เอกสารประกอบการเดินทางทัศนศึกษาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โครงการศึกษาภาคปฏิบัติ วิชามรดกไทย ภาคเรียนที่๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๐
รวบรวมโดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
จังหวัดกาญจนบุรี
ภูมิประเทศ
ป่าเขาและที่ราบสูง สลับหุบเขาแคบๆ ตามแนวเหนือ-ใต้ ทำให้เกิดแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงที่ราบตอนใต้และทางตะวันออกของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณดีก่อนประวัติศาสตร์
กาญจนบุรี เป็นเมืองหน้าด่าน สมัยอยุธยา เป็นสถานที่เกิดประวัติศาสตร์ซึ่งมีชื่อเสียงทั่วโลก เป็นเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่เป็นที่รวมทรัพยากรธรรมชาติ และ วัฒนธรรมไว้ด้วยกันอย่างอุดมสมบูรณ์
พื้นที่
ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศรองจากเชียงใหม่และนครราชสีมา ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กม. หรือ 133กม. (รถไฟ)
ทางเหนือ - ตาก,อุทัยธานี
ทางตะวันออก - สุพรรณบุรี นครปฐม
ทางใต้ - ราชบุรี
ตะวันตก - พม่า
ภูเขา
ถนนธงชัย ตะนาวศรี
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ทุ่งใหญ่นเรศวร
ระดับความสูงของพื้นที่
ภูเขาสูง 1000 ม. อยู่ทางเหนือของจังหวัด
ภูเขาสูง 400-1000 ม. อยู่ในลุ่มน้ำ แคใหญ่ และ แควน้อย สังขละ ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ อ.เมือง
ภูเขาสูง 100-400 ม. ไทรโยค+ศรีสวัสดิ์
ที่ราบลูกฟูก ด้านตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในพื้นที่ อ.บ่อพลอย อ.เลาขวัญ อ.พนมทวน
ที่ราบลุ่มแม่น้ำกลอง อยู่ทางใต้ ได้แก่ อ.เมือง อ.พนมทวน อ.ท่าม่วง อ.ท่ามะกา
อากาศ ฝนเมืองร้อน
ปริมาณน้ำฝน ค่อนข้างน้อยเฉลี่ย 1048 มม. ฝนตกประมาณ 84วัน ตกน้อยสุด 670 มม.
แม่น้ำสำคัญ แควน้อย(ไทรโยค) ยาว 315 กม. ไหลจากธารเล็กๆชื่อ รันตี ซองกาเลียและบิคลี่(อ.สังขละบุรี และทอง ผาภูมิ )ไหลมาบรรจบกันที่สามสบ เมื่อไหลมาบรรจบกับแควใหญ่กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง ที่ ต.ปากแพรก อ. เมืองกาญจนบุรี
- แควใหญ่ มีต้นกำเนินจากภูเขาชายแดนในเขต อ.อุ้มผาง ยาว 380 กม. แม่น้ำสาขาคือ ห้วยขาแข้ง
- แม่กลอง ไหลผ่าน อ. เมือง อ.ท่าม่วง อ.ท่ามะกา อ.ราชบุรี แล้วไหลลงทะลที่ อ. เมืองจ.สมุทรสงคราม ยาว 130 กม.
- ลำตะเพิน ไหลผ่านที่ราบด้านตะวันออกของจังหวัด บรรจบแควใหญ่ที่ ต.ท่าเสา ยาว 85 กม.
ประชากร
ไทย, ไทย-จีน, ไทย-มอญ(สังขละ ทองผาภูมิ เมือง), ไทย-กระเหรี่ยง (สังขละ ทองผาภูมิ เมืองกาญจน์ ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค) พวกนี้มาตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี
เขตการปกครอง เดิมแบ่งออก เป็น 3 อำเภอ คือ
อ.เมือง (ในเขตกำแพงเมือง)
อ.ใต้ (ท่าไม้รวก, ม่วงชุม, ริมฝั่งแม่กลอง)
อ.เหนือ
ปัจจุบัน มี 13 อำเภอ
แร่ธาตุ
ดีบุก วุลแฟรม ซีไลต์ ตะกั่ว เงิน สังกะสี พลวง ฟลูออไรด์ โดไลไมต์ ฟอสเฟต ดินขาว เฟลด์สปาร์ แกรนิต หินปูน หินอ่อน พลอย นิล
พืชเศรษฐกิจ
อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มะม่วง มะขามหวาน กล้วย ขนุน ส้มโอ
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณกว่า 10,000 ปีมาแล้ว ลักษณะการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวมีการดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ เกษตรกรรม เทคโนโลยีโลหะโบราณ
ดร. แวน.ฮิกเกอเรน (H.R.van Heekeren) เชลยสงครามชาวดัชต์ ได้พบเครื่องมือแบบหินกรวด กะเทาะหน้าเดียว และ ขวานหินขัดรูปสามเหลี่ยม จึงเก็บซ่อนไว้ เมื่อสงครามสงบจึงนำไปตรวจสอบที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี้ ม. ฮาร์วาร์ด USA.
ดร. Hallem .H. Movius Jr. ระบุว่าเป็นเครื่องมือสมัยหินเก่า คล้ายกับที่พบในสหพันธรัฐมลายา อินโดนีเซีย และจีน
พ.ศ.2499 Karl G.Heider ได้รับทุน Sheldon Travelling Fellowship มาขุดค้นระหว่างสถานนีรถไฟบ้านเก่า และสถานีท่ากิเลน ร่วมกับอาจารย์ ชิน อยู่ดี และนายเจริญ ผานุธิ
พบเครื่องมือหินกรวด สะเก็ดหิน ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่(หลายชั้น) ศาสตร์ตราจารย์โมเวียสเรียกว่า “วัฒนธรรมแควน้อย(Fingnoean)”
พ.ศ.2503-2505คณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก รายงานผลการขุดหลักฐานโบราณคดีในเขตเมืองกาญจนบุรี ดังนี้
สมัยหินเก่า
เร่ร่อน เก็บของป่า ล่าสัตว์ อาศัยในถ้ำและเพิงผา รวมถึงที่ราบริมแควน้อย เครื่องที่ใช้คือ หินกรวดกะเทาะหน้าเดียวแบบหยาบๆ พบที่บ้านเก่า(อ.เมือง นอกจากนี้ยังพบในเขตอ.ทองผาภูมิ ไทรโยค ศรีสวัสดิ์)
สมัยหินกลาง
เครื่องมือหินกะเทาะประณีตขึ้น คล้ายวัฒนธรรมโหบินห์เนียน ใช้เครื่องปั้นดินเผาง่ายๆ พบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ตั้งถิ่นฐานทั่วไปใกล้แหล่งน้ำ มีพิธีศพโดยฝังเครื่องมือ,เครื่องใช้,อาหารไว้ด้วยกัน แล้วโรยดินเทศบนโครงกระดูก พบที่ถ้ำพระไทรโยค ถ้ำทะลุบ้านเก่า อ. เมือง
หินใหม่
อายุ 4,000 ปีลงมา พบขวานหินขัด เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน เครื่องประดับ โครงกระดูกคน สมัยนี้รู้จักการเพาะปลูก และ เลี้ยงสัตว์ มีการฝังศพแบบนอนหงาย พบในถ้ำเขาทะลุ ถ้ำหีบ ริมแม่น้ำแควน้อย บ้านวังด้ง (อ.เมือง) ฯลฯ
สมัยโลหะ
รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะสำริด และ เหล็ก พบที่ดอนตาเพชร(พนมทาน) เคื่องที่ใช้ได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ตุ้มหู,แหวน ลูกปัด สำริดมีส่วนผสมของผสมดีบุก 21%
ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ถ้ำรูป(ไทรโยค)
