จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงการสัมมนาทางวิชาการเรื่องทิศทางและแนวโน้มของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อชุมชน

หลักการและเหตุผล:
ธุรกิจท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการสำคัญซึ่งนำรายได้เข้าสู่ประเทศอันดับต้นๆนานกว่าทศวรรษนับตั้งแต่มีการผลักดันนโยบาย Visit Thailand’s Year เมื่อปีพ.ศ.2530 ถึงกระนั้นก็ตามในทางกลับกัน การเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศของคนไทยก็ทำให้เกิดสภาวการณ์ไหลออกของเงินตราด้วยสัดส่วนที่น่าใจหาย เนื่องจากรสนิยมของคนไทยบางกลุ่ม ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวพักผ่อน หรือการไขว่คว้าโอกาสทางการศึกษาหลายระดับ ทั้งๆที่กว่าจะสามารถดึงนักท่องเที่ยวตลาดต่างๆให้เดินทางเข้ามาประเทศไทยได้นั้น ต้องใช้กลยุทธ์และการระดมทรัพยากรจำนวนมหาศาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการตลาด เพื่อสร้างภาพลักษณ์และสร้างความพรั่งพร้อมทุกอย่างเพื่อการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย

การดำเนินงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ส่งผลทำให้การท่องเที่ยวซึ่งแต่เดิมเป็นโอกาสของคนกรุงเทพฯและเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆในบางจังหวัด กลายเป็นโอกาสของคนในชนบทหลายจังหวัดที่เคยเป็นทางผ่านของนักท่องเที่ยว รวมถึงคนในภาคเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวในปัจจุบันได้มุ่งความสนใจต่อวิถีชีวิตท้องถิ่นและชุมชน ที่ยังสามารถรักษาภาพความเป็นอยู่ในอดีตอันสงบ สันติ น่ารื่นรมย์และมีการอนุรักษ์สืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างไม่ขาดสาย

การท่องเที่ยวเพื่อชุมชน(Community Based Tourism) นอกจากจะเน้นการสัมผัสวิถีชีวิต(Life Style)เรียบง่ายในชนบทแล้ว ยังรวมความถึงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร(Agrotourism) การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ(Health Tourism) โดยเฉพาะในส่วนของการบำบัดและการป้องกันด้วยสมุนไพร บ่งชี้ถึงภูมิปัญญาของชุมชน และการเที่ยวชมอุดหนุนสินค้าแปรรูปทางเกษตรกรรม สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และการท่องเที่ยวผจญภัยซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการของชุมชนด้วย

การท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน(Sustainable Community- Based Tourism) จึงเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม ศิลปะหัตถกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ครบวงจร เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างงาน สร้างความภาคภูมิใจ สร้างความรักและความหวงแหนทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับวาระแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนที่เน้นการสร้างสรรค์คุณค่าและการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อให้ประเทศไทยมีฐานะเป็นTourism World Class Destination อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์:
มหาวิทยาลัย............มีปรัชญาในสร้างคนดีมีปัญญา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การนำภูมิปัญญาและคุณธรรมออกไปรับใช้สังคม ชุมชนและประเทศชาติ ความสำคัญของการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน เป็นพื้นฐานแห่งการสร้างความแข็งแกร่งทางวัฒนธรรมให้แก่สังคมโดยองค์รวม การเผยแพร่ข้อมูลความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและการตอบรับทางวิชาการอย่างเหมาะสมจากมวลชนในวงกว้าง

สิ่งสำคัญที่สุดคือกิจกรรมข้างต้นเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ(ท่องเที่ยว)และสาขาธุรกิจโรงแรมได้เรียนรู้ทักษะและประสบการณ์หลากหลายจากนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานแห่งบูรณาการทางการศึกษาแก่สังคมในคราวเดียวกัน

วิธีการสัมมนา:
อภิปราย ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น บรรยายประกอบ วิดีทัศน์ แผ่นใส สไลด์และVisualize System Presentation

กำหนดการสัมมนา:
วันจันทร์ที่18 กุมภาพันธ์ 2545 เวลา 13.00-17.30น.

สถานที่จัดการสัมมนา:
ห้องประชุมชั้น 8 อาคารเฉลิมพระชนม์พรรษา 72 ปี (อาคาร15ชั้น) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

วิทยากร:
- นักวิชาการจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 202 อาคารเลอคองคอร์ด รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กทม.10310 โทร.6941222 Fax6941443 6941446
หัวข้อ: โฮม สเตย์(Home Stay)วันนี้กับการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน
- คุณศุภฤกษ์ ศูรางกูร นายกสมาคมไทยธุรกิจการเที่ยว (Association of Thai Travel Agents ATTA)กรรมการผู้จัดการบริษัท หนุ่มสาวทัวร์ จำกัด 133/19-20 ถ.ราชปรารภ มักกะสัน ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 2465659 Fax 2465658 2488420
หัวข้อ: โอกาสและแนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวกับความตระหนักถึงชุมชนและทรัพยากรท่องเที่ยว
- คุณดวงกมล จันทร์สุริยวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอีโคไลฟ์ จำกัด โทร.5672039 Fax 9584305
หัวข้อ: ทัวร์วัฒนธรรมกับการสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและภูมิปัญญาไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- คุณรพีพัฒน์ เกษโกศล นักวิชาการจากศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เลขที่ 17/1 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม.10200 โทร2257612-4 Fax2257616
หัวข้อ: มรดกวัฒนธรรมชุมชนเกาะรัตนโกสินทร์กับการจัดเส้นทางการท่องเที่ยว
ผู้ดำเนินรายการ
- อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่น เขตหลักสี่ กทม. 10210

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา:
นักศึกษา คณาจารย์และผู้สนใจทั่วไปประมาณ 200 คน(ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
กิจกรรมทางวิชาการนี้ทำให้สังคมและผู้เกี่ยวข้องรับรู้ถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ทางวิชาการที่มุ่งเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์จากนักธุรกิจผู้มีชื่อเสียงและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการนำเสนอผลงานของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทิศทางและแนวโน้มของการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนในประเทศไทย เพื่อให้เกิดทัศนคติและการเตรียมพร้อมในการตอบรับและการจัดการด้านธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ มัคคุเทศก์ ชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวและนักศึกษาที่กำลังเรียนในสาขาวิชาข้างต้น

งบประมาณ: บาท
ประมาณการค่าใช้จ่าย:
-ค่าตอบแทนวิทยากร บาท
-ค่าจัดทำเอกสาร บาท
-ค่าฟิล์ม อัด ล้าง ขยาย บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำนิทรรศการผลงานของนักศึกษา บาท
-ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด บาท

กำหนดการสัมมนา
วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545

12.30–13.00 ลงทะเบียน
13.00-13.10 คณบดีคณะวิทยาการจัดการกล่าวเปิดการสัมมนา
13.10-13.30 ผู้ดำเนินรายการกล่าวแนะนำวิทยากร
13.30-14.00 โฮมสเตย์วันนี้กับการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน(รอบแรก)
14.05-1435 โอกาสและแนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวกับความตระหนักชุมชน
และทรัพยากรท่องเที่ยว(รอบแรก)
14.40-15.10 ทัวร์วัฒนธรรมกับการสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนและภูมิปัญญาไทย
ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รอบแรก)
15.15-15.45 มรดกวัฒนธรรมชุมชนเกาะรัตนโกสินทร์กับการจัดเส้นทาง
ท่องเที่ยว(รอบแรก)
15.45-16.00 พักSolf Drink
16.00-17.00 อภิปรายรอบที่สอง
17.00-17.30 ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สรุป
คณบดีกล่าวปิดการสัมมนา
มอบของที่ระลึก

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Responsible Ecological Social Tours

ขอขอบคุณข้อมูลจากพจนา สวนศรี ผู้ประสานงานโครงการ

แนะนำโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ
โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ก่อกำเนิดขึ้นในปี 2537 เป็นโครงการการท่องเที่ยว Home Stay บริเวณ สถานที่ของบ้านปราสาท หมู่ที่ 7 ต.ธารประสาทห่างจากตัวเมือง 45 กิโลกรัม จ.นครราชสีมา ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ต่อมาในปี 2544 ได้แยกโครงการออกมาดำเนินงานโดยอิสระ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจของคนสังคมในเรื่องวัฒนธรรมชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น

และการอนุรักษ์ทรัพยากรของชาวบ้าน ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยการพักอาศัยร่วมชายคอ เข้าร่วมกิจกรรมในวิถีปกติของชาวบ้านรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ ลักษณะของท้องถิ่น มีชาวบ้านเป็นผู้พาเที่ยว

การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามจุดเป้าหมายดังกล่าวโครงการฯ เห็นความสำคัญในการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมชุมชนให้เกิดสำนึกของท้องถิ่น เชื่อมโยงกิจกรรมท่องเที่ยวเข้าเป็นส่วนหนึ่ของกระบวนการพัฒนาชุมชนโดยรวม ในส่วนของนักท่องเที่ยว เอกทางโครงการฯ ถือเป็นภาระกิจหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจและให้ข้อมูลถึงการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่นักท่องเที่ยวในฐานะผู้ไปเยือนต้องเคารพวัฒนธรรมและกติกาของท้องถิ่นเช่นกันกิจกรรมของโครงการ
1. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว โดยให้การท่องเที่ยวตอบสนองการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และเชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความหมายของ CBST (หรือ เรียกอีกนัยว่า Home stay)
การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง หรือ Community Based Sustainable Tourism (CBST) แตกต่างจาก Ecotourism ตรงที่ CBST เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นคนกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว และอยู่ในบทบาทเจ้าของกิจกรรมการท่องเที่ยวไม่ใช่เพียงผู้ให้ความร่วมมือ เช่น สามารถกำหนดการเปิดรับการท่องเที่ยวได้เมื่อชุมชนมีความพร้อม และสามารถปฏิเสธได้เมื่อชุมชนไม่ต้องการ ซึ่งสามารถให้คำนิยามได้ว่า หมายถึง การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและสังคม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน โดยที่ชุมชนมีบทบาทในการเป็นเจ้าของและมีสิทธิในการจัดการดูและเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยี่ยมเยือนรูปแบบการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวชุมชน (Community based)
1. การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาในชุมชน การท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และวัฒนธรรมของชุมชน ในขณะเดียวกันการท่องเที่ยวก็สามารถสร้างสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ระหว่างคนต่างวัฒนธรรม ก่อเกิดมิตรภาพและความเข้าใจของคนในสังคมพักกับชาวบ้าน (Home Stay)นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนสนใจเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน การพักร่วมชายคาเดียวกับชาวบ้าน ถือเป็นโอกาสอันดีที่เขาเหล่านั้นจะได้สัมผัสชีวิตที่แท้จริงของชาวบ้านในชุมชน เสมือนหนึ่งเป็นลูกหลานและสมาชิกหนึ่งในครอบครัวรับประทานอาหารท้องถิ่น (Meals)นักท่องเที่ยวจะได้รับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งอาหารบางอย่างสามารถบอกได้ถึงภูมิปัญหาในการรักษาสุขภาพ วัฒนธรรมการกิน และอาหารที่ปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล นอกจากนี้ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ยังสัมพันธ์กับบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชาวบ้านในชุมชนอีกด้วยร่วมกิจกรรมในวิถีชีวิตชาวบ้าน (Activities)นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การออกไปหาปลากับชาวบ้าน ไปเก็บผลไม้ หรือเกี่ยวข้าว ได้เห็นการทอผ้าไว้ใช้ การดูแลรักษาสุขภาพโดยใช้สมุนไพร การเรียนทำอาหารกับชาวบ้านหรือครอบครัวที่พัก รวมทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมก็สามารถทำได้ซึ่งโดยปกติคืนสุดท้ายของการพักในหมู่บ้าน ชาวบ้านจะจัดเวทีพูดคุยกับนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว
การให้บริการงานฝึกอบรมจากประสบการณ์ทำงานอย่างต่อเนื่อง
โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ได้พัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานกับชาวบ้านด้านการท่องเที่ยว โดยชุมชนจนสามารถเป็นวิทยากร ให้คำปรึกษา และจัดหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับชุมชนที่สนใจ หน่วยงานรัฐบาลและเอกชนที่สนใจงานด้านนี้ซึ่งมีทั้งการฝึกอบรมในห้องเรียน และการฝึกอบรมภาคสนามบริการด้านการฝึกอบรมการให้บริการด้านการฝึกอบรมของโครงการ มีทั้งการให้บริการในการเป็นที่ปรึกษาและการจัดฝึกอบรม
ปี 2540 เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน 3 แห่งในภาคเหนือเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน
ปี 2543 จัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่จากกองสงเคราะห์ชาวเขา จำนวน 33 ศูนย์ 13 จังหวัดเรื่องการเตรียมความพร้อมชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว
ปี 2544 จัดฝึกอบรมให้กับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเรื่องการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตัวอย่างหัวข้อการฝึกอบรม
* แนวคิดเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชน
* การศึกษาความเป็นไปได้ของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
* การวางแผนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
* การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
* ทักษะที่สำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น การสื่อความหมายทางธรรมชาติและวัฒนธรรม, การจัดการองค์กร, การตลาด, การติดตามและการประเมินผล
ประสบการณ์การทำงานฝึกอบรมที่ผ่านมา
นอกจากประสบการณ์การทำงานเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว เจ้าหน้าที่ของโครงการเคยมีประสบการณ์ในการให้บริการงานฝึกอบรมกับกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เช่น การจัดฝึกอบรมให้กับอาสาสมัครต่างประเทศ ที่จะเข้ามาเป็นอาสาสมัครทำงานประเทศไทยได้เข้าใจวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย แลการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัมนาทรัพยากรมนุษย์
“Village Stay programme” 2 weeks programmeCUSO/Canada and VSO/UK Volunteer 1994-2000
“Village Stay programme” 1 weeks programmeJOCV/Japan Volunteer 1998-2001
“Village Stay programme” 2 weeks programmeKOV/Korea Volunteer 2000-2001
“Training of Local Tour Guides and Tour Guide Volunteers” 1997
“Improvement of the Thai Vocational Guidance System” 3 days programmeDepartment of Employment under the Ministry of Labour and Social Welfare, 1997
“ZOPP on the Establishment of Public Enterprise for Occupational Safety and Health Service” 2 days programmeNational Institute for Improvement of Working Conditions and Environment (NICE),1997
“TOT on SERVICE Culture Training”For staffs Bank for Agriculture and Agricultural Co-operative, 1997-2001
“Principle of Participation in the Operation of Trade Union” 3 days programme Women Labour Union Group, 1997
“Participatory Rural Appraisal and planningFor 6 villages for PLAN International Thailand, 1998“RRA”Urban Development Institute, 1998
“Project Development”Save the Children – Khon Kaen Province, 1998
“Training on Community Based Tourism” March – June 2000For staffs of Hill Tribe Development Center, Social Welfare Department, Ministry of Interior in 13 provinces
การจัดการศึกษาดูงานจากทักษะเรื่องการทำงานในพื้นที่
ประสบการณ์งานฝึกอบรมและการมีเครือข่ายงานพัฒนากับองค์กรพัฒนาเอกชน โครงการฯ สามารถจัดการศึกษา
– ดูงานที่ผสมผสานระหว่างการเรียนรู้จากพื้นที่ การแลกเปลี่ยนกับคนทำงานและนักวิชาการ สู่การถกเถียงและเปลี่ยนที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานของผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้ศึกษา
-ดูงานภูมิหลังของเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาโครงการ คือบุคคลที่ทำงานพัฒนาสังคมมากว่า 15 ปี มีเครือข่ายการทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดการศึกษา
– ดูงานและการฝึกอบรม เป็นการผสานของการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการทำงาน โดยที่ใช้ความต้องการของผู้เข้าร่วมเป็นศูนย์กลางประเด็นที่มักจะได้รับความไว้วางใจให้จัดการศึกษา
– ดูงานส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ผลกระทบทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากโครงการขนาดใหญ่ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการทำงานเครือข่าย เป็นต้นตัวอย่างการจัดการศึกษา
– ดูงาน“Global Ecology Study-1” 27 days programmeInternational Honor programme (IHP) in cooperation with bard college, MA, USABangkok, Krabi, Pangnga, Songkhra in 1995
“Global Ecology Study-2” 41 days programmeInternational Honor programme (IHP) in cooperation with bard college, MA, USABangkok, Surat Thani, Pangnga in 1997
“The Cooperation on Various Groups for Sustainable Development” 3 days programmeBangladesh Government OfficialsPangnga in 1995
“Participatory Development of Community Forestry Management” 22 days programmeDoon watershed mangement Project supported by UNDP IndiaChainat, Chiang Mai in 1996
“Participatory Natural Resource Management by Grassroots Organization Thailand” 8 days programmeJapan Environment Cooperation (JEC) and Japanese NGOs Center for International Cooperation (JANIC)In 1996
“Participatory Natural Resource Management by Grassroots Organization, Thailand and Laos PDR” 18 days programmeJapan Environment Cooperation (JEC) and Japanese NGOs Center for International Cooperation (JANIC)In 1998
“Capacity of Community Organization on the Community Business” 6 days programmeFor the lacal leader from Walailak Community in cooperation with Walailak UniversityIn 1997
“Providing Business Consultancy Services to the Community Business” 3 day programmeThe Business Group for Thai Society with the support by The Asia Foundation, ThailandIn 1998“Mekong Development and advocacy” 8 days programmeOxfarm HongKongIn 1998
“Asian Meltdown, Human Crisis : Global Lessons for Sustainable Recovery” 6 days programmeIN COMMON Canadian Civil Society and Parliamentary Mission to Southeast Asia in cooperation with Canadian Council for International Co-operation (CCIC), Cassnada in 1998
“Shrimp Farming : Impacts on Environment and Local People” 6 days programme The Particpatory Action Research in cooperation with Pacific Asia Resources Center (PARC), Japan in 1998
นโยบายของโครงการ
1. สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว
2. สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยน-เรียนรู้ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน
3. เคารพวัฒนธรรมและกติกาของท้องถิ่น
4. สนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน
5. คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวลักษณะการท่องเที่ยวของโครงการก่อนจะเกิดโปรแกรมการท่องเที่ยว ทางโครงการฯ ได้ร่วมวางแผนกับชุมชนถึงขีดความสามารถในการรองรับ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม และจำนวนครั้งต่อเดือนหรือต่อปี เพื่อไม่ให้กิจกรรมการท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน และขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนใช้ประโยชน์แม้ว่าการท่องเที่ยวจะให้บทบาทของชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก แต่โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติยังคงต้องทำบทบาทพี่เลี้ยงชุมชนและเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างนักท่องเที่ยวกับชาวบ้าน หากเปรียบชาวบ้านเป็นมัคคุเทศก์ที่สื่อความหมายทางธรรมชาติและวัฒนธรรม มัคคุเทศก์ของโครงการก็คือผู้สื่อความหมายทางสังคม ในการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือนการทำงานกับชุมชนและนักท่องเที่ยว ท้ายที่สุดแล้วคือการศึกษาหาองค์ความรู้เรื่องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวและการศึกษาการตลาดที่เหมาะสม รวมทั้งพฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวที่สนใจรูปแบบการท่องเที่ยวดำเนินการโดยชุมชนซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนางานด้านนี้ต่อไป
หมายเหตุ
1. จำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละครั้งไม่เกิน 15 คน
2. ทางโครงการฯ จะจัดกิจกรรมท่องเที่ยวต่อเมื่อมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 6 คน
3. ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์
4. ในบางโปรแกรมเริ่มและสิ้นสุดการท่องเที่ยวที่จังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของแต่ละภูมิภาคทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกพาหนะในการเดินทางเอง และไม่จำเป็นที่ต้องใช้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางเสมอไป ซึ่งทางโครงการฯ สามารถจัดการเรื่องตั๋วเดินทางให้หากนักท่องเที่ยวไม่สะดวกในการจัดการการเดินทางเอง
กิจกรรมท่องเที่ยวที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน
เทศกาลออกพรรษา ที่ จ.แม่ฮ่องสอน 29 กันยายน – 3 ตุลาคม 2544
เทศกาลลอยกระทง ที่ จ.สมุทรสงคราม 30-31 ตุลาคม 2544
เทศกาลสงกรานต์ ที่แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 13-16 เมษายน 2545
กิจกรรมการท่องเที่ยวปกติสัมผัสชีวิตความผูกพันระหว่างชุมชนกับสายน้ำ2 วัน 1 คืน ที่ จ.สมุทรสงคราม17-18 พฤศจิกายน 2544, 19-20 มกราคม และ 16-17 มีนาคม 2545
สัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพึ่งพาธรรมชาติของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง3 วัน 2 คืน ที่ จ. แม่ฮ่องสอน20-22 พฤศจิกายน 2544, 26-28 มกราคม และ 23-25 มีนาคม 2545(เริ่มต้นและสิ้นสุดการเดินทางที่ จ. เชียงใหม่)
สัญจรสู่วิถีล้านนาที่หล่อเลี้ยงและหล่อหลอมด้วยศรัทธาแห่งพุทธศาสนา3 วัน 2 คืน ที่ จ.เชียงใหม่11-13 ตุลาคม 2544, 8-10 ธันวาคม 2544, 22-24 มกราคม และ 19-21 มีนาคม 2545
สัมผัสฟ้าสวย….ทะเลใส และออกหาปลากับชาวประมงพื้นบ้าน3 วัน 2 คืน ที่ จ.พังงา6-8 พฤศจิกายน, 7-9 ธันวาคม 2544, 25-27 มกราคม, 16-18 กุมภาพันธ์, 23-25 มีนาคม และ 18-20 เมษายน 2545 (เริ่มต้นและสิ้นสุดการเดินทางที่ จ. ภูเก็ต)
เรียนรู้ชีวิตคนทำสวนผสมผสานและการพึ่งพาตนเองของชาวบ้านปราสาทใต้5 วัน 4 คืน ที่ จ. นครราชสีมา1-5 พฤศจิกายน 2544, 21-25 มกราคม และ 18-22 มีนาคม 2545(เริ่มต้นและสิ้นสุดการเดินทางที่ กทม.)
แง่คิดสรุป…มุมมองของคนทำงาน
พจนา สวนศรีผู้ประสานงานโครงการ

“ช่างฝันเกินไป…ไม่มีใครเขาอยากซื้อทัวร์เพื่อมาลำบากหรอก”แรกเมื่อฉันเริ่มคิดทำเรื่องท่องเที่ยวโดยชุมชน มีหลายเสียงท้วงติงไม่เห็นด้วยเรื่องรูปแบบการท่องเที่ยวที่เน้นการท่องเที่ยวในหมู่บ้านพัก บ้านชาวบ้าน กินอาหารแบบที่ชาวบ้านกิน และออกไปไร่ ไปนา หาปลากับชาวบ้านบางคนนิยามทัวร์ที่ฉันทำว่า “ทรมานทัวร์”
อย่างไรก็ดี ฉันได้ทำงานท่องเที่ยวในแบบที่ฉันคิดและหวังมาย่างเข้าปีที่ 8 แล้ว“ทัวร์แบบนี้กำลังนำหายนะเข้าสู่หมู่บ้าน ทำให้ความเป็นส่วนตัวของชาวบ้านถูกรุกราน จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยว” เสียงเตือนของมิตรที่คิดจะเก็บรักษาหมู่บ้านไว้ให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด“ตราบใดที่เรายังคุมนักท่องเที่ยวไม่ได้ ก็ไม่ควรให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเพ่นพล่านในบ้านเรา”เป็นอีกเสียงหนึ่งที่ทัดทานไม่ให้ฉันเดินหน้าประชาสัมพันธ์เรื่องการท่องเที่ยวในแบบที่ทำอยู่
อย่างไรก็ตาม สองสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้ฉันเดินหน้าเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนั่นเองชาวบ้านที่ฉันทำงานด้วย เขาเหล่านั้นมีความสุข สนุกกับกิจกรรมที่ทำ มองเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่ทำมากกว่าเงินตราแม้ว่าจะมีเรื่องรายได้เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ได้ทำให้น้ำใจชาวบ้านตามวิถีแบบไทยเปลี่ยนแปลงไปนักท่องเที่ยวที่เลือกจะเข้ามาเที่ยวในรูปแบบที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในแบบที่ชาวบ้านเป็น แม้ว่าจะมีจำนวนน้อย แต่ว่าแต่ละคนที่มาล้วนพกพาความอยากรู้ อยากเห็นอย่างอ่อนน้อมและเคารพวัฒนธรรมท้องถิ่น นักท่องเที่ยวเรียนรู้จากชาวบ้านในทางกลับกัน ชาวบ้านก็ได้เรียนรู้แง่คิดมุมมองจากนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
ภูมิคุ้มกัน !!!
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเปิดหมู่บ้านให้แขกแปลกหน้าเข้ามา ยิ่งในวัฒนธรรมไทยที่ให้ความสำคัญกับคำว่า “คนที่มีหัวนอนปลายเท้า” กล่าวคือ รู้ว่าคนเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร“ทำไมชาวบ้านจึงต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในหมู่บ้าน?”หลายคนอาจเดาว่าชาวบ้านต้องการรายได้เป็นแรงจูงใจในการงานที่ทำฉันกลับพบว่ารายได้เป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการเป็นลำดับท้าย ๆ สิ่งที่ชาวบ้านแข่งขันมานั่งคุยกันเพื่อสร้างองค์กรในการจัดการท่องเที่ยว คือความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนที่เกาะยาว ชาวบ้านต้องการเผยแพร่เรื่องราวการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งของชาวบ้านคีรีวง ชาวบ้านภาคภูมิใจในการเป็นชุมชนพึ่งตนเองแม่ฮ่องสอน ชาวกระเหรี่ยงมีชีวิตที่ผูกพันกับป่ามาช้านาน มีภูมิปัญหาในการดูแลรักษาป่า และดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายพึ่งพาธรรมชาติแม่แจ่ม ชาวบ้านยังคงสืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้อย่างมั่นคง โดยมี “ศรัทธาต่อพุทธศาสนา” เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนแม่กลอง ชุมชนริมคลองที่มีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของธัญญาหารทั้งพืชผัก ผลไม้ และอาหารทะเล รวมทั้งการสืบทอดวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น หุ่นกระบอกและดนตรีไทยสู่เยาวชนคนรุ่นหลังต้องเตรียมความพร้อมชุมชน !!!แม้ว่าชุมชนจะมีของดีอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของตน แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวเข้ามาสอดรับกับความต้องการของชาวบ้าน ให้การท่องเที่ยวสร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน ผู้อาวุโสถ่ายทอดความรู้สู้คนรุ่นใหม่ ผู้หญิงทำอาหารเตรียมบ้านพัก ผู้ชายต้อนรับพาเที่ยวหมู่บ้าน การกระจายบทบาทการทำงาน จัดสรรปันส่วนรายได้อย่างเป็นธรรมสร้างกองทุนกลางในการพัฒนาหมู่บ้าน แม้ชาวบ้านทุกครัวเรือนในชุมชนจะไม่ได้ทำกิจกรรมท่องเที่ยวแต่ก็ต้องสร้างให้เขารู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมนี้และได้ประโยชนจากการท่องเที่ยวเช่นเดียวกันซึ่งเป็นบทบาทของโครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติที่ฉันทำงานอยู่ เราไม่ได้ทำเพียงแค่การประชาสัมพันธ์ให้คนมาท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกันเรากลับรู้สึกว่าเป็นภาระความรับผิดชอบของโครงการฯ ที่ต้องทำงานร่วมกับชาวบ้านทั้งก่อนมีการท่องเที่ยว ระหว่างดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยว และเมื่อกิจกรรมการท่องเที่ยวสิ้นสุดลงสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว !!! เป็นอีกภาระหนึ่งที่สำคัญเพราะการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ของการท่องเที่ยว ที่เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการบริการ อีกทั้งนักท่องเที่ยวเองก็ต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมและเคารพวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ไปเยือน จึงมีหลายเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวก่อนการตัดสินใจและลงไปในชุมชนบางคนบอกว่าฉันสร้างกฎเหล็กที่ฝืนธรรมชาติของการท่องเที่ยวฉันคิดว่า…หากเราคาดหวังให้การท่องเที่ยวยั่งยืน เราก็ต้องสร้างกติกา ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยวใหม่ งานท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ เกิดและเติบโตท่ามกลางการทำงานทั้งสองด้าน คือด้านที่ทำงานกับชุมชน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว และด้านที่ทำเรื่องการประชาสัมพันธ์-การตลาด เพื่อให้คนสนใจการท่องเที่ยวรูปแบบนี้ให้มากขึ้นหลายครั้งฉันถูกตั้งคำถามว่า “จะทำธุรกิจหรือทำงานพัฒนา?”เหมือนกับถูกบังคับว่าต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่ฉันก็เชื่อเสมอว่าธุรกิจและการพัฒนาไปด้วยกันได้ หากธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจเพื่อสังคมกำไรสูงสุดมิใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตนอย่างเดียว แต่แบ่งปันให้กับสังคมอย่างเป็นธรรมฉันคงมีความสุขมากถ้างานท่องเที่ยวโดยชุมชนสามารถเป็นธุรกิจเพื่อสังคมได้ทุกวันนี้เรายังต้องเขียนโครงการหาเงินมาทำงานกับชุมชนเพราะการทำงานเรื่องนี้ต้องการการลงทุนทางสังคม นั่นคือการเตรียมความพร้อมชุมชนไม่เร่งรัดชุมชนให้เข้าสู่การท่องเที่ยวโดยที่ชุมชนยังไม่มีความพร้อมโครงการของเราดำเนินงานธุรกิจที่ขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องหวังว่าเราจะได้เพื่อนที่เข้าใจ เงินที่นักท่องเที่ยวจ่ายบอกตามตรงว่าเราได้กำไรประมาณ 30% เป็นกำไรที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ คนทำงานที่นี่มีทั้งอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ประจำ ที่มีเงินเดือนเพียงพอต่อการดำรงชีพ เราไม่ได้หวังความร่ำรวยจากการทำงานนี้ เราเพียงแต่ต้องการหาคำตอบว่า การท่องเที่ยวเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้หรือไม่ โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวคุณคือคนที่ฉันกำลังค้นหาอยู่หรือเปล่าร่วมเป็นหนึ่งในนักท่องเที่ยวที่ต้องการบอกกับสังคมว่า นักท่องเที่ยวที่ดีก็มีและนี่คือการท่องเที่ยวที่คุณแสวงหามานาน โดยการไปเที่ยวกับโครงการของเราดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กิจกรรม Home Stay เป็นเรื่องละเอียดละอ่อน มีผลกระทบอยู่ทั้งด้านบวก และด้านลบรวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ผู้ประสงค์จะดำเนินการต้องคำนึงถึงเป็นเบื้องต้นผลกระทบในเชิงบวก- ก่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู้ท้องถิ่น- เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมของชุมชน- นักท่องเที่ยวมีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน อันจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ หวงแหนและภูมิใจในวัฒนธรรมผลกระทบในเชิงลบ- วัฒนธรรมชุมชนมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ง่ายหากชุมชนไม่เข้มแข็ง- ชุมชนจะมุ่งหวังรายได้ อันจะก่อให้เกิดการประกอบ การด้านที่พักในเชิงธุรกิจ- เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนเกินขอบเขตวิถีชีวิต ความเป็นอยุ่และวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อมุ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว- ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบทหรือ Home Stay ยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการรองรับ

