จัดการความรู้และเผยแพร่ โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ในภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2547 ผู้เขียนได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครให้สอนรายวิชา 3574904 การสัมมนาธุรกิจการท่องเที่ยว จึงมีโอกาสเป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาดังกล่าว(คณะกรรมการการจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ โปรแกรมวิชา เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ แขนงวิชา ธุรกิจการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร) จัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วันที่ 27 กันยายน 2547 ณ ห้องประชุมกรุงสยาม ชั้น8 ตึกมหาวชิราลงกรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร โดยมีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ ดร.ละเอียด ศิลาน้อยและกำนัน ธวัช บุญพัด ผู้เขียนพิจารณาเห็นว่า เนื้อหาการสัมมนาสามารถนำไปใช้ในการสร้างองค์ความรู้แก่วงวิชาการสายการจัดการและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างลึกซึ้งจึงพิจารณานำมาเนื้อหาส่วนใหญ่ของรายงานการสัมมนาดังกล่าวเผยแพร่และถ่ายทอดผ่านสื่อสารสนเทศนี้
กำหนดการการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน”
08.30น . ลงทะเบียนและรับเอกสาร
09.00น. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ กล่าวรายงานการสัมมนา
09.05น . อธิการบดีกล่าวเปิกการสัมมนา
09.10น. พิธีกรแนะนำวิทยากร
09.15-10.00น. ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ปัญหาและผลกระทบต่อชุมชนกับแนวทางการแก้ไขจาก
การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของรัฐบาล”
องค์ปาฐก รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ ประธานมูลนิธิหมู่บ้านไทย
10.00-10.10น. พิธีกรสรุปและแนะนำวิทยากร
10.10-11.00น. “เครือข่ายการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน”
วิทยากร ดร.ละเอียด ศิลาน้อย ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยว
และมัคคุเทศก์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
11.00-11.05น พิธีกรสรุป
11.05-11.20น. พักรับประทานอาหารว่าง
11.20-12.10น. “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ อบต. : การปนเปื้อนทางวัฒนธรรมกับจิตสำนึกของชุมชน ” วิทยากร กำนันธวัช บุญพัดผู้ประกอบการ เครือข่ายโฮม สเตย์ ตำบลปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม
12.10น. อภิปราย ซักถาม เสนอความคิดเห็น
12.30น. ปิดการสัมมนา
พิธีกร
ดร.สุวันชัย หวนนากลาง ภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ปัญหาและผลกระทบต่อชุมชนกับแนวทางการแก้ไขจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของรัฐบาล
โดย รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ ประธานมูลนิธิหมู่บ้านไทย
ท่านอาจารย์และก็นักศึกษาทุกท่าน เป็นครั้งที่ 2 ที่ผมพูดเรื่องท่องเที่ยวในเวลา 3-4 วัน ทั้งๆ ที่ผมทำเรื่องการท่องเที่ยวมา 20 กว่าปี พาฝรั่ง พาญี่ปุ่น พาคนต่างชาติมาบ้าน ส่วนหนึ่งก็ไปดูงานพัฒนาและส่วนหนึ่งก็ไปเรียนรู้ที่เรียกว่า ทัวร์ทางเลือก ซึ่งเมื่อ 20 กว่าปีมาแล้วมี 2 กลุ่มที่ทำ กลุ่มทีมของผมที่ทำ และกลุ่มที่ชื่อว่า ไลฟ์ ทัวร์ ทำอยู่ทางเหนือ แต่ผมก็ทำอยู่ไม่กี่ปี ก็ไปทำงานพัฒนาทางอื่นให้คนอื่นๆ ทำไปก็มีประสบการณ์ท่องเที่ยวขณะนี้ก็เริ่มพัฒนาไปบางรูปแบบซึ่งเราเรียกว่าการท่องเที่ยวอนุรักษ์ การท่องเที่ยวยั่งยืน และอะไรอีกหลายอย่าง เมื่อวันก่อนเรามีงานโฮมสเตย์งานให้รางวัล ผมคิดว่าการโปรโมตเรื่องโฮมสเตย์ก็ดี แต่ว่ามันพูดเรื่องโฮมสเตย์อย่างเดียวมันแคบเกินมันทำให้คนคิดว่าจะไปหมู่บ้านแล้วก็ไปนอนบ้านชาวบ้าน ซึ่งความจริงแล้วมันเป็นอะไรหลายอย่างมากกว่านั้น ไปเช้าเย็นกลับก็ยังได้ นอนก็ได้แต่ว่าเราก็คงจะไม่ได้หมายถึงโฮมสเตย์อย่างเดียว อาจจะหมายถึงการท่องเที่ยวที่มันครอบคลุมที่ไปถึงการไปชุมชน การไปเรียนรู้ การไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร นิเวศยั่งยืนและแบบต่างๆ ผมคิดว่าความสำคัญ วันนี้ที่อยากจะพูดคือว่า การท่องเที่ยวที่ว่านี้มันเป็นอะไรที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตของชุมชนและทำอย่างไรเราจึงจะทำให้การท่องเที่ยวนี้มันได้ทุกฝ่าย ได้ทั้งคนไป ทั้งคนอยู่ ได้คนไปเที่ยว ได้ทั้งคนที่อยู่ที่บ้านต้อนรับ ไม่ใช่คนหนึ่งได้คนหนึ่งเสียหมายความว่าอาจจะได้เงินแต่สูญเสียหลายอย่าง เช่น ทางวัฒนธรรม ทางสิ่งมีชีวิต ทางสิ่งแวดล้อม อะไรหลายอย่าง จะให้ทุกฝ่ายมีความสุข มีความสบายใจ มีรายได้ดีขึ้น มีชีวิตดีขึ้น ผลก็เลยเลือกที่จะพูดวันนี้ คือ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิสาหกิจชุมชนนี้ก็คือการจัดการทุนของชุมชนในรูปแบบต่างๆ คือการวมกลุ่มกันจัดการเรื่องออมทรัพย์ เรื่องทรัพยากร เรื่องการท่องเที่ยว เรื่องการเกษตร เรื่องสุขภาพ ได้ทั้งนั้นแหละ และการท่องเที่ยวก็เป็นวิสาหกิจชุมชน และในขณะนี้มี พรบ. ใหม่ ออกมาเรียกว่า พรบ. วิสาหกิจชุมชน ช่วยให้ชุมชนได้รับการสนับสนุนมากขึ้น ผมอยากจะให้เราได้ทำความเข้าใจก่อนที่จะพูดเรื่องการท่องเที่ยวว่า วันนี้โลกกำลังหาอะไร แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของโลกก่อนที่เราจะดูว่าเราต้อนรับเค้าอย่างไร ตรงไหน เราจะให้เค้าไปนอนที่ไหน เราจะต้องให้กาแฟอย่างไร เราจะต้องหาอาหารให้กินอย่างไร อย่างนี้เป็นเทคนิค พอขึ้นต้นไม้ต้องขึ้นทางต้นอย่าขึ้นทางปลาย ต้องจับความคิดให้มันชัดๆ ก่อนให้มันแม่นๆ ก่อน คนไทยเราชอบกระโดดไปหาเทคนิค ไม่ชอบวิทยาศาสตร์ แต่ชอบเทคโนโลยี สับสนว่าเทคโนโลยีเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่เทคโนโลยีเป็นลูกของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นพ่อเป็นแม่ เป็นหลักคิดสำคัญ นี่ก็เหมือนกันภูมิปัญญาชาวบ้านก็คือปรัชญาชีวิตของชาวบ้านแล้วก็มีภูมิปัญญาชาวบ้าน เราพูดถึงเรื่องท่องเที่ยวก็เหมือนกันเรามาผูกกันว่าวันนี้ในโลกเราต้องการอะไร แล้วมีอะไรดีๆ แล้วเราจะทำอย่างไร มันไม่ได้วิ่งไปจะต้องผลิต โรงงานอุตสาหกรรม เยอะๆ ตอนนี้ประเทศพัฒนาแล้วเค้ายกโรงงานไปให้ประเทศพัฒนาหมดเลย อยากเป็นนิค (Nic) ยกโรงงาน BMW ให้ไปเลย อยากเป็นดีทรอยต์ ตะวันออก ก็ยกโรงงาน Ford ไครสเลอร์ ให้ไปเลย เค้าจะได้ไม่มีปัญหาพวกนี้ไง เค้าจะได้ทำงานพวกคอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ Silicon valley เค้าทำเรื่องตลาดหุ้น เค้าทำเรื่องอะไร วันนี้โลกกลับไปหาธรรมชาติ เพราะว่าเราเริ่มรู้สึกว่าเราได้ทำลายธรรมชาติ เราได้ทำให้เกิดความสูญเสียทำให้มันเป็นพิษ ใจเป็นพิษ ทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคซาร์ โรคห่า โรคเหว อะไรต่างๆ เต็มไปหมดจนรักษาไม่ได้ คือโรคเอดส์ คนเริ่มรู้สึกว่าที่เป็นอย่างนี้ เพราะเราไปผิดผี รู้จักผิดผีมั้ย เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักหรอกผิดผี ผิดผีคือไปฉุดลูกหลานเค้าอย่างเดียว คือ ผิดกฎธรรมชาติไงผิดผี ผีคือกฎเกณฑ์ธรรมชาติ เมื่อเราไปผิดกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเราก็มีปัญหา ฝนแล้ง น้ำท่วม พายุ มาหลายครั้งไม่เคยมีวันหมด วันนี้คนกลับไปหาธรรมชาติพูดเรื่องสุขภาพการค้าขาย วันนี้เขาไม่ได้ต่อสู้กันที่กำแพงภาษีอีกแล้วนะ ตอนนี้ FTA ทำให้ภาษีลดเหลือศูนย์ไง การค้าเสรีทำให้ภาษีแทบจะไม่มีอีกแล้ว แต่เขามาสู้กันที่สารเคมีไง สารเคมีน้อยไม่มีปัญหา ถ้าเขาตรวจพบว่าเรามีสารตกค้างเอากลับบ้านผลไม่รับเข้าแล้วเป็นไง เมื่อ 2 ปีก่อน ขาดทุกเป็นหมื่นๆ ล้านเลยนะ คนไทย ไก่คุณมีสารเคมีตกค้างเอากลับบ้าน ผักผลไม้ข้าวคนเราพบแล้วมีสารเคมีเป็นไงเอากลับบ้านสิ คนไทยจึงกลัวมากวันนี้กลัวขายของไม่ออกไง จึงได้มาเคร่งครัดในการผลิตอาหารไม่ว่าจะเป็นพืช ผัก ผลไม้ ไก่ หมู ที่เราส่งออก ปลาไม่ให้มีสารตกค้างต้องการเป็นโลกปลอดสารเคมี โลกเราทุกวันนี้ฝรั่งเป็นตัวแรกที่กระตุ้นให้เกิดพวกนี้ เขามาเที่ยวเมืองไทยเขาคิดว่าเมืองไทยยังมีธรรมชาติ วัฒนธรรม ซึ่งบ้านเขาเมืองเขาหายไปหมดแล้ว หมดไปตั้งนานแล้ว ยุโรปก็นานหลายปีไม่เคยเห็นป่า ป่าก็เป็นป่าปลูกเกือบหมดเลย ป่าธรรมชาติก็น้อยมาก ป่าสนก็มีแต่ต้นสนเต็มไปหมดเลย ป่าธรรมชาติก็หายไปตั้งนานแล้ว ชีวิตของเราระหว่างเมืองกับชนบทแทบไม่ต่างกัน เป็นชีวิตที่มีความเคร่งครัดเป็นชีวิตที่ทุกคนดิ้นรนอยู่ในกฎในระเบียบจะเลี้ยงหมาตัวหนึ่งจะต้องไปขออนุญาตไปจดทะเบียนต้องไปไหนเขาดูว่าหมาเป็นยังไง และต้องเสียภาษี เสียอะไรต่อมิอะไร ถ้ามันเห่ากันเพื่อนบ้านก็ต้องไปแจ้งตำรวจจับอีก แล้วเวลาออกจากบ้านต้องเอาเชือกผูกปาก เพราะฉะนั้นเราไม่เคยเห็นข่าวหมาไปกัดใครต่อใคร ถ้ากัดแบบบ้านเราไอ้ร็อดไวเลอร์เนี่ยติดคุกปรับ แถมปรับเป็นเงินเป็นแสนเป็นล้านอะไรก็ไม่รู้แหละของเราไม่มีหรอกสิ่งนี้ ของเราปล่อยตามธรรมชาติ คนไทยเรายังคิดว่าทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ฝรั่งเวลาพาหมาออกจากบ้านต้องมีปลอกปากเหมือนจราจรบ้านเราพกถุงพลาสติก ถ้ามันขี้ที่ไหนจะต้องเก็บใส่ถุงพลาสติกเอาไว้ ฝรั่งถึงบอกว่าเมืองไทยมีธรรมชาติอยู่ไง เค้าถึงอยากจะมาเมืองไทยก็ไม่อยากจะอยู่แถวกรุงเทพฯ อยากจะไปเชียงใหม่ไปภูเก็ต อยากจะไปสมุย อยากไปธรรมชาติเพราะยังมีอยู่ เพราะประเทศไทยมีธรรมชาติสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไทยที่ผลิตอาหารไปเลี้ยงคนในโลก อุดมสมบูรณ์ขนาดคนจีนบอกว่าตะเกียงเสียบบนดินมันก็งอกได้ ที่จีนเค้าล่ำลือกัน อยากจะไปเมืองไทย และก็มาเมืองไทยในระยะหลายร้อยปีที่ผ่านมาเป็นล้านๆ คน แต่คนไทยไม่เคยเห็นพวกนี้ แล้วก็ทำลาย วันนี้ฝรั่งยังคิดว่าเรามีสิ่งเหล่านี้ เค้าไปอยู่ที่เชียงใหม่ ไปถึงเชียงใหม่เค้าไม่อยากนอกโรงแรมสูงๆ เค้าอยากนอนโรงแรม 2 ชั้น คนที่นั่งฟังผมที่ห้างเรดิสันก็นั่งฟังผมอีกรอบนะจะได้จำ คราวหน้าถ้าผมไม่สบายหรือไปไหนไม่ได้ก็ไปพูดแทนผมละกัน ที่เชียงใหม่คนอยากจะไปพักที่โรงแรมที่ว่าซึ่งมีอยู่ 16 หลัง เป็นบ้านคล้ายๆ บ้านไทยธรรมดาและก็มี 2 หลังแยกกัน แล้วก็มีห้องน้ำมีระเบียงออกมาดูป่าเขา ดอยสุเทพ ต้นไม้ธรรมชาติ ต้นไม้ปลูกใหม่ที่มีทุ่งนาข้างล่างที่เขาจัดให้นักท่องเที่ยวทุกวันจะมีควายไถนาให้ดูควายที่มีเงินเดือนเกือบ 4,000 คนไถได้ 6,000 มากกว่า ควายเล็กน้อย ปรากฏว่าคนอยากไปพักที่นั้นทั้งที่ค่าที่พัก 30,000 บาท นายกทักษิณ ก็มาจัดประชุม ACD กันที่นี่แหละ สมเด็จพระราชินีเดนมาร์กก็อยากจะเสด็จที่นี่ ใครๆ ก็อยากจะไปที่นี่ พรทิพย์ นาคหิรัญกนก นางงามจักรวาลก็อยากจะไปพักที่นี่ คุณพรทิพย์จำได้ไหมนางงามจักรวาลที่รักเด็ก แต่ไปรักคนแก่ แกพาไปนอนที่เนี่ย คืนละแสน อยู่ในปราสาทเล็กๆ เหมือนวอลท์ ดิสนีย์ ปราสาทที่นี่มาจากทางใต้เยอรมัน ชื่อปราสาทนอยท เซาว์น่ารักเหมือนดิสนีแลนด์เหมือนแดนเนรมิตที่เพิ่งเลิกไป ไปนอนที่นั่น 13,000 ทำไมอยากไปนอนนักที่นั่น ทำไมอยากไป ธรรมชาติครับ ทำไมไม่ไปนอนหมู่บ้าน ไม่กล้าไปเพราะยังไม่พร้อมที่จะรับคนอย่างนี้ ทำไมบาหลีเขารับเขาก็มีหมู่บ้านที่เขาสร้างบ้านให้นักท่องเที่ยวมานอนนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้นอนบ้านแต่ไปนอนบ้านที่เขาปลูกให้นอนมีเป็นร้อยหลังเลยนะบางหมู่บ้าน อยากจะไปเพราะมันเป็นอิสระมันก็อยู่ในหมู่บ้านนั้นแหละและมันก็เหมือนกับที่รีเจนท์ แม่ริมนั้นแหละต่างกันที่นอนที่นั้น 800-500 ไม่ต้องจ่าย 30,000 มีเตียงสะอาดมีผ้าปูเตียงมีห้องน้ำสะอาด ตื่นขึ้นมากินกาแฟตอนไหนก็ได้ ถามว่าลงทุนเยอะไหมก็ไม่เท่าไรบางแห่งก็มีต่างชาติลงทุนให้มาสร้างได้แล้วก็บอกว่าผมขอลาพักปีละประมาณ 2-3 อาทิตย์นะ 10 ปี 15 ปี พักฟรี แล้วผมจะสร้างบ้านให้และที่เหลือที่ผมไม่อยู่เป็นบ้านคนนั้นแหละ ก็มีชมรมสมาคมของคนยุโรปในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เขาพร้อมที่จะทำพวกนี้ได้ถ้ามีการจัดการที่ดี พร้อมที่จะลงทุนให้การจะไปนอนหมู่บ้านเป็นเรื่องยาก ผมเนี่ยทำงานพัฒนาชนบท การที่จะไปนอนหมู่บ้านรู้ว่าเป็นเรื่องยากที่โปรโมตโฮมสเตย์ให้เป็นที่รู้จัก มันเหมาะที่จะไปค้างคืนเดียวถ้าจะไปนอน 2 เดือน ต้องเหมือนที่จังหวัด นนทบุรี มีบ้านริมน้ำ บ้างอิงน้ำ ใครจบราชภัฏไปเป็นผู้จัดการที่นั้นเดือนละ 50,000 – 60,000 หากฝรั่งไปพักคนไทยไปพักคือหนึ่งเสียคืนละ 700-800 บาท เป็นบ้านที่อยู่ในสวนผลไม้จะตื่นกี่โมงก็ได้ จะไปพายเรือก็ได้ จะนั่งทำงานเหมือนฝรั่งอิตาลีที่เขาออก TV ไง กลุ่มแม่บ้านก็จะจัดเตรียมอาหารให้และคิดค่าอาหารค่าอะไรก็ไม่แพงเลย 700-800 บาท ต่อวัน อย่างนี้จึงเป็นสวรรค์ของฝรั่งดีกว่าการที่จะไปนอนโรงแรมเยอะเลยเป็นธรรมชาติ
การโปรโมตทางเวบไซท์จะเสียสักกี่บาท เดี๋ยวนี้ทำเว็บไซท์ฟรีอีกต่างหาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็สามารถเข้าไปดึงเพื่อไม่ต้องการผ่านบริษัททัวร์ ไม่ต้องการผ่านไกด์หรืออะไรเลยพอลงดอนเมืองแล้วไปนอนที่นั้น 2-3 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน อยู่กับธรรมชาติที่มันหายไปแล้วจากชีวิตของบ้านเขา บอกได้อย่างนี้ทำได้หรือเปล่า
ตอนนี้คนคืนสู่ธรรมชาติแต่เรากลับทำลายธรรมชาติ เราใช้สารเคมีไปเท่าไร ตัดไม้ไปเท่าไร เราอยากจะทำเลียนแบบฝรั่งหมดเลย บ้านเรือนไทยที่อยู่เย็นเป็นสุขได้เนี่ยเราก็ต้องการทำบ้านเป็นตึกเหมือนบ้านฝรั่ง เหมือนบ้านเมดิเตอเรเนียน เสน่ห์อยู่ที่วิถีชีวิตของชาวบ้าน คนไทยมีเสน่ห์ครับ เป็นคนที่รับแขกได้เพื่อนผมที่เป็นชาวต่างชาติบอกว่าเมืองไทยมีศักยภาพที่จะรองรับนักท่องเที่ยวไม่ใช่แค่ 10-11 ล้านคน แบบเนี่ยกระจอกมากเลย น้อยกว่ามาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง เขามีตั้ง 14-16 ล้านคนต่างหาก คนไทยมีเสน่ห์ คนไทยมีอัธยาศัยดี ยิ้มให้เขาอยู่ เหยียบเท้าเขาขึ้นรถเมล์กลับยิ้มให้เขาอีกต่างหาก ฝรั่งเพื่อนผมเค้าลงรถเมล์เค้าบอกว่าเขาลงมาจากรถเมล์มีคนเหยียบเท้าแล้วยิ้มให้เขา ผมบอกว่าอย่างนั้นเขายิ้มขอโทษคุณ เค้ายิ้มแสยะหรือเปล่า บอกเปล่า รู้จักมั้ยยิ้มมีหลายยิ้ม ฝรั่งเค้าแยกไม่ออก เค้ายิ้มขอโทษคุณต่างหาก เขาพูดภาษาอังกฤษไม่ได้คนไทยมีอัธยาศัยไมตรีต่อชนต่างชาติ เค้าประทับใจมากแต่การจัดการของเขาคงไม่ดีพอกระมัง คนเค้ามาเที่ยวของเราบ้านเราน้อย ถ้าเทียบกับ 50-60 ล้าน ของสเปนของฝรั่งของอิตาลีแล้วโห...น้อยมากคนไปเที่ยวที่เมืองซอลส์บวก เมืองเดียวที่อยู่ในออสเตรเลียใกล้ๆ กับชายแดนของเยอรมันปีละ 7 ล้าน ซอลส์บวก เช่น เมืองอะไรนึกออกมั้ยเป็นบ้านเกิดของโมซาร์ท ที่นี้มีภูมิประเทศสวยงาม ถามว่าคน 7 ล้านคนไปเที่ยวเมืองซอลส์บวก ทำให้เมืองเค้าเจ็บมั้ย ไม่เป็นหรอกเค้าจัดการเป็นถ้าจัดการไม่เป็นไม่ต้อง 7 ล้านหรอก แค่ 7 หมื่นก็ยังหมดแล้ว 7 พันขั้นที่เขาหลวงนครศรีธรรมราชก็เจ๊งต้องไปปรับปรุงใหม่ วันนี้ถ้าเราอยากจะให้การท่องเที่ยวมันเพิ่มขึ้น 20 ล้านเหมือนที่นายกฯทักษิณ อยากจะให้เป็นเนี่ยนะ หรืออยากจะให้มันเพิ่มขึ้นเยอะภาพที่เรามีถ้าปรับวิธีการคิดและวิธีการจัดการใหม่พวกเราต้องเข้าใจว่าๆ วันนี้ ความฝันของคนทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่มีศักยภาพในการเดินทางไปท่องเที่ยว คืออยากจะไปหาธรรมชาติ เรามีให้เขามั้ย เรามีแบบไหน
โออิตะ เป็นเมืองที่ประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง บ้านเรามีความรู้ภูมิปัญญาทางบ้านเมืองเรายังไม่มีไฟฟ้า ผมว่าโรแมนติกออก ในชีวิตฝรั่งเขาอยากทำอย่างไรถึงจะได้สิ่งเหล่านั้นการท่องเที่ยวที่ผมคิดว่ามีปัญหาให้กับชุมชนคือการที่เราไปแล้วก็ทำให้ชาวบ้านคิดอย่างเดียวว่าทำการท่องเที่ยว แล้วจะรวย โครงการ 20-30 โครงการ ตั้งแต่ 20-30 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2504 มีการเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติปีที่ 1 แผนที่ 1 ทุกกระทรวงก็เอาโครงการให้ชาวบ้านทำหมดรวมทั้งกองทุนหมู่บ้าน รวมทั้ง OTOP แต่ทำไปแล้วทำไมไม่เห็นยั่งยืนเลย ชาวบ้านไม่รวยขึ้น ยังมีปัญหาเป็นหนี้สิน คือการพัฒนาแบบแยกส่วนการพัฒนาซึ่งมาจากข้างบนอย่างนี้มันไม่ยั่งยืนหรอก ถ้าการท่องเที่ยวทำแบบเดียวกันก็จะประสบชะตากรรมแบบเดียวกันพอคนส่งเสริมเลิกก็เลิกไป พอเงินหมดก็เลิกไป แต่ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแล้วก็ใช่ ชาวบ้านสอนง่ายเรียนรู้เร็ว ไปบอกให้ทำแชมพูดอกอัญชัน ปะคำดีควาย ว่านหางจระเข้ ทำเป็นหมด แต่ขายไม่ออก ผมเข้าไปหมู่บ้านไหน ชาวบ้านก็บ่นบอกอาจารย์หาตลาดให้หน่อย OTOP เราเจ๊งหมดแล้ว ผมก็บอกว่า ผมชื่อเสรี นามสกุล พงศ์พิศ ไม่ใช่ เสรี นามสกุล วงศ์มณฑา ต้องไปหาคนนั้นเค้าทำตลาดเก่ง สุดยอดฝีมือเลยเค้าก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นอาจารย์ช่วยซื้อให้หน่อยเป็นขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้าน ไปไหนก็ซื้อหมด สระจนหมดไปครึ่งศีรษะแล้วที่เห็นนี่ เพราะว่าชาวบ้านทำเป็นหมดไง สูตรนครศรีธรรมราชกับสกลนครกับอุดรธานี แต่ละแห่งจะมีสูตรของตัวเองหมดเลย แต่ว่าทำไมคนที่ทำแล้วเจ๊งละ เราขายข้าวส่งข้าวอันดับหนึ่งของโลกนะครับ ยางพาราอันดับหนึ่งของโลกนะครับ มันสำปะหลังอันดับ 1 ของโลก สัปปะรด อันดับ 1 ของโลก และ Top ten อีกไม่รู้เท่าไร เราคือครัวของโลก แต่ไม่มีปัญญาเลี้ยงลูกตัวเองให้อิ่ม ต้องโครงการอาหารกลางวันเด็ก โครงการนมเด็ก แปลกดีนะ แสดงว่าคนที่ส่งข้าวอันดับ 1 ของโลก คนที่ผลิตข้าว ยาง มันสำปะหลัง สับปะรด ไม่รวย จนหมดเลยเป็นไปได้ไง นี่คือปัญหาไง เพราะงั้นถ้าเราจะทำท่องเที่ยวนะเราจะต้องมาคุยกันว่าท่องเที่ยวยั่งยืนจะต้องไม่เป็นแบบนี้ จะต้องเน้นส่วนหนึ่งของอันนี้ ซึ่งชุมชนเค้าคิดขึ้นมาเรียนรู้ทำข้อมูลวางแผนลงมือ และราชการเข้าไปเสริมไปเติมเต็มให้ไปเสริมให้เค้าไม่ใช่ไปส่งเสริมอื่นๆ ให้ด้วย ชาวบ้านก็ทำเอาเป็นเอาตาย แล้วก็ตายสมอยาก ทำยังไงจึงจะให้ชาวบ้านเรียนรู้เป็นอันดับแรกและก็ทำแบบนี้ให้ท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจของชุมชน ถ้าอย่างนั้นแล้วใช่เลย ยั่งยืนเลยแต่ถ้าอยู่ดีๆ พี่น้องทุ่มทำเรื่องท่องเที่ยวเอาเป็นเอาตาย มันก็จะตายสมอยาก เพราะว่าที่ผ่านมาก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ทำยังไงจะให้มันเป็นส่วนหนึ่งขอบระบบ ถ้าถามว่าที่นี้มีที่ท่องเที่ยวมั้ย มีครับ มีน้ำหินอำเภอนาน้อย มีคนไปเที่ยวเยอะเลย ชาวบ้านเอาของมาขาย เอาหัตถกรรมมาทอ ผ้ามาทอ ขายไม่ทัน ทำไม่ทัน ฝรั่งมาอยากจะตีหม้อ คนที่นี่ไม่ได้ปั้นหม้อ ตีหม้อ ตีเสร็จแล้ว ก็เขียนชื่อตัวเอง ตีเสร็จเอาไปเผาจนสุกขอเอากลับบ้านตัวเองเป็นที่ระลึก ถ้ามันเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมันอยู่ได้ มันยั่งยืนด้วย ทำยังไงถึงจะให้ท่องเที่ยวมันอยู่ในการทำแผนแม่บทของชุมชน ทำยังไงให้เค้าผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบชีวิตของเค้า บางแห่งใช้เงินเป็นล้านได้แค่ป้ายท่องเที่ยวเกษตร ผมไปเจอมาแล้วหลายแห่ง ในหมู่บ้านไม่มีประโยชน์อะไรเลยแล้วป้ายกีฬาเหมือนหลายฝ่ายที่ฟัง ชุมชนเข้มแข็งแต่ป้าย โรงเรียนสีขาวก็สีขาวแต่ป้าย อึ้ม เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราไม่ควรที่จะให้ชาวบ้านฝันแบบนั้น แต่ควรจะให้เค้า เนี่ย มาคิดถึงระบบเศรษฐกิจของเค้าไม่ใช่สร้างนิยายพรุ่งนี้รวยอยู่นั่นแหละ ทุกวันที่ 1, 16 ตอนเช้ามาแล้ว ตอนเช้ามาแล้ววันนี้รวยรู้จักมั้ย เค้ามาขายอะไร ขาย ล็อตเตอรี วันนี้รวยๆ ทำไมไม่ซื้อเอง มาขายทำไม นี่คือนิยายของการพัฒนาไง ผมอยากจะบอกว่า ดร.