ถ้ำผาแดง(อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำตาด้วง(อ. เมือง)
เมืองกาญจน์ในฐานะเมืองหน้าด่าน
ด่านบ้องตี้ ตั้งอยู่ที่ชายแดน อ.ไทรโยค
ด่านพระเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรีจากหงสาวดีสู่ด่านพระเจดีย์สามองค์ ทองผาภูมิ ข้ามแม่น้ำแควน้อยที่ผาอ้น ผ่านไทรโยค ตัดเข้าแม่น้ำแควใหญ่ ที่เมืองท่ากระดาน เข้ากาญจนบุรีเก่า แล้วเดินทัพสู่สุพรรณบุรี วิเศษไชยชาญ ป่าโมก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สู่ พระนครศรีอยุธยา กองทัพขนาดใหญ่ยกผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์ มากกว่า 12ครั้ง ต้องผ่านเมืองกาญจนบุรีก่อนทุกครั้ง ไทยรบกับพม่า 24 ครั้ง (สมัยอยุธยา) รบที่เมืองกาญจนบุรีถึง 17 ครั้ง
สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้ามังระแห่งพม่า ให้เนเมียวสีหบดีคุมพลผ่านเชียงใหม่
มังมหานรธาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ ตีเมืองกาญจนบุรีแตกล่องมาตามลำน้ำ แม่กลอง ตั้งค่ายที่ ต. ลูกแก ต.คอกละออม และบ้านดงรัก หนองขาว
เนเมียวสีหบดี คอยปล้นคนตั้งแต่ ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณ ถึงธนบุรีผ่านวิเศษไชยชาญและบางระจัน ปี 2310 ตีอยุธยาสำเร็จ กวาดต้อนผู้คนผ่านด่านเจดีย์สามองค์มุ่งสู่อังวะ
สมัยกรุงธนบุรี
ทัพไทยมาตั้งที่ บ้านหนองขาว บริเวณ วัดส้มใหญ่คงรัง เมื่อทัพพระเจ้าตากสินยกทัพมาหนุน ก็ตีพม่าที่ล้อมบ้านหนองขาวแตกพ่ายไป
สรุป
สมัยอยุธยา รบพม่าครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2018 (ไชยราชา)
รบพม่าครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ.2397 (ร.4)
รวม 316 ปี รบกัน 44ครั้ง
สมัยธนบุรี รบ 10 ครั้ง
สมัยรัตนโกสินทร์ รบ 10 ครั้ง
กาญจนบุรีในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน
ขุนไกรอยู่ย่านเขาชนไก่ (ต.ลาดหญ้า)ริมลำตะเพิน มีอาจารย์คงสอนเวทมนต์ และได้เรียนต่อกับอาจารย์บุญ ขุนไกรมีชื่อเสียงไปทั่วกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อยุธยาด้านการเป็นนายพรานและการต้อนควายป่า ต่อมาสมเด็จพระพันวสา(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) ให้ขุนศรี คนเมืองกาญจนบุรีมาชวนรับราชการ ในเมืองสุพรรณ ขุนไกรแต่งงานกับทองประศรี ครั้งหนึ่งสมเด็จพระพันวสาทอดพระเนตรขุนไกรต้อนควายป่า ขุนไกรต้อนไม่เข้าคอกเลยเกิดโทสะ เอาหอก แทงควายป่าตายหลายตัว สมเด็จพระพันวสาพิโรธสั่งให้ประหารที่ “ซัดหัวเสียบ” ยังปรากฏชื่อสถานที่นี้อยู่ในปัจจุบัน เมื่อขุนแผนทำผิดวินัย ถูกจำคุก เมื่อมีศึกเชียงใหม่ ขุนนางจึงกราบทูลให้ขุนแผนไปรบ เมื่อรบชนะแล้วจึงได้เป็นเจ้าเมือง กาญจนบุรี (พระสุรินทรฤาไชย) ขุนแผนได้ขอดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอก (นำพันธุ์มาจากเมืองมะริด)จากเจ้าเมืองพิจิตร ตำแหน่งขุนแผนแสนสะท้านปรากฏหลักฐานว่าเป็นปลัดในกรม พระตำรวจภูบาล
ยุทธศาสตร์ป้องกันกรุงรัตนโกสินทร์จากกองทัพพม่า
เมื่อทราบข่าวพม่ายกเข้าไทย ร.1 ทรงประชุมกับเสนาบดี ,อำมาตย์ และ พระบรมวงศานุวงศ์ สรุปว่าควรนำกำลังไปสกัด ข้าศึก ณ ตำบลสำคัญ ที่ใดไม่สำคัญปล่อยไว้ก่อน หลังจากนั้นค่อยมาป้องกันทีหลัง
ยกทัพตรึงข้าศึกที่มาจากทางเหนือ มิให้เข้าถึงกรุงเทพฯ
จัดทัพสกัดทัพที่มุ่งเข้ากรุงเทพฯ ทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำลายให้ได้และขับไล่ออกไป
จัดทัพป้องกันปีกให้กองกำลังที่จะไปกวาดล้างข้าศึกที่เมืองกาญจนบุรีและป้องกันมิให้ข้าศึกยึดเพชรบุรี ราชบุรี แล้วไปรวมกำลังกันที่ทางใต้ มีกำลังส่วนหนึ่งคอยหนุนกองทัพต่างๆในกรณีจำเป็น แต่พื้นที่ทางใต้ให้เจ้าเมือง รักษาเมืองของตนจนสุดกำลังความสามารถ ไปก่อน เมื่อขับไล่ข้าศึกทางกาญจนบุรีแล้ว จะเข้าไปช่วยภายหลัง จุดสำคัญคือเมืองกาญจนบุรีเพราะใกล้กรุงเทพฯ จึงต้องใช้กลยุทธ์รุกเชิงรับ/ตั้งรับโดยวิธีรุก
การจัดกองกำลังของฝ่ายไทย พ.ศ.2328
ฝ่ายไทยมีกำลังพล 70,000คน โดยแบ่งเป็น 4 ทัพ
รวบรวมโดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
จังหวัดกาญจนบุรี
ภูมิประเทศ
ป่าเขาและที่ราบสูง สลับหุบเขาแคบๆ ตามแนวเหนือ-ใต้ ทำให้เกิดแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงที่ราบตอนใต้และทางตะวันออกของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณดีก่อนประวัติศาสตร์
กาญจนบุรี เป็นเมืองหน้าด่าน สมัยอยุธยา เป็นสถานที่เกิดประวัติศาสตร์ซึ่งมีชื่อเสียงทั่วโลก เป็นเมืองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขนาดใหญ่เป็นที่รวมทรัพยากรธรรมชาติ และ วัฒนธรรมไว้ด้วยกันอย่างอุดมสมบูรณ์
พื้นที่
ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศรองจากเชียงใหม่และนครราชสีมา ห่างจากกรุงเทพฯ 129 กม. หรือ 133กม. (รถไฟ)
ทางเหนือ - ตาก,อุทัยธานี
ทางตะวันออก - สุพรรณบุรี นครปฐม
ทางใต้ - ราชบุรี
ตะวันตก - พม่า
ภูเขา
ถนนธงชัย ตะนาวศรี
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ทุ่งใหญ่นเรศวร
ระดับความสูงของพื้นที่
ภูเขาสูง 1000 ม. อยู่ทางเหนือของจังหวัด
ภูเขาสูง 400-1000 ม. อยู่ในลุ่มน้ำ แคใหญ่ และ แควน้อย สังขละ ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ อ.เมือง
ภูเขาสูง 100-400 ม. ไทรโยค+ศรีสวัสดิ์
ที่ราบลูกฟูก ด้านตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในพื้นที่ อ.บ่อพลอย อ.เลาขวัญ อ.พนมทวน
ที่ราบลุ่มแม่น้ำกลอง อยู่ทางใต้ ได้แก่ อ.เมือง อ.พนมทวน อ.ท่าม่วง อ.ท่ามะกา
อากาศ ฝนเมืองร้อน
ปริมาณน้ำฝน ค่อนข้างน้อยเฉลี่ย 1048 มม. ฝนตกประมาณ 84วัน ตกน้อยสุด 670 มม.