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดกระทงประเภทสวยงามประจำปี2553

รายงาน

โดย เกษม พุทธา
นักศึกษาชั้นปีที่3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
รองประธานชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


กระทงรางวัลชนะเลิศประเภทสวยงามประจำปี2553

เกษม พุทธาและพี่เอ๊ด อนุพงศ์

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดกิจกรรมวันลอยกระทงประจำปีพ.ศ.2553 และมีการประกวดกระทงชิงรางวัลกระทงประเภท สวยงาม กระทงประเภทสร้างสรรค์ และประกวดนางนพมาศ ปรากฏว่า ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชมชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการส่งกระทงประเภทสวยงามเข้าร่วมกิจกรรม

เกษม พุทธา กับนางนพมาศของชมรม(นักศึกษาคณะการบัญชีปีที่4
ชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน เคยมีประสบการณ์ในการส่งกระทงเข้าประกวดมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปีพ.ศ.2552 ในการประกวดครั้งนี้ จึงได้เรียกประชุมคณะกรรมการชมรมที่ห้อง study room เวลา17.30 น ของวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 และได้ลงมติส่งนางนพมาศ 2 คนและกระทงเข้าประกวดทั้งสองประเภท โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 3,000 บาท(ล่วงหน้า)จากอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม(อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร) ในการประดิษฐ์กระทงปีนี้ ชมรมฯ ได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีปรึกษาจากพี่เอ๊ด(อนุพงศ์ ทิพวรรณ) บัณฑิต จากภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมผู้มีประสบการณ์ด้านการจัดดอกไม้มาอย่างโชกโชน

อนุพงศ์ ทิพวรรณ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

(ร่าง)โครงการบริษัททัวร์ต้นแบบ revised 26 Oct 2010

http://dpuholiday.yolasite.com/
(ร่าง)โครงการบริษัททัวร์ต้นแบบ revised 26 Oct 2010
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
1.รหัสโครงการ :……………………………..

2.ชื่อโครงการ
บริษัททัวร์ต้นแบบ (Proto-type Tour Company ดีพียู ฮอลิเดย์ จำกัด - DPU Holidays Co. Ltd.)

3.ความสอดคล้องกับแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
3.1 ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา /
3.2 ยุทธศาสตร์การวิจัยและบริการวิชาการ
3.3 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร /
3.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาจารย์ /
3.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนานักศึกษา /
3.6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาคารและสถานที่
3.7 ยุทธศาสตร์การส่งเสริม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม /

4.หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาศิลปะศาสตร-บัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมมาตั้งแต่พ.ศ.2530 รวมเป็นระยะเวลา 23 ปี ปัจจุบันผลิตบัณฑิตไปแล้ว 18 รุ่น ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมมีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อปีการศึกษา2545, 2547 และ 2550 ตามลำดับ มีอาจารย์ประจำสังกัดภาควิชารวม 18 คน และอาจารย์ผู้สอนในหมวดวิชาภาษาต่างประเทศเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรมรวม 18 คน

ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมมีปณิธานในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรมสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภายใต้วิสัยทัศน์เพื่อเน้นการเป็นผู้นำในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรมด้วยจุดเด่นในหลักสูตร คือ เน้นการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ปลูกฝังความตระหนักรู้ในวิชาชีพทั้งด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่สอง ได้แก่ ภาษาจีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถทางด้านภาษาซึ่งเป็นความต้องการอันดับต้นของธุรกิจท่องเที่ยว การถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการและทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ การสอนระบบ Opera ซึ่งเป็นโปรแกรมซอฟแวร์สำเร็จรูปที่ใช้ในการบริหารจัดการโรงแรม เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ทันที รวมถึงการเน้นจรรยาบรรณในวิชาชีพเพื่อให้เกิดการพัฒนาและการใช้ศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่

กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ภาควิชาฯได้ส่งนักศึกษาไปฝึกงานในบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงโรงแรม บริษัททัวร์ แทรเวล เอเจนซี่ สายการบิน สถานจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวประมาณ 400 องค์กร ทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดและต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน และอังกฤษ โดยขณะนี้กำลังติดต่อกับองค์กรในประเทศญี่ปุ่นและประเทศเยอรมัน เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสฝึกงานที่ต่างประเทศมากขึ้น แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกและการเมืองภายในประเทศในช่วงประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทำให้ธุรกิจนำเที่ยวจำนวนไม่น้อยทยอยปิดกิจการ และธุรกิจโรงแรมก็มีลูกค้าเดินทางเข้ามาใช้บริการลดลง แทนที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการพยากรณ์ด้วยหลักวิชาการสถิติขององค์การการท่องเที่ยวโลก(World Tourism Organization) สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพและความเข้มข้นอันควรจะได้รับจากการฝึกฝนประสบการณ์ด้านต่างๆ อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

ในอดีตเจ้าของกิจการบริษัทนำเที่ยวจำนวนไม่น้อย เติบโตขึ้นมาจากการริเริ่มจัดกิจกรรมนำเที่ยวขณะที่ยังมีสถานภาพเป็นนักศึกษา แต่ในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมามีสถาบันระดับอุดมศึกษาทั้งในกรุงเทพฯและในส่วนภูมิภาคเพียงไม่กี่แห่งที่เปิดบริษัททัวร์จำลองขึ้นมาเพื่อมุ่งผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางในการจัดทำกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนการสอนในวิชาชีพอุตสาหกรรมบริการอย่างจริงจัง และแสดงผลการดำเนินงานให้เป็นที่ประจักษ์อย่างน่าพึงพอใจ จนถึงกับยกระดับบริษัททัวร์จำลองขึ้นเป็นบริษัทจดทะเบียนกับสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อให้ความคล่องตัวในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมจึงถือปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเป็นตัวอย่างที่ดี(Best Practice) ในการต่อยอดความสำเร็จเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านธุรกิจ การบริหาร และการจัดการเชิงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการของนักศึกษาในอนาคต

5.วัตถุประสงค์
5.1 เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ในการบริหารและจัดการองค์กรต้นแบบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการด้วยตนเองตามหลักวิชาภายใต้การให้คำปรึกษาและควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
5.2 เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จเชิงธุรกิจอันมีพื้นฐานมาจากการศึกษาทางด้านวิชาการอย่างครบถ้วนจนครบตามหลักสูตรของภาควิชาอย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม การจัดเลี้ยง การจัดการประชุม และธุรกิจสายการบิน

6.กลุ่มเป้าหมาย (ขึ้นอยู่กับจำนวนกลุ่มนักศึกษาแต่ละรุ่น อย่างน้อยรุ่นละ 10 คน แต่ไม่เกิน 20 คน) ประกอบด้วย
6.1นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสหกิจศึกษาหลักสูตรการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและการโรงแรม)
6.2 นักศึกษาที่ต้องฝึกงานตามหลักสูตรการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและการโรงแรม)
6.3 นักศึกษาที่เรียนสายวิชาการท่องเที่ยว

7.หน่วยงานผู้รับผิดชอบ / ผู้รับผิดชอบโครงการ

.........................................................

.........................................................

8.วิธีการดำเนินการ
8.1 ช่วงทดลอง
8.1.1 รับสมัครนักศึกษาฝึกงานเข้าร่วม จำนวน 10 คน
8.1.2 ขออนุมัติที่ตั้งสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น (โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องสแกน ) ในช่วงทดลองปฏิบัติงาน
8.1.3 กำหนดภาระงาน (นำเที่ยวทั่วราชอาณาจักรและต่างประเทศ จองตั๋วโดยสารเครื่องบิน เรือสำราญ ให้เช่าเหมารถ)
8.1.4 การวางแผนการตลาดและอบรมกระบวนการทำงานแก่ผู้ร่วมโครงการจากวิทยากรภายนอกที่มีประสบการณ์ โดยตั้งเป้าหมายขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม อย่างน้อย 3 ผลิตภัณฑ์ ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะในเว็บไซต์ และFace book และทำให้เว็บไซต์มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ช่องทางจำหน่ายและดำเนินการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นอย่างเข้มข้น และมีนัยสำคัญ
8.1.5 กำหนดหน้าที่ของสมาชิกออกเป็นฝ่ายต่างๆ ในบริษัท โดยคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสามารถของแต่ละคน เพื่อรับหน้าที่ในการประสานให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8.1.6ดำเนินกระบวนการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานช่วงเวลาที่กำหนดในโครงการ ค่าเช่าเหมาพาหนะ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ามัคคุเทศก์ ค่าเข้าชมกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม ค่าทิป ฯลฯ
8.1.7 การซักซ้อมและยืนยัน(Reconfirmation) แผนปฏิบัติงานก่อนการดำเนินงานตามโครงการ
8.1.8 จัดเตรียมเอกสารประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
8.1.9ดำเนินงานตามแผนในโครงการทุกขั้นตอนและประเมินความพึงพอใจจากลูกค้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการบริการต่อไป
8.1.10 สรุปผลการปฏิบัติงานแต่ละผลิตภัณฑ์

8.2 ช่วงดำเนินการจริง
8.2.1 รับสมัครนักศึกษาฝึกงานเข้าร่วม อย่างน้อย 10 คน แต่ไม่เกิน 20 คน
8.2.2 อบรมกระบวนการทำงานแก่ผู้ร่วมโครงการ
8.2.3ตั้งเป้าหมายขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ตามความสามารถและตามการตอบสนองที่เป็นจริงทางการตลาดแต่ไม่ควรจะน้อยกว่า 5 ผลิตภัณฑ์ ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ช่องทางจำหน่ายและดำเนินการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นอย่างเข้มข้น
8.2.4 กำหนดหน้าที่ของสมาชิกออกเป็นฝ่ายต่างๆ ในบริษัท โดยคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสามารถของแต่ละคน เพื่อรับหน้าที่ในการประสานให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8.2.5ดำเนินกระบวนการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานช่วงเวลาที่กำหนดในโครงการ
8.2.6 การซักซ้อมและยืนยัน(Reconfirmation)แผนปฏิบัติงานก่อนการดำเนินงานตามโครงการ
8.2.7 จัดเตรียมเอกสารประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
8.2.8 ดำเนินงานตามแผนในโครงการทุกขั้นตอนและประเมินผลการดำเนินเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการบริการต่อไป
8.2.9 สรุปผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ
8.3 ช่วงจัดตั้งเป็นบริษัทธุรกิจนำเที่ยว
8.3.1 รับสมัครนักศึกษาฝึกงานเข้าร่วม อย่างน้อย 20 คน แต่ไม่เกิน 30 คน
8.3.2 อบรมกระบวนการทำงานแก่ผู้ร่วมโครงการ
8.3.3 ตั้งเป้าหมายขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ตามความสามารถและตามการตอบสนองที่เป็นจริงทางการตลาดแต่ไม่ควรจะน้อยกว่า 10 ผลิตภัณฑ์ ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ช่องทางจำหน่ายและดำเนินการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นอย่างเข้มข้น
8.3.4 กำหนดหน้าที่ของสมาชิกออกเป็นฝ่ายต่างๆ ในบริษัท โดยคำนึงถึงบุคลิกภาพและความสามารถของแต่ละคน เพื่อรับหน้าที่ในการประสานให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
8.3.5ดำเนินกระบวนการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานช่วงเวลาที่กำหนดในโครงการ
8.3.6 การซักซ้อมและยืนยัน(Reconfirmation)แผนปฏิบัติงานก่อนการดำเนินงานตามโครงการ
8.3.7 จัดเตรียมเอกสารประเมินความพึงพอใจของลูกค้า
8.3.8 ดำเนินงานตามแผนในโครงการทุกขั้นตอนและประเมินผลการดำเนินเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการบริการต่อไป
8.3.9 สรุปผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ

9.ระยะเวลา
-ช่วงทดลองดำเนินการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
-ช่วงดำเนินการจริง ตลอดปีการศึกษา 2554
-ช่วงจัดตั้งเป็นบริษัทธุรกิจนำเที่ยว ปีการศึกษา 2555

10.แหล่งเงิน/จำนวนเงิน
10.1 ในช่วงทดลองดำเนินการ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาฯ และรายรับจากลูกค้าภายในมหาวิทยาลัยและลูกค้าทั่วไป
10.2ช่วงดำเนินการจริง งบประมาณจากการลงทะเบียนของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และรายรับจากลูกค้าทั่วไป
10.3ช่วงจัดตั้งเป็นบริษัทธุรกิจนำเที่ยว งบประมาณจากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน รายรับจากลูกค้าทั่วไปและผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ

11.สถานที่ดำเนินงาน
ณ ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม และในบริเวณ/สถานที่ซึ่งได้รับอนุมัติให้เป็นที่ตั้งดำเนินกิจการของบริษัททัวร์ต้นแบบ(DPU Holiday Co.Ltd.)