อมาตยา เซนนะ รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย ทำอย่างไรชุมชนจะคิดเรื่องระบบเศรษฐกิจและระบบเศรษฐกิจมีการท่องเที่ยวด้วย ถ้าอย่างนี้ใช่เลย ยั่งยืนได้ ถ้าจะทำอะไรต้องพึ่งตัวเองได้ก่อนสิ นี่ที่ในหลวงสอนนะครับ ในหลวงเศรษฐกิจพอเพียง ท่านบอกว่าให้ครอบครัวพึ่งตัวเองให้ได้ให้พึ่งพาอาศัยกันในชุมชนในเครือข่าย และถ้าเก่งจริงจะเอาไปค้าขายก็ได้ พัฒนาเป็นธุรกิจ แค่ 40 ปี เราทำตรงกันข้ามไง ให้เสี่ยงเยอะ ให้ปลูกเยอะๆ จะได้รวย เราจะมาคิดทำมาค้าขายเลยโดยไม่คิดจะพึ่งตนเองจากหาอยู่หากิน มาทำมาค้าขาย แล้วก็ไม่เคยรวย ซื้อที่คิดว่ามันเป็นสูตรสำเร็จไง เมื่อคืนดูทีวี สู้แล้วรวย เราสู้แล้วทำไมจนล่ะ ไปเลียนแบบเค้าได้ยังไง คือเราไม่มีฐาน พึ่งตนเอง ฐานพอเพียงแล้วเรากระโดดไปทำธุรกิจ ชาวบ้านยังพึ่งตนเองไม่ได้ยังไม่มีฐานการท่องเที่ยว เจ๊งนะครับ จะบอกให้ เพราะฉะนั้นผมไม่อยากให้เราไปชวนชาวบ้านทำโดยไม่มีฐานและไม่มีความพร้อม ไม่ต้องเอาหรอก 20 ล้าน เอา 11-12 ล้าน ก็ได้ค่อยๆ ไป อย่างหนักแน่นมั่นคง ดีกว่าเยอะเลย อาจจะถึง 50 ล้าน ก็ได้ไม่เห็นมีปัญหาเลย ถ้ามันหนักแน่นจริงๆ คนอยากมาเที่ยว มีการจัดการดี นี่ผมอยากพาคนไปเที่ยวจังเลย พาไปอิตาลี ฝรั่งเศส อยากพาไปเยอรมัน ไปดูว่าเค้าจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนเนี่ย เค้าทำกันยังไง เค้าจัดการท่องเที่ยว 20-30 หมู่บ้านที่อยู่แถวยอง นี่เค้าทำกันยังไง ทุกเสาร์-อาทิตย์ เค้าจะมีการจัดการเพื่อรองรับคนที่จะมาเมืองยอง ขับรถไปเที่ยว พาครอบครัวไป จะไปกินข้าวร้านไหน เค้าก็เปิด เป็นพิเศษ แม่บ้านไหนทำอาหารอร่อยที่สุด เค้าก็จะจัดให้มาทำ โฆษณาประชาสันพันธ์อยู่ที่ไหน ที่ไหนมีนม มีเนย มีไวน์ มีวิสกี้ มีเหล้า มีของพื้นบ้านที่ไหนๆ 30 หมู่บ้านเนี่ยรวมตัวกันทำท่องเที่ยว สุดสัปดาห์เอาแต่คนในเมืองมาเที่ยว คนในเมืองเขาเบื่อเขาก็ออกไปชนบทคนใน กทม. ถ้าเค้าอยากจะออกไปรัศมี 1 ชั่วโมงขับรถ เราให้บริการอะไรเค้าบ้าง คิดอะไรไม่ออก ก็พาไปเที่ยวบางแสน พัทยา ชะอำ หัวหิน แค่นั้นนะจริงๆ แล้วมีอีกเยอะแยะเลย เช่น แม่กลองก็มี มหาชัยก็มี ไปถึง อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ไปได้หมดเลย ถามว่าเรามีการจัดการอะไรเพื่อที่จะรองรับให้คนที่จะไปเที่ยวมั่นใจว่าเค้าไปเที่ยงตรงนี้เค้าจะพาลูกพาเต้าเค้าไม่ได้ไปทะเลอย่างเดียว เค้าอาจจะล่องตามคลอง มีอะไรที่บริการเค้าได้มั้ย ตั้งบริษัทขึ้นมาบริการเค้าได้มั้ย แล้วเราลองคิดดูว่าในรอบกรุงเทพฯ เนี่ยเราจะทำให้คนกรุงเทพ เนี่ยมีโอกาสไปเที่ยวรอบๆ กรุงเทพฯ ในระยะ 1 กิโลเมตร ให้มีทางเลือกซัก 10, 20, 30, 40 ทางเลือกได้มั้ย ให้ข้อมูลได้มั้ยว่าจะไปเที่ยวยังไง นี่คือการทำการจัดการเพื่อให้เกิดทางเลือก ให้กับผู้คนว่าจะทำยังไง ผมก็ไม่อยากจะให้เราไปด่วนทำให้ชาวบ้าน ได้พร้อมทำยังไงที่เค้าจะมีฐานวิสาหกิจชุมชนแล้วก็มีเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ดีๆ ให้เค้าไปอยู่ทุนนิยม เป็นไปไม่ได้หรอก ชาวบ้านเค้าไม่พร้อม อย่างมากแค่ไปซื้อมือถือ ไปซื้อมอเตอร์ไซด์ ไปซื้อทีวี เสร็จแล้วเงิน 1 ล้านก็หายหมด แล้วก็เข้าไปอยู่ในวงจรชีวิตแบบทุนนิยม แล้วชาวบ้านก็มีปัญหา แล้วในสภาพอย่างนี้จะให้เค้าไปอยู่ในท่องเที่ยวชุมชนพอเพียงได้หรอ ผมว่ายาก ทำยังไงถึงจะปรับวิธีคิดให้มันได้ซะก่อนเพื่อเค้าจะได้จัดการระบบเศรษฐกิจให้มันมีระบบเศรษฐกิจของเค้าขึ้นมาให้ได้ซึ่งตรงนี้ชาวบ้านทำได้นะ เพราะว่าตอนนี้กำลังทำกันอยู่ทุกตำบลในประเทศทำแผนแม่บทชุมชน ทำกันอยู่ประมาณ 1,000 กว่าแห่ง 2,000 กว่าแห่ง ค่อยๆ เกิดขึ้น เมื่อมีระบบอย่างนี้เนี่ย เราจะได้อะไร เราก็จะได้ความพร้อมในการจัดการตนเองและจัดการรองรับคนที่จะมาบ้านเรา คนที่จะมาบ้านเราเค้าก็จะมีสมุนไพร ยา ครีมสปา มีนา มีสวน ฯลฯ มีเป็น 20-30 อย่าง นี่คือศักยภาพของท้องถิ่นแต่มันต้องมีการเรียนรู้ อยู่ดีๆ มันเรียนรู้ไม่ได้หรอกแล้วเรียนรู้ไม่ใช่เราไปสอนไปบังคับไป ยัดเยียดให้เค้าแต่ให้เค้าค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยทำข้อมูล ค่อยๆ วิเคราะห์ แล้วก็ทำแผนขึ้นมา ท่องเที่ยวนี้มันโยงใยไปถึงเรื่องอาหาร ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง ผักพื้นบ้าน ปลาแม่น้ำ สามารถที่จะโยงไปได้เป็นร้อยแปด สามารถที่จะโยงไปได้อีกร้อยแปดเหมือนที่โออิตะสามารถที่จะให้คนไปเที่ยว 4-5 ล้านคนต่อปี มีอะไรมีน้ำพุร้อน 40 ปีมาแล้ว มีแค่น้ำพุร้อน แล้วก็เห็นแล้วก็มีที่กันดารมาก ใครไปโออิตะมาแล้ว โอ้โห สู้ระนองไม่ได้ สู้แม่ฮ่องสอนไม่ได้ สู้ไม่ได้เลย แต่ทำไมที่แม่ฮ่องสอนก็มีน้ำพุร้อน ระนองก็มีน้ำพุร้อน แต่ทำไมมีนักท่องเที่ยวแค่ไม่ถึงแสนเอง โออิตะมี 4-5 ล้าน เพราะโออิตะสามารถจัดท้องถิ่นของเขา จัดระบบเศรษฐกิจชุมชนของเค้า มะนาวลูกเดียวทำได้ 500 อย่าง ทำได้ไงต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสมัยใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ 3 อัน บวกกันทำให้ทรัพยากร 1 อย่าง เช่น 500 อย่าง ของเรามะนาว 500 ลูก ทำได้ 1 อย่าง แพ็คใส่ถุง ขายถุงละ 10 บาท ของเราสมบูรณ์เกินไปเอาไม้ตะเกียบเสียบลงดินยังงอกได้เราก็เลยประมาทไง เอาทรัพยากรไปขายหมด ไปจับปลาธรรมดาไม่พอไปช็อตปลา ไประเบิดปลา จนหมดเกลี้ยงไปหมด ไม่เหลือเลย มท1 ไปโออิตะมา ท่านวันมูหะหมัด นอร์ มะทา กลับมาเล่าให้ฟัง ผมรอคิวไปโออิตะต้องรอตั้งนาน ใช้เส้นผู้ว่าโออิตะขอลัดคิวหน่อยท่าน ไม่งั้นเราไม่ได้ไปซักที ได้ไปนอนที่โออิตะคืนหนึ่ง ได้ไปนอนบ้านไม้ 2 ชั้น ท่านเล่าให้ฟังนะ ผมนอนอยู่ชั้นบนห้องหนึ่งเล็กๆ แคบๆ ค่าที่พักอาหารเช้า 20,000 กว่าบาทต่อวัน ปลาตัวนี้มาจากแม่น้ำข้างหลังนะ ท่านรัฐมนตรีคนญี่ปุ่นบอกตะเกียบมาจากกอไผ่ข้างหลังนะครับ จริงๆ แล้วโออิตะยิ่งใหญ่ ด้านรายได้ที่มาเที่ยวโออิตะ 4-5 ล้านคน มาซื้อมากินอยู่มาบริโภคแล้วมาจ่ายเงินที่นั่น กลับบ้านผมก็มีของมาฝากติดไม้ติดมือมาฝาก ถ้าหากถามว่าบ้านเราทำได้มั้ย บ้านเราก็ทำได้ โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีใช้เพื่อให้เพิ่มจำนวนผลผลิต โดยจะต้องแข่งกันภายในหมู่บ้านทำให้เกิดคุณภาพไง มะนาวลูกหนึ่งทำให้ได้ 500 อย่างซิ คนมานี้ซื้อได้มีทางเลือกได้ไม่ใช่มะนาวสดๆ อย่างเดียวนี้ คือ วิสาหกิจชุมชน ท่องเที่ยวต้องออกมาอย่างนี้ซิ การท่องเที่ยวต้องทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ว่าทุนของเขาไม่ใช่มีแค่เงินนะ แต่ทุนของเค้ามีทรัพยากร ทุนของเค้ามีความรู้ภูมิปัญญา ทุนของเค้ามีทางสังคมวัฒนธรรม ความรู้ของเค้าเป็นอะไรที่หาใหม่ได้ ไม่ใช่หาสูตรสำเร็จอย่างเดียว ตลาดของเค้าไม่ใช่เพียงแค่ในเมืองแต่ว่าที่ตลาดหมู่บ้านของเค้า เอาหมู่บ้านเป็นตลาดใหญ่ ซุปเปอร์มาเก็ตใหม่คนมาเที่ยวมาซื้อมากินมาบริโภคที่เป็นรายได้ชนิดหนึ่ง ก็ตรงนี้มันต้องมีคำ 2 คำ ข้างล่างข้างบนกำกับไม่งั้นไม่มีทางสำเร็จ การเรียนรู้ และการจัดการ ถ้าชาวบ้านได้เรียนรู้ ได้จัดการเหมือนกับพวกเรานี้ ถ้าเราเรียนรู้และเข้าใจ และมีการจัดการที่ดี ชาวบ้านก็จะทำเรื่องการท่องเที่ยว แบบที่มันสร้างสรรค์ แบบที่มันทำให้เค้าเนี่ยได้ไม่ได้ แค่เพียงเงินอย่างเดียว จะได้ความรู้สึกที่ดี ได้ความเข้าใจที่ดี ได้คุณภาพชีวิตที่ดี ก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ครับ ขอบคุณมากครับ
เครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