แม่น้ำสำคัญ แควน้อย(ไทรโยค) ยาว 315 กม. ไหลจากธารเล็กๆชื่อ รันตี ซองกาเลียและบิคลี่(อ.สังขละบุรี และทอง ผาภูมิ )ไหลมาบรรจบกันที่สามสบ เมื่อไหลมาบรรจบกับแควใหญ่กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง ที่ ต.ปากแพรก อ. เมืองกาญจนบุรี
- แควใหญ่ มีต้นกำเนินจากภูเขาชายแดนในเขต อ.อุ้มผาง ยาว 380 กม. แม่น้ำสาขาคือ ห้วยขาแข้ง
- แม่กลอง ไหลผ่าน อ. เมือง อ.ท่าม่วง อ.ท่ามะกา อ.ราชบุรี แล้วไหลลงทะลที่ อ. เมืองจ.สมุทรสงคราม ยาว 130 กม.
- ลำตะเพิน ไหลผ่านที่ราบด้านตะวันออกของจังหวัด บรรจบแควใหญ่ที่ ต.ท่าเสา ยาว 85 กม.
ประชากร
ไทย, ไทย-จีน, ไทย-มอญ(สังขละ ทองผาภูมิ เมือง), ไทย-กระเหรี่ยง (สังขละ ทองผาภูมิ เมืองกาญจน์ ศรีสวัสดิ์ ไทรโยค) พวกนี้มาตั้งถิ่นฐานที่เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี
เขตการปกครอง เดิมแบ่งออก เป็น 3 อำเภอ คือ
อ.เมือง (ในเขตกำแพงเมือง)
อ.ใต้ (ท่าไม้รวก, ม่วงชุม, ริมฝั่งแม่กลอง)
อ.เหนือ
ปัจจุบัน มี 13 อำเภอ
แร่ธาตุ
ดีบุก วุลแฟรม ซีไลต์ ตะกั่ว เงิน สังกะสี พลวง ฟลูออไรด์ โดไลไมต์ ฟอสเฟต ดินขาว เฟลด์สปาร์ แกรนิต หินปูน หินอ่อน พลอย นิล
พืชเศรษฐกิจ
อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มะม่วง มะขามหวาน กล้วย ขนุน ส้มโอ
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณกว่า 10,000 ปีมาแล้ว ลักษณะการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวมีการดำรงชีวิตด้วยการเก็บของป่า ล่าสัตว์ เกษตรกรรม เทคโนโลยีโลหะโบราณ
ดร. แวน.ฮิกเกอเรน (H.R.van Heekeren) เชลยสงครามชาวดัชต์ ได้พบเครื่องมือแบบหินกรวด กะเทาะหน้าเดียว และ ขวานหินขัดรูปสามเหลี่ยม จึงเก็บซ่อนไว้ เมื่อสงครามสงบจึงนำไปตรวจสอบที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี้ ม. ฮาร์วาร์ด USA.
ดร. Hallem .H. Movius Jr. ระบุว่าเป็นเครื่องมือสมัยหินเก่า คล้ายกับที่พบในสหพันธรัฐมลายา อินโดนีเซีย และจีน
พ.ศ.2499 Karl G.Heider ได้รับทุน Sheldon Travelling Fellowship มาขุดค้นระหว่างสถานนีรถไฟบ้านเก่า และสถานีท่ากิเลน ร่วมกับอาจารย์ ชิน อยู่ดี และนายเจริญ ผานุธิ
พบเครื่องมือหินกรวด สะเก็ดหิน ขวานหินขัด เศษภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่(หลายชั้น) ศาสตร์ตราจารย์โมเวียสเรียกว่า “วัฒนธรรมแควน้อย(Fingnoean)”
พ.ศ.2503-2505คณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก รายงานผลการขุดหลักฐานโบราณคดีในเขตเมืองกาญจนบุรี ดังนี้
สมัยหินเก่า
เร่ร่อน เก็บของป่า ล่าสัตว์ อาศัยในถ้ำและเพิงผา รวมถึงที่ราบริมแควน้อย เครื่องที่ใช้คือ หินกรวดกะเทาะหน้าเดียวแบบหยาบๆ พบที่บ้านเก่า(อ.เมือง นอกจากนี้ยังพบในเขตอ.ทองผาภูมิ ไทรโยค ศรีสวัสดิ์)
สมัยหินกลาง
เครื่องมือหินกะเทาะประณีตขึ้น คล้ายวัฒนธรรมโหบินห์เนียน ใช้เครื่องปั้นดินเผาง่ายๆ พบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ ตั้งถิ่นฐานทั่วไปใกล้แหล่งน้ำ มีพิธีศพโดยฝังเครื่องมือ,เครื่องใช้,อาหารไว้ด้วยกัน แล้วโรยดินเทศบนโครงกระดูก พบที่ถ้ำพระไทรโยค ถ้ำทะลุบ้านเก่า อ. เมือง
หินใหม่
อายุ 4,000 ปีลงมา พบขวานหินขัด เครื่องปั้นดินเผา เครื่องจักสาน เครื่องประดับ โครงกระดูกคน สมัยนี้รู้จักการเพาะปลูก และ เลี้ยงสัตว์ มีการฝังศพแบบนอนหงาย พบในถ้ำเขาทะลุ ถ้ำหีบ ริมแม่น้ำแควน้อย บ้านวังด้ง (อ.เมือง) ฯลฯ
สมัยโลหะ
รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้จากโลหะสำริด และ เหล็ก พบที่ดอนตาเพชร(พนมทาน) เคื่องที่ใช้ได้แก่ ภาชนะดินเผา เครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ตุ้มหู,แหวน ลูกปัด สำริดมีส่วนผสมของผสมดีบุก 21%
ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์
ถ้ำรูป(ไทรโยค)
ถ้ำผาแดง(อ.ศรีสวัสดิ์)
ถ้ำตาด้วง(อ. เมือง)
เมืองกาญจน์ในฐานะเมืองหน้าด่าน
ด่านบ้องตี้ ตั้งอยู่ที่ชายแดน อ.ไทรโยค
ด่านพระเจดีย์สามองค์ อ.สังขละบุรีจากหงสาวดีสู่ด่านพระเจดีย์สามองค์ ทองผาภูมิ ข้ามแม่น้ำแควน้อยที่ผาอ้น ผ่านไทรโยค ตัดเข้าแม่น้ำแควใหญ่ ที่เมืองท่ากระดาน เข้ากาญจนบุรีเก่า แล้วเดินทัพสู่สุพรรณบุรี วิเศษไชยชาญ ป่าโมก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สู่ พระนครศรีอยุธยา กองทัพขนาดใหญ่ยกผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์ มากกว่า 12ครั้ง ต้องผ่านเมืองกาญจนบุรีก่อนทุกครั้ง ไทยรบกับพม่า 24 ครั้ง (สมัยอยุธยา) รบที่เมืองกาญจนบุรีถึง 17 ครั้ง
สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้ามังระแห่งพม่า ให้เนเมียวสีหบดีคุมพลผ่านเชียงใหม่
มังมหานรธาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ ตีเมืองกาญจนบุรีแตกล่องมาตามลำน้ำ แม่กลอง ตั้งค่ายที่ ต. ลูกแก ต.คอกละออม และบ้านดงรัก หนองขาว