12.ผลผลิต/ผลลัพธ์
12.1 ช่วงทดลองการดำเนินคาดว่าจะมีลูกค้าประมาณโครงละ 20 คน รวม 3 โครงการ มีลูกค้าประมาณ 60 คน
12.2 การกำหนดโครงการเล็กๆแบบ One day trip จะทำให้สามารถควบคุมเป้าหมายการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงภูมิปัญญาและสัมผัสประสบการณ์อบสมุนไพร

รายรับ
ค่าทัวร์ 800 บาท/ คน x ลูกค้า 20 คน = 16,000 บาท
รายจ่าย
ค่าเช่าเหมารถมินิบัส ประมาณ 4,000 บาท + (ค่าอาหารกลางวัน 150 บาทx20 คน) +(ค่าอบสมุนไพร 30 บาท x 20 คน) +(ค่าวิทยากร 2,000 บาท + ค่าอาหารภูมิปัญญาสมุนไพร 1000 บาท) + น้ำดื่ม 500 บาท = 11,100 บาท
(คงเหลือกำไร เป็นเงินจำนวน16,000-11,100 บาท= 4,900 บาท)

12.3 ประเมินผลการดำเนินงานช่วงแรกทั้ง 3 โครงการ เพื่อหาผลลัพธ์สุทธิจากการดำเนินหมด
12.4 ในช่วงดำเนินการจริงและช่วงจัดตั้งเป็นบริษัทธุรกิจนำเที่ยว (สามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดตามสถานการณ์ที่เหมาะสมได้)

13.วิธีการประเมินผลและดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
13.1 คำนวณผลการดำเนินการแต่ละช่วงเพื่อประเมินผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ
13.2ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ แสดงออกมาเป็นผลกำไรในรูปของแต่ละโครงการซึ่งจะปรากฏออกมาเมื่อมีการสรุปผลการดำเนินงานภายหลังจากการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง
(ร่าง)โครงการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์จังหวัดพะเยาเสนอต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
โดย : ดร. กฤษฎา พัชราวนิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากรและคณะ


1. หลักการและเหตุผล
จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่เก่าแก่และเคยรุ่งเรืองของประเทศไทย โดยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายร้อยปี หลักฐานประเภทเอกสาร ตำนานพื้นเมืองล้านนา อาทิ ตำนานเมืองเงินยางเชียงแสน (หรือเมืองหิรัญนครเงินยาง) กล่าวถึงความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานระยะแรกของชุมชนแคว้นไทย ตั้งแต่สมัยขุนลาวเคียง [1]บรรพบุรุษของขุนจอมธรรม กษัตริย์องค์แรกแห่งแคว้นพะเยา(จ.ศ.๔๕๘, พ.ศ.๑๖๓๙)[2]

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า จังหวัดพะเยาเป็นเมืองโบราณที่มีพัฒนาการยาวนานมาอย่างน้อย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ แล้ว จังหวัดพะเยาตั้งอยู่ในที่ราบเชียงราย-พะเยา ซึ่งมีแหล่งน้ำเป็นองค์ประกอบที่กำหนดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ในการตั้งถิ่นนฐานของชุมชน ได้แก่ กว๊านพะเยา หนองเล็งทราย ห้วยร่องทง ห้วยร่องเตี้ย ลำน้ำแม่อิง ลำน้ำแม่ปืม ลำน้ำแม่ต๊ำ ห้วยแม่ทุ่ม ลำน้ำแม่เหยี่ยน ห้วยร่องบ่อ ห้วยแก้ว แม่น้ำลาว แม่ น้ำยวน เป็นต้น[3] โดยเฉพาะที่ราบลุ่มรอบกว๊านพะเยาซึ่งปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ (เมืองโบราณ) ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบถึง๑๐แห่ง[4]

จังหวัดพะเยามีชื่อเรียกดั้งเดิมปรากฏอยู่ในตำนานและศิลาจารึกต่างๆ อาทิ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า “เมืองพูยาว”[5] ตำนานพื้นเมืองพะเยาเรียกว่า “เมืองภูกามยาว”[6] หรือ “เมืองภุกามยาว”[7] หรือ “เมืองพะยาว” [8] ส่วนหลักฐานประเภทศิลาจารึกอักษรล้านนา อาทิ จารึกวัดอารามป่าญะ (พ.ศ.๒๐๓๘) เรียกตำแหน่งเจ้าเมืองพะเยาในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ว่า “(พระเป็นเจ้า) เจ้าสี่หมื่นพยาว”[9] และจารึกเจ้าสี่หมื่นผู้เป็นปู่เลี้ยง(พ.ศ.๒๐๓๓) เรียกชื่อเมืองพะเยาว่า “เมิงพญาว”[10] จังหวัดพะเยาเคยเป็นราชธานีที่มีความเจริญรุ่งเรืองมิได้ด้อยไปกว่าราชธานีใกล้เคียงอื่นๆ จึงมีโบราณสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์มากมาย และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุนิยมของประเทศทางตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทต่อประชาชนทำให้ประวัติศาสตร์ของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประวัติศาสตร์ของจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นราชธานีเก่าแก่ที่สำคัญของชาติแห่งหนึ่งกำลังจะถูกลืมเลือนไป นอกจากประวัติความเป็นมาและประเพณีวัฒนธรรมอันสวยงามของจังหวัดพะเยาแล้ว จังหวัดพะเยายังมีแหล่งโบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในเชิงธรรมชาติ รวมถึงภูมิปัญญาในการผลิตสินค้าต่างๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวพะเยา อันเป็นที่ยอมรับและน่าชักชวนให้นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ได้หันมาท่องเที่ยวศึกษาสิ่งต่างๆ ในจังหวัด การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจะนำรายได้ และความภาคภูมิใจให้แก่จังหวัดทั้งในทางตรง และทางอ้อมอีกด้วย

ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบสำคัญของจังหวัด ต้องทำการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ประวัติและประเพณีวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงสินค้ามีชื่อประจำจังหวัด เพื่อให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางต่อไป

2. วัตถุประสงค์
2.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักจังหวัดพะเยา ในแง่มุมต่างๆ ได้มากขึ้น
2.2 เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งประวัติของโบราณสถาน และสถานที่ท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติให้แก่ประชาชน เพื่อชักจูงให้เข้ามาท่องเที่ยวและเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยผ่านสถานที่ อันเป็นมรดกชิ้นสำคัญของชาติไทยเรา
2.3 เผยแพร่ประวัติจังหวัด อันเป็นประวัติศาสตร์สำคัญส่วนหนึ่งของชาติ โดยเฉพาะ ประวัติเมืองพะเยา ซึ่งทั้งเคยเป็นราชธานีอันเก่าแก่และเป็นเมืองสำคัญในยุคต่อๆ มา โดยมุ่งหวังให้ประชาชนทั้งในจังหวัดและนักท่องเที่ยวทั่วไปได้รับรู้เรื่องราวอันสำคัญของจังหวัด
2.4 เผยแพร่สินค้าประจำจังหวัด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ผลิตรายย่อยในจังหวัดโดยทางตรง

3. กรอบแนวคิด

แหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว สินค้าประจำจังหวัดจากภาครัฐ ประชาชน เอกชน การจัดทำวีซีดีและหนังสือ

4. ขอบเขตการดำเนินการพัฒนา

4.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา

4.1.1 วีซีดีสารคดีแนะนำจังหวัดพะเยา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้แนะนำในเบื้องต้น และนำเสนอโดยพิธีกรและนักวิชาการ ทั้งนี้ แบ่งเป็น 4 แผ่น 4 เนื้อหาด้วยกัน คือ
· ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดพะเยา นับตั้งแต่สร้างเมืองจนถึงปัจจุบัน พร้อมความคิดเห็นต่างๆ จากนักวิชาการและคนในจังหวัด จำนวน 1 แผ่น
· ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยา ตามท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัด จำนวน 1 แผ่น
· สถานที่ท่องเที่ยวทั้งโบราณสถาน วัดวาอาราม และสถานที่ท่องเที่ยวในทางธรรมชาติ รวมถึงวิธีการเดินทาง สถานที่พัก และงบประมาณในการท่องเที่ยว จำนวน 1 แผ่น
· สินค้าประจำจังหวัด ตั้งแต่สถานที่และกรรมวิธีในการผลิตอย่างคร่าวๆ ตลอดจนสถานที่ในการซื้อหาและราคาในแต่ละท้องถิ่นต่างๆของจังหวัด จำนวน 1 แผ่น รวมวีซีดี 4 แผ่นต่อ 1 ชุด

4.1.2 หนังสือแนะนำจังหวัดพะเยาโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จำนวน 400 หน้า ต่อ 1 เล่ม แบ่งเนื้อหาเป็น 4 หัวข้อหลัก คือ
· ประวัติศาสตร์ประจำจังหวัดพะเยานับตั้งแต่สร้างเมืองจนถึงปัจจุบัน พร้อมภาพประกอบ
· ประเพณีวัฒนธรรมของจังหวัดพะเยาตามท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัด พร้อมภาพประกอบ
· สถานที่ท่องเที่ยวทั้งโบราณสถาน วัดวาอาราม และสถานที่ท่องเที่ยวในทางธรรมชาติ พร้อมภาพประกอบ รวมถึงแผนที่ วิธีการเดินทาง สถานที่พัก และงบประมาณในการท่องเที่ยว
· สินค้าประจำจังหวัดพร้อมภาพประกอบ โดยจะนำเสนอตั้งแต่สถานที่และกรรมวิธีในการผลิตอย่างคร่าวๆ ตลอดจนสถานที่ในการซื้อหาและราคาในแต่ละท้องถิ่นต่างๆของจังหวัด
4.2 ขอบเขตการเผยแพร่
4.2.1 มอบสื่อวีซีดีสารคดีและหนังสือแนะนำจังหวัดให้แก่ สำนักงานท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ
4.2.2 มอบสื่อวีซีดีสารคดีและหนังสือแนะนำจังหวัดให้แก่บริษัทนำเที่ยวทั่วไป
4.2.3 มอบสื่อวีซีดีสารคดี และหนังสือแนะนำจังหวัดไว้ประจำห้องโสตทัศนศึกษาห้องสมุดตามโรงเรียน พิพิธภัณฑ์ รวมถึงห้องสมุดทั่วไป
4.2.4 เผยแพร่สื่อวีซีดีในเคเบิลทีวีท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ไปยังโรงแรม หรือสถานที่พักต่างๆ
4.3 ขอบเขตด้านองค์กร องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา
4.4 ขอบเขตด้านระยะเวลา การพัฒนาครั้งนี้กำหนดขอบเขตระยะเวลาในการพัฒนาระหว่างเดือนสิงหาคม 2551 จนถึง เดือนมกราคม 2552 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน

5. แผนการดำเนินงานพัฒนา
การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว และสินค้าประจำจังหวัดพะเยา แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
5.1 ระยะที่ 1 ผลิตวีซีดีสารคดีแนะนำจังหวัด โดยเนื้อหาประกอบด้วยประวัติ ประเพณีวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว พร้อมทั้งวิธีการเดินทาง สถานที่พัก และสินค้าประจำจังหวัด โดยมีพิธีกรเป็นสื่อในการแนะนำเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งมีนักวิชาการเป็นผู้เรียบเรียงบทสารคดี
5.2 ระยะที่ 2 ผลิตหนังสือแนะนำจังหวัด โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยประวัติ ประเพณีวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวพร้อมทั้งแผนที่ วิธีการเดินทาง สถานที่พัก และสินค้าประจำจังหวัด โดยมีนักวิชาการเป็นผู้เรียบเรียงข้อมูล

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ประชาชนทั่วไปรับรู้ประวัติศาสตร์ของไทยมากขึ้น โดยจะได้รับรู้ประวัติศาสตร์อีกแง่มุมหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่จังหวัดพะเยา หรือ “ภูกามยาว” อันเป็นราชธานีแห่งหนึ่งในอดีต
6.2 คนในจังหวัดพะเยารับรู้และภาคภูมิใจในความเป็นชาวจังหวัดพะเยามากขึ้น
6.3 สถานที่สำคัญที่คนทั่วไปไม่รู้จักได้ถูกเผยแพร่และมีนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
6.4 นักท่องเที่ยวสนใจในการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยามากขึ้น อันจะส่งผลมาถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดโดยทางตรง และเกิดการกระจายรายได้ลงไปยังท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดพะเยา
6.5 สินค้าประจำจังหวัดพะเยาถูกเผยแพร่และเป็นที่รู้จักยอมรับมากขึ้น ซึ่งจะยังผลให้สามารถจำหน่ายได้มากขึ้นทั้งในท้องถิ่นเอง และกระจายออกไปนอกจังหวัดได้อีกด้วย
6.6 นักท่องเที่ยวสามารถใช้สื่อที่จัดทำทั้งสองแบบเป็นคู่มือในการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยาได้

7. คณะพัฒนา

· ดร. กฤษฎา พัชราวนิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (หัวหน้าโครงการ)
· ดร. อัฏฐมา นิลนพคุณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
· อ. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
· อ. พิทยะ ศรีวัฒนสาร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

*******************************************************
บรรณานุกรม
[1] สงวน โชติสุขรัตน์, ตำนานเมืองเหนือ. (พระนคร: แม่บ้านการเรือน, ๒๕๐๘) หน้า๒๑๒
[2] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดพะเยา, (กรุงเทพฯ : คุรุสภา, ๒๕๔๔), หน้า๓๑
[3] คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒(๑), เรื่องเดิม, หน้า๒-๓
[4] สุรพล ดำริห์กุล, ล้านนา: สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม. (กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา, ๒๕๔๒), หน้า ๒๒–๒๓
[5] อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวและเดวิด เค. วัยอาจ, ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, ๒๕๔๓), หน้า ๒๒
[6] พระยาประชากิจกรจักร์, พงศาวดารโยนก. (กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๖), หน้า๒๓๒
[7] สงวน โชติสุขรัตน์, เรื่องเดิม. หน้า๒๑๒
[8] สงวน โชติสุขรัตน์, เรื่องเดิม, หน้า ๒๑๒–๒๑๓
[9] โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, จารึกภาค ๑เล่ม ๑ จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่. มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน จัดพิมพ์ ในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระชนมายุครบ๓รอบ พุทธศักราช๒๕๓๔, หน้า๑๑๕
[10] โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, เรื่องเดิม, หน้า๑๘๗

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช (เทียนกิ่ง ปลาไหลเผือก)

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เทียนกิ่ง แก้ไข้ ปลาไหลเผือกแก้ไข้ ปลาไหลเผือกขมมาก ใครอย่าหลงชิมเชียวละ!