โดย ดร.ละเอียด ศิลาน้อย ผู้อำนวยการสำนักงานธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ในเรื่องการท่องเที่ยวและการพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน ไม่มีการอธิบาย คงจะตั้งปัญหาให้นักศึกษาหาคำอธิบาย เริ่มต้นต้องรู้จักการท่องเที่ยวก่อน การท่องเที่ยวคืออะไร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวคืออะไรทุกคนเข้าใจว่าการท่องเที่ยวเป็นเรื่องเข้าใจง่ายๆ เป็นการท่องเที่ยวธรรมดา ใช้สามัญสำนึกก็รู้แล้วว่าการท่องเที่ยว คืออะไร งั้นแม้แต่คนที่เข้ามาสัมผัสกับการท่องเที่ยวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระยะสั้นๆ คงให้คำวิพากษ์วิจารณ์ที่ข้อเสนอแนะอะไรมากมายทีเดียว ซึ่งในการท่องเที่ยวเอง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเองมีความละเอียดอ่อนลึกซึ้งเกินกว่านั้น ซึ่งนักศึกษา ต้องค้นให้เจอว่า การท่องเที่ยวคืออะไร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคืออะไร ซึ่งบวกอุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมรถยนต์ เรารู้ว่าคืออะไร ถ้าพูดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรามีความชัดเจนแค่ไหน ต้องไปค้นกันเองในอุตสาหกรรมมีใครอยู่ในอุตสาหกรรมนั้นบ้าง ไม่เฉลย นักศึกษา ต้องไปค้นเอาเอง ในส่วนของคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีใครบ้าง ถ้ามองอุตสาหกรรมรถยนต์ ถ้าเทียบดูในอุตสาหกรรมรถยนต์มีใครบ้าง มีผู้ออกแบบ มีผู้ผลิต มีผู้จัดการ มีพนักงานขาย อะไรอีกเยอะแยะ มีคนซื้อ คนขาย และในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีใครอยู่ในนั้นบ้าง เราต้องไปค้นให้เจอ จำแนกมาให้หมด จัดหมวดหมู่ให้ได้ว่าใครบ้างอยู่ในนั้น ถ้าได้ว่าใครอยู่ในนั้นบ้างแล้ว ค่อยมาดูว่าแต่ละคนควรจะมีบทบาทอย่างไรต้องไปหาเอง ซึ่งแต่ละกลุ่มที่เราเห็นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีหน้าที่อะไร มีบทบาทอย่างไร โดยมีพื้นฐานอยู่ที่การพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ซึ่งในเอกสารที่แจกไป การพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนคือการพัฒนาที่คนรุ่นปัจจุบันได้ประโยชน์ในขณะเดียกวันที่สืบทอดต่อไปให้คนรุ่นหน้าด้วย ดังนี้ชัดเจนอยู่แล้ว เอกสารบอกแล้ว ด้วยความคิดความเข้าใจจุดนี้ เมื่อแต่ละคนอยู่ในสารพัดท่องเที่ยวมีใครบ้าง ควรมีบทบาทอะไร ก็กำหนดบทบาทได้เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เช่นในฝ่ายหมวดที่เป็นรัฐบาลทั้งหมด จะต้องทำอะไรบ้าง เราต้องไปแตกเองว่ารัฐบาลมีใครบ้าง ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยวก็ดี, กระทรวงก็ดี, ตำรวจท่องเที่ยว, ตม. อะไรก็แจกแจงว่ามีใครบ้าง แล้วแต่ละคนควรจะมีบทบาทอย่างไรเพราะว่ามันเยอะ การท่องเที่ยวเป็นเรื่องของการรวมๆ ก็หลายๆ อย่าง ตัวเอง ตัวมันเองมันไม่มี ถ้าไปดูการท่องเที่ยวเจริญไม่รู้จะไปดูอะไร ดูโรงแรมเจริญก็อุตสาหกรรมโรงแรมที่พัก ดูการคมนาคมก็อุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่ง แต่มันรวมๆ หมดทุกอย่าง มันถึงเยอะแยะมากเพราะงั้นต้องดูให้ละเอียดทุก Sector แต่ละ Sector ทำอะไรบ้างและ Sector ไหนก็เกิดผลกระทบในทางลบกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ถ้าพูดถึงเรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ต้องพูดถึงทรัพยากรการท่องเที่ยว อะไรคือทรัพยากรการท่องเที่ยวบ้าง เราต้องจัดหมวดหมู่ให้มันดี อะไรเป็น Resort ของการท่องเที่ยว แล้วถ้าเรียนการท่องเที่ยวมาแล้วก็บอกได้ว่ามันคืออะไรบ้าง แล้ว Resort แต่ละอย่างมันจะมารวมไว้ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ หรือศิลปวัฒนธรรม อะไรก็แล้วแต่ เราจำแนกมาหละกัน แยกมาให้ได้ ทำยังไงให้มันอยู่ได้ ทำยังไงให้มันต่อเนื่องต่อไป ซึ่งควรจะโจมตีว่าการท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ทำลายศิลปวัฒนธรรม ข้อความเป็นจริงหรือไม่จริงเราหรือไม่จริงเราต้องไปคิดดู เพราะในเชิงหน้าคือ สิ่งเหล่านี้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวสวย ถ้าพรุ่งนี้ล่มสลายหมด อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็อยู่ไม่ได้ งั้นความจำเป็นที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องพิทักษ์อันนี้ไว้ ต้องรักษามันเอาไว้ให้ได้ งั้นตัวมันต้องไม่ใช่ตัวทำลายทรัพยากร ต้องไม่ใช่ตัวที่ทำลายศิลปวัฒนธรรมถ้าหากว่าสิ่งนี้เป็นจุดขาย นี่เป็นตัวอย่างให้ท่านไปคิดต่อ ว่ามีทรัพยากรในการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง Product ในการท่องเที่ยวมีอะไรบ้าง แล้วท่านจะรักษามันยังไง จะพัฒนายังไงให้ยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะธรรมชาติที่ยั่งยืน ที่มองแต่พวกป่าเขาลำเนาไพร ไม่ใช่การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไปมากกว่านั้นมีมากกว่านั้นอีก วิถิชีวิตของเราก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องอนุรักษ์ไว้ ถ้าเราใช้ชีวิตตะวันตกทั้งหมดเนี่ย นักท่องเที่ยวมาดูก็ไม่เห็นอะไร กลายเป็นว่าการจะดูชุดไทยก็ไปดูในพิพิธภัณฑ์ ไปดูในโรงละคร ไปดูในร้านอาหาร มันก็ไม่ได้มันต้องดูทั้งหมด งั้นนอกจากดูว่า Resort คืออะไรแล้วเนี่ยเราพัฒนาเป็น Product Product การท่องเที่ยว คืออะไร สินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยว คืออะไร สินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยวคืออะไร นักท่องเที่ยว เค้าเข้ามา เข้ามาบริโภคอะไร คำถามที่ผมถามทั้งหมด เพราะมันจะต่อเป็นภาพถ้าท่านตอบได้มันจะต่อเป็นภาพ เหมือนจิ๊กซอว์เป็นภาพรวมของลักษณะการท่องเที่ยวได้ ในองค์ประกอบของการลักษณะการท่องเที่ยวทั้งหมด มีตั้งแต่ที่มีอาหาร การเดินทาง การอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยว การบริการทางการท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เนี่ย อะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด อะไรเป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับ 2 อะไรที่เป็นหัวใจของการท่องเที่ยว ถ้าสิ่งที่มีปัญหา การท่องเที่ยวจะล่มสลาย อะไรเป็นสายเลือดของการท่องเที่ยว ถ้าสายเลือดถูกบล็อกการท่องเที่ยวโตไม่ได้ อันนี้ท่านต้องเข้าใจ มาถึงเรื่องของนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวของใครที่เข้ามาประเทศเรามากที่สุด นั้นคือต่างชาติ และเข้ามาทางไหนมากที่สุด นี่ข้อมูลพื้นฐาน ถ้าท่านศึกษาเรื่องการท่องเที่ยว เรื่องนี้ท่านไม่รู้ไม่ได้ และเข้ามาเที่ยวอะไรบ้าง เข้ามาทางไหนบ้าง และบอกว่านักท่องเที่ยวทำลายสิ่งแวดล้อมทำลายอะไรเนี่ย ได้ทำลายจริงๆ รึเปล่า น้ำเสียที่พัทยาเกิดจากนักท่องเที่ยว หรือเกิดจากโรงแรมที่ไม่มีการบำบัดน้ำเสีย จริงอยู่โรงแรม อาจจะมีนักท่องเที่ยว ไปพัก แต่มันเกิดจากนักท่องเที่ยว หรือเกิดจากโรงแรม ถ้ามันเกิดจากโรงแรม คือ การจัดการบริหารไม่ดี แต่ไม่ใช่อย่างที่ชีทบอกว่าเป็นเรื่องของการให้บริการไม่ได้มาตรฐานมันไม่เกี่ยว การที่โรงแรมให้บริการได้มาตรฐานหรือไม่ได้มาตรฐานไม่เกี่ยวกับการทำให้สิ่งแวดล้อมพัง และถ้าโรงแรมไม่จัดการสิ่งแวดล้อมตัวเองมันจะพัง ถ้านักท่องเที่ยว ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสมมติว่าน้ำตก ถ้าไปกินเหล้ากัน ปาขวดไปในน้ำตก ปาเปลือกทุเรียน เปลือกเงาะลงไปในน้ำตก อย่างนี้ทำลาย แต่เดี๋ยวมันหายลงมันลดน้อยละ งั้นมองให้ดีว่า นักท่องเที่ยวทำลายนะทำลายจริงรึเปล่า ทำลายตรงไหน นักท่องเที่ยวมาใช้ชีวิตทางเพศมั่วกันคนก็เลยเลียนแบบ จริงรึไม่คนต้องดูค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงเพราะนักท่องเที่ยวจริงรึไม่ นักท่องเที่ยวทำให้เกิดค่านิยมที่ผิดเพี้ยนไปจริงหรือไม่ ต้องคิดให้ไกลว่าสื่อมวลชน สื่อ TV วิทยุ สื่อภาพยนตร์ เมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวที่ทำให้เปลี่ยนแปลงอะไรเป็นตัวกำหนด นักท่องเที่ยวเป็นตัวแปรสำคัญหรือว่าสื่อภาพยนตร์ที่ออกมาเป็นตัวแปรสำคัญ งั้นเราต้องไปคิดเพราะงั้นต้องตอบถ้าเรียนท่องเที่ยวอยู่สนใจท่องเที่ยว ก็ถามว่าการท่องเที่ยวมันทำลายวิถีชีวิต องค์การท่องเที่ยวมันทำลายยังไง นักท่องเที่ยวมาสั้นกางเกงขาสั้นเดิม เราเลยใส่ขาสั้นบ้างหรือาการใช้ชีวิตแบบนี้ เราเรียนแบบจากภาพยนตร์และถ้ามันเป็นเช่นนี้ก็ต้องโต้ตอบเขาให้ได้ว่ามันเกิดอะไร ความผิดเพี้ยนบิดเบือนการร่วมชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเกิดจากอะไร หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลง เช่น ความสะดวกสบาย นักท่องเที่ยวมาคนเลยมีเงินมีเงินก็เลยซื้อของฟุ่มเฟือยบริโภคกันใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยเป็นความผิดของนักท่องเที่ยวหรือเปล่าถ้ายังงั้นอย่าให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจะได้ไม่ต้องมีเงินเข้ามาในบ้าน โจทย์นี้ตอบง่ายๆ ท่านลองไปคิดดูว่าเราต้องอนุรักษ์ยังไง ถ้าเข้าใจปัญหาทั้งหมดเวลาดูปัญหามันจะเห็นอะไรที่เป็นประเด็นของปัญหา อะไรนั้นไม่ใช่อย่างการจัดการภายใน แหล่งท่องเที่ยวในส่วนของชุมชนในพื้นที่จะเป็น อบต. อบจ. อะไรก็แล้วแต่รวมถึงชาวบ้านที่มาดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยวทำถูกทำผิดเป็นเรื่องที่เราต้องเข้าไปดูแลใครเป็นคนให้ความรู้กับชาวบ้านใครเป็นคนให้ความรู้กับอบต. อบจ. เรื่องการท่องเที่ยวทุกวันนี้ อบต. อบจ. หรือประชาชนทั่วไปได้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวจากที่ไหน ตัวนักศึกษาอย่างพวกเราจบมาไม่มีใครยอมถอยกลับไปที่บ้านหรอกไม่มีใครกลับไปทำโฮม สเตย์อย่างท่านกำนันทำหรอกท่านกำนันทำก็คือ ชาวบ้านข้างนอกไม่ได้เข้ามาในระบบนี้ ถ้าอย่างนี้แล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จต่อให้ท่านเรียนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจนหัวจะผุแต่ท่านไม่ยอมไปทำ ถ้าท่านไม่ลงไปทำนักศึกษาที่จบเป็นบัณฑิตไม่ลงไม่ทำ ก็ขอให้เป็นเผยแพร่ความรู้นี้แต่แล้วแต่ไม่ไปเผยแพร่ช่องไหนจะทำยังไง ทั้งที่เราพูดเรื่องการท่องเที่ยวยั่งยืนเป็นเรื่องของการพูดไปตามสายลมแสงแดดแล้วก็จบกันไปแล้วก็โก้ดี การสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ใครก็พูดให้ยั่งยืนกันได้แต่พอเอากันจริงๆ ก็ลงไปทำกันไม่ได้ต้องทางช่องลงให้ได้งั้นความรู้ที่ได้จากการศึกษาต้องถ่ายทอดไปสู่ชุมชนให้ได้ และจะถ่ายทอดลงไปช่องไหนท่านต้องดูเฉพาะหน่วยงานการท่องเที่ยวในประเทศไย ไม่มีหน้าที่ให้ความรู้กับประชาชนมีหน้าที่อย่างเดี่ยวคือเชิญชวนนักท่องเที่ยวเมืองไทยถ้านักท่องเที่ยวตกเมื่อไรเราเดือดร้อน ถ้านักท่องเที่ยวไม่เข้าเป้าเราโดนตำหนิโดนโจมตีแต่การที่ประชาชนไม่รู้เรื่องการท่องเที่ยว ไม่มีความรู้ไม่ใช่เรื่องการท่องเที่ยวเค้าไม่เคยตำหนิ ททท. เพราะไม่ใช่เรื่องการท่องเที่ยวของประเทศไทยแล้วมันเป็นหน้าที่ของใคร ท่านคิดว่ามันเป็นเรื่องของหน่วยงานไหน