เนเมียวสีหบดี คอยปล้นคนตั้งแต่ ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณ ถึงธนบุรีผ่านวิเศษไชยชาญและบางระจัน ปี 2310 ตีอยุธยาสำเร็จ กวาดต้อนผู้คนผ่านด่านเจดีย์สามองค์มุ่งสู่อังวะ
สมัยกรุงธนบุรี
ทัพไทยมาตั้งที่ บ้านหนองขาว บริเวณ วัดส้มใหญ่คงรัง เมื่อทัพพระเจ้าตากสินยกทัพมาหนุน ก็ตีพม่าที่ล้อมบ้านหนองขาวแตกพ่ายไป
สรุป
สมัยอยุธยา รบพม่าครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2018 (ไชยราชา)
รบพม่าครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ.2397 (ร.4)
รวม 316 ปี รบกัน 44ครั้ง
สมัยธนบุรี รบ 10 ครั้ง
สมัยรัตนโกสินทร์ รบ 10 ครั้ง
กาญจนบุรีในวรรณคดี ขุนช้างขุนแผน
ขุนไกรอยู่ย่านเขาชนไก่ (ต.ลาดหญ้า)ริมลำตะเพิน มีอาจารย์คงสอนเวทมนต์ และได้เรียนต่อกับอาจารย์บุญ ขุนไกรมีชื่อเสียงไปทั่วกาญจนบุรี สุพรรณบุรี อยุธยาด้านการเป็นนายพรานและการต้อนควายป่า ต่อมาสมเด็จพระพันวสา(สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2) ให้ขุนศรี คนเมืองกาญจนบุรีมาชวนรับราชการ ในเมืองสุพรรณ ขุนไกรแต่งงานกับทองประศรี ครั้งหนึ่งสมเด็จพระพันวสาทอดพระเนตรขุนไกรต้อนควายป่า ขุนไกรต้อนไม่เข้าคอกเลยเกิดโทสะ เอาหอก แทงควายป่าตายหลายตัว สมเด็จพระพันวสาพิโรธสั่งให้ประหารที่ “ซัดหัวเสียบ” ยังปรากฏชื่อสถานที่นี้อยู่ในปัจจุบัน เมื่อขุนแผนทำผิดวินัย ถูกจำคุก เมื่อมีศึกเชียงใหม่ ขุนนางจึงกราบทูลให้ขุนแผนไปรบ เมื่อรบชนะแล้วจึงได้เป็นเจ้าเมือง กาญจนบุรี (พระสุรินทรฤาไชย) ขุนแผนได้ขอดาบฟ้าฟื้นและม้าสีหมอก (นำพันธุ์มาจากเมืองมะริด)จากเจ้าเมืองพิจิตร ตำแหน่งขุนแผนแสนสะท้านปรากฏหลักฐานว่าเป็นปลัดในกรม พระตำรวจภูบาล
ยุทธศาสตร์ป้องกันกรุงรัตนโกสินทร์จากกองทัพพม่า
เมื่อทราบข่าวพม่ายกเข้าไทย ร.1 ทรงประชุมกับเสนาบดี ,อำมาตย์ และ พระบรมวงศานุวงศ์ สรุปว่าควรนำกำลังไปสกัด ข้าศึก ณ ตำบลสำคัญ ที่ใดไม่สำคัญปล่อยไว้ก่อน หลังจากนั้นค่อยมาป้องกันทีหลัง
ยกทัพตรึงข้าศึกที่มาจากทางเหนือ มิให้เข้าถึงกรุงเทพฯ
จัดทัพสกัดทัพที่มุ่งเข้ากรุงเทพฯ ทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำลายให้ได้และขับไล่ออกไป
จัดทัพป้องกันปีกให้กองกำลังที่จะไปกวาดล้างข้าศึกที่เมืองกาญจนบุรีและป้องกันมิให้ข้าศึกยึดเพชรบุรี ราชบุรี แล้วไปรวมกำลังกันที่ทางใต้ มีกำลังส่วนหนึ่งคอยหนุนกองทัพต่างๆในกรณีจำเป็น แต่พื้นที่ทางใต้ให้เจ้าเมือง รักษาเมืองของตนจนสุดกำลังความสามารถ ไปก่อน เมื่อขับไล่ข้าศึกทางกาญจนบุรีแล้ว จะเข้าไปช่วยภายหลัง จุดสำคัญคือเมืองกาญจนบุรีเพราะใกล้กรุงเทพฯ จึงต้องใช้กลยุทธ์รุกเชิงรับ/ตั้งรับโดยวิธีรุก
การจัดกองกำลังของฝ่ายไทย พ.ศ.2328
ฝ่ายไทยมีกำลังพล 70,000คน โดยแบ่งเป็น 4 ทัพ
กองทัพที่ 1
กรมพระราชวังหลัง(กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์) คุมกำลังพล 15,000 คน อยู่ที่นครสวรรค์
กองทัพที่ 2
กรมพระราชวังบวร สกัดทัพหลวงพม่า คุมกำลัง 30,000 คน อยู่ที่เหนือทุ่งลาดหญ้า 20 กม.
กองทัพที่ 3
เจ้าพระยาธรรมา(บุญรอด)เป็นแม่ทัพ เจ้าพระยายมราช(ผู้ช่วย)กำลัง 5,000คน ป้องกันปีกของทัพ 2 สกัดพม่าที่ด่านบ้องตี้ ซึ่งจะเข้าตี ราชบุรี, เพชรบุรี เพื่อบรรจบกันที่ชุมพร
กองทัพที่ 4
เป็นกองทัพหลวง มีกำลังพล 20,000คน เตรียมไว้ที่กรุงเทพมหานคร เป็นกองหนุน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ทรงบังคับบัญชา
สงครามรบพม่าที่ท่าดินแดง(เขต อ.สังขละบุรี)
พระเจ้าปดุงจะแก้ตัวใหม่ มาจัด เตรียมเสบียงที่ท่าดินแดง และสามสบ ร.1 และ กรมพระราชวังบวร ไม่รอให้พม่ายกเข้ามา เมืองกาญจนบุรีได้ นำทัพเข้าคลองบางกอกน้อย เข้ามาแม่น้ำท่าจีน,คลองหมาหอนออกลำน้ำแม่กลอง ถึงแม่น้ำแควน้อย และ เมืองไทรโยค จากนั้นยกทัพเข้าถึงเมืองขนุน(สังขละบุรี)
- กรมพระราชวังบวรฯตีสามสบใต้ด่านพระเจดีย์สามองค์ลงมา
- ร.1 เข้าตีพม่าที่ท่าดินแดง พร้อมกันทั้ง 2 ทัพรบ 3 วัน 3 คืน ตีจับเฉลยได้จำนวนมาก
- พันตรี ไมเคิล ไชน์ ชาวอังกฤษ บาทหลวงอิตาลีชื่อ ซัน เยอมาโน กล่าวตรงกันว่า พระเจ้าปดุง แพ้ไทยทำให้ชาวพม่าแตกตื่นตกใจ บาทหลวงซันเยอมาโน กล่าวว่า ถ้ากองทัพไทยตามตีต่อไป คงจะยึดอังวะได้แน่
ร.1 ทรงบรรยายในเพลงยาวนิราศท่าดินแดงว่า
อ้ายพม่าตั้งอยู่ท่าดินแดง ตกแต่งค่ายรายไว้ถ้วนถี่
ทั้งเสบียงอาหารสารพัดมี ดังสร้างสรรค์ธานี ทุกประการ
มีทั้งพ่อค้ามาขาย ร้านรายกระท่อมพลทุกสถาน
ด้านหลังทำทางวางสะพาน ตามละหานห้วยธารทุกตำบล
ร้อยเส้นมีฉางระหว่างค่าย ถ่ายเสบียงอาหารทุกแห่งหน
แล้วแต่กองร้อยอยู่คอยคน จนตำบลสามสบครบครัน
อันค่ายประตูหอรบ ตบแต่งสารพัดเป็นที่มั่น
ตั้งขวากหนามเขื่อนคูป้องกัน เป็นชนชั้นอันดับมากมาย
......................................................................................................................................