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์ สุนทร ชวนะพานิช (สังกรณีตรีชวา)

สังกรณีตรีชวา
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บางตะบูน สวนครัว สวนหย่อม ร้านลุงชวน ป้าอะหงุ่น คนสู้ชีวิต




โดย

พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ผู้เขียนและคณะกรรมการบริหารชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน เดินทางไปสำรวจชุมชนอนุรักษ์ป่าชายเลนที่ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เพื่อเตรียมเส้นทางการพาสมาชิกชมรมฯไปเรียนรู้วิถีชีวิตภายใต้แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ป่าชายเลนและการประมงชายฝั่งทะเลอ่าวไทยของที่นี่

บางตะบูนเคยมีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารคำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมในเรื่องการส่งสินค้าประเภทของทะเลตากแห้งขึ้นไปขายยังเมืองพระนครศรีอยุธยา

ระหว่างที่แวะเข้ารับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารตามสั่งหน้าโรงเรียนบางตะบูนวิทยา บรรยากาศในร้านแม้จะเป็นเพิงโล่งๆขนาดกลาง พื้นไม้ หลังคามุงสังกะสี แต่ด้านข้างกลับมีแปลงพืชผักสวนครัวเล็กๆ กระถางไม้ดอกไม้ประดับ อาทิ โป๊ยเซียน ชวนชม กล้วยไม้ แค ฯลฯ ดังนั้น แม้อากาศจะร้อนและแห้ง แต่บรรยากาศทั่วไปกลับดูสดชื่น

ร้านนี้มีลูกเข้าออกเป็นระยะๆ ผู้เขียนสังเกตเห็นว่าชายเจ้าของร้านทำอาหารอยู่เพียงคนเดียว จึงเข้าใจว่าทำไมอาหารที่สั่งจึงทำเสร็จช้านัก และระหว่างนั้นกรรมการชมรมบางคนก็ลุกไปทำส้มตำเอง จึงเข้าไปชวนสนทนาด้วย ทราบว่าพ่อครัวชื่อลุงชวน ทำอาหารได้ทุกชนิด ข้างๆร้านยังเปิดโต๊ะรับอัดกรอบพระด้วย หลังจากนั้นสักพักใหญ่ภรรยาลุงชวนซึ่งเพิ่งกลับจากทำธุระส่วนตัวก็เข้ามาคุยให้ฟังหลายเรื่อง


ป้าอะหงุ่นขวัญใจของลุงชวน


ลุงชวน คนสู้ชีวิต

เดิมสองสามีภรรยามีบ้านอยู่ลึกเข้าไปเล็กน้อยจากถนนใหญ่ ต่อมาไฟไหม้บ้านจนหมดตัวจึงมาปลูกเพิงขายอาหารตามสั่ง ซึ่งนอกจากลุงชวนและป้าอะหงุ่นจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวหลายด้านประกอบอาชีพอย่างน่ายกย่องแล้ว ทั้งสองเคยได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการระดับหนึ่งด้วย

ลุงชวนทำอาหารอร่อย โดยเฉพาะปลาฉลามผัดฉ่า ใช้เนื้อปลาฉลามจากแพปลาบางตะบูน รสชาติกลมกล่อม นุ่มลิ้น หากมีโอกาสกลับไปจะต้องสั่งมาลิ้มรสอีกครั้งอย่างแน่นอน หวังว่าลุงชวนกับป้าอะหงุ่นจะมีทุนสร้างบ้านใหม่ได้โดยเร็วอีกครั้งนะครับ

บางตะบูน ปลาฉลามผัดฉ่าร้านลุงชวนคนสู้ชีวิต

ปลาฉลามผัดฉ่าร้านลุงชวน คนสู้ชีวิต ที่บ้านบางตะบูน

บางตะบูน เบื้องหลังคณะสำรวจของชมรมท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

เที่ยวพระตำหนักภูพิงค์

พิทยะขึ้นพระตำหนักภูพิงค์กับ ดร.เมธี เมธาสิทธิ์ เอ้ม ม.อุบลราชธานี สนทนากับ ดร.เอ้มว่า อากาศหนาวคล้ายกับบรรยากาศในประเทศอังกฤษ อาจารย์เอ้มถามว่า เคยไปมาแล้วยัง พิทยะตอบเสียงดังชัดเจนด้วยความภาคภูมิใจว่า..........................................................??!!?!
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร



เที่ยวชุมชนหัตถกรรมที่บ้านถวาย ดูไม้แกะสลัก เชียงใหม่

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวชุมชนหัตถกรรมที่บ้านถวาย จ.เชียงใหม่

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวชมบ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี

เที่ยวชมบ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

บ่อน้ำโบราณที่บ้านหัวซา เป็นที่รู้จักกันมานานของชาวบ้านในท้องถิ่น พระครูศรีมหาโพธิ์คณานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดใหม่กรงทอง และเจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งเป็นผู้สนใจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในพื้นที่จ.ปราจีนบุรี เป็นผู้ที่แจ้งเบาะแสให้เจ้าหน้าที่โครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกรมศิลปากร (อาจารย์ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการ) ได้แก่ นายมานิต รัตนกุล นายช่างศิลปกรรม7 นายกิตติพงษ์ กุมภิโร นายช่างสำรวจ 4 และนายอนุชา(พิทยะ) ศรีวัฒนสาร นักโบราณคดี เดินทางไปสำรวจและทำแผนผังเพื่อดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อประมาณ กลางปี พ.ศ. 2528

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช เร่ว

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช เร่ว
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช พิลังกาสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช พิลังกาสาร
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช โด่ไม่รู้ล้ม

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช

เที่ยวสวนสมุนไพรบ้านอาจารย์สุนทร ชวนะพานิช ต.หัวซา อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร
เจตมูลเพลิงแดง

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ชมเนินผาหมอนและเฟิร์นต้น ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมเนินผาหมอนและเฟิร์นต้น ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดยพิทยะ ศรีวัฒนสาร

เนินผาหมอนมีพระตำหนักเรือนกระจกที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ มักจะทรงประทับเสวยพระกระยาหารเย็นอยู่เนือง พื้นที่โดยรอบมีสวนเฟิร์นต้นร่มรื่น

ดอกลำโพงที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ดอกลำโพงที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ นำพันธุ์มาจากอเมริกาใต้
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันปีอาร์ซิเลียและทิวลิป ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมกุหลาบพันปีอาร์ซิเลียและทิวลิป ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมดอกโคมญี่ปุ่นที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมดอกโคมญี่ปุ่นที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมดอกฝิ่น ดอยปุย เชียงใหม่

ชมดอกฝิ่น ดอยปุย เชียงใหม่
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชวนเที่ยวดอยปุย เชียงใหม่ แปลงกายเป็นสาวดอย

ชวนเที่ยวดอยปุย เชียงใหม่ แปลงกายเป็นสาวดอย เจตน์นิพิธ บอกว่าอยากเป็นหัวหน้าเผ่าบ้าง
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชวนเที่ยวดอยปุย เชียงใหม่

ชวนเที่ยวดอยปุย จ.เชียงใหม่
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ดอยปุยอยู่สูงถัดขึ้นไปจากดอยสุเทพและพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชามรดกไทยเดินทางไปถึง เดินตามกันขึ้นไปชมบ้านม้ง และเผลอไม่กี่อึดใจก็แปลงกายเป็นสาวดอยกันหลายคน

ชมกล้วยไม้พันธุ์ฟาร์แลนด์นอฟสิคที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

กล้วยไม้พันธุ์ฟาร์แลนด์นอฟสิค ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันธุ์summer snow ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมกุหลาบพันธุ์summer snow ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันธุ์ปิแอร์ เดอ ลองซาค

ชมกุหลาบพันธ์ปิแอร์ เดอ ลองซาค โดยมีProground เป็นกุหลาบโรย 3 ดอก(ล้อเลียน)
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมดอกกุหลาบที่ฌาก ชีรัค(Jacques Chirac)ถวาย

ชมดอกกุหลาบที่ประธานาธิบดีฌาก ชีรัค (Jacques Chirac)แห่งฝรั่งเศส(ค.ศ.1995-2007)ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังมิได้พระราชทานชื่อ
โดย
พิทยะ ศรีวัฒนสาร

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ชมดอกเจอเรเนียนไล่ยุง ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมดอกเจอเรเนียนไล่ยุง ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมหญ้าหอมที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมหญ้าหอมที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ชมกุหลาบพันธุ์มหาจุฬาลงกรณ์ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์และตำหนักเจ้าดารารัศมี

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
วันนี้วันแห่งความรัก( 14 กพ.54) ชวนเชิญหมูมหาสมาชิกมาร่วมชื่นชมดอกกุหลาบพันธุ์มหาจุฬาลงกรณ์ สัญลักษณ์แห่งความรักและความเป็นปึกแผ่นระหว่างสยามกับล้านนาอันเป็นแบบอย่างที่ควารเจริญรอยตามมานานกว่าร้อยปี




พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประสูติ ๒๖ สิงหาคม ๒๔๑๖ - ถึงแก่พิราลัย ๙ ธันวาคม ๒๔๗๖(สำเนาภาพมาจากค่ายดารารัศมี ขอบคุณครับ)

ที่ตำหนักเจ้าดารารัศมีก็ปลูกกุหลาบสายพันธุ์นี้


ป้ายอธิบายชื่อของกุหลาบสายพันธุ์ดังกล่าวที่ตำหนักเจ้าดารารัศมี ภายในค่ายดารารัศมี จ.เชียงใหม่


ทุกวันที่ 9 ธันวาคม อันเป็นวันคล้ายวันพิราลัย จะมีการจัดงานถวายพระกุศลอย่างยิ่งใหญ่ที่ค่ายดารารัศมี

ชมกุหลาบพันธุ์First Price ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

กุหลาบพันธุ์First Price ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

ชมกุหลาบพันธ์มหาจุฬาลงกรณ์ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์

แปลงกุหลาบของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีบนม่อนจ๊อกป๊อก เชิงดอยสุเทพ

ชมกุหลาบพันธ์มหาจุฬาลงกรณ์ที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

สรุปการสัมมนาวิชาการโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานพัฒนาการท่องเที่ยวพ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘

สรุปโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการบูรณาการการปฏิบัติงานช่วง พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๘



วันศุกร์ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ห้องพัชราวดี ๓ ชั้น๑๑ อาคาร ๒โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ
โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
















๐๙.๐๐-๐๙.๐๕ น. น.ส.สุชาวดี ศรีสุวรรณภาพ ผอ.กองวิชาการท่องเที่ยว กล่าวรายงาน
๐๙.๐๕-๐๙.๑๕ น. นาย สุชาติ สิทธิหล่อ รองผอ.สนง.พัฒนาการท่องเที่ยว รรก. ผอ. สนง.พัฒนาการท่องเที่ยวกล่าวเปิดงาน มีใจความว่า















การท่องเที่ยวมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศ รายได้ นอกเหนือจากการส่งออก ปัญหาระเบียบของเวิลด์เทรด ซึ่งแฝงการกีดกันทางการค้าโดยใช้คุณภาพเป็นบรรทัดฐาน ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดสถานการณ์ด้านการเมือง การลอบฆ่านักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและความแตกแยกทางความคิด เป็นสัญญาณที่ประเทศต่างๆเริ่มเตือนภัย ความเป็นสยามเมืองยิ้มอาจจางหายไป ต้องสร้างความยั่งยืน ต้องมีการระดมความคิดอีก ๕ ปี ข้างหน้าจะทำอย่างไร มิใช่การสื่อสารด้านเดียว(One-way Communication)หลายองค์กรคิดแตกต่างออกไป จึงต้องบูรณาการให้เดินหน้าต่อไปได้ ในทางเดียวกัน คนไทยต้องมีความเป็นเจ้าบ้าน สเปนมีล้วงกระเป๋า ถ้าไทยเป็นอย่างนั้นจะเหมือนทุบหม้อข้าวตัวเอง เราได้เปรียบสิงคโปร์ มาเลเซีย เพราะทั้งอารยธรรมและธรรมชาติ คนของเราก็มีอัธยา



สปาของสิงคโปร์ มาเลย์ขาดศิลปะ คนต่างชาติจึงอยากจะกลับมาอีก บางอย่างชาติอื่นทำไม่ได้ แต่คนไทยทำได้ นั่นคือ เรื่องการต้องรับชาวต่างชาติเรามีจุดขายมากมาย เสียว่าขาดความสามัคคี บูรณาการให้เดินไปพร้อมกัน อย่าทำแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ต้องปลูกฝังเรื่องการเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ สิทธิ หน้าที่ เสียภาษี เคารพกฎหมาย คนไทยติดนิสัยทำผิดแต่ไม่ยอมรับผิด ต่างกับชาวตะวันตกที่เคารพกฎหมาย ถ้าเวียดนามมีspeed train จะก้าวหน้ากว่าไทยใน ๔-๕ ปีข้างหน้า มาบตาพุด คนต่อต้าน การปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมการแข่งขันกับชาติอื่นนอกจากสปาก็พัฒนาด้านวิถีชีวิต สุขภาพ ฝรั่งอยากมาสัมผัสชีวิตแบบตะวันออก ทรัพยากรของเราต้องทำให้ยั่งยืน อยากได้นักท่องเที่ยวเข้ามา แต่ขยะก็ตามมา นักท่องเที่ยวต้องมีคุณภาพ

๐๙.๑๕-๑๐.๑๕ น.นาย จารุบุณณ์ ปาณานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรยายเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในทศวรรษหน้า เนื้อหากล่าวถึงสถิติของนักท่องเที่ยวโลกดังนี้


-ค.ศ.๒๐๐๙ นักท่องเที่ยว๘๘๐ ล้านคน ๘๕๖ พันล.ดอล. นักท่องเที่ยวจะเพิ่ม ๘ % เราทำเพิ่มได้ ๓-๔% ก็ดีแล้วปีค.ศ.๑๙๙๕ นทท.มีสถิติการเดินทางรวม ๕๖๕ ล้านคน ปีค.ศ.๒๐๑๐ มีการเดินทางหนึ่งพันล้านคน