ต้องบางคนที่เจอ ถ้าไม่เจอแก้ปัญหาไม่ได้อย่างกระทรวงการท่องเที่ยวก็มีหน่วยงานเรื่องพัฒนาการท่องเที่ยวพัฒนาบริการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ถ้าดูเขาก็ไม่มีหน่วยงานเผยแพร่ความรู้ตรงนี้ ถ้าเขาพัฒนาแหล่งได้ก็ไปพัฒนาเรื่องการบริการได้แต่ตรงนี้ก็ไม่มีงั้นผู้ให้ความรู้ก็ต้องเลือกสถาบันการศึกษาที่น่าจะเข้ามาทำได้ แต่จะชำนาญด้านไหนผมไม่ทราบงั้นพวกเราก็ต้องช่วยกันคิดว่าทำยังไงให้ความรู้จากที่มีอยู่ในสถาบันไหลสู่ชมชน ไหลสู่ชาวบ้านตอนนี้ท่านผู้ว่าในจังหวัดเป็น CEO ผู้ว่าราชการจังหวัดมีข้อสัญญากับคณะรัฐมนตรี รองนายกว่าจะมีการพัฒนาการท่องเที่ยวพัฒนาหลายๆ อย่าง อย่างหน้าคือเรื่องการท่องเที่ยวที่พัฒนายังไง เราคิดว่าผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวหรือไม่ หรือมีแล้วเพียงพอหรือไม่ในการพัฒนาทางการท่องเที่ยว อันนี้อันแรก ท่านต้องเข้าใจก่อน แล้วท่านต้องมีมือไม้ในการทำงาน อันที่ 2 ผู้ลงมือปฏิบัติ คือ อบต. อบจ. มีความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวหรือไม่นั้นต้องค้นให้เจอ ถ้าผู้ว่าไม่มีจะทำยังไงไม่ต้องถูกถึงยั่งยืน พัฒนายังไม่พัฒนาไม่ได้ตั้งต้นไม่ถูกเลย ยั่งยืนไม่ยั่งยืนไว้ทีหลัง ถ้าอบต. อบจ. ไม่รู้จะทำยังไงเดี๋ยวท่านกำนัน ท่านพูดได้เพราะถ้าการเริ่มต้น เริ่มมีความรู้แต่ถ้าข้างบนไม่รู้เรื่องทีนี่เริ่มพูดกันไม่รู้เรื่องแล้ว ท่านระดับผู้บริหารหรือจังหวัดไม่รู้เรื่องก็ลำบากทำงานกันมาก ฝ่าฟันอะไรมามากมายจนกว่าจะสำเร็จ และการพัฒนาการท่องเที่ยวมันจะเริ่มต้นจากตรงไหน เมื่อก่อนเริ่มต้นจาก Supply เมืองไทยมีอะไรมีการพัฒนาขึ้นไปมีวัดมีวัง มีการพัฒนาขึ้นไป ตอนนี้หลังมันเปลี่ยนแนวคิดใหม่การพัฒนาสินค้าออกจาก Demand ของผู้บริโภคเหมือนกับสินค้าทั่วๆ ไป สินค้าอุปโภคหรือบริโภค เมื่อก่อนก็เถ้าแก่อยากผลิตอะไรก็ผลิตขึ้นมา เซลล์ก็วิ่งกันขายกันหน้าตั้งเลย ตอนหลังก็เปลี่ยนใหม่มาศึกษาผู้บริโภคว่าผู้บริโภคต้องการอะไรแล้วก็ผลิตขึ้นมา ตลาดต้องการอะไรก็ผลิตขึ้นมา ตอนนี้ยิ่งจำเพาะไปยังผู้บริโภคแต่ละคนต้องการอะไรแล้วก็ผลิตขึ้นมา จะผลิตขึ้นมาสนองให้ได้ มันถอยกลับไปอีกทิศทางมันเหวี่ยงกลับไปอีกทางหนึ่ง การพัฒนาการท่องเที่ยวนั้นเมื่อก่อนเราพัฒนาทาง Supply แต่ว่าตอนนี้เราพัฒนาขึ้นมาแล้วตอนนี้ถึงทางตันว่าไม่ได้ต้องหานักท่องเที่ยวต้องการอะไร แล้วค่อยพัฒนาขึ้นใหม่ การพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวก็เหมือนกัน ต้องไปดูว่านักท่องเที่ยว คือ ใครที่ว่ามาเที่ยวเนี่ยเที่ยวแบบไหน มีพฤติกรรมอย่างไร มันถอยกลับอีกทางหนึ่งมันเหวี่ยงกลับอีกทางหนึ่ง อย่างที่ว่าเราทำเศรษฐกิจแบบขายไม่ถูกต้อง ควรจะเป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียงถึงจะถูกต้องอันนี้ก็แล้วแต่ยุคแต่ละสมัยก่อน ร.4 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เราก็ปลูกข้าวปลูกพืชกินกันแบบพอสมควรแต่พอถึง ร.4 มีสนธิสัญญาบาว์ริ่ง เศรษฐกิจเมืองไทยก็เริ่มเปลี่ยนเพราะมีการผลิตข้าวออกไปขายแทนที่เราจะทำหลายๆ อย่างก็มาทำอย่างเดียว ปลูกข้าวปลูกข้าวอย่างเดียวเพื่อจะส่งขาย นั้นประเทศก็เจริญขึ้นเรื่อยๆ ร.5 – 8 จน ร.9 ก็มีปัญหา เพราะเราผลิตแล้วขายไม่เป็นมันก็จมดิ่งลงไปและก็ทำการตลาดไม่เป็นจนเดี๋ยวนี้ ทำเศรษฐกิจชุมชนไม่สำเร็จเพราะว่าการผลิตอย่างที่ อาจารย์เสรี พูด ผลิตแชมพูมาในหมู่บ้านคนในหมู่บ้านยังไม่ซื้อเลยไม่รู้จะขายใคร ชุมชนถือว่าต้องนำชุมชนเอง
ทำแล้วใช้ในชุมชนก่อนคุณกะจะทำขายนักท่องเที่ยวข้างนอก นักท่องเที่ยวข้างนอกเขามาดูแล้วไม่เอาหรอก อาจารย์บอกว่าใช้จนผมร่วงยังนี้สู้เขาไม่ได้หรอก คุณเอายาสระผมใบมะกรูด ดอกอัญชันไปสู้กับรีจอย์ สู้แพนทีน ได้ไหม สู้ไม่ได้อยู่แล้ว แต่เราต้องเอาตลาดใหม่อีกตลาดหนึ่งมาใช้เรื่องธรรมชาติหรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ แล้วคนในหมู่บ้านก็นำมาใช้ก่อนและหมู่บ้านใกล้ๆ ก็ร่วมกันใช้แลกเปลี่ยนกันมันน่าจะไปรอด เดี๋ยวนี้ชุมชนไม่ได้อยู่ในชุมชนตัวคนเดียวคุณอ้างทีไรคุณก็ทำขายข้างนอกอยู่ดี มันก็เหมือนเดิมนั้นก็หน่วยงานของรัฐอย่าหวังพึ่งลำบาก เพราะว่าฝ่ายส่งเสริมการผลิตนั้นนะมันง่าย เอาเมล็ดพืชคุณไปหว่านปลูกพืชได้ ปลูกข้าวโพด ปลูกข้าวฟ่าง เอาปลา เอาลูกปลาไปขุดบ่อเลี้ยงปลานิลมันง่าย แต่พอได้ข้าวฟ่างมาแล้วไปใครขาย ตรงนี้มันยาก OTOP ให้คุณผลิตอะไรก็ได้จะเป็นเหล้าจะเป็นไวน์ให้คุณทำอะไรก็ทำไปเถอะเพราะมันง่ายแบบเดียวก็ได้แต่ทำออกมาแล้วไม่รู้จะขายใคร การท่องเที่ยวก็เหมือนกันคุณจะผลิตอะไรขึ้นมา อย่างหมู่บ้านโฮม สเตย์คุณจะทำยังไงก็ได้ไม่เกิน 2 เดือนนัก ทำได้หมู่บ้านอะไรก็ได้จัดหาเหอะพัฒนาปรับๆ เดี๋ยวก็ได้แต่จะทำแล้วขายให้ใครนักท่องเที่ยวอยู่ที่ไหน มันต้องจัดจากนักท่องเที่ยวก่อนที่เราไม่จัดเพราะเราไม่ชินงานทางการตลาด เราไม่มีความรู้ทางการตลาดก่อนเราทำเราต้องดูก่อนว่านักท่องเที่ยวอยู่ที่ไหน บางคนถามเราหมู่บ้านโผงผางมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะไหม แสดงว่าไม่เข้าใจว่าตลาดนี่อยู่ตรงไหน เราต้องเข้าใจตลาดก่อนแล้วค่อยทำสินค้าขึ้นมาสนองเค้า ไม่งั้นทำขึ้นมามันใช้เวลานานกว่าคนจะเข้าแล้วเงินเราไปจมอยู่ตรงนั้น แล้วเราจะพัฒนาอะไรในแหล่งท่องเที่ยว มันต้องพัฒนาตรงที่มีตลาดรองรับอยู่ก่อน งั้นการตลาดนั้นต้องเดินหน้าแต่ที่ผ่านมาการตลาดยังไม่เดินหน้า เราทำ Supply ก่อน Demand ตอนนี้เราพูดถึงเรามีน้ำตกให้พัฒนานั้น เรามีหมู่บ้านให้ทำโฮม สเตย์ โฮม สเตย์แถวหมู่บ้านเราที่ทำมันจะมีใครเข้ามาคนประเภทไหนนิสัยยังที่จะเข้ามามันต้องตีเป็นโจทย์ตรงนี้ให้แตกก่อนไม่ใช่อยากจะทำ งั้นเอาความสำเร็จในการหมู่บ้านโฮม สเตย์ไม่ยาก แป็ปเดียวก็สำเร็จ ศูนย์วิชาการเกษตรตั้งเยอะแยะ 50 กว่าแห่งทั่วประเทศพัฒนาแบบเดียวก็นำไปสู่ ECO Tourism แต่มันไม่มีนักท่องเที่ยวไปเลยเงินที่กู้ไปจบ มันต้องไล่พัฒนาที่ศูนย์โดยไล่ตัวลูกค้าแต่ละศูนย์ ค่อยๆ ขยับ งั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวมันต้องเริ่มต้นจากจุดนี้จาก Demand ไปก่อน นี่แค่พัฒนาอย่างเดียวนะ พัฒนาแล้วจะให้ยั่งยืนหรือไม่เป็นอีกประเด็นหน้า อีกโจทย์ที่ต้องตามเข้ามาการพัฒนาการท่องเที่ยวมันเพื่ออะไรที่เจริญไม่ใช่บอกว่ารายได้มาจากเงินตรงต่างประเทศ อันนั้นเป็นอีกส่วนหนึ่ง ไอ้ส่วนที่ได้หลายส่วนๆ จากความที่เข้าใจอันดีกันระหว่างชุมชน อันนั้นมันได้รายได้อยู่แล้วแต่ความเข้าใจร่วมกันในหมู่ชุมชนเข้าใจวิถีชีวิตก็ได้อีกส่วนหนึ่ง แล้วการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนมันไม่จำเป็น การท่องเที่ยวเป็นทั้งหมดของชุมชนก็ได้ ชาวชุมชนเล่นกันทางท่องเที่ยวอย่างเดียวยังไงได้ อยู่ที่ว่าคุณทำเป็นหรือเปล่า หมู่บ้านทำหมู่บ้านเล่นการท่องเที่ยวอย่างเดียวยังได้ แล้วบางประเทศเล่นการท่องเที่ยวอย่างเดียวเลย แต่ว่ามันค่อนข้างเสี่ยงเพราะการท่องเที่ยวมันอ่อนตัวง่ายมันไหวตัวง่าย มีปัญหาอะไร ปุบปับการท่องเที่ยวมันลอยเลย ถอยปั๊บ ไอ้เราพึ่งนักท่องเที่ยวมันก็จบแต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ งั้นเราต้องแตกตลาดเป็นหลายๆ ส่วน ตลาดนี้ถอยตลาดนั้นก็มา ตลาดนั้นถอยตลาดนั้นก็มาแทน เหมือนโรคซาร์ที่เข้ามาเมื่อต้นปีก่อน นักท่องเที่ยวยุโรปหายไปเลยเราได้นักท่องเที่ยวเอเชียใกล้ๆ บ้านนี้เข้ามาเที่ยว ซึ่งเราก็ต้องมีนักท่องเที่ยวมาทดแทนเราต้องรู้เนื้อหาของสินค้า
