมและสัมมนา(Meeting Incentive Convention and Exihibition) จนกระทั่งกลายเป็นประเทศศูนย์กลางการประชุมของโลกประเทศหนึ่งได้ในปัจจุบัน[7]

โดยทั่วไปตลาดอินบาวน์จะมีช่วงpeak (high)ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ขณะที่ช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงLow

ส่วนตลาดเอาท์บาวน์นั้น ช่วงpeakจะอยู่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม และต้นเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี ทั้งนี้สภาวะการเคลื่อนไหวของการท่องเที่ยวต่างประเทศกับการท่องเที่ยวภายในประเทศจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน(สัมภาษณ์ฝ่ายบุคคลบริษัทริกโก ฮอลิเดย์ จำกัด เมื่อประมาณ พฤษภาคม 2544 ระหว่างการออกไปนิเทศก์นักศึกษาฝึกงาน)

การเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศในย่านตะวันออกกลางจะเริ่มประมาณเดือนสิงหาคม เนื่องจากระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคมนั้น อากาศในตะวันออกกลางจะร้อนมาก(สัมภาษณ์ฝ่ายการตลาดของบริษัทออสการ์ทัวร์เมื่อประมาณพฤษภาคม 2544 ระหว่างการออกไปนิเทศก์นักศึกษาฝึกงาน)

การปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์
มัคคุเทศก์ไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีทั้งสิ้น 220,00 คนส่วนองค์กรเอกชนซึ่งเข้ามาดำเนินกิจการด้านธุรกิจนำเที่ยวมีทั้งสิ้น 4100 ราย(กรุงเทพธุรกิจ, 10 มกราคม 2545 หน้า31)

ปัจจุบันมัคคุเทศก์ซึ่งปฏิบัติงานต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวจีนเพียงตลาดเดียวที่ถูกบังคับให้รับ Job’s order หรือใบสั่งงานจากบริษัททัวร์เพื่อเป็นหลักฐานในการปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นตลาดที่มีปัญหาในแง่ของพฤติกรรมนักท่องเที่ยว จะพบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมค่อนข้างสวนทางกับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก กล่าวคือ หากมัคคุเทศก์สูบบุหรี่ขณะ ปฏิบัติหน้าที่นำเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน มัคคุเทศก์จะถูกตำหนิอย่างรุนแรง โดยถือว่ามัคคุเทศก์บกพร่องต่อหน้าที่ ในทางตรงกันข้ามเมื่อมัคคุเทศก์ได้รับแจกบุหรี่จากนักท่องเที่ยวตลาดจีนแผ่นดินใหญ่แล้วไม่รับก็จะถือว่าไม่ให้เกียรติซึ่งก็ผิดวัฒนธรรมจีน เช่นกัน ลักษณะดังกล่าว ในทางวัฒนธรรมเรียกว่า อินทรีย์ชั้นสูง(superorganic) ซึ่งหมายถึงการแสดงพฤติกรรมอย่างเดียวกันแต่มีความหมายไม่เหมือนกันในอีกสังคมหนึ่ง

พฤติกรรมข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์ในตลาดต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนในการปฏิบัติหน้าที่ สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกซึ่งมักจะมีความเคร่งครัดต่อหลักการทางธุรกิจ มัคคุเทศก์จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงข้อตกลงใดๆ ในรายการนำเที่ยว โดยพลการ และหากจะต้องเปลี่ยนแปลงรายการใดๆ มัคคุเทศก์จะต้องแจ้งให้บริษัททราบ และมัคคุเทศก์จะต้องให้นักท่องเที่ยวลงลายมือชื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงนั้นๆ ทุกครั้งเพื่อจะได้เป็นหลักฐานยืนยันในกรณีถูกร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว

มัคคุเทศก์บางคนถูกนักท่องเที่ยวฝรั่งร้องเรียนว่า ขาดความรับผิดชอบและละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ขณะนำเที่ยวในคลองบางกอกน้อย (ทัวร์คลอง) เพราะนั่งหลับในเรือ โดยมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายประกอบข้อร้องเรียน การร้องเรียนนี้มีสาเหตุมาจากมีการระบุว่า ระหว่างทัวร์คลองจะมีมัคคุเทศก์ดูแลตลอดเส้นทาง ดังนั้น นักท่องเที่ยวจึงถือว่าการงีบหลับระหว่างการปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์เป็นการขาดความรับผิดชอบ
การร้องเรียนของนักท่องเที่ยวตลาดจีนแต่เดิมมีเยอะมาก เนื่องจากปัญหาการทิ้งลูกทัวร์ในวันที่สองของการทำทัวร์ เพราะนักท่องเที่ยวไม่ “shopping” หลังจากทิ้งแขกเก่าแล้วมัคคุเทศก์ก็จะไปซื้อค่าหัวนักท่องเที่ยวจีนกลุ่มใหม่ต่อไป การซื้อค่าหัวนักท่องเที่ยวจีนเกิดขึ้นเพราะมัคคุเทศก์และบริษัททัวร์ต้องการผลประโยชน์จากค่าคอมมิสชั่นการซื้อของที่ระลึก ปัจจุบันปัญหาการร้องเรียนได้ลดน้อยลงไปมากจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน

เมื่อมัคคุเทศก์ถูกร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว สำนักงานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จะส่ง จดหมายเชิญให้ผู้ถูกร้องเรียนไปให้การภายใน 15 วัน โดยฝ่ายมัคคุเทศก์อาจจะขอเลื่อนการเดินทางไปพบพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ไม่เกินสองครั้งๆ ละไม่เกิน 15 วัน

โดยทั่วไปการถูกเพิกถอนในอนุญาตมัคคุเทศก์จะเกิดขึ้นหลังจากมีการกระทำผิดไม่เกิน 3 ครั้ง กล่าวคือ ครั้งที่1-2 ตักเตือน ครั้งที่ 3 ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันที มัคคุเทศก์ที่ทำทัวร์ยิวกับทัวร์แขก อาจถูกร้องเรียนได้เมื่อเลิกรายการนำเที่ยวก่อนเวลา แม้จะเพียง 10 นาทีเศษก็ตาม

ทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์จะต้องติดเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ (บัตรมัคคุเทศก์) ไว้ที่อกเสื้อ มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะถูกเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 500 บาทเท่ากันทั่วประเทศ (จากที่ระบุในพระราชบัญญัติว่าปรับไม่เกิน 5,000 บาท) และหากไม่สามารถนำบัตรมัคคุเทศก์มาแสดงได้จะถูกเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 1,000 บาท มัคคุเทศก์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือ “ไกด์เถื่อน - ไกด์ผี” คือ ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ มีความผิดอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และผู้ต้องหาอาจต้องเตรียมหลักทรัพย์จำนวน 100,000 บาท หรือเงินสดจำนวน 50.000 บาทไว้ประกันตัวด้วย

ในกรณีนี้หากรับสารภาพที่ศาลแขวงก็จะถูกปรับประมาณ 2,000-3,000 บาทเท่านั้น มัคคุเทศก์เถื่อนจะมีสถิติถูกจับทุกเดือน และมักจะยอมเสียค่าปรับโดยไม่ต่อสู้คดีเนื่องจากถ้าสู้คดีจะถูกปรับสูงกว่านี้ บุคคลต่างด้าวที่เข้ามาประกอบอาชีพมัคคุเทศก์โดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกดำเนินคดีตาม พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวแทน ซึ่งจะต้องถูกปรับประมาณหนึ่งหมื่นบาท

อย่างไรก็ดีตามความในพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2535 ระบุว่าบุคคลสัญชาติไทยสามารถเข้ารับการอบรมมัคคุเทศก์ได้ ดังนั้นหญิงต่างชาติซึ่งแต่งงานกับชาวไทยและโอนสัญชาติเป็นไทยแล้วจึงมีสิทธิ์เข้าอบรมมัคคุเทศก์และใช้สิทธิ์ยื่นหลักฐานขอบัตรมัคคุเทศก์ได้
สิทธิพึงมีพึงได้ของมัคคุเทศก์

พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ระบุว่าหากบริษัทนำเที่ยวค้างค่าจ้าง หรือค่าชำระต่างๆ ตามสิทธิอันมีพึงได้ของมัคคุเทศก์ มัคคุเทศก์อาจนำเรื่องฟ้องต่อสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์หรือศาลได้โดยชอบธรรม

อาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพอิสระ ไม่มีสวัสดิการรองรับ รัฐบาลจึงออกกฎกระทรวงฉบับที่ 9/2543 บังคับให้บริษัทนำเที่ยวต้องทำประกันอุบัติเหตุให้แก่มัคคุเทศก์ทุกคน เมื่อฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับ 5,000-20,000 บาท และพักใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กฎกระทรวงดังกล่าว ครอบคลุมไปถึงอุบัติเหตุทุกอย่างที่เกิดขึ้นขณะมัคคุเทศก์ปฏิบัติหน้าที่ เช่น เดินชนกระจกโรงแรมได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น การได้รับบาดเจ็บมีวงเงินรักษาพยาบาลไม่เกิน 100,000 บาท หากถึงแก่ความตาย หรือทุพพลภาพได้รับชดเชยไม่เกิน200,000 บาท ในปัจจุบันมัคคุเทศก์จำนวนถึง 90% มีประกันอุบัติเหตุเป็นสวัสดิการ อย่างไรก็ดีกฎหมายยังไม่ครอบคลุมถึงการพักการประกอบอาชีพ กรณีที่มัคคุเทศก์อุทธรณ์คำสั่งศาล แต่บริษัทนำเที่ยวกลับไม่ต้องหยุดดำเนินกิจการ และกรณีที่บริษัทนำเที่ยวสามารถร้องเรียนมัคคุเทศก์ได้ แต่มัคคุเทศก์ไม่มีสิทธิ์ร้องเรียนบริษัทนำเที่ยว ถือเป็นความได้เปรียบเสียเปรียบในทางกฎหมาย ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ขณะนี้

ส่วนรายได้ของมัคคุเทศก์นั้นโดยปกติมัคคุเทศก์ Inbound จะได้รับค่าจ้างวันละ 700 บาท (ไม่มีเงินเดือน ) แต่บางบริษัทเช่น เฮงเชียงทัวร์ให้ค่าจ้างวันละ 600บาทเท่านั้น มัคคุเทศก์ Outbound จะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท นอกเหนือจากเงินเดือนประจำ อาจารย์เก่งๆประมาณ2000-3000บาท สุริยวุฒิ ได้30000บาทต่อวัน และมัคคุเทศก์ Domestic จะได้รับค่าจ้างวันละ 700-1,000 บาทเช่นกัน (ไม่มีเงินเดือน) สำหรับ sitting guide ของตลาดเกาหลีจะได้รับค่าจ้างวันละ 1,000 บาท ส่วน sitting guide ของตลาดจีนและตลาดญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการทำงานที่ผิดพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จะได้ค่าจ้างวันละ 900-1,000 บาท

สำหรับโครงการพิเศษในปี2002 รัฐบาลได้เสนอโครงการBangkok Transit Tour 2002 ขึ้น โดยมีProgramme ดังนี้
1. temple and shopping Tour
2. Canal and shopping TOUR
3. Grand Palace and Shopping Tour
4. Thai boxing and shopping tour
5. Ayutthaya Bang Pa - In and shoping Tour
6. Bang Sai and Shopping Tour
7.Thai food and night Tour
8.Thai Grand Sale and Shopping Tour

โครงการนี้มีบริษัทเล็กๆ 3บริษัทได้รับสัญญาจาก ททท. คือ Ami Tour -Siam Line Cristal- Charm ในส่วนของอามีทัวร์ มัคคุเทศก์ได้ค่าสแตนด์ บาย 300บาท /วัน ถ้ามีทัวร์ได้400บาท/วัน ไม่รวมค่าคอมมิชชัน 20%จากการชอปปิง และมีค่าคอมแบ่งให้มัคคุเทศก์ที่สแตนด์บายด้วย บริษัทอื่นไม่ค่าสแตนด์บาย โครงการนี้จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา 2 ล้านคน ( มีเวลาว่างประมาณ12ชั่วโมงก่อนต่อเครื่อง)
มัคคุเทศก์มีรายได้จากการพานักท่องเที่ยวไปซื้อของที่ระลึก เช่น งานหัตถกรรม อัญมณี หรือ ตัดเสื้อผ้า ค่าคอมมิสชั่นจะได้รับประมาณ 20% แต่มัคคุเทศก์บางบริษัทอาจได้รับเพียง 7% หรือ 3% (ทัวร์จีน) เท่านั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทนำเที่ยวทัวร์แต่ละแห่ง

ประสบการณ์ของมัคคุเทศก์กับสวัสดิภาพของนักท่องเที่ยว
การแสวงหาผลประโยชน์จากนักท่องเที่ยวของมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาในวงการ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย อาชญากรรมที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยวประกอบด้วยปัญหาต่าง เช่น
- การหลอกลวงให้นักท่องเที่ยวซื้ออัญมณีคุณภาพต่ำ
- การลักทรัพย์บนรถโดยสารระหว่างการเดินทาง
- แก๊งมอมยา หรือขบวนการหลอกลวงนักท่องเที่ยวด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อประสงค์ต่อ ทรัพย์สิน
- มัคคุเทศก์ที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือ ไกด์เถื่อนทำความเดือนร้อนรบกวนนักท่องเที่ยว
- การเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวในการซื้อสินค้าและบริการ

นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว เช่น การลักทรัพย์ในสถานที่พัก การตัดเสื้อผิดขนาดแล้วไม่คืนค่ามัดจำ การส่งของผิดแบบที่ตกลงซื้อไว้ การส่งของไม่ตรงตามนัด และการผิดสัญญานำเที่ยว เป็นต้น

พฤติการณ์อันนำไปสู่ความเสียหายในเรื่องการหลอกลวงให้นักท่องเที่ยวซื่อัญมณีคุณภาพต่ำจะกระทำการอย่างเป็นขบวนการ เริ่มจากการส่งหน้าม้าเข้าไปตีสนิทกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศตามโบราณสถานต่างๆ โดยอ้างว่ามีอาชีพน่าเชื่อถือ เช่น เป็นแพทย์ วิศวกร หรืออาจารย์ จากนั้นก็แนะนำให้นักท่องเที่ยวไปซื้ออัญมณีราคาถูกเพื่อนำไปขายต่อในราคาแพงโดยไม่เสียภาษี เมื่อนักท่องเที่ยวหลงเชื่อก็จะส่งขึ้นรถสามล้อเครื่องไปลงยังร้านค้าอัญมณีที่รู้กัน บางกรณีคนขับรถ สามล้อเครื่องก็อาจจะหาเหยื่อไปที่ร้านอัญมณีเอง โดยเสนอราคาค่าโดยสารถูกๆ แล้วไปรับค่าหาเหยื่อที่ร้านอัญมณี ส่วนร้านอัญมณีก็จะหลอกให้นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าแล้วแนะนำให้นักท่องเที่ยวคอยรับสินค้าทางไปรษณีย์ โดยอ้างว่าเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีสินค้าขาออก ทั้งนี้เป็นเพียงอุบายที่จะตัดปัญหาการคืนสินค้าของนักท่องเที่ยวเท่านั้น
แต่ละปีนักท่องเที่ยวต้องสูญเสียเงินหลายสิบล้านบาทในการซื้ออัญมณีคุณภาพต่ำจากร้านค้าเหล่านี้ จากประสบการณ์ของมัคคุเทศก์อาชีพที่คลุกคลีกับวงการท่องเที่ยวพบว่าบางครั้งคนขับสามล้อเครื่องจะรับนักท่องเที่ยวไปเที่ยววัดสระเกศและวัดอินทร์บางขุนพรหม แล้วขับรถผ่านเข้าไปในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อถึงคณะอักษรศาสตร์ก็จะแกล้งทำเป็นรถเสีย สักครู่หนึ่งก็จะมีไกด์ผีสวมบทบาทเป็นอาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ เข้ามาทักทายและแนะนำให้ไปซื้อพลอยที่ร้านนกจิวเวลลีที่มาบุญครอง การซื้อพลอยจะทำโดยให้นักท่องเที่ยวซื้อทองเพื่อนำมาแลกซื้อพลอยจากร้าน เป็นต้น