(ตั้งใจจะอุปถัมภ์ภก ยอยกพระพุทธศาสนา
ป้องกันขอบพันธสีมา จะรักษาประชาชนและมนตรี)
ทางรถไฟสายมรณะ
สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2485 -2486 ยาว 415 กม. อยู่ในเขตไทย 303.95 กม.อยู่ในเขตพม่า 111.05 กม. เชลย: อังกฤษ,อินโดนีเซีย,ออสเตรเลีย,ฮอลันดา, 60000 คนกรรมกร: แขกมลายู,อินเดีย,จีน,ญวณ,อินโดนีเซีย,ไทย,พม่า,ฯลฯ รวม 200,000คน(มีวิศวกร,ทหาร ของญี่ปุ่น คุมเชลย 15,000 คน) เมืองกาญจนบุรีจึงเต็มไปด้วยค่ายทหาร ค่ายเชลยกรรมการ(แยกหนองปลาดุก,บ้านโป่ง,ลูกแก,ท่าเรือ,ท่าม่วง,เขาดิน,ปากแพรก,สะพานข้ามแม่น้ำแคว)
กาญจนบุรีกับสงครามมหาเอเชียบรูพา
สมัยสงครามมหาเอเชียบรูพา(พ.ศ.2484-2488) ญี่ปุ่นบุกเพิร์ลฮาเบอร์ รัฐฮาวาย เมื่อ 8 ธันวาคม 2484 ในเวลาเดียวกันนั้นก็ได้ยกพลขึ้นบกที่บางปู(สมุทรปราการ),ประจวบ,ชุมพร สุราษฎร์ฯ,นครชัยศรี,สงขลา,ปัตตานี,ปราจีนบุรี(อรัญประเทศ) นายพล นากามูระ เป็นแม่ทัพใหญ่ของญี่ปุ่นในไทยสร้างทางรถไฟเพื่อลำเลียง ยุทโธปกรณ์ จากไทยไปพม่า โดยใช้แรงงานเชลยศึก อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลันดา สหรัฐอเมริกา
ทำไมไทยไม่แพ้สงคราม
1. ไทยจำต้องทำสงครามกับพันธมิตร(ภาวะจำยอม)
2. คนไทยต่างแดนไม่เห็นด้วยกับ การประกาศสงครามกับ อังกฤษ และ สหรัฐ จึงตั้งขบวนการเสรีไทย
3. มีขบวนการเสรีไทย ในประเทศ(ปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป. ทำงานใต้ดิน)
4. สหรัฐ ไม่ถือว่าไทยเป็นคู่สงคราม
แรงงานสร้างทางรถไฟ
ญี่ปุ่น 15,000 ตาย 1,000 คน
เชลย 50,000 คน(บางที่ว่า 60,000 คน) ตาย 10,000คน
กรรมกร 100,000 คน ตาย 30,000 คน
รวม 165,000 คน ตาย 41,000 คน
สุสาน
ดอนรัก 6,982 ศพ
เขาปูน 1,740 ศพ
ไม่ทราบสุสานรวม 300 ศพ
อนุสาวรีย์ กรรมกร และ ... นิรนาม 4,500 กว่าศพ
ข้อมูลใหม่
กรรมกรเอเชีย 200,000 คน ตาย 80,000 คน
อังกฤษ 30,000 คน ตาย 6,500 คน
ฮอลันดา 18,000 คน ตาย 2,830 คน
ออสเตรเลีย 13,000 คน ตาย 2,710 คน
สหรัฐ 700 คน ตาย 365 คน
ญี่ปุ่น 15,000 คน ตาย 1,000 คน
เกาหลี 15,000 คน ตาย 1,000 คน
ขุมทองเมืองกาญจนบุรี
มีเสียงเล่าลือเกี่ยวกับทองญี่ปุ่น “ขุมทองโกโบริ” ระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 ทำให้ระหว่างพ.ศ.2538-2541 นาย เชาวรินทร์ ลัทธศักดิ์ศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการสั่งให้เข้าไปสำรวจอย่างจริงจัง แต่ไม่พบหลักฐาน สาเหตุที่มีคนเล่าลือเรื่องขุมทองโกโบริ เนื่องจากเหตุผลดังนี้
- มีการสร้างทางรถไฟแยกออกไปจากแนวรางหลัก
- นักข่าวญี่ปุ่นมาจ.กาญจนบุรีพร้อมกับแผนที่โบราณ
- ต้นไม้,ถ้ำ ในป่า.กาญจนบุรี มีภาษา ญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี นักวิชาการคัดค้านการสำรวจหาทองญี่ปุ่น เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันและเป็นการทำลายทรัพยากร
มรดกทางวัฒนธรรม
10,000 ปี
เก็บของป่า,ล่าสัตว์ที่ถ้ำ/เชิงผา
4,000 ปี
มีการทำเกษตรกรรม รวมตัวกันเป็นชุมชน ใกล้แหล่งน้ำ เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หินขัด ภาชนะดินเผา เริ่มเป็นสังคมเมือง เริ่มมีผู้นำ รู้จักใช้โลหะสำริด และ เหล็กมีความเชื่อแบบ Animism
2,000 ปี
มีการติดต่อกับชุมชนที่ห่างไกล/ดินแดนภายนอก มีความเชื่อทางศาสนา หลังจากนั้นจึงพัฒนาสู่สมัยทวารวดี ลพบุรี อยุธยา รัตนโกสินทร์ ถึงปัจจุบัน
โบราณวัตถุสำคัญที่พบในเมืองกาญจนบุรี
ขวานหิน
- เครื่องมือหินกะเทาะ จากหินกรวดแม่น้ำ ทำจากหินควอตซ์ ,หินเชิร์ต์, หินแจสเปอร์(มีทั้งกะเทาะหน้าเดียวและสองหน้า)
- เครื่องมือหินขัด(มีบ่า,ไม่มีบ่า)
ลูกปัดหินบ้านดอนตาเพชร อ.พนมทวน
- หินคาร์เนเลียนรูปสิงห์ และ แบบต่างๆ
- อะเกต สีส้ม,น้ำตาล,ดำ บางเม็ดมีลายในเนื้อ ลูกปัดแก้วสีดำมีลายสีขาวฝังในเนื้อนำมาจากอินเดีย
หม้อสามขา
พบที่บ้านเก่าโดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก พ.ศ.2505 มีการเจาะรูให้อากาศผ่าน หม้อมีสันที่ไหล่ กำหนดอายุอยู่ในสมัยหินใหม่ อายุ 4,000ปี คล้ายวัฒนธรรมลุงซานของจีน เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีแหล่งนี้
ตะเกียงโบราณสำริด
บ้านพงตึก อ.ท่ามะกา เดิมเชื่อว่าน่าจะนำเข้ามาจาก เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ (ค.ศ.250-350) เชื่อว่าน่าจะมาจากอาณาจักรไบแซนไทน์(ค.ศ.400-600) โดยเปรียบเทียบกับตะเกียงสำริดซึ่งพบในประเทศกรีซให้อิทธิพลแกตะเกียงทวารวดี(พบเพียงชิ้นเดียวในไทย)
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งรัศมี(สูง162 ซม.)
- พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ อ.ไทรโยค
- พระหัตถ์หักหาย หน้าผากมีอุณหิศ เกล้าผมมวยทรงกระบอก มีแนวรูปประคำคาดประดับพระวรกายท่อนบน และตั้งแต่พระอุระขึ้นไปจนถึงพระอังสาสลักรูปพระธยานิพุทธอมิตาภะสมาธิขนาดเล็ก เรียงเป็นแถวโค้งเข้าหาจุดศูนย์กลางคือพระอมิตาภะที่ส่วนบนของพระเศียร
- กึ่งกลางพระอุระ และบั้น พระองค์สลักรูปบุคคล กางแขนออกสองข้างถือดอกบัวในมือ
- ผ้าทรงเป็นผ้าสั้นคล้ายกางเกงขาสั้น ไม่มีชายพก แต่มีชายผ้าคล้ายสมอเรือ หรือหางปลาชั้นเดียว ห้อยตกลงมาทั้งข้างหน้าข้างหลัง ริ้วผ้านุ่งเป็นขีดบางๆ ขอบล่างของผ้าป็นลายลูกประคำ เข็มขัดเป็นลายดอกไม้ขนาดใหญ่ และมีลายอุบะประดับใต้แนวเข็มขัด เทียบได้กับโพธิสัตว์เปล่งพระรัศมีที่ปราสาทเปรี๊ยะถกล ศิลปะบายน พุทธศตวรรษที่ 18
ในประเทศไทยพบรูปโพธิสัตว์เปล่งพระรัศมี 5 องค์ คือ 1. ถ้ำคูหาสวรรค์ อ. เมืองลพบุรี(พอกแปลงเป็นทวารบาล)2องค์ 2. ปราสาทกำแพงแลง เพชรบุรี 1 องค์(อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี จ.เพชรบุรี) 3. จอมปราสาท เมืองโกสินารายณ์ บ้านโป่ง ราชบุรี (พิพิธภัณฑ์ฯราชบุรี)
โบราณสถาน
เมืองโบราณ 6 แห่ง
- พงตึก บ้านคงสัก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา
- เมืองกลอนโด บ้านกลอนโด อ.ด่านมะขามเตี้ย
- เมืองสิงห์ บ้านท่ากิเลน อ.ไทรโยค
- เมืองครุฑ ห่างจากเมืองสิงห์ไปทางตะวันออก ห่างจากแม่น้ำแควน้อย 5 กม.(สมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18)
- เมืองกาญจนบุรีเก่า บ้านท่าเสา ต.ลาดหญ้า อ.เมือง (สมัยอยุธยา)
- เมืองกาญจนบุรีใหม่ บ้านปากแพรก อ.เมือง (สมัยรัตนโกสินทร์ ร.3)
ย้ายเมื่อประมาณพ.ศ 2330 ห่างจากเมืองเก่า ประมาณ 18 กม.ตั้งบริเวณปากแพรก ซึ่งมีแม่น้ำแม่กลองมาบรรจบ กับแม่น้ำแควใหญ่
- รูปเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 200x440 ม. ก่ออิฐถือปูนในสมัย ร.3(8 มีนาคม 2374 ลงศิลาฤกษ์ สร้างโดยพระยาประสิทธิ์สงครามภักดี ป้อม 4 ประตู 8)
- ร.3ให้สร้าง มีวัดญวณ ชื่อวัดคั้นถ่อตื้อ ทางตะวันออก ซึ่ง ร.5 เปลี่ยนเป็น วัดถาวรวราราม
พบที่บ้านเก่าโดยคณะสำรวจไทย-เดนมาร์ก พ.ศ.2505 มีการเจาะรูให้อากาศผ่าน หม้อมีสันที่ไหล่ กำหนดอายุอยู่ในสมัยหินใหม่ อายุ 4,000ปี คล้ายวัฒนธรรมลุงซานของจีน เป็นสัญลักษณ์ของแหล่งโบราณคดีแหล่งนี้
ตะเกียงโบราณสำริด
บ้านพงตึก อ.ท่ามะกา เดิมเชื่อว่าน่าจะนำเข้ามาจาก เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ (ค.ศ.250-350) เชื่อว่าน่าจะมาจากอาณาจักรไบแซนไทน์(ค.ศ.400-600) โดยเปรียบเทียบกับตะเกียงสำริดซึ่งพบในประเทศกรีซให้อิทธิพลแกตะเกียงทวารวดี(พบเพียงชิ้นเดียวในไทย)
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งรัศมี(สูง162 ซม.)
- พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ อ.ไทรโยค
- พระหัตถ์หักหาย หน้าผากมีอุณหิศ เกล้าผมมวยทรงกระบอก มีแนวรูปประคำคาดประดับพระวรกายท่อนบน และตั้งแต่พระอุระขึ้นไปจนถึงพระอังสาสลักรูปพระธยานิพุทธอมิตาภะสมาธิขนาดเล็ก เรียงเป็นแถวโค้งเข้าหาจุดศูนย์กลางคือพระอมิตาภะที่ส่วนบนของพระเศียร
- กึ่งกลางพระอุระ และบั้น พระองค์สลักรูปบุคคล กางแขนออกสองข้างถือดอกบัวในมือ
- ผ้าทรงเป็นผ้าสั้นคล้ายกางเกงขาสั้น ไม่มีชายพก แต่มีชายผ้าคล้ายสมอเรือ หรือหางปลาชั้นเดียว ห้อยตกลงมาทั้งข้างหน้าข้างหลัง ริ้วผ้านุ่งเป็นขีดบางๆ ขอบล่างของผ้าป็นลายลูกประคำ เข็มขัดเป็นลายดอกไม้ขนาดใหญ่ และมีลายอุบะประดับใต้แนวเข็มขัด เทียบได้กับโพธิสัตว์เปล่งพระรัศมีที่ปราสาทเปรี๊ยะถกล ศิลปะบายน พุทธศตวรรษที่ 18
ในประเทศไทยพบรูปโพธิสัตว์เปล่งพระรัศมี 5 องค์ คือ 1. ถ้ำคูหาสวรรค์ อ. เมืองลพบุรี(พอกแปลงเป็นทวารบาล)2องค์ 2. ปราสาทกำแพงแลง เพชรบุรี 1 องค์(อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี จ.เพชรบุรี) 3. จอมปราสาท เมืองโกสินารายณ์ บ้านโป่ง ราชบุรี (พิพิธภัณฑ์ฯราชบุรี)
โบราณสถาน
เมืองโบราณ 6 แห่ง
- พงตึก บ้านคงสัก ต.พงตึก อ.ท่ามะกา
- เมืองกลอนโด บ้านกลอนโด อ.ด่านมะขามเตี้ย
- เมืองสิงห์ บ้านท่ากิเลน อ.ไทรโยค
- เมืองครุฑ ห่างจากเมืองสิงห์ไปทางตะวันออก ห่างจากแม่น้ำแควน้อย 5 กม.(สมัยลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18)
- เมืองกาญจนบุรีเก่า บ้านท่าเสา ต.ลาดหญ้า อ.เมือง (สมัยอยุธยา)
- เมืองกาญจนบุรีใหม่ บ้านปากแพรก อ.เมือง (สมัยรัตนโกสินทร์ ร.3)
ย้ายเมื่อประมาณพ.ศ 2330 ห่างจากเมืองเก่า ประมาณ 18 กม.ตั้งบริเวณปากแพรก ซึ่งมีแม่น้ำแม่กลองมาบรรจบ กับแม่น้ำแควใหญ่
- รูปเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 200x440 ม. ก่ออิฐถือปูนในสมัย ร.3(8 มีนาคม 2374 ลงศิลาฤกษ์ สร้างโดยพระยาประสิทธิ์สงครามภักดี ป้อม 4 ประตู 8)
- ร.3ให้สร้าง มีวัดญวณ ชื่อวัดคั้นถ่อตื้อ ทางตะวันออก ซึ่ง ร.5 เปลี่ยนเป็น วัดถาวรวราราม
แหล่งโบราณคดีในถ้ำเมืองกาญจนบุรี
ถ้ำองบะ 11,000-2,080 ปีมาแล้ว
ถ้ำพระ โครงกระดูกมนุษย์ สำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน
ถ้ำรูป ไทรโยค ภาพเขียน คน สัตว์ มือ
ถ้ำตาด้วง ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี คนแบกกลอง ประกอบด้วยภาพคน 18 คน แรกๆเข้าใจว่าเป็นลายแทงสมบัติ
ผนังถ้ำภูผาแดง เป็นรูปบุคคลคล้ายถ้ำตาด้วง
เขาชนไก่ เครื่องมือหินกรวดแม่น้ำ ขวานหินกะเทาะ โซ่คล้องช้าง
แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า
ตั้งริมแม่น้ำแควน้อย อ.เมือง คณะสำรวจ ไทย- เดนมาร์กขุดค้นระหว่างพ.ศ. 2503-2505 พบภาชนะดินเผา สีดำ และน้ำตาล ภาชนะสีดำขัดมัน และหม้อสามขา ซึ่งพบที่จ.สุราษฏรธานี นครศรีธรรมราช และ มาเลเซียด้วย
โครงกระดูกที่พบถูกฝังเหยียดยาว แขนเหยียดตรง ฝังเครื่องปั้นดินเผาสีดำ เหนือศีรษะ หว่างขา และปลายเท้า ขวานหินขัด และเปลือกหอยแครงเจาะรู พบหลักฐานการถอนฟัน/กรอฟัน เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว เสียชีวิตก่ออายุ 30 ปี ชายสูง 160-176 ซม. หญิง 146-161 ซม.
