จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการสัมมนาทางวิชาการเรื่องทิศทางและแนวโน้มของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อชุมชน

หลักการและเหตุผล:
ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการสำคัญซึ่งนำรายได้เข้าสู่ประเทศอันดับต้นๆนานกว่าทศวรรษนับตั้งแต่มีการผลักดันนโยบาย Visit Thailand’s Year เมื่อปีพ.ศ.2530 ถึงกระนั้นก็ตามในทางกลับกัน การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทยก็ทำให้เกิดสภาวการณ์ไหลออกของเงินตราด้วยสัดส่วนที่น่าใจหาย เนื่องจากรสนิยมของคนไทยบางกลุ่ม ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวพักผ่อน หรือการไขว่คว้าโอกาสทางการศึกษาหลายระดับ ทั้งๆที่กว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวตลาดต่างๆให้เดินทางเข้ามาประเทศไทยได้นั้น ต้องใช้กลยุทธ์และการระดมทรัพยากรจำนวนมหาศาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์และสร้างความพรั่งพร้อมทุกอย่างเพื่อการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย

การดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลทำให้การท่องเที่ยวซึ่งแต่เดิมเป็นโอกาสของคนกรุงเทพฯและเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆในบางจังหวัด กลายเป็นโอกาสของคนในชนบทหลายจังหวัดที่เคยเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยว รวมถึงคนในภาคเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบันได้มุ่งความสนใจต่อวิถีชีวิตท้องถิ่นและชุมชน ที่ยังสามารถรักษาภาพความเป็นอยู่ในอดีตอันสงบ สันติ น่ารื่นรมย์และมีการอนุรักษ์สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างไม่ขาดสาย

การท่องเที่ยวเพื่อชุมชน(Community Based Tourism) นอกจากจะเน้นการสัมผัสวิถีชีวิต(Life Style)เรียบง่ายในชนบทแล้ว ยังรวมความถึงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร(Agrotourism) การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ(Health Tourism) โดยเฉพาะในส่วนของการบำบัดและการป้องกันด้วยสมุนไพร บ่งชี้ถึงภูมิปัญญาของชุมชน และการเที่ยวชมอุดหนุนสินค้าแปรรูปทางเกษตรกรรม สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการท่องเที่ยวผจญภัยซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของชุมชนด้วย

การท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน(Sustainable Community- Based Tourism) จึงเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ศิลปะหัตถกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครบวงจร เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างความภาคภูมิใจ สร้างความรักและความหวงแหนทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับวาระแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนที่เน้นการสร้างสรรค์คุณค่าและการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อให้ประเทศไทยมีฐานะเป็นTourism World Class Destination อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์:
มหาวิทยาลัย............มีปรัชญาในสร้างคนดีมีปัญญา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การนำภูมิปัญญาและคุณธรรมออกไปรับใช้สังคม ชุมชนและประเทศชาติ ความสำคัญของการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน เป็นพื้นฐานแห่งการสร้างความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรมให้แก่สังคมโดยองค์รวม การเผยแพร่ข้อมูลความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและการตอบรับทางวิชาการอย่างเหมาะสมจากมวลชนในวงกว้าง

สิ่งสำคัญที่สุดคือกิจกรรมข้างต้นเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ(ท่องเที่ยว)และสาขาธุรกิจโรงแรมได้เรียนรู้ทักษะและประสบการณ์หลากหลายจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานแห่งบูรณาการทางการศึกษาแก่สังคมในคราวเดียวกัน

วิธีการสัมมนา:
อภิปราย ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น บรรยายประกอบ วิดีทัศน์ แผ่นใส สไลด์และVisualize System Presentation

กำหนดการสัมมนา:
วันจันทร์ที่18 กุมภาพันธ์ 2545 เวลา 13.00-17.30น.

สถานที่จัดการสัมมนา:
ห้องประชุมชั้น 8 อาคารเฉลิมพระชนม์พรรษา 72 ปี (อาคาร15ชั้น) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

วิทยากร:
- นักวิชาการจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 202 อาคารเลอคองคอร์ด รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กทม.10310 โทร.6941222 Fax6941443 6941446
หัวข้อ: โฮม สเตย์(Home Stay)วันนี้กับการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน
- คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร นายกสมาคมไทยธุรกิจการเที่ยว (Association of Thai Travel Agents ATTA)กรรมการผู้จัดการบริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด 133/19-20 ถ.ราชปรารภ มักกะสัน ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 2465659 Fax 2465658 2488420
หัวข้อ: โอกาสและแนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวกับความตระหนักถึงชุมชนและทรัพยากรท่องเที่ยว
- คุณดวงกมล จันทร์สุริยวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอีโคไลฟ์ จำกัด โทร.5672039 Fax 9584305
หัวข้อ: ทัวร์วัฒนธรรมกับการสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและภูมิปัญญาไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- คุณรพีพัฒน์ เกษโกศล นักวิชาการจากศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เลขที่ 17/1 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม.10200 โทร2257612-4 Fax2257616
หัวข้อ: มรดกวัฒนธรรมชุมชนเกาะรัตนโกสินทร์กับการจัดเส้นทางการท่องเที่ยว
ผู้ดำเนินรายการ
- อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่น เขตหลักสี่ กทม. 10210

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา:
นักศึกษา คณาจารย์และผู้สนใจทั่วไปประมาณ 200 คน(ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
กิจกรรมทางวิชาการนี้ทำให้สังคมและผู้เกี่ยวข้องรับรู้ถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ทางวิชาการที่มุ่งเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์จากนักธุรกิจผู้มีชื่อเสียงและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการนำเสนอผลงานของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทิศทางและแนวโน้มของการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนในประเทศไทย เพื่อให้เกิดทัศนคติและการเตรียมพร้อมในการตอบรับและการจัดการด้านธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ มัคคุเทศก์ ชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและนักศึกษาที่กำลังเรียนในสาขาวิชาข้างต้น

งบประมาณ: บาท
ประมาณการค่าใช้จ่าย:
-ค่าตอบแทนวิทยากร บาท
-ค่าจัดทำเอกสาร บาท
-ค่าฟิล์ม อัด ล้าง ขยาย บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำนิทรรศการผลงานของนักศึกษา บาท
-ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด บาท

กำหนดการสัมมนา
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545

12.30–13.00 ลงทะเบียน
13.00-13.10 คณบดีคณะวิทยาการจัดการกล่าวเปิดการสัมมนา
13.10-13.30 ผู้ดำเนินรายการกล่าวแนะนำวิทยากร
13.30-14.00 โฮมสเตย์วันนี้กับการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน(รอบแรก)
14.05-1435 โอกาสและแนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวกับความตระหนักชุมชน
และทรัพยากรท่องเที่ยว(รอบแรก)
14.40-15.10 ทัวร์วัฒนธรรมกับการสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและภูมิปัญญาไทย
ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รอบแรก)
15.15-15.45 มรดกวัฒนธรรมชุมชนเกาะรัตนโกสินทร์กับการจัดเส้นทาง
ท่องเที่ยว(รอบแรก)
15.45-16.00 พักSolf Drink
16.00-17.00 อภิปรายรอบที่สอง
17.00-17.30 ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สรุป
คณบดีกล่าวปิดการสัมมนา
มอบของที่ระลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น