ร้านอัญมณีที่มีพฤติกรรมหลอกลวงนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในทำเลไม่ค่อยดี เช่น ย่านหัวมุมสนามม้านางเลิ้ง และย่านวรจักร นักต้มตุ๋นส่วนใหญ่จะทราบว่านักท่องเที่ยวอเมริกันชอบซื้ออัญมณี ส่วนนักท่องเที่ยวย่านสแกนดิเนเวียชอบตัดสูทเสื้อผ้า เมื่อมีการร้องเรียนเกิดขึ้น กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยวก็จะรับหน้าที่ในการติดตามดำเนินคดีต่อไปอย่างเร่งรีบเนื่องด้วยนักท่องเที่ยวมีเวลาอยู่ในประเทศไทยค่อนข้างน้อย ทำให้บ่อยครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้รับความร่วมมือในการไปให้การที่ศาล ซึ่งต้องใช้เวลานานทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ต้องหาได้อย่างถึงที่สุด รูปแบบการต้มตุ๋น นักท่องเที่ยวยังแพร่กระจายไปยังเชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยาด้วย

มัคคุเทศก์บางคนก็มีวิธีบางอย่างในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบคาบลูกคาบดอก เช่น การขายทัวร์วัดและวังช่วงบ่ายแล้วเข้าชมพระราชวังและวัดพระแก้วไม่ทันก่อนเวลา 15.30 น. ซึ่งเป็นเวลาที่วังปิดจึงต้องใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยว โดยพานักท่องเที่ยวไปเที่ยววัดราชบพิตรและแถมทัวร์ไนท์บาร์ซาร์ ฯลฯ แทน ซึ่งการกระทำเช่นนี้หากจะให้ปลอดภัยจะต้องให้นักท่องเที่ยวลงลายมือชื่อยินยอมให้เปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยว เพื่อป้องกันการถูกร้องเรียน

มัคคุเทศก์รุ่นเก่าบางคนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อนักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยวสะพานข้ามแม่น้ำแควทั้งๆ ที่จะต้องบินกลับภายในระยะเวลาไม่ถึง 12 ชั่วโมงด้วยการพาไปชมสะพานพระราม 6 ก็มี มัคคุเทศก์บางคนเอาเปรียบนักท่องเที่ยวด้วยการขายทัวร์ช้าง โดยบอกว่าช้างในปางช้างมีน้อยและเป็นช้างของกรมป่าไม้จะต้องซื้อตั๋วก่อนล่วงหน้า ป้องกันความผิดหวัง แล้วฉวยโอกาสขึ้นราคาตั๋วสูงกว่าความเป็นจริง

มารยาทของมัคคุเทศก์
มัคคุเทศก์บางคนถูกเปลี่ยนตัวกะทันหันก่อนจะมีโอกาสทำทัวร์เมื่อแสดงกิริยาและแต่งกายไม่เหมาะสม เช่น เมื่อครั้งเจ้าชายมกุฎราชกุมารแห่งเบลเยี่ยมเดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย มีผู้ตามเสด็จเป็นสุภาพสตรีรูปร่างอ้วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับสูงเดินทางมาด้วย ปรากฏว่าเมื่อลงจากรถตู้มัคคุเทศก์ถูกกล่าวหาว่าทำท่าทางล้อเลียน โดยทำท่าทางเหมือนจะอุ้มสตรีนั้นลงมาจากรถ มัคคุเทศก์จึงถูกสั่งเปลี่ยนตัวทันทีในวันนั้นเลย อีกกรณีคือ ครั้งหนึ่งเมื่อมีการประชุมรัฐมนตรีนานาชาติที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภรรยาของคณะรัฐมนตรีมีกำหนดการไปเที่ยวสถานที่แห่งหนึ่ง ปรากฎว่ามัคคุเทศก์ถูกเปลี่ยนตัวกลางถนนสุขุมวิทเพียงเพราะแต่งกายไม่เหมาะสมเท่านั้น

สรุป
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่นำเงินเข้าประเทศแต่ละปีจำนวนมาก สถิติเมื่อปี พ.ศ.2543 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวถึง 270,000 ล้านบาท การท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก อาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพอิสระที่มีความผูกพันกับการท่องเที่ยวอย่างแยกไม่ออก คุณภาพของมัคคุเทศก์เป็นเครื่องมืออันทรงพลานุภาพในการนำทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มัคคุเทศก์ที่มีความอุตสาหะ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสสูงที่จะประสบความสำเร็จในวิชาชีพ การทำความเข้าใจในพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว การรู้เท่าทันในเล่ห์เหลี่ยมกลโกงของนักต้มตุ๋น ตลอดจนถึงกฎระเบียบ สวัสดิการและผลประโยชน์ที่มัคคุเทศก์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องล้วนเป็นข้อมูลสำคัญที่จะส่งเสริมให้มัคคุเทศก์สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ภายใต้กระแสที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่งของสังคมปัจจุบัน

การแลกเปลี่ยนข่าวสารและการถ่ายทอดประสบการณ์ของมัคคุเทศก์จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งภายใต้การเชื่อมโยงของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพและสถาบันการศึกษา ดังเช่น โครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้สำหรับมัคคุเทศก์นับเป็นความเคลื่อนไหวที่มีคุณค่าต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแวดวงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นอย่างยิ่ง ในระหว่างการอบรมแม้จะมีการถกเถียงและเสนอความคิดเห็น เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาอันเกิดจากความกดดันต่างๆ ที่มัคคุเทศก์ได้รับจากพระราชบัญญัติ กฎกระทรวงและเจ้าหน้าที่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แต่ข้อคิดและประสบการณ์ที่ถูกนำเสนอในระหว่างการอบรมล้วนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงและเป็นสิ่งที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงพึงตะหนักเช่นเดียวกัน ดังปรากฏให้เห็นในเนื้อหาข้างต้นแล้ว การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ให้เข้าใจถ่องแท้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

[1]บทความนี้เรียบเรียงและปรับปรุงจากการเข้ารับการอบรมในโครงการเพิ่มพูนความรู้สำหรับมัคคุเทศก์หลักสูตรที่1 รุ่นที่3 วันที่ 31 มี.ค.-1 เม.ย. 2544 ที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ
[2] ข้อมูลจากทวีเดช ทองอ่อน, การบรรยายเรื่อง”การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” โครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้สำหรับมัคคุเทศก์ หลักสูตรที่1 รุ่นที่3
[3] ทวีเดช ทองอ่อน, อ้างแล้ว
[4] ทวีเดช ทองอ่อน, อ้างแล้ว, แผ่นใสที่ 8
[5] ทวีเดช ทองอ่อน, อ้างแล้ว, แผ่นใสที่10
[6] ข้อมูลจาก ทวีเดช ทองอ่อน, อ้างแล้ว
[7]ข้อมูลจาก ทวีเดช ทองอ่อน,อ้างแล้ว

รายงานการสัมมนา

โครงการสัมมนาอาจารย์
ผู้สอนหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (26 พ.ค. 2543)

วิชา มรดกทางภูมิปัญญาไทย (วิชาใหม่)
ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอขอบเขตเนื้อหาวิชามรดกทางภูมิปัญญาไทยเป็น 9 หัวข้อ ดังนี้
๑,วิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ
๒.รูปแบบและวิธีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ
๓.เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต
๔.การแต่งกาย / เครื่องนุ่งห่ม
๕.การแพทย์แผนไทย
๖.สมุนไพรและตำรับยาไทย
๗.การปรุงอาหารและการถนอมอาหาร
๘.การสร้างที่อยู่อาศัย
๙.วิธีการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ

นอกจากนี้ททท.ยังอธิบายความหมาย “ภูมิปัญญาไทย”ตามนิยามของศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ว่า “ภูมิปัญญา” หมายถึง ความรอบรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อในการจัดทำ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ปัญหาและการจัดการปัญหาระดับพื้นบ้าน ได้แก่
- การสร้างบ้าน
- การประดิษฐ์ของใช้
- วัฒนธรรมการกิน
- ประเพณีพื้นบ้าน
- นิทานพื้นบ้าน
- เพลงพื้นบ้าน
- ดนตรีพื้นบ้าน
- การละเล่นพื้นบ้าน
- นาฎศิลป์พื้นบ้าน เป็นต้น

การสัมมนากลุ่มย่อยมีการเสนอแนวทางการสอนวิชามรดกทางภูมิปัญญาไทย โดยให้คำนึงถึงปัจจัย 4 ประการในการดำรงชีวิต จากนั้นได้เสนอให้เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยมีปัจจัยที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรท้องถิ่น และการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมทางอาชีพ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งในเบื้องต้นมีรายละเอียด ดังนี้

1. ที่อยู่อาศัย
1.1 ลักษณะนิสัยของคนไทย
1.2 การสร้างบ้านเรือนในภาคต่าง ๆ
1.3 ความเชื่อ / เคล็ดลับ / การแก้ปัญหา / คำอธิบายเกี่ยวกับภูมิปัญญาการสร้างบ้าน
หมายเหตุ : ที่สัมมนาเสนอรายละเอียดหัวข้อนี้ค่อนข้างน้อย

2. อาหาร
มีกรอบเนื้อหาเบื้องดังนี้
2.1 ข้าว - ข้าวเจ้าแปลว่าข้าวหุงเป็นภาษาโบราณ
2.2 รสอาหาร / การถนอมอาหาร
การอธิบายเรื่องรสชาติอาหารแต่ละชนิด เช่นรสเผ็ด หวาน มัน เค็ม เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างไร การกินอาหารของคนในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน เช่น การกินข้าวเหนียวกับเนื้อ สัมพันธ์กับภูมิประเทศที่ราบสูง เพราะเป็นที่ดอนปลูกข้าวเหนียวได้ดี ข้าวเหนียวเป็นข้าวพื้นเมืองต้องกินกับเนื้อวัวหรือเนื้อควาย เพราะไม่มีมัน ถ้ากินข้าวเหนียวกับแกงเขียวหวานจะเลี่ยนกินได้น้อย ภาคอีสานเลี้ยงวัว-ควายได้ดีกว่าเลี้ยงหมู ภาคกลางทำน้ำตาลจากมะพร้าว เพราะมีน้ำมาก ภาคอื่น ๆ ทำน้ำตาลจากอ้อย เพราะปลูกอ้อยได้ดีเป็นต้น
2.3 สมุนไพรในอาหาร
2.4 รูปแบบ / วิธีการรับประทานอาหาร
2.5 การปรุงอาหาร
2.6 ขนม
2.7 ผลไม้ (การกินทุเรียนกับมังคุดแก้ร้อนใน)
2.8 อาหารว่างและของขบเคี้ยว
2.9 เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เหล้า (น้ำตาลเมา, กระแช่)

3. เครื่องนุ่งห่ม ประกอบด้วย
3.1 รูปแบบการแต่งกาย อาทิ
ชาย หญิง
- โจงกระเบน - โจงประเบน
- ผ้าขาวม้า - ผ้าซิ่น / ผ้าถุง
- กางเกง (เตี่ยว)
- โสร่ง
3.2 วัสดุ ไหม (ใยสัตว์) / ใยพืช (ปอ, กัญชา, ฝ้าย)
3.3 การผลิต
- เครื่องมือ (เครื่องทอผ้าประกอบด้วย กี่ หูก กง แว กระสวย ฟืม เป็นต้น)
- เทคโนโลยีชาวบ้าน (การย้อมสี / การทอ)
- การประดิษฐ์ ตัดเย็บ (การออกแบบลวดลาย อาทิ จก ขิด น้ำไหล มัดหมี่ ล้วง ฯลฯ)
3.4 พิธีกรรมในการใช้ผ้า
- ผ้าในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานไหว้ต่าง ๆ ฯลฯ

4. ยารักษาโรค ประกอบด้วย
4.1 วิธีการรักษาโรค เวชบำบัด / จิตบำบัด / กายบำบัด อาทิ หมอเวทมนตร์ หมอน้ำมนต์ หมอยา หมอดู หมอธรรม หมอผี ผีฟ้า หมอพระ
4.2 สมุนไพร พืช สัตว์ แร่ธาตุ (เกลือ เงิน ทอง เหล็ก)

5. การประกอบอาชีพ
อาชีพหลัก - เพาะปลูก - เลี้ยงสัตว์
- ประมง - เก็บของป่า
- จับสัตว์ / ล่าสัตว์ - หัตถกรรม / วัสดุหัตถกรรม
- ตัดไม้ - ทำเหมืองแร่

6. การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ตลาดนัด กาดหมั้ว กาดวัว กาดควาย

ผู้ร่วมสัมมนาบางท่านแนะนำแหล่งค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ได้แก่ หนังสือภูมิปัญญาไทยของกระทรวงมหาดไทย ซีดีรอมเรื่อง ภูมิปัญญาไทย หอไทยนิทัศน์ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์วัฒนธรรมสถาบันต่างๆ พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย เป็นต้น นอกจากนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จะเปิดรับข้อมูลรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยจากผู้รู้ให้ส่งไปทางโทรสาร เนื่องจากวิชาภูมิปัญญาไทยเป็นวิชาใหม่
สรุป
คำอธิบายชื่อวิชา มรดกทางภูมิปัญญาไทย ให้อาศัยกรอบความหมายของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ซึ่งอธิบายไว้ว่า ภูมิปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อในการการจัดทำ ความสามารถในการ แก้ไขปัญหา ปัญหาและ การจัดการแก้ปัญหาระดับพื้นบ้าน ได้แก่ การสร้างบ้าน การประดิษฐ์ของใช้ ประเพณีพื้นบ้าน วัฒนธรรมการกิน เพลงนิทาน ดนตรี การละเล่น นาฎศิลป์พื้นบ้าน เป็นต้น ที่ประชุมย่อยอาจารย์ผู้สอนการอบรมมัคคุเทศก์ได้ปรับเปลี่ยนขอบเขตการเรียนการสอน โดยให้อิงภูมิปัญญาไทยพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรคและเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า โดยชี้แหล่งสืบค้นจากหนังสือภูมิปัญญาไทยของกระทรวงมหาดไทย และศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

รายงานการสัมมนากลุ่มย่อยโครงการสัมมนาอาจารย์ผู้สอนหลักสูตรอบรมมัคคุเทศก์

วิชา แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
วันที่ 29 พฤษภาคม 2543
ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์

โดย พิยะ ศรีวัฒนสาร

ผู้ร่วมสัมมนา
1. ตัวแทนภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
2. ตัวแทนภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ
3. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยบูรพา
4. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
5. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. ตัวแทนจากสถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
7. ตัวแทนจากศูนย์วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุดรธานี
8. ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
9. สมาคมมัคคุเทศก์
10. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
11. สถาบันอื่น ๆ
(รวมประมาณ 20 คน)

ขอบเขตของวิชาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอให้พิจารณาประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
- อุทยานประวัติศาสตร์ และโบราณสถานที่สำคัญในท้องถิ่นต่าง ๆ
- ประวัติความเป็นมา
- รูปแบบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญในภาคต่าง ๆ
- พิพิธภัณฑสถาน

เมื่อผู้ร่วมสัมมนาพิจารณาแล้วเห็นว่า กรอบทั้ง 5 หัวข้อ สื่อความหมายเพียง 4 ประเด็นคือ
1. อุทยานประวัติศาสตร์
2. โบราณสถานสำคัญและแหล่งโบราณคดีในท้องถิ่น
3. พิพิธภัณฑสถาน
4. ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคต่าง ๆ
2

ดังนั้นที่ประชุมสัมมนากลุ่มย่อยจึงเสนอให้ร่วมกันพิจารณาปรับเปลี่ยนขอบเขตรายวิชาและเพิ่มเติมรายละเอียดเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ดังนี้

1. อุทยานประวัติศาสตร์
- ประวัติความเป็นมา
- รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรม

2. โบราณสถานสำคัญและแหล่งโบราณคดีในท้องถิ่น
- ประวัติความเป็นมา
- รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรม

3. พิพิธภัณฑสถาน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
- ประวัติความเป็นมา
- การจัดแสดง
- โบราณวัตถุและศิลปะโบราณวัตถุสำคัญ

4. ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในภาคต่าง ๆ
- ภาคเหนือ (บ้านถวาย บ้านเหมืองกุง หมู่บ้านชาวเขา ฯลฯ)
- ภาคกลาง (บ้านญี่ปุ่น บ้านโปรตุเกส บ้านกุฎีจีน ฯลฯ)
- ภาคอีสาน (ด่านเกวียน บ้านส่วย ชุมชนพวน บ้านกุยส่วยช้างสุรินทร์ ฯลฯ)
- ภาคใต้ (เกาะยอ พุมเรียง ชาวเล ซาไก ฯลฯ)

สรุป
จากเนื้อหาขอบเขตรายวิชาดังกล่าวข้างต้นที่ประชุมได้ให้แต่ละสถาบันนำไปปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังได้เสนอให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพิจารณาเส้นทางการทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมล้านนาให้มีพื้นที่ในหลักสูตรการอบรมมัคคุเทศก์ต่อไป เนื่องจากเป็นตลาดที่มีความโดดเด่นและมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง ขณะนี้หลายสถาบันเริ่มแลเห็นความสำคัญ และจัดทัศนศึกษาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนาแล้ว ได้แก่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ธรรมศาสตร์ และสถาบันราชภัฏจันทรเกษม เป็นต้น

การประชุมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนานาชาติครั้งที่ 4

รายงานการสัมมนา เรื่อง
“Sustainable Tourism : Community Based Ecotourism Development in the Asia Pacific”
เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
7-8 กันยายน 2543
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เป้าหมายภารกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2543 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ดร.สุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และกล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่าได้รับการสนับสนุนจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOS) บริติช เคาน์ซิล (British Council) และอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดท่องเที่ยวขนาดใหญ่ (Mass Tourism) ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืน เปิดโอกาสให้ภาครัฐ เอกชน และชุมชนระดมความคิดเห็นเพื่อประสานความร่วมมือกันพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจากผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อรวบรวมข้อมูลและงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแสวงหารูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบยั่งยืนต่อไป

ในสภาวะกดดันอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีการวางแผนทิศทางการท่องเที่ยว ดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแสดงปาฐกถาใจความว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กล่าวคือ
ใน ค.ศ.1999 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 8.6 ล้านคน เพิ่มจากปี ค.ศ 1998 ถึง 10.5 % สินค้าที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ คือ ผ้าและอัญมณี ทำรายได้เข้าประเทศมากกว่า สองแสนสี่หมื่นล้านบาท (สถิติ ค.ศ.1998) ส่งผลให้รัฐบาลมุ่งส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชนบท จึงมีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่าง รัฐบาล องค์กรท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี ค.ศ.2000 จะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางเข้ามาประมาณ 9.7 แสนคน ถึง 10 ล้านคน การเข้ามาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะกระตุ้นให้ท้องถิ่น ตื่นตัวต่อการพัฒนาทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างกว้างขวาง

ความหมายและวิสัยทัศน์
ดร.อดิศัย กล่าวว่า การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) หมายถึงการจัดการทรัพยากรด้านท่องเที่ยวอย่างฉลาดและระมัดระวัง ส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบต่าง ๆ น้อยที่สุด ภายใต้การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเริ่มต้นจากความเข้าใจปรัชญาทางการท่องเที่ยวไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ชาวชนบทมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco tourism) และการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม (Agricultural Tourism)

ในทำนองเดียวกันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco tourism)หมายถึง การท่องเที่ยวซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หรือชนบท หรือทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้ได้ องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้แก่พื้นที่ (Area) คือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ หรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจ

กระบวนการสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คือ ความร่วมมือกันระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน ท้องถิ่น และรัฐ (State) มีการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานรณรงค์ทางด้านการท่องเที่ยว และเป็นผู้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภคในแหล่งท่องเที่ยวร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับชุมชนในท้องถิ่น ส่งผลให้มีการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและประสบความสำเร็จด้วยดี

ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการพัฒนาชุมชน
ศาสตราจารย์ จิออจินา บูตินา วัตสัน (Prof. Geogina Butina Watson) แห่งมหาวิทยาลัย Oxford Brookes เสนอผลงานทางวิชาการเรื่อง การท่องเที่ยวเชิงมรดกทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชน (Heritage Tourism and Community Development) โดยระบุว่า การพัฒนาทำให้มีการบริโภคทรัพยากรของท้องถิ่นอย่างไม่เหมาะสม ผลกระทบต่อชุมชนจึงมีทั้งด้านบวกและด้านลบ

ผลกระทบทางด้านบวก คือ เกิดแหล่งรายได้ที่นำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยชุมชนมี ส่วนร่วมในการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนที่สำคัญก็คือ สมาชิกของชุมชนมีโอกาสเป็นผู้จัดการวัฒนธรรม “Cultural Manager” อย่างแท้จริง

ชุมชนกับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยว
การจัดการมรดกวัฒนธรรม (Heritage management) จำแนกเป็นการปกป้องสถาปัตยกรรม การจัดการวิถีชีวิต การอนุรักษ์โบราณสถาน และศาสนา ทั้งนี้ศาสตราจารย์ จิออจินาเสนอภาพสไลด์กรณีศึกษาในภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ อังกฤษ เปรู โคลัมเบีย เม็กซิดก โปรตุเกส อเมริกาเหนือ และ สหรัฐอเมริกา (บอสตัน) เป็นตัวอย่างสะท้อนปัญหาและแนวทางการจัดการทางสิ่งแวดล้อมทาง วัฒนธรรม

ในเปรูมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปเยือน ก่อให้เกิดความล่อแหลมต่อการอนุรักษ์โบราณสถาน จึงมีการจัดการชุมชนเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถใช้โบราณสถานร่วมกับชุมชนด้วยดี
ในประเทศอังกฤษก็มีการจัดตลาดในสวนสาธารณะเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ชุมชนและการท่องเที่ยว
ในประเทศโปรตุเกสนั้น ระหว่างทศวรรษ 1970 ได้มีการจัดและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานประวัติศาสตร์ (Historic Parks) ของเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น การเต้นรำพื้นเมือง เป็นต้น โดยไม่ลืมการพัฒนาวิถีชีวิตและที่อยู่อาศัยในชุมชนควบคู่กันไป

กระบวนการดังกล่าวมีการจัดองค์กร จัดการพื้นที่ สภาพแวดล้อม ระเบียบ กฎเกณฑ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์การลงทุน และศูนย์ข้อมูลบริการนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ กรณีของเมืองโบโกตา (Bogota) ประเทศโคลัมเบียซึ่งได้จัดการกับพื้นที่ ประวัติศาสตร์ควบคู่ไปกับการแบ่งพื้นที่ดำเนินธุรกิจเพื่อชุมชนและฟื้นฟูสภาพพื้นที่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

ความทันสมัยทำลายรูปแบบดั้งเดิมของชุมชน
กรณีของเมืองบอสตัน (Boston)ในสหรัฐก็เช่นเดียวกัน เมืองบอสตันมีลักษณะเป็นชุมชนแบบผสมผสานหลายเชื้อชาติ เช่น อิตาเลียน ยุโรปตะวันออก และอื่น ๆ การจัดการกับกลุ่มสังคมในชุมชน (Community Group) และวิถีชีวิตชุมชน (Community life) จึงสำคัญเป็นอันดับแรก ในปีค.ศ. 1956 มีการสร้างทางด่วน (Motor Way)ขึ้นในเมือง ส่งผลให้มีการแบ่งแยกพื้นที่ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือ ก
กลุ่มสถานที่ทำงาน เช่น บริษัท ห้างร้าน สถาบันและองค์กรตั้งอยู่ในเขตเมือง แต่ชุมชนกลับตั้งอยู่นอกเมือง ทางด่วนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลักษณะความสัมพันธ์ในชุมชนล่มสลาย

การเยียวยาสายสัมพันธ์ในชุมชนด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ในปี ค.ศ. 2000 มีการเสนอแผนพัฒนาชุมชนแห่งเมืองบอสตันให้สอดคล้องกับลักษณะของชีวิตในชุมชน (Community life) และชุมชนท้องถิ่น (Local community) โดยมีการออกแบบชุมชน (Community designee) จัดการกับที่อยู่อาศัย และพื้นที่ประกอบการทางธุรกิจ (Business area) เพื่อคืนชีวิตชีวาให้แก่ชุมชน มีการบูรณะโบสถ์ ที่ทำการของรัฐบาล และมีการจัดการด้านกาi ท่องเที่ยวของชุมชนอย่างจริงจัง

ความตื่นตัวในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชน
ในประเทศเม็กซิโก มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ร่วมกันสนับสนุนการพัฒนายุทธศาสตร์ต่าง ๆ สำหรับชุมชน มีการสร้างสถาปัตยกรรม (บ้าน อาคาร) แบบพื้นเมืองเพื่อแสดงให้แลเห็นวิถีการดำรงชีวิต ของชาวเม็กซิกัน โดยใช้วัสดุพื้นเมืองเป็นหลัก และมีการสร้างหอประชุมสำหรับชุมชน (Community hall) เพื่อให้เกิดการมีส่วนสังคมขึ้น (Social Interaction) ผลที่ตามมาคือ การจัดการกับมรดกของท้องถิ่น (Local Heritage) ยังก่อให้เกิดการสืบทอดผลงานหัตถกรรม การละเล่นและขนบธรรมเนียมประเพณีไปยังคนรุ่นใหม่ ๆ ต่อไปอย่างไม่ขาดช่วงด้วย

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนกับมรดกทางวัฒนธรรม
ดร.ริชาร์ด แองเกลฮาร์ดท์ (Richard Engelhardt) แห่งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (UNESCO) บรรยายเรื่อง ความยั่งยืนในการจัดการเรื่องมรดกและการท่องเที่ยว (Sustainable Heritage Management and Tourism in the Asia Pacific) โดยชี้ว่า เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในเอเชียและแปซิฟิก ส่งผลให้มีการ จ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชน การท่องเที่ยวจึงเป็นแนวทางสำคัญในการเยียวยาเศรษฐกิจ ก่อให้มีการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมและการสร้างสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง แต่ผลกระทบที่ตามมาก็คือ การทำลายโบราณสถาน และปัญหาสังคมเช่น ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เด็กๆกลายเป็นขอทาน เนื่องจากความยากจน ทำให้มีคำกล่าวว่า “เรากำลังเร่งมือทำความเสียหายให้แก่มรดกวัฒนธรรม-We are in grout danger of loving our heritage to death” ปัญหาที่ว่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่เร่งให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไปสู่จุดจบอย่างรวดเร็ว เพราะเห็นแก่การมุ่งเพิ่มปริมาณของนักท่องเที่ยวมากเกินไป

การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : ผลประโยชน์ของใคร
ดร.ริชาร์ด แองเกลฮาร์ดท์ ยกกรณีของการแสดงเสี่ยงตายเอาศีรษะยื่นเข้าไปในปากจระเข้ จังหวัดสมุทรปราการ และการจัดแสดงพิธีกรรมทางศาสนาในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่ง ให้นักท่องเที่ยวต่างศาสนาชม มรการตั้งคำถามขึ้นมาว่า คนกลุ่มใดเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากไม่มีการคำนึงถึงชุมชนอย่างชัดเจน

ดร.ริชาร์ด แองเกลฮาร์ดท์ ได้ยกกรณีของการจัดการของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนว่า มีการคำนึงถึงการพัฒนาทั้งสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. การพัฒนาท้องถิ่น (Rural Development)
2. การอนุรักษ์และปกป้องมรดกของชาติ (Conservation and Preservation National Heritage)
3. การเคารพต่อขนบธรรมเนียมของชุมชน (Respect to tradition of Community)
4. การฝึกอบรมบุคลากร (Training)
5. การรวมตัวของชุมชน (Public Integration) ฯลฯ
การจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนส่งผลให้มีการตระหนักถึงผลกำไร และการนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวของประชาชนในท้องถิ่นรวมทั้งทำให้มีการจัดหาสาธารณูปโภคให้แก่ท้องถิ่นด้วย

การทบทวนจิตสำนึกของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
การตระหนักถึงการพัฒนาและอนุรักษ์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทำให้ UNESCO เป็นผู้จัดการประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบความร่วมมือของผู้ได้รับผลแระโยชน์ จากการท่องเที่ยวที่เมือง ภารปุระ (Bhalapur) ในประเทศเนปาลระหว่างวันที่ 8 – 16 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ดังมีข้อสรุปดังนี้
1. กำหนดรูปแบบการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม
2. กำหนดรูปแบบการลงทุนทางการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนทางวัฒนธรรม
3. กำหนดรูปแบบการการศึกษาของชุมชนและการฝึกอบรมเพื่อความชำนาญ
4. การแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างรัฐบาล – นักอนุรักษ์นิยม และชุมชนผู้ครอบครองแหล่งวัฒนธรรม

ความท้าทายของการอนุรักษ์และพัฒนา
การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดทางการท่องเที่ยวจากความหลากหลายทิศทางไปสู่การอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมแบบยั่งยืน จะต้องมีการร่วมมือกันรณรงค์ การจัดหาและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของสังคม (Social Economic Development) โดย ดร.ริชาร์ด แองเกลฮาร์ดท์ได้ชี้ถึงแนวทางที่จะก่อให้เกิดผลปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมว่าประกอบด้วยการศึกษาและวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การหันกลับมาลงทุนอีกครั้งทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์และบังคับใช้มาตรการอนุรักษ์ และการสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีสำนึกในการปกป้องวัฒนธรรมอย่างจริงจัง
แนวทางข้างต้นจะส่งผลให้มรการวิพากษ์ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีการนิยามเป้าหมายการอนุรักษ์ การตีกรอบการจัดการทางการท่องเที่ยวและการกำหนดรูปแบบสาธารณูปโภค และสถาปัตยกรรมในแหล่งวัฒนธรรมอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การจัดการการท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมในประเทศไทย : การเริ่มต้นที่น่าจับตามอง
หลักการบรรยายของของดร.ริชาร์ด แองเกลฮาร์ดท์ มีการเสนอผลงานการอนุรักษ์หุ่นละคร โรงเล็ก ของคณะโจหลุยส์ เฮียเตอร์ การจัดการสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบ Theme Park ของ “ภูเก็ตแฟนซี” และการจัดการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ชื่อ วิวาห์ใต้สมุทร” ของบริษัทการบินไทย การอนุรักษ์ธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ แจ้ซ้อน (เชียงใหม่) ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร (นราธิวาส) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน (จันทบุรี) การจัดการ พิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (กำแพงเพชร) กรณีศึกษาจังหวัดอยุธยา และบ้านเสานัก จังหวัดลำปาง เป็นต้น

มรดกทางวัฒนธรรมกับการแปลความหมาย : มุมของนักวิชาการ
วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2543 เวลา 09.00 น. ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ (Brian Goodey) แห่งมหาวิทยาลัย Oxford Brook บรรยายเรื่อง การท่องเที่ยวแหลางมรดกทางวัฒนธรรมและการแปลความหมายของนักท่องเที่ยว (Heritage Tourism and Visitor Interpretation) ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ วิจารย์ว่า ลักษณะการจัดการของภูเก็ตแฟนตาซี มิใช่รูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หากแต่เป็นความพยายามที่จะเข้าใจและเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ขณะเดียวกันก็รู้สึกตกใจที่เห้ฯคนจำนวนพันคนลงไปเหยียบย่ำปะการังในงานวิวาห์ใต้สมุทร ซึ่งจัดโดย ฐริษัทการบินไทยและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การบรรยายของ ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ ครอบคลุมเนื้อหา 5 ประเด็น คือ
- ประเด็นมรดกวัฒนธรรมเป็นของใคร
- ประเด็นการอนุรักษ์หรือการพัฒนา
- ประเด็นมรดกวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาหรือไม่
- ประเด็นทำให้มรดกวัฒนธรรมเป็นที่ประจักษ์ได้อย่างไร
- ประเด็นบทบาทของการแปลความหมายมรดกวัฒนธรรม
- ประเด็นจะวางแผน