บ้านดอนตาเพชร(ขุดค้นพ.ศ. 2519)
พบภาชนะดินเผา ภาชนะสำริดเนื้อบางพิเศษ เครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ต่างหู แหวน ลูกปัด ภาชนะสำริดมี ดีบุก ผสม 21% ทำให้มีสีคล้ายทองคำ หลุมฝังศพที่พบ ฝังเป็นกลุ่ม(แบบฝังครั้งที่ 2) มีการใส่สิ่งของไว้ในหลุมศพ
เมืองโบราณบ้านพงตึก
ราชบัณฑิตยสถานขุดเมื่อ 2470
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ต.สิงห์ อ.ไทรโยค
เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในเมืองสิงห์ บ่งชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมแบบขอมเคยแพร่เข้ามาระหว่างพ.ศ. 1400-1700 โบราณสถานที่พบมีขนาดเล็ก เมืองสิงห์อาจทิ้งร้างสมัยอยุธยา ร.1 สถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นใหม่ เป็นเมืองหน้าด่านเล็กๆ ขึ้นตรงต่อเมืองกาญจนบุรี แต่เจ้าเมืองไปพำนักที่บ้านโป่ง เพราะกันดารส่งพลตระเวนมาตรวจตราเท่านั้น ร.4 พระราชทานนามเจ้าเมืองว่า พระสมิงสิงห์บุรินทร์ จนถึง ร.5 เปลี่ยนการปกครองเป็น มณฑลเทศาภิบาลจึงมีฐานะเป็นตำบลสิงห์มาถึงปัจจุบัน
โบราณสถานเมืองสิงห์
ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม/จารึก/โบราณวัตถุ/ประติมากรรม ศาสนาพุทธมหายาน พุทธศตวรรษที่ 18 ได้รับศิลปะเขมรแบบบายน สมัยชัยวรมันที่ 7 จารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงการพระราชทานพระชัยพุทธมหานาถไปยังเมืองต่างๆ 23 เมืองหนึ่งในนั้นคือเมืองศรีชัยสิงห์ปุระ อาจเป็นเมืองสิงห์หรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติ
เมืองสิงห์มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งริมแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลผ่านทางใต้ของตัวเมือง ขยายไปทางใต้และอาจใช้ลำน้ำเป็นคูเมืองด้านนี้ด้วย
กำแพงเมืองสิงห์ก่อด้วยศิลาแลงขนาด 880ม.x1,400ม. สูง 5 ม. ด้านในเป็นลาดกำแพง กำแพงมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ด้านเหนือและตะวันออก มีคันดิน 3ชั้น ด้านตะวันตกมีคันดิน7 ชั้น
โบราณสถานหมายเลข 1
ทางเข้ายกพื้นเป็นรูปกากบาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงแก้ว โคปุระกลางระเบียงคด ด้าน ตะวันออก ซุ้มประตูชั้นที่ 3 กำแพงแก้ว 81x104 ม. ระเบียงและซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน มีหลังคาคลุมและผนังกั้น มีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ผนัง ซุ้มประตูมีมุขยื่นออกทั้ง นอก และ ใน ซุ้มทิศ ตั้งอยู่ตามมุมระเบียงคด บรรณาลัย อยู่มุมทิศตะวันออก ใต้ของปรางค์ประธาน หันหน้าไปทางตะวันตก ปราสาทประธาน ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขของซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน มุขด้านตะวันตกเจาะเป็นช่อง ภายในองค์ประธานมีผังพื้นเป็นรูปกากบาท แบ่งเป็น 5 ห้อง ห้องครรภคฤหะ เป็นห้องใหญ่ และห้องมุข 4 ด้าน
โบราณสถานหมายเลข 2
ก่อด้วยศิลาแลง ประดับลวดลายปูนปั้น บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน 2 ชั้น ฐานชั้นล่างขนาด 33.90x54.20 สูง 0.80ม. ตรงกลางอัดด้วยลูกรัง ทางขึ้นด้านตะวันตก เป็นลานสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 6.50x10ม. ภายในเป็นห้องรูปกากบาท มีทางขึ้น 4 ทิศ ด้านหน้ามีปรางค์ 3 องค์ ตั้งบนฐานเดียวกัน กว้าง 15.50x22.20ม.
ถ้ำองบะ 11,000-2,080 ปีมาแล้ว
ถ้ำพระ โครงกระดูกมนุษย์ สำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน
ถ้ำรูป ไทรโยค ภาพเขียน คน สัตว์ มือ
ถ้ำตาด้วง ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี คนแบกกลอง ประกอบด้วยภาพคน 18 คน แรกๆเข้าใจว่าเป็นลายแทงสมบัติ
ผนังถ้ำภูผาแดง เป็นรูปบุคคลคล้ายถ้ำตาด้วง
เขาชนไก่ เครื่องมือหินกรวดแม่น้ำ ขวานหินกะเทาะ โซ่คล้องช้าง
แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า
ตั้งริมแม่น้ำแควน้อย อ.เมือง คณะสำรวจ ไทย- เดนมาร์กขุดค้นระหว่างพ.ศ. 2503-2505 พบภาชนะดินเผา สีดำ และน้ำตาล ภาชนะสีดำขัดมัน และหม้อสามขา ซึ่งพบที่จ.สุราษฏรธานี นครศรีธรรมราช และ มาเลเซียด้วย
โครงกระดูกที่พบถูกฝังเหยียดยาว แขนเหยียดตรง ฝังเครื่องปั้นดินเผาสีดำ เหนือศีรษะ หว่างขา และปลายเท้า ขวานหินขัด และเปลือกหอยแครงเจาะรู พบหลักฐานการถอนฟัน/กรอฟัน เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว เสียชีวิตก่ออายุ 30 ปี ชายสูง 160-176 ซม. หญิง 146-161 ซม.
บ้านดอนตาเพชร(ขุดค้นพ.ศ. 2519)
พบภาชนะดินเผา ภาชนะสำริดเนื้อบางพิเศษ เครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ต่างหู แหวน ลูกปัด ภาชนะสำริดมี ดีบุก ผสม 21% ทำให้มีสีคล้ายทองคำ หลุมฝังศพที่พบ ฝังเป็นกลุ่ม(แบบฝังครั้งที่ 2) มีการใส่สิ่งของไว้ในหลุมศพ
เมืองโบราณบ้านพงตึก
ราชบัณฑิตยสถานขุดเมื่อ 2470
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ต.สิงห์ อ.ไทรโยค
เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ในเมืองสิงห์ บ่งชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมแบบขอมเคยแพร่เข้ามาระหว่างพ.ศ. 1400-1700 โบราณสถานที่พบมีขนาดเล็ก เมืองสิงห์อาจทิ้งร้างสมัยอยุธยา ร.1 สถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นใหม่ เป็นเมืองหน้าด่านเล็กๆ ขึ้นตรงต่อเมืองกาญจนบุรี แต่เจ้าเมืองไปพำนักที่บ้านโป่ง เพราะกันดารส่งพลตระเวนมาตรวจตราเท่านั้น ร.4 พระราชทานนามเจ้าเมืองว่า พระสมิงสิงห์บุรินทร์ จนถึง ร.5 เปลี่ยนการปกครองเป็น มณฑลเทศาภิบาลจึงมีฐานะเป็นตำบลสิงห์มาถึงปัจจุบัน
โบราณสถานเมืองสิงห์
ประกอบด้วยสถาปัตยกรรม/จารึก/โบราณวัตถุ/ประติมากรรม ศาสนาพุทธมหายาน พุทธศตวรรษที่ 18 ได้รับศิลปะเขมรแบบบายน สมัยชัยวรมันที่ 7 จารึกปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงการพระราชทานพระชัยพุทธมหานาถไปยังเมืองต่างๆ 23 เมืองหนึ่งในนั้นคือเมืองศรีชัยสิงห์ปุระ อาจเป็นเมืองสิงห์หรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติ
เมืองสิงห์มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งริมแม่น้ำแควน้อย ซึ่งไหลผ่านทางใต้ของตัวเมือง ขยายไปทางใต้และอาจใช้ลำน้ำเป็นคูเมืองด้านนี้ด้วย
กำแพงเมืองสิงห์ก่อด้วยศิลาแลงขนาด 880ม.x1,400ม. สูง 5 ม. ด้านในเป็นลาดกำแพง กำแพงมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ด้านเหนือและตะวันออก มีคันดิน 3ชั้น ด้านตะวันตกมีคันดิน7 ชั้น
โบราณสถานหมายเลข 1
ทางเข้ายกพื้นเป็นรูปกากบาทขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงแก้ว โคปุระกลางระเบียงคด ด้าน ตะวันออก ซุ้มประตูชั้นที่ 3 กำแพงแก้ว 81x104 ม. ระเบียงและซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน มีหลังคาคลุมและผนังกั้น มีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่ผนัง ซุ้มประตูมีมุขยื่นออกทั้ง นอก และ ใน ซุ้มทิศ ตั้งอยู่ตามมุมระเบียงคด บรรณาลัย อยู่มุมทิศตะวันออก ใต้ของปรางค์ประธาน หันหน้าไปทางตะวันตก ปราสาทประธาน ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม มีมุขยื่นออกไปรับกับมุขของซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน มุขด้านตะวันตกเจาะเป็นช่อง ภายในองค์ประธานมีผังพื้นเป็นรูปกากบาท แบ่งเป็น 5 ห้อง ห้องครรภคฤหะ เป็นห้องใหญ่ และห้องมุข 4 ด้าน
โบราณสถานหมายเลข 2
ก่อด้วยศิลาแลง ประดับลวดลายปูนปั้น บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน 2 ชั้น ฐานชั้นล่างขนาด 33.90x54.20 สูง 0.80ม. ตรงกลางอัดด้วยลูกรัง ทางขึ้นด้านตะวันตก เป็นลานสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 6.50x10ม. ภายในเป็นห้องรูปกากบาท มีทางขึ้น 4 ทิศ ด้านหน้ามีปรางค์ 3 องค์ ตั้งบนฐานเดียวกัน กว้าง 15.50x22.20ม.