อะไรเป็นใครแล้วลูกค้าเป็นใครมีความเสี่ยงแค่ไหนต้องมีการบริหารความเสี่ยงด้วย คือ พวกนั้นมันทำอยู่ตลอดแต่ว่าฝรั่งมันเก่ง มันตั้งเป็นเรื่องเป็นราวเป็นระบบ เป็นอะไรเป็นการบริหารความเสี่ยวที่จริงมันต้องทำอยู่แล้ว การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคต้องศึกษาอยู่แล้วแต่ว่ามันไม่เป็นระบบ ฝรั่งเค้าฉลาดทำให้เป็นระบบขึ้น แล้วก็เช็คระบบ เรามีระบบเราไม่เดินตามระบบแล้วจะปลอดภัยการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวก็เหมือนกัน เรามองว่าความยั่งยืนจะทำอะไรบ้าง ถ้าเราตั้งหลักนั้นเราจะถอยลงได้ว่าจะทำกระบวนการใดบ้าง การให้ความรู้ประเภทแรกที่ต้องมีอยู่และก็ผู้ที่มีความรับผิดชอบในการดูแล ในการกำกับและยังฝ่ายรัฐต้องเข้ามามองดูเอาจริงเอาจังที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ใช่ว่าทุกคนจะพัฒนาและจิตสำนึกในการดูแลทั้งหมด มิฉะนั้นคงไม่เกิดน้ำเน่าในพัทยาหรอก ำนึกในการดูแลทั้งหมด เพราะงั้นเพราะโรงแรมบางแหล่งก็ไม่สนใจทำ ทิ้งน้ำเสียโดยไม่บำบัดก่อนเพราะถ้าเกิดน้ำเสียรัฐบาลต้องทุ่มเป็น 1000 ล้านบาท เพื่อไปแก้ปัญหาทางน้ำเสีย ในกระบวนการก็เหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรม ฝ่ายอุตสาหกรรมต้องเข้มงวดในการตรวจโรงงานไม่ให้ปล่อยน้ำเสียเหมือนกัน ฝ่ายควบคุมก็ดูแลการพัฒนาท่องเที่ยวต้องไม่ก่อให้เกิดของเสีย พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและมีส้วมอยู่ริมคลอง คนไปเที่ยวแล้วก็ถ่ายลงไปในคลองสาธารณะมันเป็นไปได้อย่างไร เพราะงั้นต้องทำให้ได้อยู่แล้ว ถ้าหน่วยงานเจ้าของไม่มีจิตสำนึกถ้าหน่วยงานที่คุณรัฐที่คุณต้องเข้าใจไปดูแลต้องเข้มงวด ต้องทำให้ได้การบังคับกับใช้กฎหมายต้องเป็นไปได้ ทุกภาคทุกส่วนต้องเข้ามาช่วยกัน
ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ อบต. : การปนเปื้อนทางวัฒนธรรมกับจิตสำนึกของชุมชน
โดย
กำนันธวัช บุญพัด สมาชิกสภาจังหวัดสมุทรสงคราม และผู้ประกอบการเครือข่ายโฮม สเตย์ตำบลปลายโพงพาง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
กำนันธวัช (ตามหาหิ่งห้อย) ทำการท่องเที่ยวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เปิดหมู่บ้านท่องเที่ยวตั้งแต่ วันที่ 30 ธันวาคม 2542 มีแรงบันดาลใจที่เปิดหมู่บ้านการท่องเที่ยวที่แรก เราอยากทำการท่องเที่ยวมานานแล้ว เห็นนักท่องเที่ยวมามาก เห็นฝรั่งเมืองนอกรวมกับคนไทยไปเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก แต่ก็ผ่านไปผ่านมา ผ่านสมุทรสงคราม ถนนพังไปเยอะไม่ได้เงินกับเขาเลย หมู่บ้านเราจะทำยังไงก็อยากจะมีการพัฒนาในการท่องเที่ยวเกิดขึ้น ประมาณปี 2538-39 ท่านพนักงานจังหวัดที่ย้ายเข้ามาใหม่ก็เข้ามาทำเรื่องการพัฒนาชุมชนและแนะนำให้รู้จักทำโฮม สเตย์จนกระทั่งเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลบอกว่าอยากให้ชาวบ้านหรือจังหวัดส่งเสริมการท่องเที่ยวตามหมู่บ้านต่างๆ ในเชิงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ประเพณี ต่างอยากจะให้ทำเลยปรึกษาท่านผู้ว่าราชการจังหวัดว่าทำอะไรที่ปลายโพงพางจะทำอย่างไรดี เลยมีความคิดที่จะทำโฮม สเตย์ผสมผสานการท่องเที่ยว ผสมผสานกับวิถีชีวิตของพี่น้องของประชาชนชาวสมุทรสงคราม โดยเริ่มต้นที่ทุนทางสังคม คือ ผู้คน สัตว์ ธรรมชาติ แม่น้ำลำคลอง วิถีชีวิต บ้านเรือน ที่อยู่จัดการไว้ 10 หลังก็เคยคิดว่าจะหาตลาดการท่องเที่ยวที่ไหนในลักษณะแบบโฮม สเตย์ และเที่ยวแบบในวิถีชีวิต เลยตั้งโปรแกรมการท่องเที่ยว 12 ตำบล ทั้งหมดที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวแบบทุนทางสังคม พื้นที่ก็มี 12 ตำบล แล้วหาจุดเด่นในการท่องเที่ยวของแต่ละตำบล หลังในวันที่ 16 กันยายน 2542 ทำพิธีเปิดป้ายหมู่บ้าน เชิงอนุรักษ์เป็นบ้านทรงไทย ปลายโพงพาง โดยการอนุรักษ์บ้านทรงไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทยสืบต่อไป แล้วก็ทำตารางท่องเที่ยวและทำความเข้าใจกับชาวบ้านที่ร่วมโครงการโฮม สเตย์ ถึงเวลาเริ่มทำโครงการ กำหนดประชาชนว่าบางเวลามีนักท่องเที่ยวมากที่บ้านจะเอาเท่าไหร่ เรื่องค่าใช้จ่ายต่อคน ค่าความสะดวกต่างๆ เท่าไหร่ ก็ตกลงราคา 700 บาท จะเป็นการบริหารนักท่องเที่ยวจะต้องมีความจริงใจและมีผู้นำที่จริงใจ การท่องเที่ยวที่ปลายโพงพางที่ไม่ใช่การท่องเที่ยวหารายได้หลัก คือ การท่องเที่ยวรายได้เสริมมากกว่าที่สมุทรสงครามมี 14 แหล่ง โดยมีสื่อมาช่วยทำการโปรโมต ททท. ก็ช่วยโปรโมตโดยใช้ทุนตัวเองที่มีอยู่ ฉะนั้น การทำอะไรก็แล้วแต่ไม่ได้เกี่ยวเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยวจะเป็นอย่างเดียวขอให้เราจริงใจจริงจังดูไปเรื่องของของประสบการณ์ของสังคมที่เรามีอยู่แต่ไปหวังพึ่งคนอื่นให้มาพัก
ช่วงซักถาม และ แสดงความคิดเห็น
คำถาม
1. เรียนถามท่านกำนันธวัช เกี่ยวกับโฮมสเตย์บ้านโพงพางว่าจะมีมาตรฐานอย่างไรบ้างในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
กำนันธวัช บุญพัด
ที่แรกก็ที่เราทำการบรรยายประชาคม เราต้องตั้งคำถามว่าผู้ที่จะมาซื้อในเรื่องของที่เราขายในเรื่องลักษณะของท่องเที่ยวเราจะขายแล้วเราก็มีสินค้าคุณภาพของเรายังไง เราคิดอันดับแรกเลยว่า 1. การต้อนรับของเราต้องพร้อม ต้องดี กินต้องดี นักท่องเที่ยวกินดีไหม ต้องดี ที่นอนดี ไอ้คำว่าดีในลักษณะโฮม สเตย์ดียังไง เราต้องแยกประเภท โรงแรมดียังไง รีสอร์ทดียังไง เที่ยวต้องดี ฉะนั้น 3-4 อย่างนี้ 1. ต้อนรับดี กินดี เที่ยวดี กินดี แค่นี้คิดว่าน่าจะพอในเรื่องของความมาตรฐานในเรื่องของการท่องเที่ยว ฉะนั้นการตอนรับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก คนที่ไปปลายโผงผางเนี่ยถ้าผมอยู่ส่วนใหญ่อยู่ตลอด เช้าๆ นี้ต้องรับไปจ่ายตลาดตั้งแต่ตี 5 แล้ว จ่ายกับข้าวเองด้วยนะกลับมาก็คอยต้อนรับ ตอนนี้มีลูกชายมาช่วยเมื่อก่อนคนเดียว ต้อนรับแขกเสร็จต้องรีบวิ่งไปทำกับข้าวแล้วบางทีทำกับข้าวเสร็จก็ต้องออกมาข้างนอก ทำคนเดียวหมดเมื่อก่อนเดี๋ยวนี้ก็มีคนมาช่วย พี่ๆ น้องๆ มาช่วยในบ้าน เรื่องที่หลับที่นอนก็อยู่รวมกับเจ้าบ้าน ที่จริงเมื่อก่อนมุ้งหมอนที่นอนเสื่อเข้าบ้านจะมีอยู่พร้อมแล้ว ต้อนรับแขกอยู่ที่บ้านรับญาติใครมานัดสามารถปูที่หลับที่นอนแล้วก็กางมุ้งให้นอนได้สบาย บอกคุณว่าไม่ต้องลงทุนนี้มีของอยู่แล้ว เดี๋ยวนี้มีการพัฒนาบอกคนมีเตียงชาวต่างชาติเค้าชอบเตียง คนเฒ่าคนแก่นอนข้างล่างไม่ได้ก็ต้องมีฟูกอย่างดี ปูที่หลับที่นอน มุ้งหมอนที่นอนเสื่อต้องสะอาดเรียบร้อย ห้องน้ำเมื่อก่อนที่ชาวสวนใช้ธรรมดา เดี๋ยวนี้เค้ามีการพัฒนาอาจจะมีชักโครกบ้างเป็นบางบ้านทำห้องน้ำเพิ่ม เพราะว่ามีรายได้เดือนละหลายพันบาท เป็นหมื่นๆ บาง บางบ้านก็มีการพัฒนาเกิดขึ้น ฉะนั้นกระบวนการการเรียนรู้ในการพัฒนาเนี่ยมันจะค่อยสอนเรื่อยไป ความยั่งยืนของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นความมาตรฐาน ต้อนรับดี กินดี เที่ยวดี นอนดี ซึ่งจะให้ไว้เท่านั้น
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
ที่นักศึกษาถามว่ามีมาตรฐานอะไรให้การท่องเที่ยวยั่งยืน คำถามชัดเจนการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนไม่ได้หมายถึงยังงั้น การท่องเที่ยวยั่งยืนหมายความว่า การท่องเที่ยวต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ต้องเน้นตรงนี้มากๆ แล้วการท่องเที่ยว จะเจริญต่อไปหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ นี่อยากสนับสนุนความหมายของมัน เราเน้นเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน มันหมายความว่าจะต้องมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไปแล้วจะทำให้การท่องเที่ยวยั่งยืน ไม่ใช่มุ่งให้การท่องเที่ยวเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ เพราะการท่องเที่ยวเจริญไปข้างหน้ารุดหน้าเรื่อยๆ ไปได้ โดยสิ่งแวดล้อมก็ตามหลังไปงั้นประเด็นไม่ได้ต้องการให้การท่องเที่ยวยั่งยืนแบบนั้น ในการท่องเที่ยวเราต้องการยั่งยืนโดยที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ได้งั้นประเด็นต้องอยู่ที่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นตัวหลัก
คำถาม ถ้าในเมื่อเราจะทำการ ท่องเที่ยว ให้ยั่งยืนแล้วสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งท่องเที่ยวนั้น ก็ต้องขายได้ด้วยเช่นกัน อาจารย์มีแนวทางใหม่เราจะสามารถไปได้ทั้งทางธุรกิจและสิ่งแวดล้อมด้วย
เป็นคำถามที่ดี มันจะไปด้วยกันได้ไหมในเรื่องของการอนุรักษ์ด้วยและก็เจริญไปด้วยเนี่ย มันก็ต้องตอบว่าไปด้วยกันได้ จะตอบยังอื่นไม่ได้ มันต้องไปด้วยกันได้ต้องทำให้ไปด้วยกันได้ เพราะไม่งั้นมันก็ขายได้วันเดีวแล้วก็จบเลย มันวันเดียวงบไม่ได้ อย่างน้อยโผงผางวันเดียวงบไม่ได้ อย่างที่โผงผางเนี่ยจะถามว่ามาตรฐานยังไงทำให้มันไม่ใช่มาตรฐานการบริการต้องเป็นมาตรฐานการจัดการอย่างที่ไม่ให้มันเสื่อมเสียมาตรฐานการบริการอีกเรื่องหนึ่ง นักท่องเที่ยวพอใจไม่พอใจอีกเรื่องหนึ่งแต่ทำยังไงไม่ให้เสื่อมเสีย เช่น เรือที่พานักท่องเที่ยวไปเที่ยวต้องไม่ทิ้งน้ำมันลงในแม่น้ำไม่ถ่ายน้ำมันเสียลงในแม่น้ำ ให้เกิดมลพิษทางน้ำ ยังงี้ถึงทำให้มลพิษ ซึ่งจะกันยังไงหรือว่าคนเปลี่ยนวิถีชีวิตไป คนทำลอกดักกุ้งได้เงินไม่กี่ตังค์ เดี๋ยวนี้เอาละรับจ้างแบกรอกเดินผ่านหน้าบ้านนักท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวเห็นวิถีชีวิตแบบรอก ได้ค่าจ้างเที่ยวละ 20 บาท วันละ 5 เที่ยว 100 บาท กำไรกว่า เนี่ยวิถีชีวิตเปลี่ยนไปคนที่เคยตกกุ้งเดี๋ยวนี้ไม่ตกแล้วไปนั่งตกเพียงเพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นว่ามีคนตกกุ้ง แล้วได้ค่าจ้างจากกำนันธวัช วันละ 50 บาทสมมตินะอย่างนี้วิถีชีวิตมันเปลี่ยน ซึ่งอย่างนี้เราต้องดูว่าทำแล้วชีวิตมันเปลี่ยนมันจะต้องไม่เปลี่ยน อย่างฟาร์มโชคชัยเนี่ย เค้าเคยทำฟาร์มโคนม เดี๋ยวนี้ไปดูปรากฏว่ามีรถนักท่องเที่ยวไปจอดวันหนึ่งเต็มไปหมด