มรดกวัฒนธรรม (Heritage) เป็นของใคร
ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ อธิบายว่า มรดกทางวัฒนธรรมเป็นทั้งหลักฐานด้านวัตถุและมิใช่วัตถุที่สืบทอดมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งถูกบ่งชี้ (Identified) และประเมินคุณค่า (Valued) โดยบุคคลหรือกลุ่มคน ดังนั้นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราส่วนใหญ่ทั้งที่แสดงออกจากคำบอกเล่าและการกระทำ ต่างก็เป็นสิ่งที่เรียกว่า มรดกจากอดีตทั้งสิ้น ชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นเจ้าของแหล่งมรดกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของแหลางมรดกในด้านของความสำเร็จต่อความพยายามในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การวางแผนและการจัดการอย่างมืออาชีพ จึงควรเกิดขึ้นในชุมชนเองอย่างขาดมิได้ ในขณะที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่บ้านเมืองวางแผนรายละเอียดทางด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือนิเวศวิทยา ชุมชนก็จะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

การอนุรักษ์หรือการพัฒนา
การเปลี่ยนแปลงหรือการทำลายมรดกเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความวิตกหรือความเป็นปฏิปักษ์แก่ผู้ที่ ดูแลมรดกนั้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ การโยกย้ายอาคาร การทำลายพื้นที่สีเขียว และการใช้สัญลักษณ์ ของชาติ สัญลักษณ์ท้องถิ่น หรือสัญลักษณ์ทางศาสนามาปะปนกันในผลงานแฟชั่นร่วมสมัย ล้วนแต่เป็นจุดกระตุ้นความโกรธขึ้นในสังคม สิ่งเหล่านี้อาจดูเหมือนอุปสรรคต่อการพัฒนา แต่การหยุดการพัฒนามิใช่คำตอบที่ดีที่สุด เมื่อ 50 ปีที่แล้วเรายังเชื่อกันว่าการอนุรักษ์มรดกเป็นคนละเรื่องกับการพัฒนา แต่ความคิดดังกล่าวได้เปลี่ยนไปแล้ว การอนุรักษ์และการพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์ที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ ในเรื่องมรดกทางวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรมจะหมดคุณค่าต่อชุมชนถ้าหากขาดการอนุรักษ์และหากขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สมบัติทางวัฒนธรรมก็จะถอดทอดทิ้งเช่นกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามมรดกส่วนใหญ่ควรจะถูกใช้ในฐานะที่เป็นแหล่งความรู้ความดิด และเทคนิคสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคต สิ่งท้าทายคือ การรักษาความมั่นคงของสมบัติวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นทรัพยากรบนพื้นฐานของการพัฒนานั้นจะทำได้อย่างไร

มรดกวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา
การที่สมบัติวัฒนธรรมถูกดึงเข้าไปอยู่ในกระบวนการพัฒนาประกอบด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ

ประการแรก การพิจารณาถึงรูปแบบ-ภาพลักษณ์และเงื่อนไขของมรดกเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ถูกดึง
มรดกเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเพื่อความอยู่รอด
ประการที่สอง ที่ตั้งของอาคารถาวร และเหตุการณ์ต่าง ๆ จะต้องสะท้อนให้เห็นในกระบวนการพัฒนา
ประการที่สาม สมบัติวัฒนธรรม (heritage) เป็นดัชนีของความอยู่รอด หรืองอกงามของชุมชน
ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ อธิบายว่า อาคารและการพัฒนาเป็นสิ่งที่มีราคาถูกมาก แต่มรดกวัฒนธรรมเป็นสิ่งมีค่า และจำเป็นจะต้องทำให้เกิดงอกงามยั่งยืน ซึ่งการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอดีต ไม่ว่าจะแสดงออกทางด้านรูปแบบทางกายภาพ หรือในลักษณะของวัฒนธรรมที่มิใช่วัตถุ จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสม

การทำให้มรดกวัฒนธรรมเป็นที่ประจักษ์
ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ อธิบายว่า 50 ปีที่ผ่านมา มรดกวัฒนธรรมส่วนใหญ่ถูกเก็บงำไว้อย่างเป็นทางการ ภายใต้การสนับสนุนในรูปของเอกสารทางการอย่างเข้มงวด แม้ทางการจะดำเนินการอย่างมืออาชีพ แต่ก็ยากที่จะประจักษ์แก่คนทั่วไป ข้อมูลทางวิชาการซึ่งถูกสื่อผ่านและบรรยายโดยภัณฑารักษ์ และนักวิชาการยังคงเป็นเหมือนสินค้าในตู้โชว์สำหรับบุคคลที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์แต่กลับเอื้อมไม่ถึง ซึ่งห่างเหินจากประสบการณ์ และความต้องการของชุมชนคนทั่วไปจึงอาจถูกชักจูงให้สร้างปฏิสัมพันธ์กับมรดกสมัยใหม่อย่างน่าเสียดาย

ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ เสนอให้เริ่มสร้างความพยายามในการเข้าใจมรดกวัฒนธรรมพื้นที่ขนาดเล็กก่อนเป็นอันดับแรก ยกตัวอย่างในอังกฤษ หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีโบสถ์หลังหนึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมสำคัญ แต่ปรากฎว่าเวลาเปิด – ปิด และรายละเอียดต่าง ๆ ของโบสถ์ ไม่ถูกติดตั้งไว้ในที่เด่นชัด ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ ตั้งคำถามว่า เรามีสิ่งที่จะต้องอนุรักษ์หลายพื้น แต่เราจะอนุรักษ์อะไร และทำไมจึงต้องอนุรักษ์ ในหมู่บ้านแห่งนี้มีพื้นที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมือง มีหลุมฝังศพของนักคริกเก็ตผู้มีชื่อเสียง มีอาคาร ถนน และพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ แต่กลับไม่มีมัคคุเทศก์ที่มีความสามารถ ไม่มีป้ายแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว และไม่มีสิ่งเชื่อมโยงกับสถานที่ ท่องเที่ยวอื่น ๆ แต่อย่างใด

บทบาทของการแปลความหมายมรดกวัฒนธรรม
ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ กล่าวว่าการแปลความหมายมรดกวัฒนธรรม คือ ความพยายามอธิบายข้อมูลให้เกิดความเข้าใจแก่สาธารณชน โดยเน้นการเพิ่มคุณค่าทาง
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแก่สถานที่นั้น ๆ

ในที่นี้ “Interpretation” มีสองความหมาย คือ หมายถึงการถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง และหมายถึง การเขียนป้ายแสดงข้อมูลเกี่ยวกับมรดกวัฒนธรรมแก่สาธารณชน ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ ชี้ว่า การเพิ่มคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสถานที่เป็นการแปลความหมาย ที่น่าชื่นชม ที่จะส่งผลให้สมบัติวัฒนธรรมมีความยั่งยืนไปถึงคนรุ่นต่อ ๆ ไป และคนทั่วไป การแปล ความหมายได้เปิดเผยให้เห็นความหมายต่าง และทรัพยากรใหม่ ๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในสมบัติวัฒนธรรม หากปราศจากการแปลความหมายแล้ว มรดกวัฒนธรรมจะกลายเป็นภาระที่ต้องได้รับการอนุรักษ์ และเป็นปัญหาของชุมชนที่เป็นเจ้าของ การแปลความหมายเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นกุญแจไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชุมชนปราศจากความเข้าใจถึงการก่อตัวของสิ่งแวดล้อม

การวางแผนให้เกิดการแปลความหมายมรดกวัฒนธรรมอย่างมีเอกภาพ
หัวใจของเอกภาพในการตีความ คือ จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับกระบวนการพัฒนา หลักสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับ “Interpretation” คือ ความหมาย (meanings) ภาพลักษณ์ (images) และกิจกรรมต่างๆ (activities) การแปลความหมายและแผนการพัฒนาความหมายของมรดกในอนาคต มิอาจแยกตัวออกจากความรู้ และความตั้งใจของชุมชนท้องถิ่นได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการจัดเตรียมสะพานเชื่อมระหว่างแผนการคุกคามทางกายภาพกับแรงกระตุ้นของชุมชนท้องถิ่น ศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ สรุปว่า ปัจจุบันการแปลความทางมรดกถูกตระหนักถึงในฐานะที่เป็นสื่อจำเป็นในการวางแผนสำหรับอนาคต เรื่อง ความหมายและคุณค่าของชุมชนแทนการแปลความหมายทำให้เกิดวิธีการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่น และกลุ่มผลประโยชน์อย่างเป็นไปในทางเดียวกัน อดีตและมรดกมีความสำคัญต่อชุมชนทุกแห่ง เนื่องจากเป็นความยั่งยืนสำหรับเศรษฐกิจในอนาคต และที่สำคัญก็คือ วิธีการแปลความหมายของวัฒนธรรม ทำให้เกิดการพัฒนาที่ส่งผลต่อการผสานช่องว่างอันขาดวิ่นระหว่างอดีตกับอนาคตได้เป็นอย่างดี

การเสนอผลงานการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในประเทศไทยปัจจุบัน
หลังจากการบรรยายของศาสตราจารย์ ไบรอัน กูดดี้ แล้ว มีการนำเสนอผลงานของนักวิชาการดังนี้

- ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ได้บรรยายเรื่อง “Ecotourism for forest Conservation and Community Development in the Asia and Pacific Region”

- มร. Vincent Tabuteaบรรยายเรื่อง
“TATA’s Vey goals : Sustainable Development and Cultural Conservation : Northern Thailand’s ” Mountain Peoples

- การเสนอผลงานการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เกาะยาวน้อย พังงา เกาะพงัน สุราษฎร์ธานี หมู่บ้านวัฒนธรรมผู้ไทโคกโก่ง แหล่งท่องเที่ยวเขาพลายดำ ตำบลทุ่งใส จังหวัดนครศรีธรรมราช และการจัดการแหล่งที่พักเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติไร่วนิดาวัลเลย์ จังหวัดสระบุรี เฟิร์นริมธารรีสอร์ท จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบทบาทของสื่อมวลชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อสมาชิกชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable Tourism Club

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT )
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส. จุฬารักษ์ อุ่นท้าว 491370077 081-6007487 ก้อย
2 น.ส. นันท์นภัส เล้นสิ้น 491700304 087-7997720
3 น.ส.ธนาพัฒน์ รุ่งศิริบูลย์ 491700531 089-6566999
4 นาย พชร ดอกวง 501710039 086-5551429 หนุ่ย
5 น.ส. ดารุณี แขวงเสรียด 511700198 083-7905272 ดี้
6 น.ส.สุพรรษา ประมายะ 511700203 087-7133225 เปรียว
7 น.ส.พรรฐิภา รุ่งสีทอง 511700223 087-0339827 นิว
8 น.ส. กาญจนา สุทธิชัยเมธี 511700231 083-7905272 อ้อม
9 น.ส. อิสราภรณ์ รุ่งเจริญ 511700240 084-8893235 แนน
10 น.ส. นิตยา รัดสุวรรณ 523108010192 084-2053329
11 น.ส. ชุระวี คนหลัก 520108010057 086-1420500
12 น.ส. ธิดารัตน์ ทรัพย์เจริญ 520108010054 089-5885016
13 นาย ปราชญ์ญา บัวประเสริฐ 523108010058 080-2828226 บอย
14 นาย สุนศักดิ์ แซ่เตียง 523108010069 087-5002300 แบงค์
15 นาย เสกสิทธิ์ ชำนาญมะเริง 523108010044 084-9174656 อ้อม
16 น.ส. ชุติมา ยายี 520108010034 085-5573051
17 น.ส. ภัทรวดี ขาวน้อย 520108010075 086-8053707
18 น.ส. สายฝน โตสังข์ 520108010046 084-5980329
19 น.ส. มาศสุภา นินแรง 520108010056 082-5098103
20 น.ส. วรรณรวี วีรวรรณ 520108010047 083-5388997
21 น.ส. วีรยา เอนแพทย์ 520108010060 087-1487270
22 น.ส. อังคณา เคตุช 520108010224 084-8575882
23 น.ส. วรรณวิมล หยองอนุกูล 520108010214 082-4823427
24 น.ส. อัจจิมา โสอุดา 520108010175 087-5888107
25 น.ส. อุทุมพร ชูสำราญ 523108010121 084-9943991 นิวส์
26 น.ส. พรรณธิการ บุษวงศ์ 523108010127 082-8117218 เอม
27 น.ส. รัศมี ประกายจันทรา 520108050013 087-9761027 นุ่น
28 น.ส. ทิฆพร มังกรวงส์ 520108050012 082-0855625 พิม
29 น.ส. ณัฎฐกฤตา สุริยะรังสรรค์ 520108050010 089-2678851 มิกซ์
30 นาย วิศรุต โชติชานนท์ 520108050009 081-9627265 เจี้ย
31 นายทวีวัฒน์ หอมชื่น 520108010175 083-7671169 เอ็กซ์
แบบรายงานข้อมูลสมาชิก
ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable Tourism Club
คณะเทศโนโลยีสารสนเทศ ( IT )
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
32 นายตะชิน ประเสริฐ 520108010174 086-8384731 เบนซ์
33 น.ส. ทิพวรรณ พดุงการ 520108010185 0835507939 ทราย
34 น.ส. วรรรณฤดี ชูสุวรรณ 520108010236 085-7812615 อิง
35 น.ส. นัฐธิกา ขันทอง 520108010228 082-2792607 เน็ท
36 น.ส. ธนกนาภ วงศ์คำแสง 520108010234 083-4393051
37 น.ส. แพรอัมพร ประเดิมชัย 520108010217 084-0928919
38 นาย กิติพัฒน์ ศิริมาลาลักษณ์ 523108010126 085-3353602
39 น.ส. ดารารัตน์ ศรีศักดิ์ 523108010094 086-5050912
40 น.ส. สิริพร ขวัญเมือง 523108010097 080-0230490
41 น.ส. วาสนา แก่งเสี้ยน 523108010098 086-1670318
42 น.ส. นันทรัน อินทะรังษี 523108010112 087-1860772
43 น.ส. ชลิตตา จันทร์จัน 520101010053 085-2533345