อุทยานปราสาทเมืองสิงห์ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 3 เม.ย 2530
ด่านพระเจดีย์สามองค์
ตั้งอยู่ที่ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 25 กม. เป็นด่านสำคัญทางตะวันตก ประวัติการก่อสร้างไม่ชัดเจน น่าจะประมาณ สมัยพระนเรศวรทรงเดินทัพผ่าน ปัจจุบันเป็นรูปทรงแบบ เจดีย์มอญขนาดเท่าๆกัน สูง 6 เมตร
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (The Bridge Over the River Krawi)
ญี่ปุ่นผู้สร้างทางรถไฟจากหนองปลาดุก ถึงสถานีตันอูบีซายัต เริ่มสร้างสะพานไม้ชั่วคราวเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2485 เสร็จเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 (3 เดือน) สะพานชั่วคราวนี้ อยู่ห่างจากสะพานเหล็กไปทางปลายแม่น้ำประมาณ 100 ม. ลงมือขณะน้ำลด
ต่อมามีการลงมือสร้างสะพานถาวรโดยใช้ปูนซิเมนต์หล่อตอม่อสะพาน โดยนำเหล็กลำเลียงมาจากมลายูเป็นชิ้นๆ ประกอบสะพานเหล็กเป็นช่วงๆ 12 ช่วง ยาวประมาณ 300 ม.
สร้างเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 ใช้เวลาสร้าง 1 เดือน เศษ แล้วรื้อสะพานไม้ออก
และเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ 2486
สะพานแห่งนี้ถูกฝ่ายพันธมิตรโจมตีครั้งแรกเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ครั้งที่ 2 วันที่ 3 2487 ครั้งที่- วันที่ 23 มกราคม พ.ศ..2588 แต่ไม่เสียหายมาก มีครั้งหนึ่งคอสะพานขาด 3 ช่วง คือช่วงที่ 4-6
สะพานถ้ำกระกระแซ
เป็นสะพานทางรถไฟช่วงหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะเริ่มต้นจาก จ.กาญจนบุรี ไปน้ำตกเขาพัง(ไทรโยคน้อย)เป็นช่วงอันตรายที่สุด เพราะสร้างเลียบเขาสูงชัน ลัดเลาะไปตามโค้งภูเขา ด้านหนึ่งชิดภูเขา ด้านหนึ่งเป็นลำแควน้อย อันเชี่ยวกราก ความสูง และ ความคดเคี้ยว ทำให้ได้ชื่อว่า โค้งมรณะ ลักษณะเป็นสะพานไม้เสริมเหล็กเลีบยเขาเลาะน้ำ ผ่านถ้ำแห่งเดียวในประเทศไทย คนงานล้มตาย เพราะไข้ป่าและอหิวาต์ มีผู้เปรียบเทียบว่า ไม้หมอนรถไฟ 1 ท่อน แลกกับคนงาน 1 ศพ
พระแท่นดงรัง
ขนาด4.90x2.25x90 สัณนิษฐานว่ามีขึ้นสมัยอยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของบริโภคเจดีย์ในประเทศไทย แห่งอื่นๆ ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์(อ.ทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์) พระศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรีและพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
ด่านพระเจดีย์สามองค์
ตั้งอยู่ที่ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 25 กม. เป็นด่านสำคัญทางตะวันตก ประวัติการก่อสร้างไม่ชัดเจน น่าจะประมาณ สมัยพระนเรศวรทรงเดินทัพผ่าน ปัจจุบันเป็นรูปทรงแบบ เจดีย์มอญขนาดเท่าๆกัน สูง 6 เมตร
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (The Bridge Over the River Krawi)
ญี่ปุ่นผู้สร้างทางรถไฟจากหนองปลาดุก ถึงสถานีตันอูบีซายัต เริ่มสร้างสะพานไม้ชั่วคราวเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2485 เสร็จเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2486 (3 เดือน) สะพานชั่วคราวนี้ อยู่ห่างจากสะพานเหล็กไปทางปลายแม่น้ำประมาณ 100 ม. ลงมือขณะน้ำลด
ต่อมามีการลงมือสร้างสะพานถาวรโดยใช้ปูนซิเมนต์หล่อตอม่อสะพาน โดยนำเหล็กลำเลียงมาจากมลายูเป็นชิ้นๆ ประกอบสะพานเหล็กเป็นช่วงๆ 12 ช่วง ยาวประมาณ 300 ม.
สร้างเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 ใช้เวลาสร้าง 1 เดือน เศษ แล้วรื้อสะพานไม้ออก
และเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ 2486
สะพานแห่งนี้ถูกฝ่ายพันธมิตรโจมตีครั้งแรกเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ครั้งที่ 2 วันที่ 3 2487 ครั้งที่- วันที่ 23 มกราคม พ.ศ..2588 แต่ไม่เสียหายมาก มีครั้งหนึ่งคอสะพานขาด 3 ช่วง คือช่วงที่ 4-6
สะพานถ้ำกระกระแซ
เป็นสะพานทางรถไฟช่วงหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายมรณะเริ่มต้นจาก จ.กาญจนบุรี ไปน้ำตกเขาพัง(ไทรโยคน้อย)เป็นช่วงอันตรายที่สุด เพราะสร้างเลียบเขาสูงชัน ลัดเลาะไปตามโค้งภูเขา ด้านหนึ่งชิดภูเขา ด้านหนึ่งเป็นลำแควน้อย อันเชี่ยวกราก ความสูง และ ความคดเคี้ยว ทำให้ได้ชื่อว่า โค้งมรณะ ลักษณะเป็นสะพานไม้เสริมเหล็กเลีบยเขาเลาะน้ำ ผ่านถ้ำแห่งเดียวในประเทศไทย คนงานล้มตาย เพราะไข้ป่าและอหิวาต์ มีผู้เปรียบเทียบว่า ไม้หมอนรถไฟ 1 ท่อน แลกกับคนงาน 1 ศพ
พระแท่นดงรัง
ขนาด4.90x2.25x90 สัณนิษฐานว่ามีขึ้นสมัยอยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของบริโภคเจดีย์ในประเทศไทย แห่งอื่นๆ ได้แก่ พระแท่นศิลาอาสน์(อ.ทุ่งยั้ง อุตรดิตถ์) พระศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรีและพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น