ทุกวันด้วย ไม่ใช่เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ วันธรรมดาก็เต็มด้วย งั้นการทำฟาร์มของเค้ามันกลายทำเพื่อโชว์ให้นักท่องเที่ยวมาดู ไอ้การขายนมจริงๆ เป็นเรื่องรองเท่านั้น รายได้หลักอยู่ที่การท่องเที่ยวงั้นของกำนันธวัชก็เหมือนกันบางทีทำไปๆ รายได้หลักมาจากนักท่องเที่ยว สวนมะพร้าวเนี่ยขายไม่ค่อยได้แต่เราไว้ปีนขึ้นปีนลงให้นักท่องเที่ยวดูไง มันก็ทำได้แต่ว่าวิถีชีวิตการขายมะพร้าวก็เป็นซบ มันก็ซบไปแต่ก็ต้องทำอยู่ อย่างฟาร์มโชคชัยก็เหมือนกัน ก็ยังทำวัว เนื้อวัว สเต็ค ทำนมอยู่ แต่รายได้หลักมันมาจากนักท่องเที่ยว งั้นการรีดนมวัวก็รีดให้นักท่องเที่ยวดู แล้วเค้าก็รีดไปใช้ด้วย แต่ก็มีส่วนรีดให้นักท่องเที่ยวดูอะไรอย่างนี้เป็นต้น มันไปด้วยกันได้ แล้วมันต้องรักษาไว้ด้วย เพราะงั้นนักท่องเที่ยวมาแล้วฟาร์มยังหากินไม่ได้ก็ต้องอนุรักษ์ไว้ให้อยู่ ให้มันยั่งยืนไว้ทั้งคู่ แต่มันเน้นที่ความยั่งยืนของตัวทรัพยากรเป็นหลักก่อน เพราะเมื่อก่อนเวลามุ่งการท่องเที่ยวมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรัพยากร มันมุ่งไปข้างหน้าเลยแล้วทรัพยากรมันก็เริ่มเสื่อมที่หลังๆ ไม่มีใครดู อย่างเกาะเสม็ดเนี่ย เราดูแล้วเกาะเล็กๆ เท่านั้นนะ ถ้านักท่องเที่ยวเข้าไปมากจนเกินไป ขยะก็กำจัดไม่ได้ งั้นต้องกำจัดนักท่องเที่ยวลงไม่มีใครดูจนต้องเกิดปัญหาขยะล้นเกาะเสม็ด แล้วเราก็ไปทำอะไรไม่ได้ การท่องเที่ยวใครๆ ก็บอกว่ามีปัญหานะ ทางสุขาภิบาลเกาเสม็ดก็ไม่ได้ตื่นตูม จนเกิดปัญหาขยะล้น แล้วจะแก้ยังไง ถือว่าสิ่งแวดล้อมเสียหาย แหล่งท่องเที่ยวสวยๆ ก็เริ่มเหมือนไปด้วยขยะ มันก็ขายไม่ได้ มันก็ต้องมาแก้ไข ถังขยะเนี่ยมันต้องทำตั้งแต่ต้น นักท่องเที่ยวไปเยอะสิ่งปฏิกูลก็ต้องเยอะ เศษขยะก็ต้องเยอะงั้นการจัดการก็ต้องทำไปด้วย เดี๋ยวนี้เค้าไม่ทำก็ต้องมีหน่วยงานเข้าไปทำ สมุยก็กำลังมีปัญหาอยู่ ขยะมีปริมาณเยอะ เชียงใหม่ก็เหมือนกัน ขยะนักท่องเที่ยวด้วย ชาวบ้านด้วย ประชาชนนอกพื้นที่ด้วย ถ้าแก้ปัญหาตรงนี้ได้ นักท่องเที่ยวมาแล้วก็ผสมไปด้วยก็จบ หมายความว่าขยะในพื้นที่แก้ได้ ในของที่ชาวบ้านกินใช้อยู่ในชีวิตประจำวันที่เชียงใหม่ ไปกลบที่ไหน ฝังที่ไหน นักท่องเที่ยวมาก็ไปกลบที่นั่น ฝังที่นั่น มันก็จบ แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่นักท่องเที่ยว ทำให้ขยะล้นเมือง ปัญหาอยู่ที่ขยะในชีวิตประจำวัน เทศบาลก็แก้ไม่ตก นึกออกไหม พอนักท่องเที่ยวมาก็กลายเป็นว่านักท่องเที่ยวทำขยะล้น นักท่องเที่ยวก็แค่กลั้วผสมไปเท่านั้นเอง ถ้าหากแก้ปัญหาได้ตก นักท่องเที่ยวเข้ามาเสริมก็กลบเข้าไปก็จบ ปัญหาก็คือปัญหาพื้นฐานของสังคมในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เราต้องเป็นไปได้ด้วยดีก่อน งั้นการท่องเที่ยว มาก็ดูดซับตัวนั้นได้ด้วยไม่งั้นถ้าหากว่าการพัฒนาพื้นฐานยังไม่ได้เนี่ย มันก็ต้องเอาการท่องเที่ยวมา แล้วก็กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตรงนั้น เช่น ถนนทางไปน้ำตกอย่างนี้ รัฐบาลไม่ยอมสร้าง จังหวัดไม่ยอมสร้างเสียที ยังไงก็ของบไม่ได้บอกว่าหมู่บ้านน้อย เราก็เอาการท่องเที่ยวเข้าไปบอกว่ามีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยอะๆ ขึ้น เค้าถึงหางบมาสร้างถนน ชาวบ้านก็ได้ประโยชน์ตรงนั้นด้วย เป็นผลพลอยได้ในการท่องเที่ยวอย่างนี้เป็นต้น นี่คือเอาการท่องเที่ยวมานำในการพัฒนา แต่โดยหลักจริงๆ แล้วประเทศที่พัฒนาแล้วเนี่ยเค้าพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพัฒนาเมืองจนดีแล้วนักท่องเที่ยว ก็ไปเสวยผล อย่างใกล้ๆ นิวซีแลนด์ ออสเตรีย ไปดูได้ เค้าสมบูรณ์อยู่แล้ว ถนนหนทางสมบูรณ์อยู่แล้ว เราแค่เอานักท่องเที่ยวไปเสวย สิ่งที่คนพื้นเมืองเค้าเสพกันอยู่ บริโภคกันอยู่ เราเป็นส่วนเสริมเข้าไป แต่ว่าของเราต้องเอาการท่องเที่ยวนำไง เพราะว่าพื้นที่ไม่พัฒนา แต่นักท่องเที่ยวไปแล้ว ถ้างั้นก็ต้องกระตุ้นให้พื้นที่พัฒนาเรื่องรับนักท่องเที่ยวก่อน งั้นชาวบ้านก็ได้อานิสงค์ ถ้ามีนักท่องเที่ยวไปก็เลยมีอานิสงค์ มีไฟฟ้าใช้ มีถนนสำหรับคนเดินทางด้วย มันก็ไปด้วยกัน 2 ทาง แต่เหนือสิ่งใดในการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ต้องเน้นเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรให้ได้ก่อน ไม่งั้นระยะยาวไปไม่รอดถ้าเราหันมาเน้นตรงนี้มาก เพราะว่ามันโปรโมชั่นเกิดขึ้นเยอะ บางอย่างโปรโมชั่นที่เกิดจากชาวบ้าน งั้นแม่น้ำเจ้าพระยาเลยไม่ใช่เกิดจากนักท่องเที่ยว แม่น้ำเจ้าพระยาเสียเพราะบ้านเรือนคนริมแม่น้ำนั่นแหละที่ทำให้เรือไม่ก็สารเคมีในไร่นาที่ทำให้เสีย อย่าไปบอกว่านักท่องเที่ยวมาเยอะน้ำเจ้าพระยามันคนละเรื่อง งั้นแต่ละวันเราต้องชัดว่าเรามองประเด็นปัญหาอยู่ตรงไหน แล้วหาให้เจอว่าตัวการอยู่ตรงไหน จะได้ชัดเจนขึ้น แล้วประสบการณ์ของท่านกำนันจะมีประโยชน์ เราต้องสรุปให้ได้ตรงไหนเป็นเรื่องการตลาด อย่างเรื่องการตั้งราคา อย่างเรื่องตลาดเราเรียนมาอย่าง 4 p มันเป็นทฤษฎี แต่นี่กำนันธวัชไม่ได้เป็นทฤษฎี แต่มานั่งคิดเลยว่าจะคิดค่าเช่าเรือเท่าไหร่ นี่เป็นเรื่องการตั้งราคา นี่คือองค์ประกอบการตลาด ทั้งหมดนั้นที่ท่านเล่ามาเป็นประสบการณ์แล้วค่อยสรุปเป็นหลักออกมาว่าหลักของมันอยู่ตรงไหน ทฤษฎีอยู่ตรงไหน เราเอามาใช้เทียบที่ท่านเล่าให้ฟังเพื่อจะประโยชน์แล้วก็เอามาใช้เพื่อพัฒนาต่อไปว่าจะทำยังไง งั้นความรู้อย่างเราไปหาประสบการณ์อย่างท่านมากะได้เสริมต่อได้ ขนาดท่านไม่มีความรู้พวกนี้ท่านยังตั้งหลักขึ้นมาได้ แล้วเรามีความรู้พื้นฐานอยู่แล้วเนี่ยไปหาประสบการณ์จากท่าน เราน่าจะคิดอะไรได้กว้างกว่านั้น ลึกได้มากกว่านั้นขอฝากไว้เท่านี้
กำนันธวัช บุญพัด
การพัฒนาการท่องเที่ยว ที่พูดถึงสิ่งแวดล้อมและก็เรื่องการกำหนดมาตรฐานของการท่องเที่ยวที่จริงการท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไปด้วยกันได้ การสร้างจิตสำนึกเนี่ยเป็นเรื่องที่สำคัญ นักท่องเที่ยวไปเที่ยวบอกว่าลอยเรือชมหิ่งห้อยมันมีขยะ ลอยไปติดชาวดักกุ้งที่โผงผางเรามาก แต่ท่านกำนันมีมาตรการจะทำอย่างไร ผมก็บอกว่าจริงๆ ก่อนที่จะทำการท่องเที่ยวเนี่ยเคยนึกอยู่แล้วว่าไอ้ขยะที่โดยส่วนใหญ่เป็นขยะโดยธรรมชาติเนี่ย ที่มันเกิดจากมีใบกล้วยบ้าง กล้วย อ้อย ใยมะม่วง ใบไม้ต่างๆ เค้าเรียกหัวตาโหนก คือ ทางมะพร้าว ลูกมะพร้าวที่ลอยไฟลำคลองเนี่ย ส่วนใหญ่แล้วถ้าไปจุดที่หิ่งห้อยเนี่ย ขยะจะไปตรงช่วงนั้นเพราะว่าเราเป็นปลายตำบลที่จะออกทะเล เพราะว่าติดพระราม 2 เราก็มีประตูกั้นน้ำด้วย ขยะก็จะลอยไปลอยกลับ ถ้าลอยไปเรื่อย ถ้าลอยออกไปทะเล บางทีไปติดซาง พอติดซางน้ำขึ้นก็ลอยกลับ ก็ลอยไปลอยมาจนจมไปด้วยกัน เราก็มีมาตราที่คิดว่าถ้าเราทำการท่องเที่ยว เนี่ยวางแผนส่งตำบล ส่งอำเภอ ส่งจังหวัดเนี่ยโดยที่เราของบประมาณไปสร้างโผงผางดังขยะ เอ๊ะโผงผางดักขยะเป็นยังไง โผงผางดักกุ้งเป็นสวิงตาเล็กๆ เอากว้างประมาณ 10 เมตร หรือ 8 เมตร ความยาวก็ประมาณ 12 เมตร เพราะดักกุ้งกัน พอดักชม. 2 ชม. ก็ติดบ้างที่ 5 โล แล้วแต่โอกาส นี่คือภูมิปัญญาชาวบ้านซางที่เค้าดักกุ้งอยู่ที่เป็นรูปซางไม้ไผ่ที่เหลาเป็นร้อยๆ อัน แล้วก็เอามาสานเป็นซาง คล้ายๆ ไทรี ก็มีเปลือกไม่ไผ่ที่ค้างอยู่ เรามีทางจะเก็บขยะยังไงก็เลยบอกว่าซางของโผงผางมันไม่ค่อยมีแล้ว เราสร้างโผงผางขึ้นมาเราทำแบบตรงโผงผางแบบสวิงนะ ใช้แบบอวนแล้วไนลอนเย็บเข้าตาห่างซะ 3-4 ซม. ขยะที่มันเข้าไปก็เอาเรือไปเก็บ เก็บมาแล้วเอามาใส่เครื่องที่เค้าตีขยะอย่างบางแสนเค้าก็ทำ ปั่นแล้วก็มาทำปุ๋ย ขายปุ๋ยได้ ฉะนั้นการพัฒนาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ตามบ้านก็เหมือนกัน ชาวสวนก็เหมือนกันไม่มีเวลามาที่จะมาเก็บกวาดรอบๆ บ้าน เค้าต้องขึ้นตาล เคี่ยวตาล ไม่มีเวลาพักผ่อน ก็รกรุงรังแม้แต่เสื้อผ้านุ่งห่มแขวนในบ้านเยอะแยะไปหมด เดี๋ยวมีการพัฒนาเก็บเรียบ เพราะมันเกี่ยวข้องกับเรื่องการท่องเที่ยวด้วย ฉะนั้นการพัฒนาในเรื่องของสิ่งแวดล้อม แล้วก็วัฒนธรรม คุณธรรม ความเอื้ออาทรต่อกัน ความรัก ความสามัคคี ความคิดที่มันจะเกิดจากการท่องเที่ยวมีผลมากมายมหาศาลนะครับ
2. เรียนถามท่านกำนันธวัชว่ารีสอร์ทที่เปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าไปพักที่บอกว่าเป็นโฮม สเตย์ ถือว่าเป็นโฮม สเตย์ได้ไหมครับ และถ้าเป็นไปได้จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
กำนัน ธวัช บุญพัด
ที่จริงคิดว่าจัดเป็นโฮม สเตย์ได้เลย เพราะว่าเราไม่ได้ทำรีสอร์ท ไม่ได้ปลูกแบบรีสอร์ท เป็นบ้านเก่านะครับ บ้านเรือนไทย ทรงไทย ไม้สักทอง 3-4 หลังเป็นหลังนะ เป็นบ้านที่ปลูกติดกัน บ้านหลังเดียวแต่มัน10 หลัง มีหอกลาง หอขวาง มีระเบียง อะไรต่างๆ แล้วก็มีศาลาทรงไทยริมน้ำ นี่เป็นบ้านทรงไทยเก่า 100 กว่าปี 200 กว่าปี อย่างต่ำสุด 80-90 ปี 10 หลังที่ว่านั้น คือโฮม สเตย์จริงๆ แต่โฮม สเตย์จริงๆ เค้าต้องไปทานข้าว ทำกิจกรรมในบ้าน แต่ว่าในเรื่องการท่องเที่ยว ที่จะมีการพัฒนาเกิดขึ้น สมมติว่าเมื่อก่อนเนี่ย เดี๋ยวนี้จะเล่าให้ฟังอีกนิด นักท่องเที่ยวมาเนี่ย เจ้าของบ้านจะต้องพายเรือมารับเข้าบ้าน นี่ตกลงว่าจะทานอาหารต้องมาทานบ้านกำนัน เดี๋ยวต้องออกมาส่งอีก แล้วคนแก่ทานข้าวเสร็จเรียบร้อย ก็รับไปบ้านเค้าอีกแล้ว เดี๋ยวเรือไปรับชมหิ่งห้อย เวลามันไม่พอดีกัน ฉะนั้นจากบ้านให้กำนันธวัชทำอาหารก็ดี พอทานอาหารเสร็จแล้วเรือจัดไปพร้อมกัน ค่อยๆ ทยายออกไปพร้อมกันหมด มันเป็นการบริหารจัดการที่ลงตัวพอดีแล้วก็ส่งเข้าบ้านเลย ตื่นเช้ามาทำอาหารใส่บาตร พระบิณฑบาตทางน้ำ ท่าน้ำหน้าบ้าน เสร็จก็เก็บเสื้อผ้าสัมภาระลงเรือมา แล้วก็มาทานข้าวเตรียมล่องเรืออีก ไปพิพิธภัณฑ์ บ้านดนตรี โบสถ์ผนังไม้สัก ฯลฯ เวลามันจะพอดีกัน ด้วยการบริหารจัดการ อันนี้คนคิดในใจว่าคือโฮม สเตย์ แต่ที่เค้าทำใหม่ๆ ทำเป็นรีสอร์ทจริงๆ เลย ไม่ได้ปลูกบ้านทรงไทยแล้ว นี่บ้านของเค้าเองก็ถือว่าเป็นรายได้เสริม ไม่ได้คิดถึงการท่องเที่ยวว่าจะต้องเป็นรายได้ที่แน่นอน รายได้หลักจากการท่องเที่ยวที่นี่เป็นรายได้เสริม