คณะ นิติศาสตร์
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส. วลัยพร คำปัน 52010-4010103 087-7237593
2 นาย สราวุธ นุ้ยชวดี 52010-4010028 083-5290889
3 นาย ชิณวร ขันธจิตร์ 52010-4010133 089-1582145
4 นาย ประชา ฤชุพันธ์ 52010-4010139 086-7692869
คณะบัญชี
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส.ขวัญมณียา สกุลทอง 49137-0069 085-4128860
2 นาย อนุชิต ธรรมนิยม 49137-0066 085-9750707
3 น.ส.วรรณา นวลศรี 49137-0087 085-2348971
4 น.ส. วัลภา ขำเผือก 49137-0081 085-2349528
5 น.ส.ปาริชาติ ไชยรัตน์ 49137-0459 087-0658078
6 น.ส.ศันสนีย์ รอดแดง 49137-0188 083-4406605
7 น.ส.นพรัตน์ พ่วงพลัน 49137-0190
8 น.ส.ยุพารัตน์ มหาเกษตริน 49137-0221 089-0589857
9 น.ส.ศศิธร มนุสภาพรสุข 49137-0267 082-3402323
10 น.ส.ณัฐธิดา ฉันทารุนัย 49137-0253 089-2224547
11 น.ส.โสภิตา เพชรดวงสี 49137-0433 084-6659005
12 น.ส.ปาริชาติ ไพรพนาเวศน์ 49137-0445 087-6907972
13 น.ส.ภรณ์ทิพย์ พันคง 50137-0042 087-2666469
14 น.ส.ณัฏฐัฐภัทร วงศ์เนียม 50137-0141 080-2788216 ยุ้ย
15 น.ส.ยุเรศ อินทร์เกลี้ยง 50137-0150 084-4414007 เมย์
16 น.ส.สุพิชญา หวานหอม 50137-0149 087-9275781 ใหม่
17 น.ส.วรรณิการ์ ชุมภู 50137-0162 084-3349945 วิน
18 น.ส.ศิริทิพย์ มาละการ 50137-0115 083-3933215 ตอง
19 น.ส.พิมพ์ธิรา อินทร 50137-0209 086-5963435
20 น.ส.สุมารินทร์ จันทะโธ 50137-0269 087-9950376
21 น.ส.รัตนาวดี คุ้มปอง 50137-0265 081-5337462
22 น.ส.อลิศรา ศีลาเจริญ 50137-0264 083-2929780
23 น.ส.วราภรณ์ ราษฏร์บัณฑิต 50137-0482 084-6774465
24 น.ส.กาญจนา จันทะพันธุ์ 50137-0423 080-0537377
25 น.ส.วิลาวรรณ ทิพยวงศ์ 50137-0485 087-6846411
26 น.ส.นริศรา สังข์สิริ 50137-0027 089-5362736
27 น.ส.น้ำทิพย์ วรรณรังษี 50137-0483 083-6121613
28 น.ส.เบญศาณี ตินะน้อย 50137-0044 083-8283624 แนน
29 น.ส.พงษ์นิทยา อุปถัมค์ 50137-0045 084-7446411 เมย์
30 น.ส.นิรมล ดี่ทู 50137-0033 081-7713731
31 น.ส.ศศิวรรณ ปิยรัตน์ 50137-0046 083-9719465
แบบรายงานข้อมูลสมาชิก
ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable Tourism Club
คณะบัญชี
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
32 น.ส.จิรวรรณ นาคขำ 50137-0055 084-1419395
33 น.ส.ศิรางพร ปรางทอง 50137-0054 083-2244722
34 น.ส.ฝนทิพย์ หว่านพืช 50137-0072 083-4435006
35 น.ส.วรรณ์ภา ถนอนชาติ 50137-0134 083-1111248
36 คานัต ถวง 50137-0138
37 สุนิตสา ดำดี 50137-0140
38 น.ส.ดารณี อารมย์ขัน 50137-0175 081-8144556 แนน
39 นาย คเณศ นิลานทอง 50137-0158 083-6873170 พัน
40 น.ส.ปนัดดา โศรกศรี 50137-0165 081-2463261 ดา
41 น.ส.สุดารัตน์ ช้างสีทาปันต์ 50137-0139 081-2463261 กิ๊ฟ
42 นาย ฉัตรชัย ปัจจัยชัย 50137-0146 081-2463261 แมน
43 นาย วัรภัทร จิรพันธ์ 50137-0171
44 นาย ณัฐวุฒิ ใบสด 50137-0172
45 น.ส.อุษณีย์ เหล่าวิเศษกุล 50137-0173
46 น.ส.กุลรัตน์ พงษ์พันชัชวาล 50137-0179
47 นาย เจษฎา ช่วงฉ่ำ 50137-0438
48 นาย ปรัชญา ปั่นมยุรา 50137-0471 087-1218494
49 น.ส.สุภาพันธ์น์ จันทร์ส่อง 50137-0011 087-6742376
50 น.ส.อรธิศา โชติมณี 50137-0013 086-2922034
51 น.ส.ภารนันท์ เงินพวง 50137-0031
52 น.ส.ภัทรา เจริญรูป 50137-0062 086-9488670
53 น.ส.สุวิชญาน ศักดิ์หริรักษ์ 50137-0062 085-9511260
54 น.ส.น้ำฝน วงศ์จำรูญ 51137-0255 083-4423472
55 น.ส.สุภาพร สมสุข 51137-0270 087-8982913
56 น.ส.ผกามาศ อินไชยา 51135-3005 089-2320763
57 น.ส.รวิวรรณ ชุมภร 51135-0111 082-0795038
58 น.ส.ธนาพร มีเศรษฐี 51135-0176 082-0795038
59 น.ส.ศรัญญา ประทุมพวง 51137-0242 084-0111838
60 น.ส.ภัทรา สาทางกูล 51137-0208 083-9623678
61 น.ส.วรรณวิสา กุลประเสริฐ 51137-0211 081-1556371
62 น.ส.ทิมาพร เมืองแสน 51137-0207 081-1556371
แบบรายงานข้อมูลสมาชิก
ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable Tourism Club
คณะบัญชี
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
63 น.ส.สาวิตรี เดนจันทึก 51137-0262 082-7053047
64 น.ส.นิสา คุ้มสมบัติ 51137-0217 080-0605754
65 น.ส.สาคร กัญจนการ 51137-0222 087-2688807
66 น.ส.สุดารัตน์ ช่วยเรือง 51137-0221 086-6783711
67 นาย ภูมิเมฆ ภิรมย์พิณ 52010-5030307 089-7672200
68 มุดรา หมวกสังข์ 52010-5030260
69 น.ส.จุฬาลักษ์ ชมพู 52010-5010097 087-8506191
70 น.ส.พรพิมล มหาสมุทร 52010-5010085 080-5124200
71 น.ส.ปิยะนันท์ พรมมา 52010-5010091 080-5099010
72 น.ส.ปรารถนา ระพิสุวรรณ 52010-5010054 082-0904605
73 น.ส.เยาวลักษณ์ เที่ยงตรง 52010-5020054 086-0518210
74 น.ส.รุ้งศิริ บุญญประโชติ 52010-5020031 083-2234542
75 น.ส.สุดารัตน์ สรรพสุขพิปาล 52010-5010067 085-2178788
76 น.ส.หทัยภัทร สนองคุณ 52010-5010095 085-0944785
77 วิศรุตา พนมวชิรวัฒน์ 52010-3050150 082-4824715
78 น.ส.สาวิตรี ช่วยทิพย์ 52010-3050137 080-2776041
79 น.ส.ปรียากร ปัญญรก 52010-3050132 080-2776041
80 น.ส.สุมาลี เบิกบาน 52010-5010005 089-5585406
81 น.ส.พัชรี กลางกองสรรพ 52010-5010120 083-1972686
82 น.ส.ปิยะดา เอียดใหญ่ 52010-5030143 083-1734736
83 น.ส.อาภาภรณ์ ดำขำ 52010-5030147 083-5425470
84 น.ส.อนุธิดา จิตต์นิยม 52010-5120046 086-5459267
85 นายปิยะพงษ์ ศรีศิลป์ 52010-5030166 082-8917752

คณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส.ปุณฑรอกา ศะศิธร 52010-5020040 082-3427008 เฟิร์น
2 น.ส.วาสนา ทอโชคชัย 52010-5020051 086-9872494 วาส
3 น.ส.เบญจวรรณ เหมชาติ 52010-5030006 084-7089165 จิ๊บ
4 น.ส.ศรัณย์พร อัชฌารจแรข 52010-5030043 083-6154659 สอง
5 น.ส.เพ็ญนภา คำร้อย 52010-5030028 082-5949386 ก้อย
6 นาย จิศรุต ลุยอาย 52010-5030001 087-9234090 วิว
7 น.ส.จิตอนงค์ เครือรอด 52010-5030044 084-1192508 ป่าน
8 นาย วัชรพล แย้มประสงค์ 52010-5200067 085-6678829 อาร์ต
9 น.ส.อรวรรณ ถี่ก้าน 52010-5000063 084-3776079 จิ๊บ
10 น.ส.วิไลวรรณ รู้บุญ 52010-5020064 083-8414028 ดาว
11 น.ส.นวลนภา ยื่นยง 52010-5020050 086-7063682 แอม
12 น.ส.วิมลรัตน์ ฤทธิ์เดช 52010-5020019 085-9308814 วิ
13 น.ส.ประภัสชร สิงหปรีชา 52010-5020070 087-1265637 เมย์
14 น.ส.ปวีณา หมอทรัพย์ 52010-5020015 089-0259551 อุ้ย
15 นาย นธี ภูมิธร 52310-5030040 087-3899747 โอ๋
16 นาย คงพล นนทนวงศ์ 52310-5030033 089-1067004 อาร์ม
17 นาย บารมี สามารถสืบ 52310-5030011 086-6164330 บาร์
18 น.ส.สุภาวดี สวัสดี 52010-5020055 082-2991665
19 น.ส.เบญจพร พ่วงแดง 52010-5020052 081-5563067
20 น.ส.ลลิตา โอฬารประโต 52010-5020056 087-5055042
21 น.ส.วิลาวัลย์ สกุลพัฒนทรัพย์ 52010-5010010 081-4914432
22 น.ส.ปวิตรา ปรีชาวานิช 52010-5010031 084-9295388
23 น.ส.มัณฑจิรา ทองเนียม 52010-5010016 089-1216338
24 น.ส.โซเฟียร์ หม่อมดา 52010-5010009 080-9229951
25 น.ส.อิงอร เรืองศรี 52010-5010014 085-2515060
26 น.ส.สราณี อมรไพศาลเลิศ 52010-5010003 083-8235175
27 น.ส.กรรณิการ์ โทนแก้ว 52010-5010065 087-5456843
28 น.ส.กิติภา จันทรโคตร 52010-5012020 083-2118009
29 น.ส.ญาดา โอวัฒนา 52010-5010077 086-5274504
30 น.ส.ธันยพร เหล่าเรืองเลิศ 52010-5030268 085-8071202 แนน
31 น.ส.สุทธา ธวัชพัทธุ์ 52010-5030259 083-2376612 เบียร์
แบบรายงานข้อมูลสมาชิก
ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable Tourism Club
คณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
32 น.ส.ศศิธร วิระสิทธิ์ 52010-5010113 083-9537935 ปริ้น

คณะ ศิลปกรรมศาสตร์
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 นาย มงคล ทองแป้น 51181-0145
2 น.ส. รจิรา แก้วจินดา 52010-9030135 086-0885257 จอย
3 น.ส.ทินชนดา ภักดีนอก 52010-9030132 085-3315347 หนิง
4 น.ส. ปิยะวรรณ ขันต์ชนะกุล 52010-9020101 080-5926123
5 น.ส. สาวิตรี ทัดทับทิม 52010-9020136 080-5840322
6 น.ส. ดลยา รอกแข็ง 52010-9020117 081-6578965
7 น.ส. ธัญญาลักษณ์ ใจเงิน 52010-9020115 089-6664243
8 น.ส. ธิวาพร อ่อนละมุล 52010-9020127 080-2577802
9 นาย อภิสิทธิ์ พุ่มพุก 52010-9030018 083-8704688 แบงค์
10 นาย ณัฐเศรษฐ์ คำภักดี 52010-9030021
11 เบญญทิพย์ สรบุญรัตนเจริญ 52010-9010115 084-1415536 ตูน
12 น.ส. อาริตา เสนาจันทร์ 52010-9010102 080-9986572 กวาง
13 น.ส.ชลชิชา จรกา 52010-9030117 082-5497004 เบนซ์
14 น.ส. สุรีมาศ นาราช 52010-9030108 083-7563237 ใหม่

คณะ บริหารธุรกิจ
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 นายวรรณชัย มีสติ 50101-0050 0821413441 ปิว
2 น.ส.ศิริพร ปานนุช 50106-3008 085-6631908 โบว์
3 น.ส.รัตติยา แจ้งกระจ่าง 50101-0080 0851990886
4 น.ส.ปวันรัตน์ บันลือศรีสกุล 501010086 0875622765
5 น.ส.สุชาดา ทองเล็ก 501010083 087-5612855
6 น.ส.ปิยนันท์ วงศ์วิริยากร 501010089 089-7853857
7 น.ส.สุรางคนา พูดจาด 501010096 087-6778430
8 น.ส.กาญจนา คำมูล 501010101 0860589166
9 น.ส.สวิตตา สีออน 501013004 0879905321
10 น.ส.ผกาวรรณ โพธิ์งาม 501010116 0896606902
11 น.ส.วันดี คำภา 501013002 0833045972
12 น.ส.ชื่นฤดี ตันตขาพงษ์ 520101070078 0864314354
13 น.ส.สุพรรณ๊ บุตรรักษ์ 501013003 0878787950
14 น.ส.ณัฐชยา หุตะมาน 520101060014 0878485219
15 น.ส.จิราภรณ์ เคหะ 520101060013 0843266869
16 น.ส.ธนาภรณ์ อินทร์กลับ 520101060011 0831715816
17 น.ส.อรษา รอดสุวรรณ 523101030042 0824535179
18 น.ส.ตรีสุคนธ์ กองพูล 523101030095 0834355360
19 ณัฐฐาฏาพร ลักษณะวิเชียร 523101030059 0839542476
20 น.ส.กาญจนา คันทะศรี 520101030116 0853993485
21 น.ส.ฉัตราภรณ์ ปัทมินทร - 0858461741
22 น.ส.ณิชากรณ์ ศักดิ์ดี 52010103147 0870146548
23 น.ส.จิระวดี ต้นสาย 520101030134 0834204502
24 นายธีรวุฒิ เฉลิมวันเพ็ญ 520101030163 0802126406
25 นายวิวัฒน์ ผดุงถิ่น 520101030169 0870258893
26 น.ส.ภูริยา ภักดีศุภฤทธ์ 520101030162 0855089028
27 น.ส.ศิริพร รับแก้ว 520101030141 0831542814
28 น.ส.ธิดารัตน์ คอนพิรุณ 520101030125 0894767870
29 น.ส.ฉัตรลดา อธิปัญญาสฤชดิ์ 520101030126 0851370488
30 น.ส.อัมพิการ ใจหมั่น 520101030107 0820011125
31 นายอดิศร ปัสสาราช 520101030124 0825718274
คณะ บริหารธุรกิจ
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส.พัชนีวรรณ น้อยเอี่ยม 52010103115 0836201597
2 น.ส.เบญจพร งามเจริญกุล 5231010070035 0850785491
3 น.ส.วราภรณ์ สำราญพันธ์ 523101070015 0898836719
4 น.ส.น้ำฝน มุขแสน 523101070019 0849109062
5 น.ส.วิลาวัลย์ ถึงเนียมญวน 523101070053 0836424005
6 นายเชิดศักดิ์ ชูนวล 523101070031 0835968272
7 น.ส.สุภาภรณ์ ศรีสุกใส 523101030102 0805204606
8 น.ส.ชนิชชา อ้อยแก้ว 523101030058 0835917491
9 น.ส.โสภิตา ภวานุวงศ์ 523101070045 0848422644
10 นายชวลิต พรหมศร 523101070040 0860452324
11 น.ส.วาสนา ทิวปลอด 523101070023 0873835497
12 นายมงคลวิทย์ มงมิตรใจ 523101070042 0826333620
13 น.ส.นาริน สุริยา 523101070042 0856059442
14 น.ส.สรัญญา เดชะพงษ์ 523101070013 0800212540
15 นายวรวุฒิ นามติง 523101070012 0899159165
16 น.ส.อรอมา อุณหกมลพันธ์ 523101040016 0811928411
17 น.ส.ปิยะดา นุโรจน์ 523101070026 0873854382
18 น.ส.ปิยชาติ วิทยานิชัย 523101070027 0835296887
19 น.ส.ฐิติมา ทองดำ 520001040204 0876673054
20 น.ส.พัฒทิยา ชั่งสัจจา 520101040170 0840040660
21 น.ส. อรสา สินผุ้ง 520101040210 0818501184
22 น.ส. ธัญชนก โพธิ์น้อย 520101040114 0818041457
23 น.ส. ฐิติมา ใจเที่ยง 520101040171 0859068986
24 น.ส. ลักขณา 520101040201 0896681993
25 นาย ยุทธการ คำดี 520101040211 0874742021
26 นายอนุสรณ์ พิศศรี 520101030028 0860035177
27 น.ส. พิมพ์พัชชา พงษ์เจริญ 520101070059 0810015827
28 น.ส. จุฑาภรณ์ สวัสดี 520101070055 0847331846
29 น.ส. สุนารี ฮิดดิง 52101070057 0872664439
30 น.ส ดารยา ธรรมสอน 52101070054 0832676153
31 น.ส. อรชา พูลสวัสดี 52101070046 0809300354