-ค.ศ.๒๐๒๐ นทท.จะเพิ่ม ...แอฟริกา นทท.จะโต อเมริกาโตรองลงมา เอเชียตะวันออก ในค.ศ.๒๐๒๐ โต๓๙๗ลค. (๖.๕ เปอร์เซ็นต์) ยุโรปจะโตที่สุด คือ ๒๐๒๐ โต ๗๓๐ ลค, เอเชียใต้ ๑๙ ลค,ไทยโต ๖.๕ เปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงโลกโต ๔ เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยโตเสริมจากการขนส่งและโลยิสติกส์ เครื่องบินแอร์บัสบรรทุกเต็มที่ ๘๐๐ คน แต่นั่งสบายประมาณ ๕๐๐ คน ไทยสั่งซื้อจำนวนหนึ่ง ยังไม่ได้ ต้องรอ ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ มีการตัดถนนชายแดน ไทย ลาว จีน โลกเจริญ คนทำงานน้อยลง คนเที่ยวเพิ่ม การพัฒนาเมืองโลกวุ่นวาย คนอยากพักผ่อน ทะเลทรายก็สร้างแหล่งท่องเที่ยว ยูเออี. ดูไบ ฮ่องกงสิงคโปร์ มีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ยุโรปอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวของตนดี การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การได้รับข่าวสารการท่องเที่ยวเร็ว แม่นยำ มี จีพีเอส เที่ยวโดยไม่หลงทางคนอยากรู้อยากเห็น คนเที่ยว การค้าเสรี คนเดินทาง กฎเกณฑ์น้อยลง มีการช่วยเหลือแลกเปลี่ยนการค้า ไมซ์ การเกิดประเทศพัฒนาใหม่ (บราซิล-อินเดียจีน-บรีคส์) ประชาคมยุโรป อาเซียน ทำให้การเดินทางง่าย เสรี ยูโรมันนี(Euro Money)ทำให้จับจ่ายได้ง่าย ในอนาคตเงินหยวนใช้ง่าย อาจเกิดอาเซียนมันนี(Asean Money)


ปัจจัยลบ โรคใหม่ ซาร์ หวัดนก ระวัง น้ำมันผันผวน ค่าเดินทางสูง ค่าผลิตสูง กระทบการท่องเที่ยว ภัยธรรมชาติ ภูเขาไฟในไอซ์แลนด์ ไฟไหม้ ควัน พายุ ทอร์นาโด ต้องเอาเงินไปซ่อมบ้าน การก่อการร้าย ตะวันออกกลาง อาฟกานิสถาน ปากีสถาน ทำให้ทท.ไม่เติบโต การขัดแย้งทางการเมืองใน-นอก ประเทศ นทท.ขาดความมั่นใจ ไปเที่ยวที่อื่น การถดถอยทางศก. กรีซ สเปน โปรตุเกส หรือแม้แต่ในบ้านเราก็แก้ได้การแข่งขันการท่องเที่ยว ยุโรปครอง แต่ส่วนแบ่งลด จากการที่อีสต์ เอเชีย แปซิฟิกกำลังโตแต่รองยุโรป ตอ.กลางกำลังโต แต่ส่วนแบ่งน้อย แอฟริกากำลังโตแต่คนเที่ยวน้อย อเมริกาคนมากแต่โตน้อย ไทยอยู่กลุ่มเอเชียแปซิฟิก
แนวโน้มสถานการณ์ในไทย ปีที่แล้วนทท. ๑๔ ลค.เศษ ปีหน้า คงมี ๑๓-๑๔ ลค, กระทรวงทท. ประมาณการ ๑๔ ลค, แต่ภาคเอกชนระบุว่าไม่น่าถึง ผมประเมินแง่ดีอาจ๑๓ ลค.ททท. และเอกชน ทำงานหนักจากข้อมูล ๑๙๙๕ –๒๐๑๐ โลกโต๑๐.๑ แปซิฟิก ๕ เปอร์เซ็นต์ ทศวรรษ ๒๐๑๐-๒๐๒๐ จะโต๕-๖ เปอร์เซ็นต์ ต่อปี

ภัยคุกคามจากนอก การแข่งขัน เวียดนาม ลาว เขมร ส่งเสริมทท. การค้าเสรีคุกคามและเป็นโอกาสด้วย คนเก่งกว่าจะเข้ามา เราต้องพัฒนาตนเอง อีกหน่อย จีนอินเดียเข้ามา เชิงรายได้ต้องแข่งขัน เชิงโอกาสต้องพัฒนา
ปัญหาอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันแพง การก่อการร้าย การเมืองในแประเทศ ความวุ่นวายทางการเมือง การกระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้าน ต้องเป็นไมตรี การท่องเที่ยวจะดี ภัยธรรมชาติซึนามิ ฝนแล้ง ไฟป่า ต้องระวัง น้ำท่วมภายนอก นทท.ก็ไม่อยากมาภัยคุกคามภายใน สมานฉันท์ หน่วยงานทท.มีมา เช่น ททท กระทรวง สพท. ฯลฯ ไม่ประสานงานกัน ความรู้ด้านการบริหารจัดการทท.
การจัดการ ๓ มิติไม่สมบูรณ์ นักการเมืองต้องรู้ด้านการท่องเที่ยว การทท.ต้องประสานกับหน่วยงานขนส่งฯ สมาคมเฟสต้า สมาคมขายตั๋วสายการบิน แตกแยกกันเอง ต้องมีการประสานกัน บูรณาการ จะโตได้ถูกต้องอากาศร้อน หนาว ฝนตก กระทบชีวิต แหล่งท่องเที่ยวเสื่อม อ.ปายก็โทรมแล้ว น่านคนกำลังจะเข้า ต้องระวังสอดส่องแหล่งท่องเที่ยว ควรวางแผนล่วงหน้า

แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเป็นสิ่งที่คนอยากไปชมมากกว่าแหล่งท่องเที่ยวที่คนทำขึ้น ทรัพยากรบุคคลด้านทท.(direct tourists service ไกด์ พนักงานโรงแรม ททท. ฯลฯ ) ปชช.(indirect tourists service)ต้องมีใจงาม รักงาม รักความสะอาด เคารพกฎเกณฑ์ รักสงบ คิดเป็น คิดสร้างสรรค์ ๗ ประการ( ๗ habits) หากไม่รักสะอาดทำอาหารขายเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ต้องรับผิดชอบสังคมโอกาส การท่องเที่ยวไทยนำสู่การวางยุทธศาสตร์ การรักษาทรัพยากรการท่องเที่ยว (อยู่ๆก็ตัดถนนขึ้นเขาใหญ่ สร้างศาลพระพรหมบนแหลมพรหมเทพ สร้างอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรฯ ) ทำไมไม่จัดภูมิทัศน์บริหารจัดการการท่องเที่ยวต้องมีระบบ มีหน่วยงานเยอะมาก ให้มีสมรรถนะ ทำงานเป็นเอกภาพ อบรมพนักงานด้านการท่องเที่ยว พัฒนาขีดความสามารถบุคลากรเพื่อแข่งในระบบการค้าเสรีอีก ๕ ปีข้างหน้า ถึงเวลาแล้วที่จะพัฒนาสมรรถภาพบุคลากร เอกชน-ราชการ
การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเป็นปัญหาโลกที่ทุกประเทศต่างก็ให้ความสำคัญ เรื่องนี้ไทยยังมีโอกาส อนุรักษ์ให้ดี จะดึงนทท.ได้ยั่งยืน การสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อสังคม จะขับเคลื่อนท่องเที่ยวที่สร้างรายได้เก้าแสนล.บ.ต่อปี (๒๐ เปอร์เซ็นต์ของ GDP) คนจะมาเที่ยวโครงการRoyal Coast นั้นมีกระแสว่าประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสท์จะเข้ามาลงทุน แต่พอการเมืองไม่นิ่งก็เบนไปประเทศอื่นการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ ถนนดี ลำเลียงสินค้าและคนให้มีระบบดี ปลอดภัย ลดเวลาการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งระบบรางพัฒนาสร้างสรรค์คุณภาพการบริการ
ปัจจัยพื้นฐานด้านบริการโดยระบบขนส่งมวลชนในยุโรปดี บ้านเราบางทีต้องเช่ารถไปเองพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดี เราจะวิเคราะห์ข่าวสารได้ถูกต้องแก้ปัญหาต่างๆได้ติดตามข้อมูลวิจารณ์วิจัยจากภายนอกมาพัฒนาแก้ปัญหาการท่องเที่ยว world economic forum UNWTO แต่ละปีผลิตเอกสารมากมาย ททท.นำมาวิจัยพัฒนา Brand Image ผลิตเอกสารวิเคราะห์วิจัย เอามาประมวลใช้ประโยชน์

บุคลากรด้านการท่องเที่ยวต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งดังกล่าวโดยต้องวิเคราะห์เป็น ใช้เป็นนำหลักcreative economicให้เป็น กระทรวงวัฒนธรรมก็ต้องใช้วัฒนธรรมให้เกิดปย.ด้านการทท. รร.เซนธารา หัวหิน เอาtheme อินเดียนา โจนส์ มาใช้ในโรงแรม ทำไมไม่เอาเพลงฉ่อย อีแซวมาประยุกต์ใช้ในเพลงระวังเรื่องดีมานด์ ซับพลายด้านการท่องเที่ยว นักการเมืองวางระบบนักท่องเที่ยว ถ้าพูดจริงจัง ต่างประเทศเอาจริงมาจริง เกิดโอเวอร์ ดีมานด์ การท่องเที่ยวจะฮีตมา ไม่ดี ตลาด สินค้าต้องเหมาะสม เดี๋ยวคุณภาพต่ำภาครัฐต้องส่งเสริมจริงจัง ไม่ใช่พูดสวยหรู ไม่เอาจริง เขาสร้างโรงแรม แล้วหาลูกค้าไม่ได้ โฮมสเตย์ ค่อนข้างเป็นตลาดเฉพาะ(Nitch Market) หาลูกค้ายาก เดี๋ยวตาย ต้องสมดุลส่งเสริมเที่ยวในปท.อย่างถูกวิธี เดี๋ยวนี้โฆษณาทางนี้ลดลง
ปีที่แล้วคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศ ๔-๕ ลค. สูญนับแสนลบ,ร่วมสร้างศักยภาพด้านทท. กับเพื่อนบ้าน ไทย-ลุ่มน้ำโขง มาเลเซีย อินโดนีเซีย เราร่วมมือกับมาเลเซีย-สิงคโปร์บ่อย ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งหมดที่กล่าวมา เอามาวาง ๕ ยุทธศาสตร์๑ .ดูแลการบริหารการจัดการการท่องเที่ยว๒.การพัฒนาคน๓.ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์๔.ยุทธศาสตร์ปัจจัยพื้นฐาน
๑๐.๑๕-๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๓๐ -๑๑.๓๐ น. (ร่าง) แผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ปี๕๔-๕๘ โดย นายณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์ หัวหน้าโครงการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว
สพท.ดูแลซับพลายไซท์และดีมานด์ไซท์ รับงานดูแลการพัฒนาสินค้าด้านการท่องเที่ยวจากททท.การนำเสนอครั้งนี้แบ่งเป็น๓ส่วน๑.สินค้าบริการท่องเที่ยว๒.ติดตามประเมินผล๓.ทำแผนกลยุทธ์/ ปฏิบัติการ ขอเสริมอ.จารุบุณณ์ ผมทำข้อมูลถึง ๒๐๐๘ จากซับไพรม์ จากอเมริกา ลามยุโรป กรีซนทท.จาก๕๐๐ลค. เป็น ๙๐๐ ลค. ชาวยุโรปตต.เที่ยวมาก รองมาคือ ยุโรปใต้ เอเชียแปซิฟิกเพิ่มสูงดีมาก ยูเอสเอ ตามมา แอฟริกาเพิ่ม๓ เท่าตัว ตลาดใหญ่คืดยุโรปและยูเอสเอโตช้าลงจาก๑๘ ปีที่แล้ว มาร์เกตแชร์ลดลง เอเชียแปซิฟิก(จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาเซียน-ไทย)โตสวนทางกับการลดของยุโรปและอเมริกา เงินเพิ่ม ๓ เท่า (จาก๒๖๔ เป็น ๙๐๐ พันล้านเหรียญ) โตเร็ว ใหญ่ โตเฉลี่ย ปีละ๑๐ % จีน ๕๓ ลค. รองลงมาคือ มาเลย์(อาจมั่วตัวเลข) ไทยค่อนข้างตัวเลขชัวร์กว่า ๑๔.๖ ลค.
การแข่งขันเกิดขึ้นระดับโลก เชิงรายได้ จีนเป็นอันดับ๑ ไทยส่วนแบ่งตลาดน้อยแต่รายได้สูงกว่ามาเลย์ นักท่องเที่ยวพักนานขึ้น แต่นทท.พยายามลดวันพัก คนไม่เพิ่ม แต่รายได้เราเพิ่ม ถ้าไม่เกิดวิกฤต เราอาจทะลุ ๒๐ ล้านคน การปิดสนามบินกระทบช่วงสั้นๆแต่คนก็กลับมาเที่ยวอีก นทท.ต่างชาติจ่าย ๓๕,๐๐๐ บาท/คน หักตั๋วเครื่องบิน ๔ ปีที่ผ่านมา นทท.หายไปล้านคน(๓๕,๐๐๐ล้านบาท)การลงทุนในยุโรปอเมริกา อิ่มตัวแล้ว การลงทุนทำให้เกิดการเดินทาง การพัฒนาทท.ในอนาคตต้องตอบสนองความต้องการของนักธุรกิจ การเดินทาง ความปลอดภัย ความสะดวก ประทับใจ ต้องการประสบการณ์มากขึ้นกว่าเดิม
การซื้อสินค้าและบริการ การเดินทางมี package tour กับ non-package tour กลุ่มที่มา ผ่านบ.นำเที่ยวลดลง แต่ชาติที่มีปัญหาเรื่องภาษาสัดส่วนการจองผ่านทัวร์ยังดีอยู่ ต้องพัฒนาการให้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น ต้องจับมือกับเพื่อนบ้านจะยกระดับการพัฒนาด้านการดึงคนเข้ามาในภูมิภาคกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้ามีปัญหาการกดขี่แรงาน ละเมิดสิ่งแวดล้อม ลิขสิทธิ์ แรงงานเด็ก จะถูกนำไปโจมตี
โครงสร้างประชากรสูงอายุ แก่ง่ายตายยากในยุโรป-ญี่ปุ่นมีมาก พวกนี้อยู่บ้านเขาต้องประหยัดแต่ถ้ามาบ้านเราจะใช้จ่ายได้หรูหราภาวะโลกร้อนน่ากลัว ทั่วโลกตื่นตัว อาจถูกผนวกมาเป็นเงื่อนไขในการท่องเที่ยว การเดินทางจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะมากขึ้น นั่งสมาธิ รักษาพยาบาล
สัดส่วนGDP เพิ่มมาก งบประมาณด้านการท่องเที่ยวไม่มากเท่าใดนัก การท่องเที่ยวโตทุกปี ดุลการชำระเงินส่วนหนึ่งมาจากการท่องเที่ยวนทท.ที่มาไทย ๕๑ มา ๑๔.๕ ปี ๕๒ มา ๑๕ ล้านคน จีนเกาหลี มามากเป็นหลักผลกระทบทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ท้องถิ่นบางอย่างถูกทำลายหายไปขยะ มลภาวะ ของเสียรายได้ตกแก่ชุมชนหรือไม่ ได้แต่ค่าแรง แต่ค่าครองชีพแพง แสดงว่า เป็นผลกระทบปี๒๐๑๐
เวียดนามตั้งเป้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม(ตอนนี้มี ๖ ล้านคน)เราไม่ต้องทำของถูก มีกลุ่มจ่ายแพงได้ ต้องทำแบบหลากหลาย แต่มีคุณภาพ จะทำให้เกิดการrevisiting แสดงว่านทท.มีความเป็นbrand royaltyต่อประเทศไทย แต่ตอนนี้คนไทยเริ่มขาดความเป็นเจ้าภาพ เรื่องทัวร์ศูนย์เหรียญ มีการขยายจากตลาดจีนไปที่รัสเซีย และเกาหลีแล้ว
เรามีหน่วยงานท่องเที่ยวมากมายเกือบทุกกระทรวง ควรมีองค์กรหลัก ให้มองปัญหาเชิงอุตสาหกรรม ต้องมีการบูรณาการให้การท่องเที่ยวมีศักยภาพแข่งขันได้ ค่าใช้จ่ายเวลาพักต้องเพิ่ม ควรส่งเสริมด้านการถ่ายทำภาพยนตร์
๑.การพัฒนาสินค้าและบริการแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด มีมากมาย พัฒนาให้มีมาตรฐานสากล บางแหล่งนทท.น้อย ลงงบมาก นทท.มาพัฒนาน้อย ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
รายได้กับการอนุรักษ์ต้องสมดุลกัน การจดทะเบียนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อจะได้มีข้อมูลด้านมาตรฐาน จะได้เข้าไปช่วย สมัครใจไม่เวิร์ค ต้องใช้กฎหมายบังคับ กรีนทัวริสม์(การท่องเที่ยวที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้โลกร้อน กระแสมาแรง อาจต้องมีมาตรฐาน จำกัดการเข้าไปของนทท.ไม่ให้มากขึ้น
๒.การพัฒนาด้านการบริหารและการจัดการตั้งกองทุนพัฒนาการจัดการด้านการท่องเที่ยว มาตรฐาน ออกกม.ให้แหล่งท่องเที่ยวทำมาตรฐาน พัฒนาระบบออดิโอซิสเต็ม ช่วยฟัง เพราะไกด์อธิบายถูกๆผิด การรณนรงค์จิตสำนึกด้านการท่องเที่ยว ระบบเส้นทางการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวไปแล้วไม่รู้จะไปต่อที่ไหน ยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าใด กิจกรรมท่องเที่ยวสำคัญสำคัญรองจากแหล่งท่องเที่ยว สงกรานต์พอดึงคนได้ แต่ไม่ควรซ้ำซาก พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชุมชน อาจพัฒนาต่อไปได้แต่ต้องระวังผลกระทบต่อชุมชน
นักท่องเที่ยวมุสลิมมีปัญหาเรื่องอาหารฮาราล นักท่องเที่ยวสูงอายุมัคคุเทศก์ ก็เป็นหัวใจสำคัญของการท่องเที่ยว ตอนนี้องค์กรมัคคุเทศก์ไม่เข้มแข็งนักท่องเที่ยวมาไทยจากข้อมูลอินเตอร์เนต รองลงมา คือ เพื่อน ญาติ ถ้าเป็นทัวร์ศูนย์เหรียญจะเกิดผลเสีย ต้องสร้างความเข้มแข็งแก่มัคคุเทศก์ พัฒนามัคคุเทศก์อย่างเป็นระบบ อาจบังคับให้เป็นสมาชิกสมาคมมัคคุเทศก์ ๓ ปี
กระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนพัฒนาบุคลากร เราก็ควรมีบริษัททัวร์๑๖ เปอร์เซ็นต์ ใช้อินเตอร์เนตทำพีอาร์ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์แบบเกาหลี ความปลอดภัยนทท. อินเตอร์เนตต้องมีหลายภาษาสร้างสถาบันการศึกษาเฉพาะที่ไม่เน้นผลกำไรเพื่อสร้างคน ยกตัวอย่างเช่น หลายมหาวิทยาลัยถ้าเน้นคุณภาพน.ศ.ก็ไม่มาเรียน