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
คำถามเนี่ยมันไม่ยากไปค้นดูคำจำกัดความของโฮมสเตย์เอา โฮมสเตย์คืออะไร รีสอร์ทคืออะไร ฯลฯ ไปค้นดูได้มันไม่ยาก แล้วเราก็ดูเองว่ามันใช่หรือไม่ใช่ จะได้คำชัดเจนแล้วก็อ้างอิงได้
ดร.สุวันชัย หวนนากลาง
ขออนุญาตเสริมสั้นๆ นิดนึง สาระของโฮม สเตย์ คือ นักท่องเที่ยวมีจุดประสงค์ไปศึกษาวัฒนธรรม วิถีความเป็นอยู่ โดยพักอยู่กับเจ้าของบ้าน ซึ่งอาจจะมีห้องแบ่งให้เช่า แล้วก็มีกิจกรรมต่างๆ ส่วนรีสอร์ทนั้นวัตถุประสงค์ คือส่วนมากไปพักผ่อน หย่อนใจ เป็นการทำในเชิงธุรกิจเต็มตัว แต่ว่าถ้าชาวบ้านทำอย่างที่ปลายโผงผาง หรือที่อันจะเน้นในเรื่องเป็นรายได้เสริม เพราะฉะนั้นการมีโฮม สเตย์ก็จะช่วยให้ชาวบ้านต่างชาติรู้ว่าวิถีชีวิตของเราเป็นอย่างไร และเค้าก็เกิดความประทับใจ
3. เรียนถามท่าน ดร.ละเอียด ว่าประเทศไทยของเราเนี่ยจะมีศักยภาพพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้หรือไม่ค่ะ อย่างไร
ต้องถามว่าพวกเราคิดยังไง ต้องตอบให้ผมทราบก่อน มาถามผมก็ตอบว่าได้อยู่แล้ว ผมอยู่ส่วนราชการ ทำงานอย่างนี้ไปให้ผมตอบไม่ได้ได้ไง แล้วพวกคุณคิดว่าหรือเปล่า คิดว่าได้ไหมตัวคุณคิดว่าได้ไหม
นักศึกษา ตัวดิฉันคิดว่าเป็นการยาก เพราะว่าเราจะเปลี่ยนความคิดของคนทั้งประเทศมันยากมาก แต่ละคนมีความคิดไม่เหมือนกัน ซึ่งมันเป็นการยาก
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
ถ้าคุณว่าไม่ได้ก็จบ ก็แค่นั้นเอง มาถามผมก็ต้องตอบว่าได้ เพราะในส่วนของผมๆ ต้องทำให้ได้บอกไม่ได้ผมก็เจ๊งนะซิ งั้น ททท. ทำไม่ได้ก็เจ๊งซิ คำถามนี้ไม่น่าถาม ถามผมๆ ก็ต้องตอบว่าได้อย่างเดียวแต่ถ้าถามว่ามันยากง่ายเนี่ยบอกได้ อย่างที่คุณว่ามันยาก เพราะคนทุกคนมีความตระหนัก อย่างน้อยที่สุดธุรกิจที่ประกอบการแล้วมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวต่อทรัพยากร ตรงนี้ต้องให้เค้าเข้าใจให้ได้ก่อน ซึ่งยังยากเลย งั้นที่บอกยาก ผมเห็นด้วย แต่ถามว่าได้ไม่ได้ ไม่ต้องถามอยู่แล้ว มันต้องตอบว่าได้ ทุกคนมีความคิดอิสระ คิดยังไงก็ได้ เหตุผลให้เข้ากระบวนการ งั้นก็มีความยากจริงๆ เหมือนกัน เพราะคนไม่เข้าใจ ผมบอกแต่แรกแล้วว่าคนไม่เข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว ฟังเป็นเรื่องง่าย การท่องเที่ยวจะเจริญเติบโตไปอีกกี่ 10 ล้าน ตอนนี้ 10 กว่าล้าน ดูสถานการณ์ตอนนี้ยังไง ถ้าสนามบินสุวรรณภูมิไม่เปิดอีก ปีหน้า นักท่องเที่ยวมีปัญหาแน่นอน เพราะตอนนี้มันแน่นอยู่แล้ว เครื่องยังลงไม่ได้ เครื่องบินต้องลงกันแบบชนกันตูดต่อตูดลงมากันแต่ละลำอย่างนี้เป็นไปได้ยังไง ถ้าคมนาคมไม่แก้ปัญหาก็จบ เพราะว่าถ้าพูดเรื่องการท่องเที่ยวพูดไปเถอะ ถ้าตัวนี้ไม่แก้ก็จบอีก งั้นการท่องเที่ยวไม่มีตัวสำคัญๆ อยู่ไม่กี่ตัวหรอก ถ้าตัวนี้ไม่สำเร็จอีกตัวก็จบงั้นการอนุรักษ์ถ้าทำไม่ได้ก็จบอีก เพราะงั้นตอนนี้เรามีความรู้ ไอ้ทำได้ไม่ได้เป็นประเด็น อีกประเด็นหนึ่งงั้นต้องอาศัยส่วนสำคัญนเรื่องการศึกษาให้ความรู้ อย่างที่น้องเค้าว่ามาเนี่ย มันเป็นการยากต้องกระจายให้ได้ แต่ต้องทำได้
4. เรียนถามท่าน ดร.ละเอียด ว่าระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในอนาคตหรือไม่
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวหรือไม่ ปัจจุบันนี้ระบบเศรษฐกิจเป็นยังไง มันเป็นยังไงระบบเศรษฐกิจ ปัจจุบันอธิบายให้ได้ใจความหน่อย เพราะเกิดข้อสงสัยขึ้นมา
นักศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ปัจจุบันหมายถึง การค้า การท่องเที่ยว หรือรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่หรือของรัฐบาลที่นำมาปรับปรุงการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในอนาคต คือว่าจะมีผลกระทบไหม ถ้าเศรษฐกิจยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าเศรษฐกิจดี การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจะเป็นอย่างไร
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
ถ้าเศรษฐกิจแย่การพัฒนาการท่องเที่ยวจะเป็นอย่างไร การท่องเที่ยวมันขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจด้วยรึเปล่า การพัฒนาการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจหรือเปล่า ต้องตอบก่อน ถ้าระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลมันแย่ มันขึ้นอยู่ไหม เศรษฐกิจโดยรวมของชาติ มันแย่ มันขึ้นตรงไหม มันขึ้นต่อไหม ถ้าเศรษฐกิจของชาติมันขึ้นตรงต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเนี่ย ถ้าเศรษฐกิจแย่การพัฒนาการท่องเที่ยวก็แย่ด้วย คุณคิดว่ามันขึ้นตรงไหม ถ้าขึ้นตรงมันก็ต้องแย่ด้วย และถ้ามันแย่จะพัฒนายังไงในเมื่อเศรษฐกิจยังแย่ ไม่ต้องพูดถึงเลยจบอยู่แล้ว ในเมื่อบอกเองว่า ถ้าเศรษฐกิจแย่อะไรก็แย่ แล้วจะทำอะไร แค่ให้มีกินก็บุญแล้ว การท่องเที่ยวมันก็พัฒนาไม่ได้ อย่าว่าแต่พัฒนายั่งยืนเลย พัฒนายังพัฒนาไม่ได้เลย พัฒนาแล้วยั่งยืนไม่ยั่งยืนเป็นอีกเรื่องนะจะพัฒนาเนี่ยยังยาก เพราะเศรษฐกิจยังแย่ คือที่ถามมันให้ข้อมูลหมดแล้วเลยตอบง่าย ว่าเศรษฐกิจมันแย่มันก็ไปไม่รอด ถามว่าจะทำยังไงต่อ ไม่ต้องทำเอาให้มีกินก่อนเถอะ ถ้าเศรษฐกิจมันพัง แต่ว่าที่น้องพูดนะน่าสังเกตนะ เศรษฐกิจพังแล้วจะเที่ยวมัวขายกันเละเทะๆ ถ้าเศรษฐกิจพังแล้ว นักท่องเที่ยวมาพาเข้าป่ายิงกวาง ยิงหมี เที่ยวกินไปเลยเพื่อหาเงินมันไม่ถูก การตั้งข้อสังเกตที่ดีเหมือนกันไม่ใช่เศรษฐกิจแย่แล้วการพัฒนาก็เละเทะ มันก็ไม่ได้ แต่ไม่ห่วงเศรษฐกิจตกต่ำขนาดนั้นนะ นักท่องเที่ยวไม่มาแล้ว เศรษฐกิจตกต่ำขนาดนั้น นักท่องเที่ยวไม่มาแล้ว คือตกต่ำก็เลยไม่มา ปั่นป่วนก็เลยไม่มา หรือไม่ว่าเค้าไม่มาก็เลยปั่นป่วนได้ทั้ง 2 แบบ ไม่มาก็ไม่มีรายได้ก็พอกัน
อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร
ขอเรียนเสริมว่าเศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลให้การท่องเที่ยวไม่ไปเลย อย่างเช่นประเทศฟิลิปปินส์ นักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์ต้องเดินทางมาเที่ยวที่นี่ เพราะไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นสนามเด็กเล่น ไม่มีสวนสนุกต่างๆ นักท่องเที่ยวเหล่านี้เข้ามาเพื่อดูสัตว์ มาเที่ยวดรีมเวิลด์และซาฟารีเวิลด์ นอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมเค้าก็ไม่มี ส่งผลให้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นมา จะมีบางส่วนเท่านั้นที่เป็นคนชนชั้นสูงของประเทศที่จะมีศักยภาพในการที่จะบรืโภคในเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือ รับความสุขจากการท่องเที่ยว เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีการท่องเที่ยวก็ขาดการพัฒนา และขาดแรงจูงใจที่จะทำเกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศฟิลิปปินส์เอง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์ เดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ขอบคุณครับ
ดร.ละเอียด ศิลาน้อย
จริงๆ แล้วฟิลิปปินส์ เค้าเคยดีกว่าเรานะ สมัยก่อนฟิลิปปินส์ดีกว่าเรา ตอนหลังแย่ลง มีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นไปเที่ยวโดนจับเรียกค่าไถ่ 2 ราย ก็จบเลย ตอนนี้ก็ไม่ฟื้น กู่ไม่ขึ้น อินโดฯ ก็วุ่นวาย ในประเทศก็ยุ่ง พอๆ กับบาหลี ประเทศเรายังโชคดี
ดร. สุวันชัย หวนนากลาง
วิทยากรทุกท่านมีความเห็นว่าการพัฒนาที่จะให้ยั่งยืนจะต้องขึ้นอยู่กับหนึ่งระบบการจัดการที่ดี สองการตลาดว่ามีสินค้าแต่ว่าเราไม่ได้หาตลาดว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือใคร ซึ่งมันจะทำให้การพัฒนาในเรื่องการท่องเที่ยว หรือการที่จะขายแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังต้องมีความร่วมมือจากชาวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ถ้าหากชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วม ตระหนักถึงคุณค่าของการท่องเที่ยว รู้ว่าผลกระทบในด้าน คืออะไร ก็จะทำการพัฒนาไปสู่จุดหมายที่ต้องการคือความยั่งยืนอีกจุดหนึ่งซึ่งทางด้านท่าน ดร.เสรี หรือ ดร.ละเอียด ท่านกำนันธวัชได้พูดมีความเห็นร่วมกันคือคุณภาพของบุคลากรจะต้องมีพร้อมในด้านที่จะให้ความดูแลต้อนรับนักท่องเที่ยว ชาวบ้านจะต้องมีความรู้ว่าจะต้อนรับขับสู้ยังไง รวมทั้งนักศึกษาซึ่งต่อไปจะเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะต้องปรับปรุงยังไงบ้าง