คณะ บริหารธุรกิจ
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส. อรณิชา เครือคำวัง 521011120090 0867369088
2 น.ส. อนุชดารัตน์ ซุยซวง 520101120057 0817505662
3 นาย เกียรติศักดิ์ ตาลดี 520101120056 0831522915
4 น.ส. ชณตตี ศักดิ์มานาฤทธิ์ 520101120060 0873113408
5 น.ส. ธิดารัตน์ ต่ายแสง 520101120067 0820705791
6 น.ส. วันธนา จุตาลานนท์ 520101120093 0869930178
7 นาย สุรพงษ์ ห้างเจริญ 520101010028 0834382139
8 น.ส. สุวิภา เกตุระหงษ์ 520101010027 0840084071
9 อุมาภรณ์ กปัตกา ณ อยุธยา 523101070004 0845536369
10 น.ส. ชมนาภ เกตุเหม 523101070006 0859153262
11 น.ส. นงนุช เสียงประเสริฐ 523101070010 0843352259
12 น.ส. ศิริกัญญา แสงสว่าง 523101070007 0802220286
13 นาย เชียรชาติ สังข์จันทร์ 523101070005 0835444045
14 น.ส. จันทิมา บุญทั่ง 523101030107 0800173763
15 น.ส. จิรัชญา สังขรเขต 520101030044 0898684867
16 น.ส. อรอุมา ภูมิโคกรักษ์ 520101030052 0877913178
17 น.ส. อัมพร อิทธิบวรกุล 520101030075 0864072273
18 น.ส. ฉวีวรรณ เสือพราย 520101030069 0866129791
19 น.ส. กนกวรรณ จูสิงห์ 520101040165 0825534915
20 น.ส. นันท์นภัส บรรจงการ 520101040060 0860032656
21 น.ส. พุทธิดา เอี่ยมวันทอง 520101040036 0842106630
22 น.ส. อรัญญา วิจารณ์ 520101040161 0858026712
23 น.ส. ศศิธร ราชจำรัส 520101040025 0841350780
24 น.ส. วรรณปวีร์ เจริญ 520101010097 0803922213
25 น.ส. รัตนาภรณ์ คงมณี 520101010105 0803922213
26 น.ส. นริศรา โทนสิมมา 520101010059 0853247960
27 น.ส. นรินทร์ทิพย์ บุญเพ็ง 51106-0146 0834330643
28 น.ส. ทัลลรา ทองประมูล 51106-0090 0876763652
29 น.ส.ณัฏฐินรี เสี่ยมไพรี 511060082 0841633023
30 น.ส.พัชรี ชาวสวน 520101010080 0824802199
31 น.ส.ณัฐชา ตินิโส 520101010079 0858181631

คณะ บริหารธุรกิจ
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส.สุธาวัลย์ นันทเสน 520101010095 0838900229
2 น.ส.จุฬาลักษณ์ วัฒนะพยจ 520101010081 0869817798
3 น.ส.ทิพวรรณ ศิริบุตร 520101010086 0851194719
4 นายกิติพัฒน์ ศิริมาลาลักษณ์ 523108010026 0853353602
5 น.ส.ดารารัตน์ ศรีศักดิ์ 523108010094 0865050912
6 น.ส.สิริพร ขวัญเมือง 523108010097 0800230490
7 น.ส.วาสนา แก่งเสี้ยน 523108010098 0861670318
8 น.ส.นันทวัน อินทะรังษี 523108010112 0871860772
9 น.ส.ธนชนก ศรีเสวตร์ 520101070022 0853953162
10 น.ส.สิริอร อยู่สบาย 520101070003 0800072331
11 น.ส.อาภาภรณ์ พินิจการ 520101070016 0858881131
12 น.ส.วิไลวรรณ กุลวงษ์ 520101040193 0820770682
13 น.ส.ปรารถนา ศรีฤทธิ์ 520101040191 0815755491
14 น.ส.ยลดา ศรีอำพร 520101040172 0817035263
15 น.ส.พัชริยา หงษ์หิรัญรัตน์ 520101040195 0822444312
16 นายเอกชัย แสงศิริ 520101040164 0818266925
17 นายอำพล เอี่ยมจิตต์ 520101070129 0865310656
18 นายธงชัย มูลทองชุน 511073001 0806208115
19 น.ส.บุญจิตรา เบญจนาพร 520101010022 0891982117
20 น.ส.เอธิณี การะ 520101010017 0840701930
21 น.ส.สุภาวดี ทองนิมิต 520101010020 0809177814
22 น.ส.จินดาภรณ์ บัวจีน 520101010021 0876663405
23 น.ส.พัชรี โนรี 520101010002 0846953274
24 น.ส.ชมพูนุช เขียนนอก 520101010007 0806454933
25 นายอรรถชัย อินทจักร์ 520101010034 0835946040
26 น.ส.ปิยนุช อยู่สำราญ 520101010003 0851527251
27 นายรัตนพล เกลี้ยงแก้ว 501010070 0841944496
28 น.ส.ฤดี รักนุช 501010098 0835431223
29 น.ส.อมรวดี ผ่าพูล 501010102 0837035626
30 น.ส.วิสา บริมาสาร 501010122 0895332500
31 น.ส.ชลธิชา รุจิเนียม 501010115 0838044398
คณะ บริหารธุรกิจ
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 น.ส.พรทิพย์ มากเกตุ 501010121 0836072903
2 น.ส.ชลทิพา สุระมานนท์ 520101040168 0850476546
3 น.ส.ศวิตา ศรีวิลัยสกุล 491040276 0898190583
4 น.ส.สมฤดี วังชนะชัย 491060137 0811870658
5 น.ส.ลลิตา บูชา 520101040041 0842098125
6 น.ส.อัยชนา ทับสา 520101040064 0806117828
7 น.ส.ณัฏฐิณี กิตตินภวัฒน์ 520101040056 0855613031
8 น.ส.นภาพร ชาญณรงค์ 520101040043 0832247187
9 น.ส.ชชรา นิลวรรณ 520101040070 0841416032
10 น.ส.นารีรัตน์ กัลป์ยาศิริ 520101010005 0845533056
11 น.ส.วรรณวิศา สุวรรณเนาว์ 520101010035 0874696100
12 น.ส.นงลักษณ์ บัวกลม 520101010001 0890101321
13 น.ส.กัลยาณี จันทร์แจ่ม 520101010036 0848384505
14 น.ส.จุรีรัตน์ ภิรมย์ 520101010074 0804602621
15 น.ส.การวนา สีหาราช 520101010042 0891424469
16 น.ส.เจนจิรา ศรีบุญเรือง 520101010014 0865197650
17 น.ส.วัชราภรณ์ 520101010062 0879392824

คณะ วิศวกรรมศาสตร์
ลำดับที่ ชื่อ-สกุลสมาชิก เลขทะเบียน เบอร์โทรศัพท์ ชื่อเล่น หมายเหตุ
1 นาย ชัยวัฒน์ ชัยชาญ 49162-0061 087-6763651
2 นาย พงษ์พัฒน์ รัสพ่อ 51165-0001 084-4376417 ต้น
3 นาย ชลวัฒน์ คงดี 51165-0009 -
4 นาย กิตติโชค เก้าเอี้ยน 51162-0045 089-5083878 ปลา
5 นาย ปกรณ์ ระงับเหตุ 520107-070013 089-6636398 เอ้
6 นาย วิรุฬ แก้วใจ 520107-070005 087-9088566 แอร์
7 นาย ภูวนาท ประเสริฐ 52010-7060053 085-5050178
8 นาย ธวัชชัย ใจเกลี้ยง 52010-7060052 089-2884513
9 นาย เตชทัต พิศาลยด์ 52010-7060005 080-9315338
10 น.ส. นงลักษณ์ อินทนิล 52010-7060007 082-7080859
11 นาย กฤตพล ทับทิมมราย 52010-7060001 086-620-8840 อ๊อฟ
12 นาย วรวุฒิ สว่างเทียน 52010-7060002 085-9621952 กานต์
13 นาย บวรพงศ์ ไมตรีจิตต์ 52010-7060003 087-9778185 อาร์ม
14 นาย ชัยยันต์ เปิดสูงเนิน 52010-7060004 086-5149743 เอ็ม

รายชื่อคณะกรรมการชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนพ.ศ.๒๕๕๒

ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable Touirsm Club
ลำดับที่ ชื่อ - นามสกุล ชื่อเล่น ตำแหน่ง คณะ สาขา เบอร์โทร
1 นางสาวจุราภรณ์ แท่นทอง อ้น ประธาน บริหารธุรกิจ การเงิน 087-9901352
2 นายพงษ์พันธ์ สมนาก เจี๊ยบ รองประธาน 1 นิเทศศาสตร์ 087-5468816
3 นายจักรกฤษ มิลินทสูตร จิมมี่ รองประธาน นิเทศศาสตร์ 084-1256507
4 นางสาวภัตรา ไชยสิทธิ์ จิ๊ก เลขานุการ บัญชี บัญชี 084-8504948
5 นางสาววราภรณ์ อ้ายซอง ทิพย์ รองเลขานุการ บริหารธุรกิจการเงิน 084-3738129
6 นายเสริมศักดิ์ เต๋งจงดี แต้ง เหรัญญิก นิเทศศาสตร์ 51152-0003
7 นายเกษม พุทธา แนท ผู้ช่วยเหรัญญิก วิศวการจัดการด้านพลังงาน 084-7597079
8 นายชูศักดิ์ เฉลิมทรง หน่อง ฝ่ายทะเบียน นิเทศศาสตร์ 089-6856542
9 นางสาวสุนิษา รัตนสุภา จอย รองฝ่ายทะเบียน บัญชี บัญชี 081-0859241
10 นายณัฐนัย แจ่มจันทร์ บาส ฝ่ายยานพาหนะ นิเทศศาสตร์ 080-9430165
11 นางสาวสุดารัตน์ เลขมาศ บี รองฝ่ายยานพาหนะ นิเทศศาสตร์083-6117000
12 นางสาวทิมาพร ชื่นสงวน น้ำ ประชาสัมพันธ์ ศิลปศาสตร์และวิทยาศสาตร์ ท่องเที่ยวโรงแรม 087-
9838195

คณะกรรมการชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชมชน ๒๕๕๐-๒๕๕๑

ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน Community-Based Sustainable
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายฤชา ประมาคะตัง ประธาน
2 นายราเชนทร์ ชูเชิด รองประธานคนที่1
3 นายปิยะพัน บุณณะโยทัย รองประธานคนที่2
4 นายจิตรกร ทองย้อย เลขานุการ
5 นางสาวอัจราภรณ์ วงย์มณี ผู้ช่วยเลขานุการ
6 นางสาวพรเพ็ญ รัตนเพ็ชร เหรัญญิก
7 นางสาวสิทธิ มหานิยม ประชาสัมพันธ์
8 นางสาวพรพิมล พันธุ์วิหก ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์
9 นางสาวพรทิพย์ เอื้ออารีย์ไพศาล ฝ่ายพัสดุ
10 นายไตรภพ โพธิ์สม ฝ่ายทะเบียน
11 นางสาวลักนา นิยมทอง ฝ่ายดำเนินการ
12 นางสาวชลนิกาน เทียนแก้ว ฝ่ายดำเนินการ
13 นายปัญญา แป้นแสง ฝ่ายศิลป์
14 นายภวัต เผือกประคอง ฝ่ายศิลป์

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์

พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

-พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ในพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง“ที่ราบเจ้าพระยาตอนบนกับที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง” [1] เอกสารบางเล่มเรียกที่ตั้งของนครสวรรค์ว่าเป็นเขต “ภาคเหนือเหนือตอนล่างหรือภาคกลางตอนบน” [2] หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าจังหวัดนครสวรรค์มีพัฒนาการของการตั้งหลักแหล่งชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แล้วพัฒนาขึ้นเป็นบ้านเล็กเมืองน้อยในสมัยทวารวดี[3]
ในสมัยสุโขทัยนครสวรรค์เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ต่อมาในสมัยอยุธยาเมืองนครสวรรค์ก็มีบทบาทเป็นเมืองประชุมพลระยะหนึ่งในสงครามไทยรบพม่า[4] ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ก็ยังปรากฏบทบาทการเคลื่อนไหวของเมืองนครสวรรค์มาโดยตลอดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน[5]

เมืองนครสวรรค์มีชื่อเรียกอย่างสามัญว่า “เมืองปากน้ำโพ” ซึ่งอาจมีที่มาจากการเป็นจุดที่แม่น้ำคลองโพธิ์ไหลมารวมกับแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน [6] หรืออาจคลาดเคลื่อนมาจากตำแหน่งของเมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ จุดที่แม่น้ำสายต่างๆ “โผล่” หรือ “ไหล” มาบรรจบกัน ชื่อดังกล่าวตรงกับภาษาบาลีในหนังสือสิหิงคนิทานว่า “อุทก มุขํ สมาขมํ” แปลว่า “ที่รวมของแม่น้ำ” และในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์เรียกว่า “มหานที มุขํ” แปลว่า “ปากแม่น้ำใหญ่”[7] ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกเมืองนครสวรรค์ตรงกันว่า “เมืองพระบาง” และก่อนที่จะมีชื่อเรียกว่าเมืองนครสวรรค์นั้นผู้รู้บางท่านเสนอว่า ชื่อเมือง “ชอนตะวัน”หรือ เมือง “ทานตะวัน” อาจเป็นที่มาของชื่อเมืองสวรรค์จากการผูกชื่อเลียนคำของชื่อเมืองเดิมข้างต้น[8]

สมัยก่อนประวัติศาสตร์
พัฒนาการของชุมชนโบราณที่จังหวัดนครสวรรค์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๔,๕๐๐ - ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยมีหลักฐานยืนยันจากข้อมูลการสำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านใหม่ชัยมงคล ตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุลดหลั่นลงมาในเขตบ้านพุขมิ้น บ้านพุช้างล้วง และบ้านจันเสน ในเขตอำเภอตาคลี บ้านหนองใหญ่ บ้านพุนิมิต และบ้านซับตะเคียนในเขตอำเภอตากฟ้า เป็นต้น[9]

จากการศึกษาพบว่า ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ดำรงชีพแบบสังคมเกษตรกรรม มีการติดต่อกับชุมชนในพื้นที่แถบหุบเขาวงพระจันทร์และเขาพุงามในเขตอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรีซึ่งเป็นแหล่งแร่ทองแดงและแร่เหล็กและชุมชนอื่นๆในเขตที่ราบภาคกลางรวมถึงชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก ทำให้รู้จักการถลุงโลหะเพื่อทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากภายนอก อาทิ ศาสนาพุทธจากอินเดีย จึงทำให้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนระดับเมืองในสมัยทวารวดีในเวลาต่อมา[10]

สมัยทวารวดี
การศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศจากการริเริ่มของนิจ หิญชีระนันทน์ในปีพ.ศ.๒๕๐๙ ทำให้มีการค้นพบร่องรอยของเมืองโบราณจันเสนสมัยทวารวดีในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ [11] อันนำไปสู่การขุดค้นทางโบราณคดีของกรมศิลปากรระหว่างพ.ศ.๒๕๑๑–๒๕๑๒[12] หลักฐานที่พบจากการขุดค้น ได้แก่ ฐานเจดีย์สมัยทวารวดี ฐานพระพุทธรูป ชิ้นส่วนโกลนธรรมจักรศิลา พระพิมพ์ดินเผา ตุ๊กตาดินเผารูปคนจูงลิง ชิ้นส่วนเครื่องประดับ ชิ้นส่วนหวีงาช้างแกะสลักเป็นรูปสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา กำไลและต่างหูโลหะ เป็นต้น ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสืบเนื่องทางนิเวศวัฒนธรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงยุคร่วมสมัยกับอารยธรรมฟูนัน(พุทธศตวรรษที่๗–๑๑) จนกระทั่งรับอารธรรมทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียในสมัยทวารดี [13] การสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีดังกล่าวส่งผลสืบเนื่องให้มีการค้นพบที่ตั้งของเมืองโบราณในเขตจังหวัดนครสวรรค์เพิ่มขึ้นอีกมากกว่า ๒๐ แห่งโดยไม่รวมถึงแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก

ก่อนสมัยสุโขทัย
หลักฐานศิลาจารึกหลักที่๓๕ (จารึกดงแม่นางเมือง พ.ศ.๑๗๑๐) พบที่บ้านบางตาหงาย อำเภอบรรพตพิสัยระบุว่า“กรุงศรีธรรมาโศกราช มีรับสั่งมายังพระเจ้าสุนัตผู้ครอบครองธานยะปุระให้ถวายที่นาแก่กมรเตงศรีชคตศรีธรรมาโศก”[14] ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าอย่างน้อยที่สุดในปีดังกล่าว ในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์มีเมืองโบราณชื่อ “เมืองธานยะปุระ” ตั้งอยู่แล้ว หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในเมืองโบราณดงแม่นางเมืองเป็นศิลปวัตถุที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะลพบุรี [15]
สมัยสุโขทัย

ข้อความในศิลาจารึกหลักที่๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง) ด้านที่๔ บรรทัดที่๒๐ กล่าวถึงอาณาเขตของแคว้นสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหง(พ.ศ.๑๘๒๒–๑๘๔๑)และเรียกเมืองนครสวรรค์ว่าเมืองพระบาง ดังนี้ “ทางเบื้องหัวนอน(ทิศใต้)รอด(ตลอดถึง)คนที พระบาง…”[16] ตรงกับชื่อเรียกในจารึกหลักที่๓(จารึกนครชุม) จารึกเขาสุมนกูฎและจารึกหลักที่๔๖(จารึกวัดตาเถรขึงหนัง สุโขทัย)[17]

ในสมัยสุโขทัยเมืองพระบางมีความสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจรองลงมาจากเมืองกำแพงเพชร เนื่องจากตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เป็นชุมทางการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ สามารถติดต่อกับเมืองตากและกำแพงเพชรในเขตลุ่มแม่น้ำปิง ติดต่อกับเมืองพิษณุโลก พิชัยและพิจิตรในเขตลุ่มแม่น้ำน่าน และติดต่อกับเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัยและพิษณุโลกในเขตลุ่มแม่น้ำยมอย่างสะดวกสบาย และแม่น้ำปิงยังเป็นคูเมืองธรรมชาติชั้นนอกด้านตะวันออกและมีเขากบเป็นปราการชั้นนอกทางทิศเหนือของเมืองนครสวรรค์คล้ายเมืองศรีสัชนาลัยด้วย ในสมัยพญาลิไทยเมืองพระบางได้รับการพัฒนาให้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากการสร้างพระสถูปกลางเมืองที่วัดวรนาถบรรพต รวมถึงการสร้างรอยพระพุทธบาทสำคัญ ๑ ใน ๔ แห่งขึ้นที่ยอดเขากบ[18] ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในศิลาจารึกหลักที่๓(จารึกนครชุม)ว่า “พระบาทเหนือจอมเขาที่ปากพระบาง”[19]

สมัยอยุธยา
ชื่อเมืองพระบางปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์เมื่อเกิดเหตุการณ์สมเด็จพระมหาธรรมราชา(ไสยลือไทย)สวรรคต ส่งผลให้ “ เมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล พระอินทราชาเสด็จขึ้นไปถึงพระบาง พระยาบาลเมืองและพระยารามออกถวายบังคม” [20] ในครั้งนั้นสมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา(สมเด็จพระนครินทราชาธิราชพ.ศ.๑๙๔๔–๑๙๖๑)ทรงตัดสินไกล่เกลี่ยให้พระยาบาลเมืองครองเมืองพิษณุโลกส่วนพระยารามให้ครองเมืองสุโขทัย

ชิมอง เดอ ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์กล่าวถึงเมืองนครสวรรค์ตอนหนึ่งว่า “…ที่เมืองนครสวรรค์เป็นแควร่วมของแม่น้ำสายใหญ่ซึ่งไหลผ่านมาจากเมืองเหนือ ต้นน้ำนี้ไหลผ่านเมืองฝางแล้วก็พิชัย พิษณุโลกและพิจิตรแล้วจึงถึงนครสวรรค์….เมืองนครสวรรค์นั้นตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองพิษณุโลกหรือปอร์ซลุกถึงสยาม ระยะทางขาขึ้นใช้เวลา ๒๕ วันโดยทางเรือ ใช้เรือขุดหรือที่เรียกว่าบาล็อง(Balon) แต่อาจร่นระยะเวลาลงเหลือเพียง๑๒ วันก็ได้ถ้ามีฝีพายมากและพายขึ้นไปอย่างรีบเร่ง”[21]

เมืองนครสวรรค์เคยเป็นเมืองประชุมทัพของพม่าระหว่างสงครามไทยรบพม่าระยะแรก(พ.ศ.๒๑๐๖–๒๑๒๙) กล่าวคือ เมื่อพม่ายกทัพผ่านด่านแม่ละเมาเข้าสู่เมืองตากและเมืองกำแพงเพชรแล้วก็ตั้งทัพหลวงอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เพื่อการลำเลียงเสบียงจากเมืองเหนือ ยุทธวิธีดังกล่าวของพม่ากดดันให้กรุงศรีอยุธยาต้องใช้ยุทธศาสตร์การตั้งรับข้าศึกอยู่ภายในราชธานี [22]
สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์

สมัยธนบุรี
เมืองนครสวรรค์กลายเป็นเมืองประชุมทัพอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯให้พระยาราชเศรษฐีคุมทัพจีน ๓,๐๐๐ คนมาตั้งรับพม่าในปีพ.ศ.๒๓๑๘[23] ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในสมัยสงครามเก้าทัพปีพ.ศ.๒๓๒๘ เมืองนครสวรรค์เป็นที่ตั้งสำหรับการรวบรวมเสบียงและการส่งกำลังบำรุงแก่กองทัพ ครั้งนั้นมีการตั้งค่ายหลวงขึ้นที่นี่และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จฯมาบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง[24]

ในสมัยรัชกาลที่๔ เมื่อไทยบรรลุข้อตกลงในสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษพ.ศ.๒๓๙๘ ทำให้มีการยกเลิกการผูกขาดทางการค้าจากราชสำนักสยาม เป็นการเปิดประเทศเข้าสู่ระบบการค้าแบบเสรีนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก เมืองนครสวรรค์จึงมีฐานะเป็นเมืองชุมทางการค้าทางน้ำของภาคเหนือ โดยมีแม่น้ำน่านเป็นเส้นทางการค้าข้าว ส่วนแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางการค้าไม้ซุงจากภาคเหนือ เศรษฐกิจของเมืองนครสวรรค์จึงเติบโตมากยิ่งขึ้น

ในสมัยรัชกาลที่๕ เมื่อเส้นทางรถไฟขยายมาถึงก็ยิ่งทำให้ศักยภาพทางการค้าของเมืองนครสวรรค์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ประกอบกับมีชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานค้าขายเป็นจำนวนมาก จึงผลักดันให้เศรษฐกิจของเมืองนครสวรรค์เฟื่องฟูสูงสุด

ในสมัยรัชกาลที่๖-๗ เศรษฐกิจของเมืองนครสวรรค์เริ่มตกต่ำลงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.๒๔๗๕เมื่อทางรถไฟขยายตัวไปถึงเมืองเชียงใหม่ ครั้นมีการสร้างถนนจากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่ก็ยิ่งทำให้ฐานะการเป็นเมืองชุมทางการค้าของเมืองนครสวรรค์ตกต่ำลงหลังจากการเปิดใช้สะพานเดชาติวงศ์เมื่อพ.ศ.๒๔๙๓ จังหวัดนครสวรรค์จึงกลายเป็นเมืองผ่านของสินค้าเท่านั้น[25]

-ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
ดังได้กล่าวไปแล้วว่าเมืองนครสวรรค์มีพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แล้วพัฒนาขึ้นเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีกระจายออกไปตามอำเภอต่างๆมากกว่า ๒๐ แห่ง จนกลายเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุอันน่าภาคภูมิใจของชุมชนต่างๆที่มีเมืองโบราณตั้งอยู่ อาทิ เมืองจันเสน เมืองบน เมืองไพศาลีและเมืองโคกไม้เดน เป็นต้น

นอกจากวัดวรนาถบรรพตอันโบราณสถานสำคัญสมัยสุโขทัยแล้ว ยังมีวัดนครสวรรค์หรือวัดหัวเมืองในตำบลปากน้ำโพซึ่งปรากฏหลักฐานว่าได้รับวิสุงคามสีมาตั้งแต่พ.ศ.๑๙๗๒ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประจำเมืองซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามแบบศิลปะสุโขทัยชื่อ “หลวงพ่อศรีสวรรค์”
ภูมิปัญญาเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความมั่งคั่งทางนิเวศวัฒนธรรม การที่เมืองนครสวรรค์มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้การทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวปากน้ำโพ อันเป็นที่มาของการละเล่นทางวัฒนธรรมที่เรียกว่าการเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวและประเพณีการแข่งเรือยาวในช่วงเดือน๑๑ หลังเทศกาลออกพรรษา และนอกจากบึงบอระเพ็ดจะเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เกื้อกูลต่อสรรพชีวิตทั้งหลายและก่อให้เกิดอาชีพประมงที่สืบทอดมายังชาวนครสวรรค์อย่างยาวนานจนปรากฏให้เห็นถึงความภาคภูมิใจดังกล่าวอยู่ในคำขวัญประจำจังหวัดนครสวรรค์

ร่องรอยของการเป็นเมืองชุมทางสินค้าทำให้นครสวรรค์มีย่านประวัติศาสตร์ที่เป็นศูนย์การค้าสำคัญถึง ๓ แห่ง ได้แก่ ตลาดลาว ตลาดสะพานดำและตลาดท่าขุด[26]

ตลาดลาว ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงเป็นแหล่งค้าขายระหว่างนครสวรรค์กับเมืองตาก เมืองกำแพงเพชร เมืองเชียงใหม่ ฯลฯ ชาวนครสวรรค์เรียกชาวเหนือว่า “ลาว” สินค้าสำคัญของตลาดลาว คือ ไม้สัก หวาย ชัน น้ำมันยาง สีเสียด เปลือกไม้ น้ำผึ้งและขี้ผึ้ง เป็นต้น

ตลาดสะพานดำอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแหล่งค้าขายข้าว สัตว์ป่า ของป่า เปลือกไม้ หวาย และสีเสียดระหว่างเมืองนครสวรรค์กับอำเภอต่างๆ เช่น โกรกพระ พยุหะคีรีและบรรพตพิสัย
ตลาดท่าขุดอยู่ริมคลองบางประมุง ต.ท่าขุด เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างเมืองนครสวรรค์กับจังหวัดรอบๆ เช่น พิจิตร ตากและกำแพงเพชร พ่อค้าชาวจีนจะรับซื้อข้าวแล้วล่องเรือกระแชงไปขายส่วนขากลับก็จะบรรทุกเกลือ มะพร้าวและน้ำตาลปีบกลับขึ้นมาขายที่นครสวรรค์

ความคุ้นเคยกับสินค้าป่าและอาชีพประมงทำให้ชาวนครสวรรค์ส่วนหนึ่งสืบทอดอาชีพการทอเสื่อหวาย การทำเครื่องจักสาน การทำลอบดักปลา และการทำเรือยาว เป็นต้น

ชาวจีนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในเมืองนครสวรรค์ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ได้สืบทอดประเพณีการไหว้เจ้า การเชิดสิงโตและแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่เมืองปากน้ำโพในเทศกาลตรุษจีนจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป และเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการผลิตสินค้าของที่ระลึกประเภทขนมจันอับ(โบราณ)และขนมเปี๊ยะโมจิ(ของใหม่)เลื่องชื่อของเมืองปากน้ำโพ

[1] ทิวา ศุภจรรยา, “แหล่งชุมชนโบราณในเขตจังหวัดนครสวรรค์” นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๒๙
[2] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดนครสวรรค์, (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๒), หน้า๔๙
[3] พิสิฐ เจริญวงศ์. บรรณาธิการ. “โบราณคดีนครสวรรค์: หลักฐานเก่า-ใหม่” โดย วรรณี ภูมิจิตรและสุรพล นาถะพินธุ. นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๗๙–๑๐๒
[4] สุเนตร ชุตินทรานนท์, นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๑๙๖-/ชขนครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๑๙๖–๑๙๘
[5] นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, “มณฑลนครสวรรค์: อำนาจรัฐกับการปกครองท้องถิ่น”, นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๒๐๓–๒๐๗และสุจินดา เจียมศรีพงศ์, “ชุมชนชาวจีนและการเติบโตทางการค้าในจังหวัดนครสวรรค์” นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๒๑๓–๒๒๑ เป็นต้น
[6] ธนิต อยู่โพธิ์, “การบรรยายเรื่องนครสวรรค์ในอดีต”, นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๓๓๑
[7] ธนิต อยู่โพธิ์, เรื่องเดิม, หน้า๓๓๒
[8] ธนิต อยู่โพธิ์, เรื่องเดิม, หน้า๓๓๓
[9] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, เรื่องเดิม, หน้า ๔๙ และดูเพิ่มเติมที่สุรพล นาถะพินธุ “วัฒนธรรมสมัยโบราณที่บ้านใหม่ชัยมงคล” สังคมและวัฒนธรรจันเสน เมืองแรกเริ่มในลุ่มน้ำลพบุรี-ป่าสัก(กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๓๙), หน้า๑๒๒–๑๕๑
[10] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, เรื่องเดิม, หน้า๔๙–๕๑
[11] นิจ หิญชีระนันทน์, “จันเสน: เมืองทวารวดีที่ถูกลืม” นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๓๕–๓๘
[12] ศิวะลีย์ ภู่เพชร, “การขุดค้นที่จันเสน พ.ศ.๒๕๑๑–๒๕๑๒“, นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า๕๙–๖๑
[13] ศิวะลีย์ ภู่เพชร, เรื่องเดิม, หน้า ๖๔–๖๕
[14] ประเสริฐ ณ นคร “ประวัติศาสตร์นครสวรรค์จากจารึก” นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง การสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์(กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๘), หน้า ๑๔๔
[15] ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์, นครสวรรค์. (นนทบุรี : เอส. พี. เอฟ. พริ้นติ้ง กรุ๊ป, ๒๕๔๓), หน้า๒๖
[16] ประเสริฐ ณ นคร, เรื่องเดิม, หน้า ๑๔๔
[17] ประเสริฐ ณ นคร, เรื่องเดิม, หน้า ๑๔๔
[18] ศรีศักร วัลลิโภดม, เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๒), หน้า ๒๐๖–๒๐๗
[19] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, เรื่องเดิม, หน้า๕๓
[20] ประเสริฐ ณ นคร , เรื่องเดิม, หน้า๑๔๔
[21] สุเนตร ชุตินทรานนท์, เรื่องเดิม, หน้า๑๙๖
[22] สุเนตร ชุตินทรานนท์, เรื่องเดิม, หน้า๑๙๗–๒๐๐
[23] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, เรื่องเดิม, หน้า๕๕
[24] สุเนตร ชุตินทรานนท์, เรื่องเดิม, หน้า๒๐๑
[25] ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์, นครสวรรค์, (นนทบุรี: เอส พี เอฟ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, ๒๕๔๓), หน้า๓๐–๓๑
[26] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, เรื่องเดิม, หน้า๕๖

ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา

พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

-พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
จากหลักฐานประเภทเอกสารตำนานพื้นเมืองล้านนา อาทิ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน(หรือเมืองหิรัญนครเงินยาง) ซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานระยะแรกของชุมชนแคว้นไทยตั้งแต่สมัยขุนลาวเคียง[1]บรรพบุรุษของขุนจอมธรรมกษัตริย์องค์แรกแห่งแคว้นพะเยา(จ.ศ.๔๕๘, พ.ศ.๑๖๓๙)[2] อาจจะกล่าวได้ว่า จังหวัดพะเยาเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการยาวนานมาอย่างน้อยตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่๑๔ แล้ว เนื่องด้วยปัจจัยของการมีสภาพที่ตั้งอยู่ในที่ราบเชียงราย-พะเยาซึ่งมีแหล่งน้ำเป็นองค์ประกอบที่กำหนดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ในการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ได้แก่ กว๊านพะเยา หนองเล็งทราย ห้วยร่องทง ห้วยร่องเตี้ยลำน้ำแม่อิง แม่น้ำยม ลำน้ำแม่ปืม ลำน้ำแม่ต๊ำ ห้วยแม่ทุ่ม ลำน้ำแม่เหยี่ยน ห้วยร่องบ่อ ห้วยแก้ว แม่น้ำลาว แม่น้ำยวน และแม่น้ำทาน เป็นต้น[3] โดยเฉพาะที่ราบลุ่มรอบกว๊านพะเยาซึ่งปรากฎร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ(เมืองโบราณ)ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบถึง๑๐แห่ง[4]

จังหวัดพะเยามีชื่อเรียกดั้งเดิมปรากฏอยู่ในตำนานและศิลาจารึกต่างๆ อาทิ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า “เมืองพูยาว”[5] ตำนานพื้นเมืองพะเยาเรียกว่า “เมืองภูกามยาว”[6] หรือ “เมืองภุกามยาว”[7] หรือ “เมืองพะยาว” [8] ส่วนหลักฐานประเภทศิลาจารึกอักษรล้านนา อาทิ จารึกวัดอารามป่าญะ(พ.ศ.๒๐๓๘) เรียกตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยาในสมัยพุทธศตวรรษที่๒๑ว่า“(พระเป็นเจ้า)เจ้าสี่หมื่นพยาว”[9] และจารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง(พ.ศ.๒๐๓๓)เรียกชื่อเมืองพะเยาว่า “เมิงพญาว”[10]

อย่างไรก็ดี ตามที่มีผู้ศึกษากันมานั้นพัฒนาการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองพะเยาอาจจำแนกออกได้เป็น ๔ สมัย คือ สมัยเริ่มสร้างบ้านแปงเมือง: สู่นครรัฐอิสระ สมัยผนวกเมืองเข้าสู่อาณาจักรล้านนา สมัยพม่าปกครองล้านนา: เมืองร้างและร่วงโรย สมัยรัตนโกสินทร์: ยุคฟื้นฟู ซึ่งจะได้กล่าวถึงโดยสังเขปดังนี้ [11]

สมัยที่ ๑ สมัยเริ่มสร้างบ้านแปงเมือง: สู่นครรัฐอิสระ
เมื่อกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเมืองพะเยาในยุคสร้างบ้านแปงเมืองนั้น ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสนและพงศาวดารโยนกจะเริ่มกล่าวถึง ขุนเงิน[12] หรือพญาลาวเงิน(พระยาลาวเงิน)ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง(เชียงแสน) ได้ส่งราชบุตรองค์น้อยนามว่า “ขุนจอมธรรม” ไปครองเมืองฝ่ายใต้ ณ เชิงเขาชมภู หรือ ดอยด้วน ใกล้แม่น้ำสายตาหรือลำน้ำแม่อิงชื่อ “เมืองภูกามยาว”หรือ “พะเยา” ซึ่งเป็นเมืองโบราณมีมาแต่เดิม [13] ชัยภูมิของเมืองภูกามยาวประกอบด้วยมงคล ๓ ประการคือ มีลำน้ำแม่อิงอยู่ทางใต้ กระแสน้ำไหลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีหนองน้ำหลายแห่ง อาทิ กว๊านพะเยาหรือหนองเอี้ยงอยู่ทางทิศตะวันตก และบริเวณหัวเวียง คือ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกว๊านพะเยายังเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุดอยจอมทองปูชนียสถานคู่เมืองอีกด้วย[14]

ขุนจอมธรรมได้จัดระบบการปกครองและโครงสร้างทางสังคมของเมืองภูกามยาวออกเป็น ๓๖ พันนา[15] แต่ละ “พันนา” มีขนาดใกล้เคียงกับตำบลในปัจจุบัน [16]ผู้ปกครองพันนามียศเรียกว่า “เจ้าหมื่น” อาทิ เจ้าหมื่นดอนแปลนกินพันนาดอนแปลน เป็นต้น พงศาวดารโยนกกล่าวว่า
“ครั้งนั้นมีพลเมือง ๑๘๐,๐๐๐ ให้จัดเป็นแขวงจังหวัดได้ ๓๖ พันนา คือ ราษฎรคนหนึ่ง
กำหนดให้ถือนาห้าหมื่น(ตรงกับข้าวปลูกห้าถัง) ไพร่๕ คน ยกเป็นหัวนาคนหนึ่ง ๕ หัว
นายกเป็นหมวดนาหนึ่ง…”[17]

หน่วยการปกครองที่มีฐานะรองลงมาจากพันนา เรียกว่า “ปากนา” ผู้ปกครองมียศเป็น “ พัน” ควบคุมขุนนางที่มียศเป็น “ปาก” อาทิ “ปากมงคล” ปากเทพ” เป็นต้น ส่วนหน่วยการปกครองเล็กที่สุด คือ หมู่บ้านซึ่งมี “แก่บ้าน” เป็นผู้ปกครอง[18]

ระบบการปกครองแบบพันนามีขนาดเล็กกว่าเมือง การปกครองแบบพันนามีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดให้จำนวนไพร่[19]สังกัดพันนามีจำนวนสมดุลกับขนาดของที่ดินในพันนา และเพื่อให้แต่ละพันนาสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับขนาดของแคว้น[20] ในยุคนี้ พะเยามีเมืองต่างๆอยู่ภายใต้การปกครอง ได้แก่ เมืองลอง เมืองเทิง เมืองคอบจะลาว เมืองออย เมืองแจ้เสียง เมืองหนองขวาง เมืองแจ้หลวง เมืองแจ้ห่ม และเมืองวัน เป็นต้น[21]

ในยุคสร้างบ้านแปงเมืองนี้ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของแคว้นพะเยา คือ ขุนเจื๋องหรือพญาเจื๋อง โอรสของพ่อขุนจอมธรรม[22] วีรบุรุษแห่งตำนานพื้นเมืองล้านนาผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพรวบรวมดินแดนล้านนา ล้านช้างและเมืองแกวปะกัน(เวียดนาม)ให้เป็นหนึ่งเดียวกันชั่วระยะเวลาหนึ่งเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่๑๗ และยังได้ทรงเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางการสมรสกับอาณาจักรเชียงรุ้ง(สิบสองปันนา) แพร่และน่านนอกจากนี้ชาวล้านนายังถือว่า พญาเจื๋องทรงเป็นบรรพบุรุษของพญางำเมือง(พะเยา) พญามังราย(เชียงใหม่)อีกด้วย[23]

กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงอีกพระองค์หนึ่งของอาณาจักรพะเยา คือ พญางำเมือง(ประสูติพ.ศ.๑๗๘๑-?) พระองค์ทรงเป็นพระสหายร่วมสำนักสุกทันตฤาษีแห่งกรุงละโว้(ลพบุรี)กับพญาร่วงแห่งกรุงละโว้(พ่อขุนรามคำแหง) และยังทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งเชียงใหม่ด้วย โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๓๙ พระสหายทั้งสองคือ พญางำเมืองและพญาร่วงยังได้เสด็จฯไปร่วมพิจารณาชัยภูมิด้วย[24]

สมัยที่ ๒ สมัยผนวกเมืองเข้าสู่อาณาจักรล้านนา
ในปีพ.ศ.๑๘๓๕ เมื่อพญามังรายแห่งเมืองเชียงใหม่ยึดครองอาณาจักรหริภุญชัย(ลำพูน)ศูนย์ทางการค้าและพระพุทธศาสนาสำเร็จ และยังทรงยึดครองเมืองเขลางค์นคร(ลำปาง)ได้ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นจึงทรงก่อตั้งอาณาจักรนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางในการปกครองดินแดนล้านนา โดยยังทรงรักษาพระราชไมตรีต่อพญางำเมืองและพญาร่วงไว้ได้[25]

อย่างไรก็ดี ในรัชสมัยพญาคำฟู(พ.ศ.๑๘๘๗–๑๘๘๘)[26] อาณาจักรเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับพญาผานองแห่งเมืองปัว(น่าน)เข้ายึดครองเมืองพะเยาในรัชสมัยของพญาคำลือ และลดฐานะเมืองพะเยาไปเป็นเมืองบริวารของเมืองเชียงราย แต่ถึงกระนั้นก็ตามกษัตริย์เชียงใหม่มักส่งเชื้อพระวงศ์ระดับสูงมาปกครองเมืองพะเยาเสมอ โดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช(พ.ศ.๑๙๘๔–๒๐๓๐) พระองค์ได้พระราชทานเมืองพะเยาแก่พระยายุทธิษฐิระอดีตเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก)ที่ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ระหว่างสงครามเชียงใหม่กับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๑๙๙๑–๒๐๓๓)เพื่อครอบครองอาณาจักรสุโขทัย กล่าวกันว่าในช่วงที่พระยายุทธิษฐิระปกครองเมืองพะเยานี้ ถือว่าเป็นอีกยุคหนึ่งเมืองพะเยามีความเจริญรุ่งเรือง[27]

สมัยที่ ๓ สมัยพม่าปกครองล้านนา: เมืองร้างและร่วงโรย
ประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาค่อนข้างมีความเชื่อมโยงกับอาณาจักรล้านนา ดังนั้นเมื่อเกิดความเสื่อมขึ้นในอาณาจักรล้านนาเมื่อปลายสมัยราชวงศ์มังราย จึงส่งผลให้อาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรพม่าในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองระหว่างพ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ บ้านเมืองที่เคยผูกพันกันอย่างหลวมๆจึงกลับมีสภาพเสื่อมโทรม โดยในยุคนี้ศูนย์ทางการเมืองการปกครองของล้านนาถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เมืองเชียงแสน เป็นศูนย์กลางของล้านนาตอนบนเนื่องจากอยู่ใกล้ชายแดนพม่า เมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของล้านนาตอนล่าง ส่วนเมืองพะเยานั้นยังคงขึ้นตรงต่อเมืองเชียงราย ซึ่งมีฐานะเป็นรองเมืองเชียงแสน ในช่วงเวลาดังกล่าวตำนานเมืองเงินยางเชียงแสนระบุว่าชาวพะเยาบางส่วนได้อพยพหนีภัยสงครามไปยังกรุงเวียงจันทน์ ในช่วงปลายแห่งการตกเป็นประเทศราชของพม่านั้น เจ้าเมืองพะเยาและเชียงรายพยายามรวบรวมกำลังต่อต้านการถูกกดขี่ภายใต้การปกครองของพม่าเมื่อปีพ.ศ.๒๓๐๘ แต่ก็ถูกปราบปรามลงได้ ในปีพ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพมาขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่แล้วตั้งเจ้ากาวิละเจ้าเมืองลำปางปกครองเมืองเชียงใหม่ และในปีพ.ศ.๒๓๓๐เชื้อสายเจ้าเมืองพะเยาและชาวเมืองส่วนหนึ่งได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกในขณะที่เมืองเชียงแสนยังคงอยู่ภายใต้การยึดครองของพม่า[28]

สมัยที่ ๔ สมัยรัตนโกสินทร์: ยุคฟื้นฟู
ในช่วงที่ถูกพม่าเข้ายึดครอง เมืองพะเยาตกอยู่ในสภาพเหมือนเมืองร้างที่ขาดการทำนุบำรุงจากผู้ปกครองเช่นเดียวกับหลายเมืองในอาณาจักรล้านนา ครั้นกรุงรัตนโกสินทร์สามารถผนวกดินแดนล้านนาเป็นส่วนหนึ่งได้แล้ว จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์เมืองสำคัญเป็นอันดับแรก ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ ลำพูนและลำปาง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีการฟื้นฟูเมืองพะเยา เมืองงาวและเมืองเชียงรายขึ้นมาอีกครั้งในปีพ.ศ.๒๓๘๖ โดยให้เมืองงาวและเมืองพะเยาขึ้นตรงต่อเมืองลำปาง ส่วนเมืองเชียงรายไปขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ และชาวเมืองพะเยาที่อพยพไปตั้งบ้านเรือนณ เมืองลำปางนั้นก็ถูกเกณฑ์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสันเวียงใหม่ จากนั้นจึงมีการแผ้วถางเมืองเก่าและบูรณะวัดวาอารามให้กลับดีดังเดิม เจ้าเมืองพะเยาองค์แรก คือ เจ้าพุทธวงศ์เจ้าหลานวงศ์ เชื้อสายเจ้าเจ็ดตนผู้ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น “พระยาประเทศอุดรทิศ” ในปีพ.ศ.๒๓๘๗[29]

-ศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม
จากพัฒนาการอันยาวนานของเมืองพะเยาบนผืนแผ่นดินล้านนา ประกอบกับปัจจัยด้านสภาพที่ตั้งอันเหมาะสมในภาคเขตภาคเหนือตอนบน ทำให้จังหวัดพะเยาปรากฏหลักฐานอันชี้ให้เห็นถึงอัตลักษณ์ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมอย่างมั่งคั่ง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี โบราณสถาน ย่านประวัติศาสตร์ ศิลปหัตถกรรม งานช่างฝีมือ ภูมิปัญญาด้านต่างๆ ภาษา การละเล่นพื้นเมือง ดนตรี ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย การกินอยู่ และกิริยามารยาท

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมณฑลพายัพ ก็ทรงเคยเสด็จฯมานมัสการวัดพระเจ้าตนหลวงและวัดพระธาตุจอมทองเมื่อวันที่๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. นอกจากนี้ยังได้เสด็จฯทอดพระเนตรการแสดงมหรสพพื้นเมืองที่บ้านแม่ต๋ำในเวลาค่ำด้วย[30] จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นชี้ให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยาที่สมควรจะมีการแสวงหาแนวทางเพื่อจะได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้ยั่งยืนอย่างสืบเนื่องต่อไป

[1] สงวน โชติสุขรัตน์, ตำนานเมืองเหนือ. (พระนคร: แม่บ้านการเรือน, ๒๕๐๘) หน้า๒๑๒
[2] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพะเยา, (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๔), หน้า๓๑
[3] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒-๓
[4] สุรพล ดำริห์กุล, ล้านนา: สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม. (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๒), หน้า ๒๒–๒๓
[5] อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและเดวิด เค. วัยอาจ, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, ๒๕๔๓), หน้า ๒๒
[6] พระยาประชากิจกรจักร์, พงศาวดารโยนก. (กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า๒๓๒
[7] สงวน โชติสุขรัตน์, เรื่องเดิม. หน้า๒๑๒
[8] สงวน โชติสุขรัตน์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๑๒–๒๑๓
[9] โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, จารึกภาค ๑เล่ม ๑ จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่. มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน จัดพิมพ์ ในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระชนมายุครบ๓รอบ พุทธศักราช๒๕๓๔, หน้า๑๑๕
[10] โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, เรื่องเดิม, หน้า๑๘๗
[11] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า ๑๗
[12] สงวน สุขโชติรัตน์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๑๒
[13] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, ๒๓๒
[14] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๑๗
[15] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, ๒๓๓
[16] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๑๗
[17] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, หน้า๒๓๓
[18] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า ๑๘
[19] ระบบการควบคุมกำลังคนแบบหนึ่งในสังคมไทยสมัยโบราณ
[20] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๑๗
[21] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า ๑๙
[22] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๓๖–๒๓๙
[23] พระยาประชากิจกรจักร์, เรื่องเดิม, หน้า๒๓๕–๒๔๐
[24] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๑–๒๓
[25] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๔
[26] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๒), วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาจังหวัดเชียงใหม่ , (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๔), หน้า๔๘
[27] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๕–๒๘
[28] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒๘-๒๙
[29] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๓๒
[30] รองอำมาตย์ตรี กมล มโนชญากร, จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือพระพุทธศักราช๒๔๖๙(พระนคร: โสภณพิพิธธนากร, ๒๔๗๔), หน้า๗๓-๗๕