๓.ความร่วมมือในภูมิภาค
๑๑.๓๐-๑๒.๑๕ น.ระดมความคิดเห็นจากผู้ร่วมสัมมนา

-ดร.สุวันชัย ถามดีมานด์ ซับพลายไซท์
-พิทยะ เสนอแนวคิดส่งคนในวงการท่องเที่ยวไปเรียนภาษาต่างๆ เช่น อังกฤษ เกาหลี รัสเซีย กลุ่มสแกนดิเนเวียน ฯลฯ ไม่ต้องสร้างอาคาร ให้สวัสดิการบุคลากร อยู่ในวงการใช้ภาษาโดยตรง สะท้อนปัญหาเรื่องการฝึกงานและอนาคตของมัคคุเทศก์ในวันข้างหน้า
-เรื่องยุทธศาสตร์ joint visa อ.จารุบุณณ์ ต้องรอโอกาสในการเจรจาของ ก.ต. มีหลายประเทศเข้าโดยไม่มีวีซา
-ผู้ร่วมสัมมนาจาก ททท. เสนอว่า ททท.เคยมีสถาบันฝึกอบรมวิชาการที่บางแสน ตอนนี้หยุดไปแล้ว ขอฝากด้วย
-นายณัฐพล บอก น่าเสียดาย เสียโอกาส
-ผู้ร่วมสัมมนา เรื่องกฎหมายนอกเหนือจากพรบ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ นอกนั้นเป็นกฎหมายขนส่ง ป่าไม้ พรบ.ททท.(ดูแลการตลาด) การดูแลทรัพยากรทท.
-นายณัฐพล ขณะนี้มีแนวโน้มการออกกฎหมายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
-อ.จารุบุณณ์ กฎหมายจำเป็น การบุกรุกแหล่งท่องเที่ยวแถบเขาใหญ่ อยู่นานก็ได้รับสิทธิ์ครอบครอง ขายแก่เศรษฐี ต้องออกฎหมายป้องกัน บังคับกฎหมายอย่างใช้จริงจัง
-ผู้ร่วมสัมมนา กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อความอุ่นใจของนักท่องเที่ยว-ณัฐพล ทำอย่างไรกระบวนการยุติธรรมจะเดินต่อไป แม้ว่า นทท.จะเดินทางกลับไปแล้ว

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การบรรยายพิเศษปฐมนิเทศสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน

ที่ห้องประชุม๑-๑ อาคารสนม สุทธิพิทักษ์
วันศุกร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕
โดย อ.พิทยะ ศรีวัฒนสาร
กลุ่มวิชาวัฒนธรรมไทย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน

สวัสดีประธานกรรมการและคณะกรรมการกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม และสมาชิกใหม่ของกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมรู้สึกเป็นเกียรติและปลื้มปิติ ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนของพวกเรา และขอต้อนรับทุกท่านอย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

กลุ่มของเราเป็นกลุ่มคนทำกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ ที่มีค่อนข้างมีอนาคตสดใส อนุมานจากความสนใจสมัครในการเข้าร่วมทำกิจกรรมของสมาชิกจำนวนเกือบ๔๐๐คน แม้จะเพิ่งเปิดตัวใหม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้จึงขอกล่าวถึงแนวคิดในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนดังประเด็นต่อไปนี้
ความเป็นมา

กลุ่มCBSTC(Community -based Sustainable Tourism Club)หรือกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน ก่อตัวขึ้นจากความสนใจร่วมกันของสมาชิกกลุ่มหนึ่ง ที่จุดประกายความคิดเมื่อประมาณกลางปีพ.ศ.๒๕๔๔ว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งหลายในท้องถิ่นทุกภูมิภาคของเรา ซึ่งทำรายได้เข้าประเทศปีละไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาทตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๔๐ จนเกือบถึงสามแสนล้านบาทในปัจจุบัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จะมีความมั่นคงและยั่งยืนสืบไปถึงอนุชนในยุคหน้าได้นั้น ประชาชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการลงทุน บริหารและจัดการแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ สอดคล้องกับแนวความคิดการอนุรักษ์และพัฒนาการท่องเที่ยวในโลกปัจจุบัน ที่เน้นให้ชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวของตน

การมีส่วนได้ ส่วนเสียในทรัพยากรท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว เกิดความรู้สึกหวงแหนมรดกศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรท่องเที่ยวของตน และนำผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยว มาเป็นทุนในการเข้าร่วมรณรงค์ ปกป้อง ทะนุบำรุง อนุรักษ์และพัฒนามรดกทรัพยากรท่องเที่ยวของตนอย่างจริงจัง

ความเคลื่อนไหวของการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวของชุมชน มีองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)เป็นหน่วยงานท้องถิ่นหลักที่รับผิดชอบดูแล เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ และบำรุงรักษาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆอย่างค่อนข้างเต็มตัว อาทิ การจัดเก็บค่ารถรับส่งขึ้นชมทุ่งดอกกระเจียวและอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิตย์ จ.ชัยภูมิ ซึ่งมีระเบียบเคร่งครัดว่า ห้ามนำรถอื่นผ่านเข้าไปในวันหยุด ยกเว้นวันธรรมดา หรือได้รับอนุญาตจากหัวหน้าอุทยานป่าหินงามและแม้นักท่องเที่ยวจะมาเป็นหมู่คณะก็ไม่สามารถเหมารถเข้าไปชมได้

เมื่อถามว่ากระบวนการผูกขาดเก็บค่าโดยสารเข้าชมมีขั้นตอนการนำส่งรายได้และนำย้อนกลับมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างไร มีความโปร่งใสมากน้อยเพียงใด ใครเป็นเจ้าของรถโดยสาร ชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงหรือสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเพียงกลุ่มหนึ่ง คำถามอย่างนี้เป็นสิ่งน่าสนใจทั้งสิ้น เพราะเมื่อขึ้นไปชมอุทยานป่าหินงามบางท่านอาจได้พบเศษขยะกระจายหลงหูหลงตาอยู่ไม่น้อย

ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะมีองค์กรใดองค์กรหนึ่งก้าวเข้ามามีบทบาทในการสื่อความหมายและอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เห็นความเคลื่อนไหวแง่มุมต่างๆอย่างรอบด้าน เพื่อให้การท่องเที่ยวเพื่อชุมชนมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง

ทรัพยากรทางการท่องเที่ยวคืออะไร
เราทราบกันดีว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวในประเทศไทยจำแนกเป็น ๓ ประเภทคือ
๑)ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เกิดเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ทะเล ภูเขา น้ำตก ถ้ำ แม่น้ำลำธาร ป่าไม้ ฯลฯ
๒)ทรัพยากรท่องเที่ยวที่เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณี ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี เครื่องมือเครื่องใช้ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานโบราณ ฯลฯ
๓)ทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์ทำขึ้น ได้แก่ สวนสัตว์ สวนสนุก อุทยานแนวคิด(Theme Parks) ฯลฯ

ทรัพยากรท่องเที่ยวเหล่านี้ บางแห่งอยู่ในการดูแลของเอกชน บางแห่งกรมป่าไม้ดูแล บางแห่งกรมศิลปากรดูแล ฯลฯ โดยที่ประชาชนในท้องถิ่นไม่มีโอกาสเข้าร่วมบริหารจัดการและแบ่งปันผลประโยชน์โดยตรง ทำให้ชุมชนมิได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตน เมื่อแหล่งท่องเที่ยวถูกย่ำยีก็ไม่มีผู้ใดอ้างตัวรับผิดชอบ

ความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อชุมชน
เมื่อรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๔๐ กำหนดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายในการบริหาร จัดการทรัพยากรต่างๆในท้องถิ่นของตน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมของชาติด้วยความชอบธรรม จึงเปิดโอกาสให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต. และอบจ. เข้ามีส่วนร่วมในส่วนแบ่งที่เกิดขึ้นจากธุรกิจท่องเที่ยวในเขตรับผิดชอบของตนอย่างกว้างขวาง

ปรัชญาและปณิธานของกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน
กระแสความเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นที่มาของการก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนให้เห็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการบริหาร การจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวและการแบ่งปันผลประโยชน์ในชุมชนต่างๆทุกภูมิภาค ทั้งในประเทศไทย ในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายและทำความเข้าใจกับการกระบวนการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้มีความยั่งยืน โดยกระบวนการสำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยวิถีชีวิต ภูมิปัญญา การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน รวมถึงการอธิบายสภาพปัญหาและความเป็นไปต่างๆที่เกิดขึ้นกับแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนต่างๆทั้งในมิติด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณี รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ถ้ำ-ผา ป่าไม้ โบราณสถาน สวนเกษตร สวนสัตว์ อุทยานแนวคิด โฮม สเตย์ ฯลฯ

นอกจากนี้กลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนยังพยายามที่จะเผยแพร่แนวความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศรูปแบบต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวผจญภัย การไต่หน้าผา การดูนก และการท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติรวมถึงปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนในรูปของการออกไปจัดนิทรรศการทางวิชาการในสถานที่ต่างๆ การเสนอบทความ การทำงานวิจัยภาคสนาม การถ่ายทอดเทคนิค ประสบการณ์และกลยุทธ์ต่างๆในด้านการนำเที่ยว อันอาจนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินอาชีพมัคคุเทศก์ ไม่ว่าสมาชิกจะศึกษาในสาขาวิชาใดก็ตาม การทำกิจกรรมต่างๆดังกล่าวข้างต้น นอกจากจะส่งผลดีต่อชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของกลุ่มและมหาวิทยาลัยให้ยั่งยืนต่อไปด้วย

ชุมชนคืออะไร
ชุมชนหมายถึงกลุ่มชนซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เดียวกันเป็นเวลานาน มีความสัมพันธ์กันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม เป็นเจ้าของทรัพยากรและมีการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ร่วมกัน
การอธิบายถึงชุมชน ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจองค์ประกอบและปัญหาของชุมชนต่าง ๆให้แจ่มชัด พื้นฐานวัฒนธรรมของชุมชน พิจารณาจากปัจจัยต่างๆคือ ความสามารถในการยังชีพ ขนาดของการพึ่งพาธรรมชาติ ระบบการผลิตเชิงพาณิชย์แบบเข้มข้น ระบบประกอบการขนาดเล็ก การพึ่งพาการรับจ้างทั้งในและนอกภาคการเกษตร ลักษณะการพัฒนาของรัฐในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ผลจากการขยายตัวของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่ชุมชน เป็นต้น และจากการศึกษาชุมชนในภาคเหนือเป็นตัวตั้ง อาจกล่าวโดยภาพรวมได้ว่า โดยทั่วไปแล้วชุมชนในประเทศไทยจำแนกได้ ๕ รูปแบบดังนี้

๑.ชุมชนที่ยังมีปัญหาในการยังชีพ เป็นชุมชนซึ่งชาวบ้านมีที่นาน้อย เฉลี่ยครัวเรือนละไม่ถึง 2 ไร่ และผลผลิตข้าวต่อไร่ต่ำ ทำให้ชาวบ้านต้องพึ่งป่าธรรมชาติเพื่อตัดไม้หารายได้ หาอาหาร และทำข้าวไร่
๒.ชุมชนที่พึ่งพาการซื้อข้าวบริโภค ชาวบ้านส่วนหนึ่งยังปลูกข้าวไม่พอบริโภคไม่มีระบบเหมืองฝายและมักมีปัญหาฝนแล้ง ที่นาส่วนใหญ่เป็นของเป็นของนายทุน ชาวบ้านอยู่ได้ด้วยการบุกเบิกทำไร่ ปลูกพืชเพื่อการค้าที่ใช้ทุนสูง เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง มะเขือเทศ ขิง และถั่วแขก ทำให้ต้องเลือกทำสัญญาขายผูกพันล่วงหน้า เพราะพ่อค้าเป็นผู้ออกทุนบางส่วนให้ทำเกษตรกรรม
๓.ชุมชนที่ขายข้าวและรับจ้าง มีอาชีพทำนาเป็นหลัก ปลูกพืชไร่เล็กน้อย กลุ่มคนที่มีนามากและปานกลางจะมีข้าวเหลือขาย แต่บางปีชาวบ้านส่วนหนึ่งขาดข้าวเนื่องจากฝนแล้ง ต้องออกไปหางานทำต่างถิ่น เพราะไม่มีทุนปลูกพืชพาณิชย์หรือผลิตพืชผลอย่างอื่น ชาวบ้านหลายคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ กลายเป็นปัญหาสังคมที่ชุมชนต้องหันมาสนใจมาก
๔.ชุมชนเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์แบบเข้มข้น ชุมชนมีระบบเหมืองฝายที่ดี ทำให้ปลูกข้าวและถั่วได้ปีละ 3 ครั้ง คนไม่มีที่นาประมาณร้อยละ 40 จะมีรายได้จากการทำนาเช่าและรับจ้างทำการเกษตรในชุมชน ทำให้ออกไปทำงานต่างถิ่นน้อย บางส่วนปลูกพืชที่ใช้ทุนสูง เช่น แตงและขิง
๕.ชุมชนการเกษตรก้าวหน้าที่กำลังเผชิญกับกระแสทุนจากภายนอก ชุมชนกลุ่มนี้สามารถทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง มีระบบชลประทานเหมืองฝายดี ปลูกข้าวและพืชพาณิชย์ ไม่พึ่งพาการทำไร่ ชาวบ้านบางส่วนมีรายได้จากสวนลำไยแบบก้าวหน้า ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเข้มข้น และจ้างแรงงานแบบเบ็ดเสร็จ ทำให้มีฐานะดี บางส่วนทำธุรกิจขนาดเล็กนอกภาคเกษตร เช่น โรงงานทำอิฐ บางส่วนค้าขายพืชผลทางการเกษตร แต่มากกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีที่ดิน ต้องเช่าที่นาและรับจ้าง จึงมีฐานะยากจนต้องซื้อข้าวกิน มีหนี้สินจากการลงทุนในการผลิตเพื่อขาย ชาวบ้านที่มีที่นาขนาดเล็กมีฐานะพอมีพอกิน แต่ก็มีหนี้สินมากเพราะต้องเสี่ยงกับการปลูกพืชพาณิชย์แบบเข้มข้น

จากพื้นฐานข้างต้นจะเห็นว่า ชุมชนมีสิ่งที่น่าสนใจหลากหลายไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญา วัฒนธรรมการหากินหาอยู่และวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน และสิ่งต่างๆที่เป็นตัวตนของชุมชน และชุมชนมอบให้เป็นมรดกทรัพยากรท่องเที่ยวจำแนกได้ดังนี้

ก. การดำเนินธุรกิจต่อเนื่องการเกษตรและธุรกิจนอกภาคนอกการเกษตรของชุมชน ได้แก่
-ผลิตภัณฑ์จากผ้า เช่น การทำผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ ผ้าไหม มัดหมี่ ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง และกระเป๋าผ้าชนิดต่าง ๆ
-ผลิตภัณฑ์ตัดเย็บเสื้อผ้า เช่น การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้านและสำนักงาน และเสื้อผ้าเครื่องแบบของพนักงานบริษัทและข้าราชการ
-ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่และหวาย เช่น ตะกร้า เข่ง กระจาด เสื่อหวาย กระติ๊บข้าว กระด้ง และหัตถกรรมไม้ไผ่อีกมาก
-ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ประดิษฐ์ เช่น การทำดอกไม้ ผลไม้ และไม้ประดิษฐ์จากกระดาษชนิดต่าง ๆ
-ผลิตภัณฑ์อาหารและการแปรรูป เช่น ผัก ผลไม้ ที่ปลอดสารเคมี ผลิตภัณฑ์จากผลไม้พร้อมดื่ม หัวเชื้อเครื่องดื่มเข้มข้นไวน์จากผลไม้ชนิดต่าง ๆ (เช่น มะยม มะเฟือง มะขาม สับประรด เป็นต้น) สมุนไพรผง ข้าวสารปลอดสารพิษ และน้ำตาลก้อนปลอดสารเคมี
- ผลิตภัณฑ์วัสดุ เช่น เครื่องปั้นดินเผา ผลิตภัณฑ์โลหะ (เช่น มีด เสียม เคียว ขวาน จอบ) ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ( เช่น อิฐบล็อก อิฐทนไฟ กระเบื้องมุงหลังคา และกรอบประตูหน้าต่างเหล็ก)

ข.กิจกรรมธุรกิจเกษตรผสมผสานของชุมชน จำแนกเป็น
-กิจกรรมลานค้าชุมชน ได้แก่ การจัดหาพื้นที่ให้สมาชิกนำผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นการเกษตร ต่อเนื่องการเกษตร และนอกการเกษตร สู่ตลาดเพื่อซื้อ – ขายสินค้า ในกรณีนี้ ลูกค้าของลานค้าชุมชนอาจได้แก่เกษตรกร คนชนบท นักท่องเที่ยว คนเมือง และอื่น ๆ ลานค้านี้อาจตั้งในตลาดชนบท ตลาดเมือง สี่แยกที่ชุมนุมการสัญจรโดยปลอดการเสียค่าธรรมเนียม

-กิจกรรมร้านค้าชุมชน ได้แก่ การส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำธุรกิจชุมชนด้วยการตั้งร้านค้าเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของตน ธุรกิจแนวนี้มักมีความเกี่ยวพันกับกิจกรรมการออมทรัพย์ การระดมหุ้นการระดมทุน การผลิต และการแปรรูป ซึ่งจัดตั้งขึ้นแล้วในหลายจังหวัด
-ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ( One – Stop – Service) ตามพระราชดำริที่ว่า ควรมีสถานที่ที่เกษตรกรสามารถแสวงหาข้อมูล คำแนะนำในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำ การใช้น้ำ การบำรุงดิน การป้องกันและปราบศัตรูพืช การลงทุน การตลาด การแปรรูปผลผลิต ฯลฯ

ในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวนั้น ผลผลิตที่ชุมชนเป็นเจ้าของจะถูกนำออกมานำเสนอในรูปแบบต่างๆให้ศึกษาดังนี้
๑.การจำหน่ายสินค้าเอกลักษณ์ของชุมชน(Product Sales)อาทิ สินค้าหัตถกรรม อาหารประจำถิ่น ทั้งนี้หมายถึง ทรัพยากรการท่องเที่ยวอื่นๆ ของชุมชนนั้นด้วยเช่นผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น
๒.กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรม(Cultural Shows) เช่น การฟ้อนรำ การละเล่นพื้นบ้านและ การแสดงดนตรีเฉพาะชุมชนเป็นต้น
๓.กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงหมู่บ้าน (Village Based Activities) หมายถึงกิจกรรมทางการท่องเที่ยว อาทิ การจัดกิจกรรมเดินป่าชมธรรมชาติในบริเวณหมู่บ้านหรือบริเวณใกล้เคียงพร้อมมัคคุเทศก์นำทางโดยคิดค่าใช้จ่ายจากนักท่องเที่ยว
๔.กิจกรรมพักค้างแรมในหมู่บ้าน สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในชุมขน กิจกรรมการพักแรมในหมู่บ้านมีหลายรูปแบบ ได้แก่
1.1 การจัดแคมป์ (Camping)
1.2 การกิจกรรมที่พักแรม Homestay
1.3 การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พักแรมในหมู่บ้าน(Operated Accommodation เป็นต้น

สถานภาพของสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนบนเวทีกิจกรรมมธบ.
เมื่อเรารู้จักชุมชนกันแล้ว ทีนี้ก็ต้องย้อนกลับมาถามตัวเองดูว่าWho are we? เราเป็นใคร
คำตอบก็คือ เราเป็นทั้งนักท่องเที่ยว นักจัดรายการนำเที่ยว นักธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ นักค้นคว้า นักวิจัยด้านการท่องเที่ยว นักสำรวจแหล่งท่องเที่ยว นักวิชาการวัฒนธรรมและนักประชาสัมพันธ์ แต่กิจกรรมที่เราจะเน้นคือการติดตามความเป็นไป ทิศทาง และแนวโน้ม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ที่เกิดขึ้นกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีชุมชนต่างๆเข้ามาดูแลรับผิดชอบดำเนินการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ด้วยความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรท่องเที่ยว ด้วยความรู้สึกหวงแหนที่มีต่อสมบัติมรดกทรัพยากรท่องเที่ยว ซึ่งเราในฐานะที่เป็นสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชนทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ในฐานะประชาชนไทยและในฐานะของสมาชิกประชาคมโลก

เมื่อเราออกทำกิจกรรมสัมผัสกับแหล่งท่องเที่ยว ผลที่เราจะได้รับคือความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆอันจะทำให้เรามีความสุข เพราะการทำกิจกรรมของเราคือการท่องเที่ยว การค้นคว้า สำรวจ วิจัย และศึกษาแบบแผนการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆของชุมชน เสน่ห์ของการเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติและวิถีชิวิตชุมชนอันหลากหลาย จะเป็นประสบการณ์ที่ทำให้คนทำกิจกรรมอย่างพวกเรา ตระหนักถึงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของทรัพยากรท่องเที่ยวของเรา ของภูมิภาคและของโลกอย่างลึกซึ้ง

ประโยชน์ของการทำกิจกรรมจะทำให้เรารู้จักการเสนอความคิดเห็น รู้จักสังเกตจดจำ รู้จักแก้ปัญหา และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อันเป็นคุณธรรมสำคัญของการผนึกกำลังเป็นหมู่คณะในสภาพแวดล้อมจริง

กิจกรรมปีการศึกษา๒๕๔๕
๑)โครงการเปิดโลกกิจกรรม(๙-๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๕)
๒)โครงการปฐมนิเทศสมาชิกชมรม วันที่๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕
๒)โครงการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อชุมชนที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและปริมณฑล เป็นกิจกรรมลำดับต่อมา โดยจะมีการออกเดินทางสำรวจ ศึกษาและเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชุมชนภาคกลาง ซึ่งนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าของสินค้า รวมถึงการล่องเรือ ศึกษาสภาพชีวิตของชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาที่พึ่งพาสายน้ำเจ้าพระยาเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต สืบมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งหลังการเดินทางจะมีการจัดทำรายงานการสำรวจศึกษา ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาต่อไป และเนื่องจากสมาชิกกลุ่มของเรามีจำนวนมากจึงอาจจำเป็นต้องจำกัดที่นั่งในการเดินทาง และอาจจำเป็นต้องผลัดกันไปในรอบต่อๆไปอย่างเท่าเทียมกันสำหรับสมาชิกที่พลาดโอกาสในครั้งนี้โดยกรรมการกลุ่มฯคงจะประกาศให้ทราบภายหลัง
๓)โครงการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่องอาหารไทยกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อชุมชน เรื่องอาหารไทยกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีความสำคัญมาก ปัจจุบันร้านอาหารไทยกระจายออกไปสร้างรายได้ทั่วโลกและยังมีแนวทางในการประกอบอาชีพได้อย่างสดใสอีกนาน ซึ่งหากเป็นไปได้วันนั้นเราอาจมีอาหารไทย ขนมไทยมาให้ชิมกัน สำหรับวัน เวลาและวิทยากรที่จะมาให้ความรู้นั้น กำลังติดต่อดำเนินการอยู่และจะประกาศให้ทราบภายหลัง ขอให้สมาชิกเข้าร่วมสัมมนาโดยพร้อมเพรียงกัน
๔)โครงการงานวิจัยภาคสนามเพื่อสำรวจ ศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวด้านต่างๆที่ชุมชนเป็นผู้บริหารและจัดการในช่วงปิดภาคฤดูร้อนปีการศึกษา๒๕๔๕ โครงการนี้จะมีการขอทุนวิจัยและสมาชิกสามารถผลัดกันเข้ามาร่วมเก็บข้อมูลในงานวิจัยนี้ได้เช่นกัน จะแจ้งขั้นตอนให้ทราบต่อไปเช่นกัน

สรุป
ผลที่เราจะได้รับจากการเป็นสมาชิกคือ ประสบการณ์ในการร่วมทำกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยการเสนอความคิดเห็น การถกเถียงด้วยเหตุผล การติดต่อกับบุคคลและองค์กร การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงความประทับใจที่เกิดขึ้นเมื่อเราสามารถผลิตผลงานออกมา สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราสามารถก้าวออกไปสู่โลกภายนอกอย่างรู้เท่าทัน และมีความมั่นใจในการต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นทุกองค์กร